ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    The way to "The writer"

    ลำดับตอนที่ #1 : แนวคิดแบบต่างๆของนวนิยาย by เถกิง พันธุ์เถกิงอมร

    • อัปเดตล่าสุด 24 พ.ย. 56


    ๑. แนวสัญลักษณ์นิยม (Symbolism) คือการใช้สัญลักษณ์ในการสื่อความหมาย

    และใช้วิธีนําเสนอในลักษณะแฝงนัย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อบอกหรืออธิบายสิ่งที่ไม่อาจบอก

    หรือไม่ต้องการบอกตรงๆ วรรณกรรมแนวสัญลักษณ์นิยมมีลักษณะเดิน ๔ ประการ ได้แก่

    ๑.๑ มีวัตถุประสงค์เพื่อมุ่งแสดงความคิด

    ๑.๒ ใช้สัญลักษณ์เพื่อแสดงความคิดในรูปแบบที่แนะความหมาย

    ๑.๓ ใช้รูปแบบที่เข้าใจง่ายไม่เคร่งครัด

    ๑.๔ แสดงความรู้สึกที่เป็นอัตวิสัย แต่มีวัตถุประสงค์ให้ตีความหลายอย่าง

    ๒. แนวเซอร์เรียลลิสซึม (Surrealism) คือแนวคิดทางศิลปะที่มุ่งเน้นให้เห็นตัวตน

    ภายในของมนุษย์ (Inter self) อันเป็นเรื่องของจิตใต้สํานึกที่เกี่ยวกับความปรารถนาที่ซ่อนเร้นอยู่

    ในตัวเอง และไม่ยึดติดอยู่กับหลักการทางวิทยาศาสตร์หรือหลักศีลธรรม การเขียนวรรณกรรม

    เซอร์เรียลลิสซึม จะใช้การเปรียบเทียบสิ่งที่ดูเหมือนจริงกับสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ มีการใช้สัญลักษณ์ แทนความรู้สึกนึกคิดที่อยู่เหนือความจริง นอกจากนั้นยังใช้วิธีเสนอในแบบย้อนกลับไปกลับมา

    ขาดความต่อเนื่อง และไม่เป็นเหตุเป็นผล หรือหาสาระไม่ได้ แต่ถ้านํามาวิเคราะห์ตีความจะพบ

    สาระในความเป็นไปได้ เพราะวรรณกรรมแนวเซอร์เรียลลิสซึมมีแนวคิดที่ว่าสิ่งที่อยู่เหนือจริงจะมี

    ความหมายมากกว่าความเป็นจริง

    ๓. แนวนวนิยม (Modernism) คือแนวคิดที่นิยมในหลักเหตุผล และวิธีการทาง

    วิทยาศาสตร์นวนิยมในวรรณกรรมมีลักษณะที่เลิกยึดมั่นในภาษาและท่วงทํานองการเขียนตาม

    แบบแผน หรือธรรมเนียมนิยม เลิกยกย่องวรรณคดีแบบเก่า ลักษณะเดินของงานเขียนแนว

    นวนิยมจะเน้นการสะท้อนสภาวะจิตสํานึกของตัวละคร มากกว่าการแสดงให้เห็นการกระทํา หรือ

    พฤติกรรมของตัวละคร ทั้งในระดับจิตสํานึก และจิตใต้สํานึก โดยปราศจากการปรุงแต่ง หรือการ

    ชี้แนะจากผู้เขียน

    ๔. แนวหลังนวนิยม หรือหลังสมัยใหม่ (Postmodernism) คือ แนวคิดที่เกิดจาก

    การนําแนวคิด นวนิยมมาใช้แบบสุดขั้วโดยเห็นว่าแนวนวนิยมเป็นสิ่งที่ล้าสมัย ซึ่งวรรณกรรม

    แนวหลังนวนิยมนี้จะปฏิเสธรากฐานความคิด ความเชื่อ และประสบการณ์ที่ยอมรับกันมาแต่ก่อน

    โดยมีความคิดว่าวรรณกรรมแต่ละเรื่องเป็นงานเอกเทศ ไม่มีเรื่องใดสําคัญกว่า ดีกว่า หรือยิ่งใหญ่

    กว่าวรรณกรรมอีกเรื่องหนึ่ง ทั้งนี้จะไม่คํานึงถึงวัตถุประสงค์ของผู้เขียนที่เป็นการแหวกขนบ หรือ

    มุ่งเน้นหลักเกณฑ์ แต่สนใจเรื่อง ความไม่มีอะไร” “ความไม่ยึดมั่นกับสิ่งใดหรือ ความว่าง

    เปล่าปราศจากการผูกมัดทั้งในด้านการใช้ภาษา การวางโครงเรื่อง การสร้างตัวละคร เป็นต้น

    นอกจากนี้วรรณกรรมในแนวหลังนวนิยมอาจมีชื่อเรียกแตกต่างกัน เช่น เรื่องสมมติหลังนวนิยาย

    (Postmodern fiction) “เหนือเรื่องสมมติ” (MetafictionหรือSurfiction) โดยลักษณะของ

    วรรณกรรมประเภทนี้จะเน้นการตั้งคําถามเกี่ยวกับปัญหาความสัมพันธ์ระหว่างภาษา และความ

    จริงที่อยู่นอกเหนือระบบภาษา

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×