ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ภาษาไทย...ในยาไทย

    ลำดับตอนที่ #6 : ญ่าฝรั่น

    • อัปเดตล่าสุด 7 ธ.ค. 50


                    ญ่าฝรั่น  เป็นเครื่องยาและเครื่องเทศอย่างหนึ่งที่ใช้มาแต่โบราณ  เป็นของเทศ  ไทยเรียกตามชื่อภาษาแขกว่า “Jafran” (เทียบเสียงเป็นภาษาไทยได้ว่า ญ่าฝรั่น)  ไม่ควรเขียนเป็น ย่าฝรั่นหรือ หญ้าฝรั่น  เพราะไม่ใช่ของที่ได้จากหญ้า  ฝรั่งเรียกเครื่องเทศนี้ว่า “Saffron”  ได้จากส่วนปลายเกสรตัวเมียของต้น Crocus sativus L.  วงศ์ Iridaceae ซึ่งปลูกมากในประเทศสเปนและโปรตุเกส  ในเอเชียมีปลูกมากที่อินเดียตอนเหนือและแถบทิเบต  ดอกของพืชชนิดนี้จะบานในเดือนตุลาคม  เราต้องใช้ประมาณ 100,000 ดอก  จึงจะทำญ่าฝรั่นได้ 1 กิโลกรัม

                    เครื่องเทศชนิดนี้มีกลิ่นหอม  รสฉุน  จัดว่าเป็นพืชที่มีวิตามิน B2  สูงที่สุดในธรรมชาติ  โดยมีประมาณ 5 14 มิลลิกรัมต่อน้ำหนัก 100 กรัม (รองลงมาคือน้ำผึ้ง)  ชาวฝรั่งใช้ญ่าฝรั่นในการแต่งสีและกลิ่นของอาหาร  ส่วนแพทย์แผนไทยโบราณใช้เป็นยาขับเหงื่อ  ขับระดู  เป็นยาธาตุ  และยาแก้ปวด

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×