ลำดับตอนที่ #2
คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #2 : ยา... กินเวลาไหนดี?
หลายๆคนคงเคยได้รับยาพร้อมคำแนะนำจากแพทย์หรือเภสัชกรผู้จ่ายยา ว่าให้รับประทานยานี้ก่อนหรือหลังอาหาร แล้วเคยสงสัยไหมครับ ว่าการกินยาก่อนและหลังอาหารนี้ให้ผลแตกต่างกันอย่างไร ไม่ปฏิบัติตามนั้นได้หรือไม่
หลายๆคนอาจจะเดาว่า การที่ให้กินยาก่อนอาหารนั้น คงเพราะไม่ต้องการให้กรดในกระเพาะไปทำลายยา ความเชื่อนี้ไม่ถูกต้องครับ เพราะตามปกติ ค่าความเป็นกรดด่าง (pH) ในกระเพาะอาหารจะอยู่ประมาณ 2 (หมายถึงเป็นกรดมาก) เวลาที่เรากินอาหาร แม้ว่าจะมีกรดออกมาย่อยอาหารก็จริง แต่อาหารที่เป็นด่างกลับทำให้ pH ในกระเพาะเพิ่มขึ้นเป็น 3 (เป็นด่างมากขึ้น) ดังนั้น ประเด็นที่ว่ากรดไปทำลายยานั้นจึงตัดทิ้งไปได้
ในความเป็นจริงก็คือ การให้กินยาก่อนอาหาร มีเหตุผล 3 ประการ
1. ยาบางชนิดจะถูกดูดซึมได้ช้าลงหรือน้อยลง เมื่อกินร่วมกันอาหาร ซึ่งอาจจะเกิดจากการที่กระเพาะบีบตัวช้าลงเมื่อมีอาหาร หรืออาจเกิดจากอาหารมีโลหะบางชนิดไปจับกับยาก็ได้ เช่น Tetracycline , Quinolones
2. ยาบางชนิดจะออกฤทธิ์ได้ดีเมื่อกระเพาะอาหารเป็นกรดมาก จึงต้องให้กินก่อนอาหาร เช่น Omeprazole
3. ยาบางชนิด กินก่อนอาหารเพื่อหวังผลเคลือบแผลหรือปกป้องกระเพาะและลำไส้ เช่น Antacid , Cimethidine
ส่วนยาที่มักจะให้กินหลังอาหาร มีเหตุผล 2 ประการ คือ
1. ยานั้นระคายเคืองกระเพาะอาหารมาก จึงต้องใช้อาหารไปช่วยเจือจางผลของยา เช่น Aspirin , Ibuprofen
2. ยานั้นถูกดูดซึมได้ดีที่กระเพาะอาหาร การที่กระเพาะบีบตัวช้าลงเพราะอาหาร จึงเป็นผลดีต่อการดูดซึมยา เช่น Phenytoin , Propranolol
นอกจากนั้น ยังมียาบางประเภทที่มักให้กินก่อนนอน ทั้งนี้เพราะผล 2 ประการ คือ
1. ต้องการฤทธิ์ช่วยให้นอนหลับของยานั้นๆ เช่น Diazepam , Chlorpheniramine
2. ต้องการหลีกเลี่ยงผลข้างเคียงของยา เช่น คลื่นไส้ อาเจียน โดยการทำให้หลับไปเสีย
ดังนั้น จึงควรรับประทานยาตามที่ระบุไว้ในฉลาก โดยยาก่อนอาหาร ควรรับประทานก่อนอาหารอย่างน้อย 30 นาที ส่วนยาหลังอาหาร ควรรับประทานหลังอาหารไม่เกิน 30 นาทีเช่นกันครับ
หลายๆคนอาจจะเดาว่า การที่ให้กินยาก่อนอาหารนั้น คงเพราะไม่ต้องการให้กรดในกระเพาะไปทำลายยา ความเชื่อนี้ไม่ถูกต้องครับ เพราะตามปกติ ค่าความเป็นกรดด่าง (pH) ในกระเพาะอาหารจะอยู่ประมาณ 2 (หมายถึงเป็นกรดมาก) เวลาที่เรากินอาหาร แม้ว่าจะมีกรดออกมาย่อยอาหารก็จริง แต่อาหารที่เป็นด่างกลับทำให้ pH ในกระเพาะเพิ่มขึ้นเป็น 3 (เป็นด่างมากขึ้น) ดังนั้น ประเด็นที่ว่ากรดไปทำลายยานั้นจึงตัดทิ้งไปได้
ในความเป็นจริงก็คือ การให้กินยาก่อนอาหาร มีเหตุผล 3 ประการ
1. ยาบางชนิดจะถูกดูดซึมได้ช้าลงหรือน้อยลง เมื่อกินร่วมกันอาหาร ซึ่งอาจจะเกิดจากการที่กระเพาะบีบตัวช้าลงเมื่อมีอาหาร หรืออาจเกิดจากอาหารมีโลหะบางชนิดไปจับกับยาก็ได้ เช่น Tetracycline , Quinolones
2. ยาบางชนิดจะออกฤทธิ์ได้ดีเมื่อกระเพาะอาหารเป็นกรดมาก จึงต้องให้กินก่อนอาหาร เช่น Omeprazole
3. ยาบางชนิด กินก่อนอาหารเพื่อหวังผลเคลือบแผลหรือปกป้องกระเพาะและลำไส้ เช่น Antacid , Cimethidine
ส่วนยาที่มักจะให้กินหลังอาหาร มีเหตุผล 2 ประการ คือ
1. ยานั้นระคายเคืองกระเพาะอาหารมาก จึงต้องใช้อาหารไปช่วยเจือจางผลของยา เช่น Aspirin , Ibuprofen
2. ยานั้นถูกดูดซึมได้ดีที่กระเพาะอาหาร การที่กระเพาะบีบตัวช้าลงเพราะอาหาร จึงเป็นผลดีต่อการดูดซึมยา เช่น Phenytoin , Propranolol
นอกจากนั้น ยังมียาบางประเภทที่มักให้กินก่อนนอน ทั้งนี้เพราะผล 2 ประการ คือ
1. ต้องการฤทธิ์ช่วยให้นอนหลับของยานั้นๆ เช่น Diazepam , Chlorpheniramine
2. ต้องการหลีกเลี่ยงผลข้างเคียงของยา เช่น คลื่นไส้ อาเจียน โดยการทำให้หลับไปเสีย
ดังนั้น จึงควรรับประทานยาตามที่ระบุไว้ในฉลาก โดยยาก่อนอาหาร ควรรับประทานก่อนอาหารอย่างน้อย 30 นาที ส่วนยาหลังอาหาร ควรรับประทานหลังอาหารไม่เกิน 30 นาทีเช่นกันครับ
เก็บเข้าคอลเล็กชัน
ความคิดเห็น