คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #20 : _ยุคกลาง
จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์สามารถแบ่งยุคประวัติความเป็นมาของดนตรีตะวันตกได้ 6 ยุค ได้แก่ ยุคกลาง ยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการ ยุคบาโรก ยุคคลาสสิค ยุคโรแมนติก และยุคคริสตศตวรรษที่ 20 ตั้งแต่ยุคกลางจนถึงยุคปัจจุบันมีการพัฒนาองค์ความรู้ใหม่ ๆ ทางด้านดนตรีตะวันตกเรื่อยมา อาทิ ทฤษฎีดนตรี โครงสร้างของดนตรี เครื่องดนตรีและวงดนตรีมาตรฐาน เทคนิคการเล่นเครื่องแต่ละชนิด การประสานเสียง และการประพันธ์เพลง เป็นต้น
1.ยุคกลาง (Medieval or Middle Age :: ค.ศ. 400 - 1400)
ในช่วงแรก ศาสนาคริสต์ไม่เป็นที่ยอมรับเลยของคนยิว คนโรมัน คนกรีก เกิดการต่อต้าน พวกคริสต์คือพวกนอกกฎหมาย ต่อมาเมื่อคริสต์เป็นที่ยอมรับ (ในทางศาสนศาสตร์ ถือว่า คริสต์ มิใช่ศาสนา แต่เป็น ความเชื่อที่มีต่อพระเยซูคริสต์ .. ผู้แปล) คริสตศาสนิกชน หรือที่เราเรียกว่า คริสเตียน/คริสตัง ซึ่งก็คือ คำๆ เดียวกัน แต่ใช้ในคนละบริบท สามารถร้องเพลงได้ ก็ทำให้เกิดเพลงสวดขึ้น ซึ่งก็จะแตกต่างกันออกไปในแต่ละพื้นที่นั้นๆ โดยศูนย์กลาง มีสามเมืองสำคัญ คือ
1. กรุงเยรูซาเล็ม (อิสราเอล ในปัจจุบัน)
2. เมืองอันติโอเกีย (Antioch ใกล้กับตุรกี ในปัจจุบัน) และโรม (อิตาลี ในปัจจุบัน)
3. กรุงคอนแสตนติโนเปิล (ตุรกี ในปัจจุบัน ซึ่งถือเป็น เมืองหลวงฝั่งตะวันออกของโรม)
แผนที่ยุคแรก แสดงอาณาจักรไบแซนไทน์ อาณาจักรโรมัน ก่อนที่จะได้รับอิทธิพลจากอาหรับ (ก่อน ค.ศ. 700)
เริ่มประมาณปี ค.ศ. 400 - 1400 ในสมัยกลางนี้โบสถ์เป็นศูนย์กลางทั้งทางด้านดนตรี ศิลปะ การศึกษาและการเมือง วิวัฒนาการของดนตรีตะวันตกมีการบันทึกไว้ตั้งแต่เริ่มแรกของคริสต์ศาสนา บทเพลงทางศาสนาซึ่งเกิดขึ้นจากกราประสมประสานระหว่างดนตรีโรมันโบราณกับดนตรียิวโบราณ เพลงแต่งเพื่อพิธีทางศาสนาคริสต์เป็นส่วนใหญ่ โดยนำคำสอนจากพระคัมภีร์มาร้องเป็นทำนอง เพื่อให้ประชาชนได้เกิดอารมณ์ซาบซึ้ง และมีศรัทธาแก่กล้าในศาสนา ไม่ใช่เพื่อความไพเราะของทำนอง หรือความสนุกสนานของจังหวะ เมื่อศาสนาคริสต์แพร่กระจายไปทั่วโลก ประเทศต่างๆ ได้นำบทเพลงที่ชาติตนเองคุ้นเคยมาร้องในพิธีสักการะพระเจ้า ดังนั้นเพลงที่ใช้ร้องในพิธีของศาสนาคริสต์จึงแตกต่างกันไปตามภูมิภาคและเชื้อชาติที่นับถือ
ภาพประกอบ จากหนังสือประจำชั่วโมงแห่งอองเชส์จากคริสต์ทศวรรษ 1470
ดนตรียุคกลางส่วนใหญ่เป็นเพลงร้อง เครื่องดนตรีมีหลายชนิด แต่มีบทบาทเพียงแค่ใช้เล่นคลอประกอบการร้องเท่านั้น จากหลักฐานมีโน๊ตเพลงต้นฉบับเพียง 2 - 3 เพลงเท่านั้นซึ่งเป็นหลักฐานแสดงถึงการประพันธ์เพลงให้กับเครื่องดนตรีบรรเลงเด่นเป็นพิเศษเท่านั้น เมื่อพิจารณาจากภาพเขียนในยุคกลางแล้ว วิเคราะห์ได้ว่ามีการใช้เครื่องดนตรีไม่มากชิ้น คริสต์จักรในยุคกลางยังไม่ให้ความสำคัญกับเครื่องดนตรีมากนัก เพราะถือว่าเป็นเครื่องมือที่ใช้บรรเลงในการประกอบพิธีกรรมของคนต่างศาสนา ต่อมาประมาณ ค.ศ. 1100 จึงเริ่มมีการใช้เครื่องดนตรีในโบสถ์มากขึ้น โดยใช้ออร์แกน (organ) เป็นหลักในการบรรเลงดนตรีประกอบพิธีกรรมทางศาสนาคริสต์ เพลงร้องในสมัยกลางได้แก่ เพลนซานท์ (plainchant) ออกานุม (organum) โมเทต (motet) และเพลงนอกวัด (secular music) เป็นต้น
เมื่อคริสต์ศาสนาเข้มแข็งขึ้น ได้มีการกำหนดหลักเกณฑ์ที่แน่นอนในการขับร้องเพลงสวด ที่เรียกว่า ชานท์ (Chant)หรือเพลนซอง (plainsong) เป็นเพลงสวดอย่างเป็นทางการของโบสถ์โรมันคาทอลิกมานานกว่า 1,000 ปีในระหว่างยุคกลางต่อมาเพลงสวดแบบนี้รู้จักกันในชื่อเกรกอเรียนซานต์ (Gregorian Chant)หรือบทสวดของเกรกอรี เพราะพระสันตะปาปาเกรกอรี 1 (Pope Gregory 1 : ค.ศ. 590 - 604) เป็นผู้รวบรวมจัดหมวดหมู่เพลงสวดเข้าด้วยกัน เปลี่ยนคำร้องจากภาษากรีกให้เป็นภาษาละติน กำหนดลำดับเพลงสวดไว้อย่างชัดเจน เพื่อให้ทุกคนปฏิบัติเหมือนกัน ถือกันว่าเป็นหลักฐานสำคัญที่มีคุณค่ายิ่งของดนตรีตะวันตก พระสันตะปาปาเกรกอรีทรงรวบรวมเพลงเพลนซานต์ไว้ในหนังสือปกงาช้าง หลักฐานดังกล่าวปัจจุบันอยู่ที่พิพิธภันณฑ์คุนสท์ฮิสทอรอสเซส (Kunsthistorishes Museum) เมืองเวียนนา ประเทศออสเตรีย
ซึ่งในศาสนาคริสต์นิกายโรมันแคธอลิคก็ยังนำมาใช้อยู่จนถึงปัจจุบัน ชานท์เป็นบทเพลงร้องที่มีแต่ทำนอง ไม่มีการประสานเสียงและไม่มีการบังคับจังหวะ แต่ขึ้นอยู่กับความเชี่ยวชาญและรสนิยมของนักร้องเอง เพลงประเภทนี้ถูกเรียกว่า เพลงเสียงเดียว หรือเรียกว่า โมโนโฟนี (Monophony)
ตัวอย่างโน้ตเพลงโบราณ
วิวัฒนาการที่สำคัญที่สุดของดนตรีเกิดขึ้นที่ปลายยุคกลาง ราวคริสต์ศตวรรษที่ 9 คือ การเพิ่มแนวร้องขึ้นอีกแนวหนึ่ง เป็นเสียงร้องที่เป็นคู่ขนานกับทำนองหลัก กำหนดให้ร้องพร้อมกันไป วิธีการเขียนเพลงที่มี 2 แนวนี้เรียกว่า ออร์แกนุม (Organum) จากจุดเริ่มนี้เองดนตรีสากลก็ได้พัฒนาไปอย่างมากมาย จากแนวสองแนวที่ขนานกันเป็นสองแนวแต่ไม่จำเป็นต้องขนานกันเสมอไป สวนทางกันได้ ต่อมาได้เพิ่มเสียงสองแนวเป็นสามแนวและเป็นสี่แนว จากเพลงร้องดั้งเดิมที่มีเพียงเสียงเดียว ได้พัฒนาขึ้นกลายเป็นเพลงหลายแนวเสียงหรือเรียกว่า โพลีโฟนี (Polyphony)
ดนตรีที่มีมากกว่า 1 ทำนองในเวลาเดียวกัน ซึ่งประพันธ์ขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 12 - 14 ส่วนใหญ่เป็นผลงานของคีตกวีทางเหนือของฝรั่งเศส ออกานุมที่สมบูรณ์ที่สุดที่เป็นผลงานของสำนักนอตเตรอดาม (Notre Dame School) เพลงสวดของสำนักนี้มีทำนองเสียงยาว ทำหน้าที่เป้นแนวต่ำหรือแนวเทอเนอร์ ส่วนแนวที่เพิ่มเติมจะเป็นโน๊ตเสียงสั้นกระชับสอดประสานกันไปเรียกว่า ดูปลัม (duplum) ทั้ง 2 แนวจะเคลื่อนไปจนถึงจุดที่แนวเทอเนอร์มีโน๊ตสั้นกระชับใกล้เคียงกับดูปลัม จุดนี้เรียกว่าคลอซูลา (clausula) จุดดังกล่าวได้รับการพัฒนาให้เป็นแบบอย่างในการประพันธ์เพลงโมเทตในเวลาต่อมา
โมเทตคือเพลงที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับคริสต์ศาสนา พัฒนาโดยนำทำนองมาจากเพลงเกรกอเรียนชานต์ เป็นแนวเสียงต่ำหรือแนวเทอเนอร์ และเพิ่มแนวทำนองอีก 2 ทำนองที่มีโน๊ตเพลงกระชับกว่าแนวเทอเนอร์ นอกจากนี้ยังมีดนตรีที่คล้ายกับโมเทต คือ กอนดุกตุส (conductus) เกิดขึ้นเมื่อประมาณคริสต์ศตวรรษที่ 11 มีทำนอง 2 - 4 แนว แนวเทอเนอร์ถูกประพันธ์ขึ้นใหม่มิได้นำมาจากเกรกอเรียนชานต์ ส่วนเนื้อหาของกอนดุกตุสมีหลากหลาย เช่น เนื้อหาเกี่ยวกับศาสนา การเมือง สังคม และศีลธรรม เป็นต้น
ตัวอย่างโน้ตเพลง 2 แนว
เพลงนอกวงศาสนา ปรากฏขึ้นในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 12 และ 13 โดยกวีในราชสำนักฝรั่งเศส 2 กลุ่ม คือ ทรูบาดูร์ (troubadour) จากทางใต้ของฝรั่งเศสมีกวีที่มีชื่อเสียงคือ กีโยมที่ 9 (Gillaume IX) และทรูแวร์ (trouvere) จากทางเหนือของฝรั่งเศส มีกวีที่มีชื่อเสียงคือ ซาสเตอแลง เดอ เกวอย (Chastelain de Couei) เพลงนอกวัดมีเนื้อหาเกี่ยวกับความรักเป็นส่วนใหญ่ โดยมีกลุ่มนักดนตรีพเนจรเหล่านี้จะเดินทางเที่ยวไปในที่ต่างๆ เปิดการแสดงดนตรีประกอบการเล่านิทาน เล่าเรื่องการต่อสู้ของนักรบผู้กล้าหาญ ร้องเพลง หรือบรรเลงดนตรีประกอบการแสดงมายากล แสดงกายกรรม แสดงการต้นระบำต่างๆตามปราสาท ร้านเหล้า โรงเตี๊ยม และจตุรัสกลางเมือง โดยใช้พิณฮาร์ป (harp) เครื่องสายที่ใช้คันชักเรียกว่าลูท (lute) เป็นเครื่องดนตรีประกอบ นักดนตรีมิได้เป็นผู้ประพันธ์เพลงเอง แต่เพลงที่ใช้ร้องถ่ายทอดสดต่อ ๆ กันมาแบบมุขปาฐะ โดยดัดแปลงให้ผิดเพี้ยนไปจากของเดิมบ้าง จุดมุ่งหมายคือความบันเทิง นักดนตรีพเนจรเหล่านี้ กระจายอยู่ทั่วภาคพื้นยุโรป มีชื่อเรียกต่างกันไป พวกจองเกลอ (Jonglour) อยู่ทั่วไปในยุโรป พวกมิสสเทรล (Minstrel) เร่ร่อนอยู่ในอังกฤษ พวกทรูแวร์ (Trouveres) ทำหน้าที่บรรเลงเพลงในราชสำนักทางตอนเหนือของประเทศฝรั่งเศส และพวกทรูบาร์ดัวร์ (Troubadour) ทำหน้าทีบรรเลงเพลงในราชสำนักทางตอนใต้ของประเทศฝรั่งเศส
ภาพประกอบการเล่นดนตรีของนักดนตรีเร่ร่อนปลายยุคกลาง
คีตกวีในยุคกลาง
1. เลโอนิน (Léonin, ประมาณค.ศ. 1130-1180)
2. เพโรติน (Pérotin หรือ Perotinus Magnus, ประมาณค.ศ. 1160-1220)
3. จาคาโป ดา โบโลนญา (Jacapo da Bologna)
4. ฟรานเชสโก แลนดินี (Francesco Landini, ประมาณค.ศ. 1325-1397)
5. กิโยม เดอ มาโชต์ (Guillaume de Machaut, ประมาณค.ศ. 1300-1377)
6. ฟิลิปเป เดอ วิทรี (Phillippe de Vitry)
7.โซลาช (Solage)
8.เปาโล ดา ฟิเรนเซ (Paolo da Firenze)
2. ยุคเรเนสซองส์หรือยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการ (The Renaissance : ค.ศ. 1400 - 1600)
ยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการกินเวลานานประมาณ 150 ปี เริ่มประมาณ ค.ศ. 1400 1600 ยุคนี้เป็นยุคของลัทธิมนุษยนิยมซึ่งถือว่ามนุษยืมีความสำคัญยิ่งกว่าสิ่งอื่น ๆ ที่พระผู้เป็นเจ้าทรงสร้าง ศิลปวิทยาการด้านต่าง ๆ เจริญก้าวหน้าเป็นอย่างมาก ศิลปิน นักคิด นักเขียน และนักดนตรี ที่เคยถูกคริสต์จักรควบคุมในด้านความคิดหลุดพ้นจากความเชื่ออันงมงายของยุคกลาง มีการฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรมของกรีกและโรมันขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง และจะพัฒนาไปสู่ยุคอื่น ๆ ในประวัติศาสตร์ยุโรปต่อไป
เพลงศาสนายังมีความสำคัญอยู่เช่นเดิม เพลงสำหรับประชาชนทั่วไป เพื่อให้ความบันเทิง ความสนุกสนาน ก็เกิดขึ้นด้วย การประสานเสียงได้รับการพัฒนาให้กลมกลืนขึ้น เพลงศาสนาเป็นรากฐานของทฤษฎีการประสานเสียง เพลงในยุคนี้แบ่งเป็นสองแบบ ส่วนใหญ่จะเป็นแบบที่เรียกว่า อิมมิเททีฟโพลีโฟนี (Imitative Polyphony) คือ มีหลายแนว และแต่ละแนวจะเริ่มไม่พร้อมกัน ทุกแนวเสียงมีความสำคัญแบบที่สองเรียกว่า โฮโมโฟนี (Homophony) คือ มีหลายแนวเสียงและบรรเลงไปพร้อมกัน มีเพียงแนวเสียงเดียวที่เด่น แนวเสียงอื่นๆ เป็นเพียงเสียงประกอบ
เพลงในสมัยนี้ ยังไม่มีการแบ่งจังหวะที่แน่นอน คือ ยังไม่มีการแบ่งห้องออกเป็น 3/4 หรือ 4/4 เพลงส่วนใหญ่ก็ยังเกี่ยวข้องกับคริสต์ศาสนาอยู่เพลงประกอบขั้นตอนต่างๆ ของพิธีทางศาสนาที่สำคัญ คือ เพลงแมส (Mass) และโมเต็ท (Motet) คำร้องเป็นภาษาละติน เพลงที่ไม่ใช่เพลงศาสนาก็เริ่มนิยมกันมากขึ้น ได้แก่ เพลงประเภท แมดริกัล (Madrigal) ซึ่งมีเนื้อร้องเกี่ยวกับความรัก หรือยกย่องบุคคลสำคัญ และมักจะมีจังหวะสนุกสนาน นอกจากนี้ยังใช้ภาษาประจำชาติของแต่ละชาติ
เพลงบรรเลงเริ่มมีบทบาทในยุคนี้ เครื่องดนตรีที่นำมาใช้ในการบรรเลง คือ ลูท ออร์แกนลม ฮาร์พซิคอร์ด เวอจินัล ขลุ่ยเรคอร์เดอร์ ซอวิโอล องค์ประกอบสำคัญอย่างหนึ่งของดนตรียุคนี้ที่ถูกนำมาใช้ คือ ความดัง - เบาของเสียงดนตรี (Dynamic)
ปลายยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการศาสนาคริสต์แยกออกเป็น 2 นิกาย คือ โรมันคาทอลิกและโปรเตสเตนท์ เพลงสวดที่เกิดขึ้นใหม่เรียกว่าคอราล (chorale) ซึ่งเป็นเพลงที่พัฒนามาจากชานต์โดยกำหนดในมีอัตราจังหวะที่แน่นอน เพลงบรรเลงเริ่มมีบทบาทมากขึ้นในยุคนี้ การประสานเสียงเริ่มมีหลักเกณฑ์การอ่านโน๊ตและเล่นดนตรีแพร่หลายในหมู่ผู้ที่มีการศึกษา มีนักประพันธ์เพลงร้องและเพลงบรรเลงที่สำคัญเกิดขึ้นหลายคน อาทิ ดูเฟย์ (Dufay : ค.ศ. 1400 - 1474) ปาเลสตริน(Palestrina : ค.ศ. 1524 - 1594) และมอนเตแวร์ดี (Montevetdi : ค.ศ. 1567 - 1643)
ภาพที่ 2.1 ภาพการเล่นดนตรียุคเรเนสซองส์ คลิกดาวน์โหลดภาพ
รายชื่อคีตกวีในยุคเรเนสซองส์หรือยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา
1. จอห์น ดันสเตเบิล (John Dunstable)
2. กิโยม ดูเฟย์ (Guillaume Dufay)
3. โยฮันเนส โอคีกัม (Johannes Ockeghem)
4. โทมัส ทัลลิส (Thomas Tallis)
5. จอสกิน เดอส์ เพรซ์ (Josquin des Prez)
6. ยาคอบ โอเบร็คท์ (Jacob Obrecht)
7. โคลด เลอเชิน (Claude Le Jeune)
8. จิโอวันนี ปิแอร์ลุยจิ ดา ปาเลสตรินา (Giovanni Pierluigi da Palestrina)
9. วิลเลียม เบิร์ด (William Byrd)
10. คลอดิโอ มอนเทแวร์ดี (Claudio Monteverdi)
11. ออร์ลันโด้ ดิ ลัสโซ (Orlando di Lasso)
12. คาร์โล เกซวลโด (Carlo Gesualdo)
13. อาดริออง วิลแลร์ต (Adriane Willaert)
3. ยุคบาโรก (The Baroque Period : ค.ศ. 1600 - 1750)
ยุคนี้กินเวลาประมาณ 150 ปี เป็นยุคของความตื่นตัวทางภูมิปัญญาและการใช้เหตุผลเป็นวิทยาศาสตร์ เป็นยุคของการล่าอาณานิคมและแสวงหาแหล่งวัตถุดิบสำหรับโรงงานอุตสาหกรรมในต่างแดน เกิดการเปลี่ยนแปลงหลายอย่างอันเป็นผลมาจากการที่กาลิเลโอ (Galileo : ค.ศ. 1564 - 1642) พบทฤษฎีใหม่ว่าดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางของจักรวาลมิใช่โลกตามที่เคยเชื่อกันมา การค้นพบทางวิทยาศาสตร์ทำให้วิทยาการเจริญก้าวหน้าขึ้นเป็นลำดับ มีการค้นพบกฎคณิตศาสตร์ และการประดิษฐ์กล้องโทรทัศน์ของนิวตัน ฯลฯ
ดนตรีในสมัยนี้จะอยู่ประมาณ ค.ศ. 1600 1750 ช่วงระยะเวลานี้ ดนตรีในสมัยนี้มีการเปลี่ยนแปลงไปสู่ความสมบูรณ์ ดนตรีศาสนา และดนตรีของชาวบ้านมีความเจริญก้าวหน้าทัดเทียมกัน โครงสร้างของเพลงมีความสลับซับซ้อนมากขึ้น สีสันในบทเพลงมีมากขึ้นวงดนตรีวงใหญ่ขึ้น มีการนำเครื่องดนตรีมาใช้อย่างหลากหลาย เพลงในยุคนี้จะมีจังหวะสม่ำเสมอมาก ทางด้านการประสานเสียงมีการใช้เสียงหลัก (Tonality) ที่แน่นอน เพลงแต่ละเพลงจะต้องอยู่ในกุญแจหนึ่ง เช่น เริ่มด้วยกุญแจ C ก็ต้องจบด้วยกุญแจ C มีกฎเกณฑ์การใช้คอร์ด นักประพันธ์เพลงในยุคนี้นิยมทำนองสั้นๆ (Motif) มาบรรเลงซ้ำๆ กัน โดยเลียนแบบให้สูงขึ้น หรือต่ำลงเป็นลำดับ หรือไม่ก็ซ้ำอยู่ในระดับเดียวกัน ในด้านจังหวะ ได้ทำให้กระชับขึ้นมาก โดยมีการใช้เครื่องหมายกำหนดจังหวะ (Time Signature) จุดสุดยอดแห่งการเขียนเพลงแบบนี้คือ เพลงประเภท ฟิวก์ (Fugue) ซึ้งใช้เป็นทั้งเพลงร้องและเพลงบรรเลง เป็นเพลงที่มีหลายทำนองสลับซับซ้อน มีลวดลายมาก นอกจากนี้ การเขียนเพลงแบบโฮโมโฟนี คือ การประสานเสียงที่มีทำนองหลักหนึ่งแนว และมีแนวเสียงอื่นเป็นส่วนประกอบ ได้รับพัฒนาอย่างสมบูรณ์ในยุคนี้ นักประพันธ์เพลงหลายท่าน ได้สร้างผลงานโดยใช้หลักการประสานเสียงแบบโฮโมโฟนี
สถานที่แสดงอุปรากร (opera) เกิดขึ้นในอิตาลีเป็นแห่งแรกใน ค.ศ. 1637 และได้รับความนิยมแพร่หลายไปยังฝรั่งเศส เยอรมัน และประเทศอื่น ๆ ในยุโรป ทั้งในราชสำนักและในหมู่สามัญชน ผู้ชมเริ่มอยากชมอุปรากรที่แต่งเนื้อร้องขึ้นมาใหม่หรือสะท้อนภาพชีวิตจริงมากกว่าอุปรากร ที่นำเนื้อเรื่องมาจากเทพนิยายหรือตำนานอิงกรีกและโรมัน
ผู้มีชื่อเสียงมากในฐานะที่เป็นผู้บุกเบิกการประพันธ์เพลงแบบบรรเลงในยุคนี้ คือ วิวาลดี (Antonio Vivaldi ค.ศ. 1676 - 1741) เพลงที่เขาเขียนส่วนใหญ่ เป็นเพลงประเภท คอนแชร์โต (Concerto) ซึ่งเป็นเพลงสำหรับเดี่ยวคนเดียว ส่วนเพลงที่มีเดี่ยว 2 4 คน เพลงประเภทหลังนี้เรียกว่า คอนแชร์โต กรอสโซ (Concerto Grosso) ยุคนี้เป็นยุคที่ริเริ่มเขียนอุปรากร (Opera) ขึ้น ผู้ที่มีชื่อเสียงยิ่งใหญ่ทางด้านอุปรากร (Opera) คือ มอนทิเวอร์ดี (Claudio Monteverdi ค.ศ. 1567 - 1643)
นักประพันธ์เพลงที่มีชื่อเสียงโด่งดังที่สุดในยุคนี้เป็นชาวเยอรมัน คือ เจ. เอส. บาค (Johann Sebastian Bach ค.ศ. 1685 - 1750) และ แฮนเดล (George Frideric Handel ค.ศ. 1685 - 1759) สำหรับบาคนั้น ได้แต่งเพลงต่างๆ ไว้เป็นจำนวนหลายร้อยเพลง และยังได้วางรากฐานทางดนตรีไว้มากจนได้รับการยกย่องว่าเป็น “บิดาของดนตรีสากล” และส่วนแฮนเดลนั้น ใช้ชีวิตอยู่ในอังกฤษเป็นส่วนใหญ่ เขาได้แต่งเพลงร้องและเพลงบรรเลงไว้เป็นจำนวนมากเช่นกัน เพลงร้องที่มีชื่อเสียงที่สุดในโลกเพลงหนึ่ง คือ Messiah (ไทยออกเสียงว่า มิซซา) เป็นเพลงบรรยายถึงประวัติของพระเยซู เพลงนี้ใช้แสดงกันในฤดูคริสต์มาสทั่วทุกมุมโลก สำหรับเพลงบรรเลงนั้นได้เขียน คอนแชร์โต กรอสโซ (Concerto Grosso) ซึ่งเพลงไพเราะมาก ทั้งหมด 12 เพลง ที่วงดนตรีนิยมบรรเลงกันจนกระทั่งทุกวันนี้มี 2 เพลง คือ Water Music และ Fireworks Music
การประพันธ์เพลงในยุคบาโรกนิยมประพันธ์ 2 ทำนองขึ้นไปในเวลาเดียวกัน ลวดลายการประพันธ์ดังกล่าวเรียกว่า polyphony โดยมีการประพันธ์ในลักษณะทำนองเสียงสูง แล้วอาจเล่นซ้ำอีกครั้งด้วยเสียงต่ำ เช่นเดียวกับทำนองเสียงต่ำอาจสลับไปเล่นทำนองเดิมอีกครั้งแต่ใช้เสียงสูงลักษณะเช่นนี้เรียกว่าการสอดประสานทำนอง (contrapuntal) นอกจากนี้ยังนิยมประพันธ์ให้เกิดลูกล้อลูกขัด เรียกว่าแคนนอน ซึ่งหมายถึงการเล่นไล่กันของทำนอง 2 ทำนองที่เหมือนกันแต่บรรเลงในเวลาต่างกัน และฟิวก์ (fuque) ซึ่งหมายถึงเพลงที่มีลักษณะการบรรเลงที่มีการไล่ล้อกันขนานใหญ่ทำนองหลักจะถูกขัดด้วยทำนองหนึ่งเป็นช่วงสั้นหรือยาว ในยุคบาโรกเริ่มใช้บันไดเสียงเมเจอร์ (major) และไมเนอร์ (monor) แทนบันไดเสียงโบราณที่เรียกว่าโมด (mode ) และการกำหนดอัตราจังหวะความเร็วชัดเจนเช่น เร็ว (allegro) เร็วปานกลาง (moderato) หรือช้าปกติ (andante) เป็นต้น
นอกจากในแต่ละบทเพลงจะมีหลายทำนองในเวลาเดียวกันแล้ว การทำให้ เสียงต่ำหรือเสียงเบส (bass) เคลื่อนที่ตลอดเวลาเรียกว่าบาสโซกอนตินูโอ (basso continuo) เป็นลักษณะเด่น ของดนตรียุคบาโรก เครื่องดนตรีที่นิยมใช้เล่นแนวดังกล่าวคือฮาร์พซิคอร์ด (harpsichord) นอกจากนี้แสดง (improvisition) โดยอยู่บนพื้นฐานสัญลักษณ์ตัวเลข (figure base) ในการสร้างเสียงและซึ่งหมายถึง การบรรเลงเครื่องดนตรีเดี่ยว ประชันกับวงดุริยางค์ขนาดใหญ่ (orchestra) โดยให้ผู้เล่นเดี่ยวสามารถเล่นแบบด้นสด (improvisation) หรือตกแต่งทำนองในช่วงบรรเลงซ้ำทวนได้ตามความเหมาะสมของผู้เล่นแต่ละคน
ไวโอลินเป็นเครื่องดนตรีชิ้นสำคัญที่ได้รับการพัฒนารูปร่าง ขนาด ชนิดของ ไม้ และน้ำเสียงเป็นระยะเวลายาวนานจนสตราดิวารี (Stradivari) ช่างทำไวโอลินชาวอิตาลีผู้เป็นลูกศิษย์ของนิกโกโล อมาติ (Niccolo Amati) สร้างไวโอลินมาตรฐานขึ้นใน ค.ศ. 1715 เรียกว่าสตราดิวาริอุส(Stradivarius) ได้รับความนิยมตั้งแต่ยุคบาโรกมาจนถึงปัจจุบัน นอกจากนี้ยังมีเครื่องดนตรีประเภทคีย์บอร์ดชิ้นสำคัญเกิดขึ้นตอนปลายยุคบาโรกคือเปียโน โดยชาวอิตาลีชื่อบาร์โตโลเมโอ คริสโตโฟรี (Bartolomeo Cristofori) ชื่อเดิมของเปียโนคือ เปียโนฟอร์เต (Pianoforte) ซึ่งหมายถึง เบา (piano) และดัง (forte) เพราะเครื่องดนตรีดังกล่าวสามารถควบคุมการเล่นให้เบาและดังได้จากน้ำหนักที่กดลงไปบนลิ่มนิ้ว (keyboard)
โยฮันน์ เซบาสเตียน บาค (Johann Sebastian Bach ค.ศ. 1685 - 1750) คีตกวีชาวเยอรมันคนสำคัญของยุคบาโรก และ แฮนเดล (George Frideric Handel ค.ศ. 1685 - 1759) สำหรับบาคนั้น ได้แต่งเพลงต่างๆ ไว้เป็นจำนวนหลายร้อยเพลง และยังได้วางรากฐานทางดนตรีไว้มากจนได้รับการยกย่องว่าเป็น “บิดาของดนตรีสากล” และส่วนแฮนเดลนั้น ใช้ชีวิตอยู่ในอังกฤษเป็นส่วนใหญ่ เขาได้แต่งเพลงร้องและเพลงบรรเลงไว้เป็นจำนวนมากเช่นกัน เพลงร้องที่มีชื่อเสียงที่สุดในโลกเพลงหนึ่ง คือ Messiah (ไทยออกเสียงว่า มิซซา) เป็นเพลงบรรยายถึงประวัติของพระเยซู เพลงนี้ใช้แสดงกันในฤดูคริสต์มาสทั่วทุกมุมโลก สำหรับเพลงบรรเลงนั้นได้เขียน คอนแชร์โต กรอสโซ (Concerto Grosso) ซึ่งเพลงไพเราะมาก ทั้งหมด 12 เพลง ที่วงดนตรีนิยมบรรเลงกันจนกระทั่งทุกวันนี้มี 2 เพลง คือ Water Music และ Fireworks Music
สำหรับเดี่ยวคลาวิคอร์ด (clavichord) หรือฮาร์พซิเคอร์ด แต่ปัจจุบันนิยมบรรเลงด้วยเปียโน บทประพันธ์ดังกล่าวแต่งขึ้นเพื่อแสดงให้เห็นว่าการปรับความห่างของเสียงให้เครื่องดนตรีประเภทคีย์บอร์ดเป็นมาตรฐานเท่ากัน (tempering) จะทำให้สามารถเล่นเพลงได้ทุกบันไดเสียง นอกจากนี้บากยังประพันธ์ P-artitas และ Sonatas สำหรับเดี่ยวไวโอลิน และ 6 Suites สำหรับเดี่ยวเซลโล ผลงานดังกล่าวยังนิยมเล่นกันอยู่ในปัจจุบัน คีตกวีที่สำคัญในยุคบาโรกยังมีอีกหลายคน อาทิ วิวาลดี (Antonio Vivaldi ค.ศ. 1676 - 1741) และกอเรลลี (Corelli) มอนทิเวอร์ดี (Claudio Monteverdi ค.ศ. 1567 - 1643)
4. ยุคคลาสสิก (The Classical Period : ค.ศ. 1750 - 1820)
ยุคคลาสสิกกินเวลาประมาณ 70 ปี สมัยนี้ดนตรีได้เริ่มออกมาแพร่หลายถึงประชาชนมากยิ่งขึ้น สถาบันศาสนามิได้เป็นศูนย์กลางของดนตรีอีกต่อไป ดนตรีในยุคนี้ถือว่าเป็นดนตรีบริสุทธิ์ (Pure Music หรือ Absolute Music) เพลงต่างๆ นิยมแต่งขึ้นเพื่อการฟังโดยเฉพาะ มิใช่เพื่อประกอบพิธีศาสนาหรือพิธีอื่นๆ เป็นระยะเวลาแห่งดนตรีเพื่อดนตรี เพลงส่วนใหญ่เป็นเพลงบรรเลง เพื่อฟังความไพเราะของเสียงดนตรีอย่างแท้จริง เป็นลักษณะดนตรีที่ต้องใช้แสดงความสามารถในการบรรเลงมากขึ้น การประสานทำนองแบบโพลีโฟนีใช้น้อยลงไป การประสานทำนองแบบโฮโมโฟนีถูกนำมาใช้มากขึ้น มีการนำกฎเกณฑ์มาใช้ในการแต่งเพลงอย่างเคร่งครัด รวมทั้งนำเอาองค์ประกอบของดนตรีมาใช้อย่างครบถ้วน มีการกำหนดอัตราจังหวะ กำหนดให้จำนวนจังหวะสม่ำเสมอเท่ากันทุกห้อง การเขียนเพลงในยุคนี้สนใจความแตกต่าง (Contrast) การใช้จังหวะ มีทั้งจังหวะช้า และเร็ว สลับกันไปตามจำนวนของท่อนเพลงการเขียนทำนองเพลง มีการพัฒนาให้มีหลักเกณฑ์และมีความสมดุล
นักปรัชญาและนักเขียนคนสำคัญของยุคคือวอลแตร์และดิเดโรต์ เพลงที่นิยมแต่งก็พัฒนามาจากสมัยบาโรค แต่ได้มีการปรับปรุงให้ยิ่งใหญ่ขึ้น รวมทั้งเพลงประเภทอุปรากร โอราทอริโอ คอนแชร์โต โซนาตา และเพลงซิมโฟนี ซึ่งต่อมานิยมแต่งมากที่สุด คือเพลงซิมโฟนี และจัดรูปแบบของวงดุริยางค์ขนาดใหญ่ (orchestra) และวงดนตรีขนาดเล็ก (chamber music) ให้เป็นแบบมาตรฐาน ดนตรีที่ใช้เล่นกับวงดนตรีสตริงควอเทต (String Quartet) มีผู้นิยมแต่งมาจนถึงปัจจุบัน
ซิมโฟนีเป็นบทเพลงที่เขียนให้วงดุริยางค์ซิมโฟนี (symphony orchestra)บรรเลง นอกจากนี้ซิมโฟนียังหมายถึงวงดนตรีขนาดใหญ่ เช่น BBC Symphony Orchestra วง boston Symphony Orchestra และวงดุริยางค์ซิมโฟนีกรุงเทพ (Bangkok Symphony Orchestra หรือ BSO) คีตกวีโมซาร์ต (Mozart) และ ไฮเดน (Hydn) ผู้ได้รับยกย่องให้เป็นบิดาแห่งซิมโฟนี มีบทบาทในการจัดรูปแบบการประพันธ์และจัดรูปแบบของวงซิมโฟนีให้เป็นแบบแผนและมีมาตรฐานชัดเจนหลังจากนั้นบีโทเฟน (Beethoven) คีตกวีชาวเยอรมันผู้มีชีวิตอยู่ระหว่างยุคคลาสสิกกับยุคโรแมนติกได้นำหลักการต่าง ๆ ของไฮเดนและโมซาร์ตไปพัฒนาเป็นซิมโฟนียุคโรแมนติก
คอนแซร์โตเป็นบทเพลงที่เขียนให้เครื่องดนตรีเดี่ยวประชันกับวงดุริยางค์ ในด้านอุปรากรหรือโอเปรา โมซาร์ต เป็นผู้นำการประพันธ์โดยใช้การร้องเดี่ยว ร้องเป็นกลุ่มเล็ก จนถึงร้องเป็นกลุ่มใหญ่เพื่อเน้นลักษณะและบทบาทการแสดงของอุปรากร การประพันธ์ดนตรีสำหรับวงดนตรีขนาดเล็กนิยมประพันธ์สำหรับวงดนตรีสตริงควอเทต ที่ประกอบเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสาย 4 ชิ้น คือ ไวโอลิน 2 คัน วิโอลา และเชลโลอย่างละ 1 คัน
รูปแบบของดนตรียุคคลาสสิกนั้นใช้ลวดลายการประพันธ์แบบโฮโมโฟนี (homophony) ซึ่งมีทำนองหลัก 1 ทำนอง และสอดประสานเสียงแนวตั้งด้วยคอร์ด นอกจากนี้ดนตรีในยุคคลาสสิกยังเลิกใช้แนวเสียงต่ำต่อเนื่องกัน และการเล่นแบบด้นสด โดยผู้ประพันธ์นิยมเขียนโน๊ตให้ครบทุกแนว การประพันธ์เพลงในยุคดังกล่าวยึดถือทฤษฎีดนตรี การประสานเสียง รูปแบบการประพันธ์ความหรูหราสวยงามของทำนอง ดนตรีในยุคนี้จึงมีความไพเราะและเป็นดนตรีบริสุทธิ์อย่างแท้จริง
นักดนตรีในยุคนี้ได้แก่
1.โจเซฟ ไฮเดิน (Franz Joseph Haydn ค.ศ. 1732 - 1828) ผู้นี้ได้วางรากฐานทางด้านเพลงซิมโฟนีไว้มากและแต่งเพลงซิมโฟนีไว้ถึง 104 เพลง จนได้รับฉายาว่าเป็น “บิดาแห่งเพลงซิมโฟนี” และยังได้ปรับปรุงสตริงควอเตท (String Quartet) ให้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น
ภาพที่ 4.1 โจเซฟ ไฮเดิน (Franz Joseph Haydn)
2.โมสาร์ท (Wolfgang Amadeus Mozart ค.ศ. 1756 - 1791) ได้รับการยกย่องมากอีกท่านหนึ่ง ซึ่งได้แต่งเพลงต่างๆ ไว้มากและแต่ละเพลงล้วนมีความไพเราะมาก
ภาพที่ 4.2 โมสาร์ท (Wolfgang Amadeus Mozart)
3.เบโธเฟน (Ludwig Van Beethoven ค.ศ. 1770 - 1827) มีผลงานต่างๆ ที่น่าประทับใจมากมาย
ภาพที่ 4.3 เบโธเฟน (Ludwig Van Beethoven)
5. ยุคโรแมนติก (the Romantic Period : ค.ศ. 1820 - 1900)
ดนตรีสมัยนี้เริ่มประมาณปี ค.ศ. 1820 1900 ถือว่าเป็นยุคทองของดนตรี ดนตรีมิได้เป็นเอกสิทธิ์ของผู้นำทางศาสนาหรือการปกครอง ได้มีการแสดงดนตรี (Concert) สำหรับสาธารณชนอย่างแพร่หลาย นักดนตรีแต่ละคนมีโอกาสแสดงออกซึ่งความรู้สึกของตนเองได้เต็มที่ และต้องการสร้างสไตล์การเขียนเพลงของตนเองด้วย ทำให้เกิดสไตล์การเขียนเพลงของแต่ละท่านแตกต่างกันอย่างมาก ในยุคนี้ใช้ดนตรีเป็นเครื่องแสดงออกของอารมณ์อย่างเต็มที่ ทุกๆ อารมณ์สามารถถ่ายทอดออกมาได้ด้วยเสียงดนตรีอย่างเห็นได้ชัด ดนตรีในยุคนี้จึงไม่คำนึงถึงรูปแบบ และความสมดุล แต่จะเน้นเนื้อหา ว่าดนตรีกำลังจะบอกเรื่องอะไร ให้อารมณ์อย่างไร เช่น แสดงออกถึงความรัก ความโกรธ ความเศร้าโศกเสียใจ หรือความกลัว ด้านเสียงประสานก็มักจะใช้คอร์ดที่มีเสียงไม่กลมกลืน เช่น ดอร์ดโครมาติค (Chromatic Chord) หรือ คอร์ดที่มีระยะขั้นคู่เสียงกว้างมากขึ้นๆ เช่น คอร์ด 7,9 หรือ 11 นอกจากจะแสดงถึงอารมณ์แล้ว คีตกวียังชอบเขียนเพลงบรรยายธรรมชาติเรื่องนิยายหรือความคิดฝันของตนเอง โดยพยายามทำเสียงดนตรีออกมาให้ฟังได้ใกล้เคียงกับสิ่งที่กำลังบรรยายมากที่สุด เพลงที่มีแนวเรื่องหรือทิวทัศน์ธรรมชาติเป็นแนวการเขียนนี้เรียกว่า ดนตรีพรรณนา (Descriptive Music) หรือ โปรแกรมมิวสิค (Program Music) สำหรับบทเพลงที่คีตกวีได้พยายามถ่ายทอดเนื้อความมาจากคำประพันธ์หรือบทร้อยกรอง (Poem) ต่างๆ แล้วพรรณนาสิ่งเหล่านี้ออกมาด้วยเสียงของดนตรีอย่างเหมาะสมนั้น จะเรียกบทเพลงแบบนี้ว่า ซิมโฟนิคโพเอ็ม (Symphonic Poem) ต่อมาภายหลังเรียกว่า โทนโพเอ็ม (Tone Poem)
ยุคโรแมนติกตอนปลาย ประมาณ ค.ศ. 1875 - 1900 ดนตรีแตกแขนงออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ ดนตรีแบบชาตินิยม (nationalism) ซึ่งมีลักษณะแสดงออกถึงเอกลักษณ์ของชาติ โดยมีการผสานเพลงพื้นบ้าน ประวัติศาสตร์ และวรรณกรรมเข้ากับดนตรี โดยใช้บันไดเสียงพิเศษของแต่ละชาติ ซึ่งเป็นผลให้คนในชาติเดียวกันเกิดความรักใคร่กลมเกลียวกัน รักชาติบ้านเมืองเกิดความหวงแหนทุกสิ่งทุกอย่างบนแผ่นดินที่อาศัยอยู่ เช่น ซีเบลิอุส (Jean Sibelius) แต่งเพลง ฟินแลนเดีย (Finlandia) โชแปง (Frederic Chopin) แต่งเพลง มาซูกา (Mazurka) และโพโลเนียส (Polonaise) นอกจากนี้ยังมีคีตกวีชาติอื่นๆ อีกมาก ชาวนอเวย์ดนตรีอีกกลุ่มหนึ่งคือดนตรีแบบเยอรมันนิยม(Germanism) มีลักษณะดนตรีที่มีรูปแบบเป็นเยอรมันและออสเตรียที่สืบทอดกันมาและได้รับความนิยมในวงกว้าง ดนตรีของวากเนอร์ใช้วงดุริยางค์ขนาดใหญ่มากเพื่อแสดงพลังเสียง การ orchestration และการประสานเสียง ก้าวหน้ากว่าดนตรียุคโรแมนตอนตอนต้นมาก
คีตกวีที่มีชื่อเสียงในสมัยนี้ ได้แก่
1. ซีเบลิอุส (Jean Sibelius ค.ศ. 1865 - 1957)
2. ลิสซต์ (Franz Liszt ค.ศ. 1811 - 1886)
3. เม็นเดลโซห์น (Felix Mendelssohn ค.ศ. 1809 - 1847)
4. โชแปง (Frederic Chopin ค.ศ. 1810 - 1849)
5. ชูมานน์ (Robert Schumann ค.ศ. 1810 - 1856)
6. วากเนอร์ (Richard Wagner ค.ศ. 1813 - 1883)
7. บรามส์ (Johannes Brahms ค.ศ. 1833 - 1897)
8. ไชคอฟสกี (Peter Ilyich Tchaikovsky ค.ศ. 1846 - 1893)
6. ยุคอิมเพรสชั่นนิสติค (The Impressionistic)
ในตอนปลายของศตวรรษที่ 19 จนถึงตอนต้นของศตวรรษที่ 20 (1890 - 1910) ซึ่งอยู่ในช่วงของยุคโรแมนติกนี้ มีดนตรีที่ได้รับการพัฒนาขึ้นโดยเดอบูสซี ผู้ประพันธ์เพลงชาวฝรั่งเศส โดยการใช้ลักษณะของบันไดเสียงแบบเสียงเต็ม (Whole-tone Scale) ทำให้เกิดลักษณะของเพลงอีกแบหนึ่งขึ้น เนื่องจากลักษณะของบันไดเสียงแบบเสียงเต็มนี้เองทำให้เพลงในยุคนี้มีลักษณะ ลึกลับ ไม่กระจ่างชัด เพราะคอร์ดที่ใช้จะเป็นลักษณะของอ๊อกเมนเต็ด (Augmented) มีการใช้คอร์ดคู่ 6 ขนาน ลักษณะของความรู้สึกที่ได้จากเพลงประเภทนี้จะเป็นลักษณะของความรู้สึก “คล้ายๆ ว่าจะเป็น” หรือ “คล้ายๆ ว่าจะเหมือน” มากว่าจะเป็นความรู้สึกที่แน่ชัดลงไปว่าเป็นอะไร ซึ่งเป็นความประสงค์ของการประพันธ์เพลงประเภทนี้ ชื่ออิมเพรสชั่นนิสติค หรือ อิมเพรสชั่นนิซึมนั้น เป็นชื่อยุคของศิลปะการวาดภาพที่เกิดขึ้นในฝรั่งเศส โดยมี Monet,Manet และ Renoir เป็นผู้สร้างสรรค์ขึ้นมา ซึ่งเป็นศิลปะการวาดภาพที่ประกอบด้วยการแต้มแต่งสีเป็นจุดๆ มิใช่เป็นการระบายสีทั่วๆ ไป แต่ผลที่ได้ก็เป็นรูปลักษณะของคนหรือภาพวิวได้ ทางดนตรีได้นำชื่อนี้มาใช้ ผู้ประพันธ์เพลงในแนวนี้นอกไปจากเดอบูสซีแล้วยังมี ราเวล ดูคาส เดลิอุส สตราวินสกี และโชนเบิร์ก (ผลงานระยะแรก) เป็นต้น
โคล้ด-อะชิล เดอบูซี (Claude-Achille Debussy) เป็นคีตกวีชาวฝรั่งเศส เกิดเมื่อวันที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2405 (ค.ศ. 1862) ที่เมืองซังต์-แจร์มัง-อ็อง-เลย์ และเสียชีวิตที่กรุงปารีส เมื่อวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2461 (ค.ศ. 1918)
โชนเบิร์ก (Arnold Schoenberg ค.ศ. 1874 - 1951) เป็นชาวออสเตรีย ได้ประพันธ์เพลงไว้หลายรูปแบบ ได้แต่งเพลงแบบ 12 บันไดเสียงไว้ด้วย (ผลงานระยะแรก)
ภาพที่ 6.1 โชนเบิร์ก (Arnold Schoenberg)
7. ยุคศตวรรษที่ 20 (The Twentieth Century)
เริ่มจากปี ค.ศ. 1900 จนถึงปัจจุบัน ดนตรีในยุคนี้มีความหลากหลายมาก เนื่องจากสภาพสังคมที่เป็นอยู่ คีตกวีพยายามที่จะสร้างองค์ความรู้ใหม่ขึ้นมา มีการทดลองการใช้เสียงแบบแปลกๆ การประสาน ทำนองเพลงมีทั้งรูปแบบเดิม และรูปแบบใหม่ คีตกวีเริ่มเบื่อและรู้สึกอึดอัดที่จะต้องแต่งเพลงไปตามกฎเกณฑ์ที่ถูกบังคับ โดยระบบกุญแจหลักและบันไดเสียงเมเจอร์ และไมเนอร์ จึงพยายามหาทางออกต่างๆ กันไป มีการใช้เสียงประสานอย่างอิสระ ไม่เป็นไปตามกฎของดนตรี จัดลำดับคอร์ดทำตามความต้องการของตน ตามสีสันของเสียงที่ตนต้องการ ทำนองไม่มีแนวที่ชัดเจนรัดกุม เหมือนทำนองยุคคลาสสิค หรือโรแมนติค ฟังเพลงเหมือนไม่มีกลุ่มเสียงหลัก ในครึ่งหลังของสมัยนี้ การดนตรีรุดหน้าไปอย่างไม่ลดละ นอกจากมีการฝ่าฝืนกฎเกณฑ์ทางด้านทฤษฎีแล้ว ยังมีการใช้เครื่องไฟฟ้าเข้ามาประกอบด้วย เช่น มีการใช้เสียงซึ่งทำขึ้นโดยระบบไฟฟ้า เป็นสัญญาณเสียงในระบบอนาล็อกหรือดิจิตอล หรือใช้เทปอัดเสียงในสิ่งแวดล้อมต่างๆ มาเปิดร่วมกับดนตรีที่แสดงสดๆ บนเวที และเสียงอื่นๆ อีกมากยุคนี้จึงเป็นสมัยของการทดลองและบุกเบิก
นักแต่งเพลงที่อาจเรียกได้ว่ามีชื่อเสียงที่สุด และเขียนเพลงไว้มากที่สุดในหลายๆ สไตล์ คือ
1. อิกอร์ สตราวินสกี (Igor Stravinsky ค.ศ. 1882 - 1971) เป็นชาวรัสเชียแต่อพยพไปอยู่ในอเมริกาและโอนสัญชาติเป็นอเมริกัน สตราวินสกี นับว่าเป็นนักประพันธ์เพลงในระดับอัจฉริยะเหนือผู้อื่นในยุคเดียวกัน
Igor Stravinsky
2. บาร์ตอค (Bela Bartok ค.ศ. 1881 - 1945) เป็นชาวฮังการี เขียนเพลงโดยการใช้คอร์ดกระด้างเป็นหลัก เน้นจังหวะขัด และมีการเปลี่ยนอัตราจังหวะอยู่เสมอ
Bela Bartok
3. เกิร์ชวิน (George Gershwin ค.ศ. 1898 - 1937) เป็นชาวอเมริกัน บิดาเป็นชาวรัสเซียเขียนเพลงโดยนำหลักการเพลงแจ๊ส และเพลงละตินอเมริกันมาผสมผสานกัน เพลงที่มีชื่อเสียงคือ Fascinating Rhythm, The Man I Love, Our Love is Here to Stay, Rhapsody in Blue
เกิร์ชวิน (George Gershwin)
ความคิดเห็น