ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    The way to "The writer"

    ลำดับตอนที่ #2 : กลวิธีการเล่าเรื่อง by สายทิพย์ นุกูลกิจ

    • อัปเดตล่าสุด 24 พ.ย. 56


    ๑. กลวิธีการเล่าเรื่อง คือวิธีการในการถ่ายทอดเรื่องราว สามารถจําแนกได้ ๔ วิธี

    ดังนี้

    ๑.๑ ผู้แต่งเป็นผู้เล่าเรื่องของตัวละคร โดยใช้สรรพนามบุรุษที่ ๓ ในการเรียก

    ตัวละคร เป็นการเล่าเรื่องที่ผู้แต่งเป็นผู้รู้แจ้งทุกประการ หรือเรียกว่าทรรศนะแบบรู้แจ้ง

    (The omniscient author)

    ๑.๒ ผู้แต่งให้ตัวละครเอกเป็นผู้เล่าเรื่องของตนเอง โดยใช้สรรพนามบุรุษที่ ๑

    หรือเรียกว่าทรรศนะแบบเป็นบุคคลที่๑ (The first person narrator as a main character)

    ๑.๓ ผู้แต่งให้ตัวละครตัวใดตัวหนึ่งซึ่งเป็นผู้รู้เห็นเหตุการณ์เป็นผู้เล่าเรื่อง

    เป็นการเล่าเรื่องจากทรรศนะของบุรุษที่๓ (The third person narrator as a minor character)

    ๑.๔ ผู้แต่งเป็นผู้เล่าเรื่องราวของตัวละครต่างๆโดยใช้สรรพนามบุรุษที่๓ เรียก

    ตัวละคร แต่มีขอบเขตจํากัดคือไม่สามารถล่วงรู้ความคิดของตัวละครได้ ผู้แต่งเล่าในฐานะของผู้สังเกตการณ์เท่านั้น (The author as on observer)

    ๒. กลวิธีการสร้างตัวละคร สามารถจําแนกได้๒ ประเภทคือ วิธีการสร้างตัว

    ละครกับแนวการสร้างตัวละคร

    ๒.๑ วิธีการสร้างตัวละคร แบ่งได้เป็น ๒ ลักษณะคือ สร้างตัวละครให้เป็นจุด

    ศูนย์กลางของเรื่องกับสร้างตัวละครให้มีบทบาทตามเนื้อเรื่อง

     

     

    ๒.๒ แนวการสร้างตัวละคร สามารถจําแนกได้ ๕ ประเภทคือ สร้างให้สมจริง

    (Realistic) สร้างตามอุดมคติ (Idealistic) สร้างแบบเหนือจริง (Surrealistic) สร้างแบบ

    บุคลาธิษฐาน (Personification) และสร้างโดยใช้ตัวละครแบบฉบับ (Type)

    ๓. กลวิธีการสร้างฉากและนําเสนอฉาก

    ๓.๑ กลวิธีการสร้างฉาก แบ่งได้เป็น ๓ ประเภทคือ สร้างฉากให้เหมือนจริง

    สร้างฉากตามอุดมคติและสร้างฉากให้มีลักษณะเหนือจริง

    ๓.๒ กลวิธีการเสนอฉาก แบ่งได้เป็น ๒ ประเภทคือ ผู้แต่งบรรยายฉากตาม

    ทรรศนะของตนเองและผู้แต่งบรรยายฉากโดยผ่านสายตาหรือทรรศนะของตัวละคร

    นอกจากนี้ยังได้อธิบายถึงองค์ประกอบของนวนิยายว่า นวนิยายมีส่วนประกอบที่สําคัญ

    ๖ ประการ คือแก่นเรื่อง โครงเรื่อง ตัวละคร บทสนทนา ฉาก และบรรยากาศ มีรายละเอียดดังนี้

    ๑. แกนเรื่อง คือ แนวคิดสําคัญของเรื่องที่ผู้แต่งมุ่งสื่อไปให้ผู้อ่านได้ทราบ แนวคิด

    ในนวนิยายแบ่งได้เป็น ๒ ประเภทคือ แนวคิดเอก หรือแนวคิดหลัก (Major theme) กับแนวคิดรอง

    (Minor theme) แนวคิดเอกคือความคิดของเรื่องตลอดทั้งเรื่อง ส่วนแนวคิดรองคือความคิดเฉพาะ

    ในบางตอนของเรื่อง

    ๒. โครงเรื่อง คือ เค้าโครงที่ผู้แต่งกําหนดขึ้นเพื่อเป็นทิศทางในการดําเนินเรื่อง

    โครงเรื่องในนวนิยายจะต้องประกอบด้วยปมปัญหาความขัดแย้ง ซึ่งแบ่งได้เป็น ๒ ประเภทคือ

    โครงเรื่องใหญ่ (Main plot) และโครงเรื่องย่อย (Sub plot) โครงเรื่องใหญ่ต้องมีปมปัญหาข้อขัดแย้งและการคลายปม ส่วนโครงเรื่องย่อยอาจมีเนื้อเรื่องเป็นไปในทํานองเดียวกับโครงเรื่องใหญ่

    หรืออาจตรงข้ามกับโครงเรื่องใหญ่ แต่โครงเรื่องย่อยต้องประสานสอดคล้องเป็นเอกภาพกับโครง-

    เรื่องใหญ่

    ๓. ตัวละคร คือ ผู้ที่แสดงบทบาทพฤติกรรมต่างๆ ในเรื่อง แบ่งได้ ๒ ประเภท คือ

    ตัวละครเอกกับตัวละครประกอบ ตัวละครเอกคือตัวละครที่เป็นศูนย์กลางของเรื่อง ส่วนตัวละคร

    ประกอบคือตัวละครที่มีส่วนช่วยให้เรื่องดําเนินไปได้ด้วยดี

    ๔. บทสนทนา คือ คําพูดที่ตัวละครใช้สื่อสารโต้ตอบกัน ซึ่งแสดงให้เห็นทรรศนะ

    และอุปนิสัยของตัวละคร ตลอดจนสามารถสะท้อนให้เห็นโลกทรรศน์และชีวทรรศน์ของผู้แต่ง

    ๕. ฉาก คือ เวลา สถานที่รวมถึงสิ่งแวดล้อมอื่นๆ ในเรื่อง เป็นส่วนประกอบของ

    เรื่องที่ช่วยให้เข้าใจเหตุการณ์ในเนื้อเรื่อง กําหนดบุคลิกลักษณะของตัวละครและการดําเนินเรื่อง

    ตลอดจนช่วยสื่อความคิดของผู้แต่ง

    ๖. บรรยากาศ คือ รายละเอียดต่างๆ ที่สร้างขึ้นเพื่อก่อให้เกิดอารมณ์อย่างใดอย่าง

    หนึ่งและมีส่วนทําให้ตัวละครเกิดพฤติกรรมต่างๆ

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×