คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #5 : กลวิธีเสนอแนวคิดในนวนิยาย
มี๕ ลักษณะ ได้แก่ แนวคิดเรื่องความรัก
แนวคิดเรื่องชีวิต แนวคิดเรื่องครอบครัว แนวคิดเรื่องผู้หญิง และแนวคิดเรื่องสังคม ส่วนในด้าน
วิธีการเสนอแนวคิดมี๓ วิธีคือการเสนอแนวคิดผ่านตัวละคร การเสนอแนวคิดผ่านโครงเรื่อง
และการเสนอแนวคิดผ่านโครงเรื่องและตัวละครประกอบกัน by บาหยัน อิ่มสำราญ
ศึกษานวนิยายของ ก. สุรางคนางค์ ด้านแนวคิด
ตัวละคร และกลวิธีการประพันธ์ผลการศึกษาพบว่านวนิยายของก.สุรางคนางค์ได้เสนอแนวคิด
ที่สําคัญไว้ ดังนี้ คือแนวคิดเกี่ยวกับความรัก แนวคิดเกี่ยวกับการเลือกคู่แต่งงาน แนวคิดเกี่ยวกับ
ปัญหาครอบครัว แนวคิดเกี่ยวกับหลักการในการดําเนินชีวิต และแนวคิดเกี่ยวกับผู้หญิง ด้านการ
สร้างตัวละคร นวนิยายของก. สุรางคนางค์ ให้ความสําคัญกับตัวละครฝ่ายหญิงมากที่สุด
ตัวละครเอกฝ่ายชายจะมีบทบาทรอง ส่วนตัวละครปฏิปักษ์และตัวละครอื่นๆ มีบทบาทเป็นเพียง
ตัวประกอบเท่านั้น ส่วนด้านกลวิธีการประพันธ์มักใช้การบรรยายเล่าเรื่องอย่างละเอียด และใช้
กลวิธีในการดําเนินเรื่องหลายแบบทําให้นวนิยายน่าสนใจ
ลักษณะของการวางหลักเกณฑ์ในการวิเคราะห์สอดคล้องกับหลักเกณฑ์ของผู้วิจัยที่ได้วางไว้จึง
นํามาเพื่อเป็นแนวทางในการศึกษาวิเคราะห์ต่อไป by
วิเคราะห์นวนิยายของ วสิษฐ์ เดชกุญชร ด้านรูปแบบ และ
แนวคิด ผลจากการศึกษาสรุปได้ ดังนี้
๑. ด้านรูปแบบ
๑.๑ โครงเรื่อง มีรูปแบบในการวางโครงเรื่องคือ เปิดเรื่องด้วยวิธีการบรรยาย
พฤติกรรมของตัวละครประกอบกับบรรยายฉากไปพร้อมๆกัน ส่วนการดําเนินเรื่องมีการใช้ข้อ
ขัดแย้งภายในจิตใจของตัวละครและข้อขัดแย้งระหว่างมนุษย์กับสังคม ด้านการปิดเรื่องใช้ ๑๕
วิธีการปิดเรื่อง ๓ ลักษณะ คือ การปิดเรื่องแบบสุขนาฏกรรม แบบโศกนาฏกรรม และแบบ
โศกนาฏกรรมโดยให้แนวคิดปิดท้ายเรื่อง
๑.๒ แก่นเรื่อง มี ๓ ลักษณะ คือ แก่นเรื่องเกี่ยวกับการต่อต้านลัทธิการปกครองแบบ
คอมมิวนิสต์ แก่นเรื่องเกี่ยวกับการเสนอปัญหาหรือข้อบกพร่องของระบบราชการ และแก่นเรื่องที่
เกี่ยวกับการต่อต้านหรือปราบปรามผู้ค้ายาเสพติด
๑.๓ ตัวละคร การสร้างตัวละครโดยคํานึงถึงเนื้อหา และบทบาทของตัวละคร
ในนวนิยายเป็นสําคัญ ดังนั้นตัวละครจึงมีทั้งที่มีพฤติกรรมและวิถีชีวิตที่แปลกไปจากมนุษย์ทั่วไป
และมีทั้งที่สอดรับกับวิถีชีวิตของมนุษย์คือมีความสมจริง
๑.๔ ฉาก การใช้ฉากส่วนใหญ่เป็นสถานที่จริง ส่วนฉากสมมติมีเพียงเล็กน้อย ซึ่ง
ฉากทั้ง ๒ ประเภทจะมีลักษณะที่สอดคล้องกับเนื้อเรื่องและตัวละครเป็นอย่างดี
๑.๕ บทสนทนา ใช้บทสนทนาในหลายลักษณะคือ บทสนทนาที่เหมาะสมกบฐานะ
ของตัวละคร บทสนทนาที่แสดงอารมณ์ความรู้สึกของตัวละคร และบทสนทนาที่ช่วยในการดำเนิน
เรื่อง
๑.๖ กลวิธีการแต่ง ใช้กลวิธีในการดําเนินเรื่อง ๒ ลักษณะคือ การดําเนินเรื่องแบบ
ย้อนกลับ และการดําเนินเรื่องตามลําดับเวลาและเหตุการณ์ส่วนกลวิธีการเล่าเรื่อง มี ๒ ลักษณะ
คือ ผู้แต่งเป็นผู้เล่าเอง และให้ตัวละครเป็นผู้เล่า
๑.๗ การใช้คําสํานวนโวหาร ใช้คําในหลายลักษณะ เช่น คําแสดงภาพคําแสดง
อาการ คําที่มีเสียงทําให้เกิดความรู้สึก คําภาษาถิ่น คําภาษาต่างประเทศ และคําที่มี
ความหมายโดยนัยยะ ซึ่งเหมาะสมกับเนื้อเรื่องเป็นอย่างดี ส่วนด้านสํานวนโวหารนั้นมีลักษณะ
เด่นเป็นพิเศษคือ การใช้สํานวนโวหารแข็งกร้าว และสํานวนโวหารเสียดสี
๒. ด้านแนวคิด แบ่งออกเป็น ๒ ลักษณะคือ
๒.๑ แนวคิดด้านสังคมและเศรษฐกิจ
๒.๒ แนวคิดด้านการเมืองและการปกครอง by ธเนศร์ ชาญเชาว์
วิเคราะห์นวนิยายของ โชติ ศรีสุวรรณ ด้านแนวคิด และ
กลวิธีการแต่ง พบว่าแนวคิดมี๖ ประเภท คือ แนวคิดเกี่ยวกับครอบครัว แนวคิดเกี่ยวกับ
การศึกษา แนวคิดเกี่ยวกับสังคม แนวคิดเกี่ยวกับเศรษฐกิจ แนวคิดเกี่ยวกับวัฒนธรรม และ
แนวคิดเกี่ยวกับการอนุรักษ์ธรรมชาติ ด้านกลวิธีการแต่งพบว่าโครงเรื่องส่วนใหญ่แสดงถึงวิถีชีวิต
ของเด็กชนบทที่มีความยากจน เรียนน้อยแต่มีคุณธรรม ซึ่งการสร้างตัวละครจะมี ๒ แบบ คือ
ลักษณะแบบสมจริงกับตัวละครแบบอุดมคติ by
ความคิดเห็น