ที่มาของชื่อหน่วย - ที่มาของชื่อหน่วย นิยาย ที่มาของชื่อหน่วย : Dek-D.com - Writer

    ที่มาของชื่อหน่วย

    แนะนำชื่อของหน่วยทางวิทยาศาสตร์ ที่มีที่มาจากชื่อนักวิทยาศาสตร์ต่างๆครับ ใครอยากรู้ที่มาของหน่วยไหนเพิ่มเติมก็บอกนะครับ ที่มาหลัก : wikipedia

    ผู้เข้าชมรวม

    2,216

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    5

    ผู้เข้าชมรวม


    2.21K

    ความคิดเห็น


    3

    คนติดตาม


    2
    เรื่องสั้น
    อัปเดตล่าสุด :  11 เม.ย. 51 / 20:35 น.


    ข้อมูลเบื้องต้น
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ

      ชื่อหน่วย

      หน่วยของ

      ที่มา

      อื่นๆ

      Newton

      Force (แรง)

      มาจากชื่อของ Sir Isaac Newton ซึ่งเป็นนักฟิสิกส์ชาวอังกฤษในสมัยค.ศ. 1643 1727  เขาเป็นผู้ค้นพบกฏแห่งแห่งโน้มถ่วงที่มีชื่อเสียงมากในปัจจุบัน

      1 N = 1 kg m s -2

      Ampere

      Electric current (กระแสไฟฟ้า)

      ตั้งชื่อตาม André – Marie Ampère  นักวิทยาศาสตร์ชาวฝรั่งเศส  หนึ่งในผู้ค้นพบแม่เหล็กไฟฟ้า

      หน่วยของกระแสไฟฟ้าคงตัวซึ่งเมื่อให้อยู่ในตัวนำตรงและขนานกัน 2 เส้น ที่มีความยาวไม่จำกัดและมีพื้นที่หน้าตัดน้อยจนไม่ต้องคำนึงถึง และวางห่างกัน 1 เมตรในสุญญากาศแล้ว จะทำให้เกิดแรงระหว่างตัวนำทั้งสองเท่ากับ 2×10 7 นิวตันต่อความยาว 1 เมตร

      Kelvin

      Thermodynamic temperature (อุณหภูมิ อุณหพลวัต)

      ตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติแก่นักฟิสิกส์และวิศวกรชาวอังกฤษ William Thomson, 1st Baron Kelvin  ซึ่งชื่อบรรดาศักดิ์นี้ตั้งตามชื่อ แม่น้ำเคลวิน ที่ตัดผ่าน The University of Glasgow  ประเทศ Scotland

      หน่วยของอุณหภูมิอุณหพลวัติ (หรืออุณหภูมิสัมบูรณ์) มีค่าเท่ากับ 1/273.16 ของอุณหภูมิอุณหพลวัติของจุดร่วมสามสถานะของน้ำ

      Hertz

      Frequency (ความถี่)

      มาจากชื่อนักฟิสิกส์ชาวเยอรมัน ชื่อ Heinrich Rudolf Hertz  เป็นนักวิทยาศาสตร์ทางด้าน แม่เหล็กไฟฟ้า

      1 Hz = s-1

      Joule

      Energy (พลังงาน)

      มาจากชื่อของนักฟิสิกส์ที่ชื่อ James Prescott Joule มีชีวิตอยู่ในช่วงปีพ.ศ. 2361 – 2432

      1 J = N m = kg m2 s-2

      degree Celsius

      Temperature (อุณหภูมิ)

      ตั้งตามชื่อของนาย Anders Celsius  ซึ่งมีชีวิตอยู่ระหว่าง ค.ศ. 1701 – 1744  เขาเป็นนักดาราศาสตร์ชาวสวีเดน

      °C = K – 273.15

      Watt

      Power (กำลัง)

      ตั้งตามชื่อของ James Watt (พ.ศ. 2279 – 2362)  วิศวกรและนักประดิษฐ์ ชาวสกอตแลนด์  ผู้ปรับปรุงเครื่องจักรไอน้ำ

      1 W = J/s = kg m2 s-3

      Pascal

      Pressure (ความดัน)

      ถูกตั้งหลังจาก Blaise Pascal  ชาวฝรั่งเศสผู้เป็นทั้งนักคณิตศาสตร์  นักฟิสิกส์  และนักปรัชญา  ได้คิดค้น barometer  ซึ่งเป็นเครื่องวัดความดันอากาศขึ้น

      1 Pa = N/m2 = kg m -1 s-2

      Coulomb

      Electric charge (ประจุไฟฟ้า)

      ตั้งตามชื่อของ Charles Augustin de Coulomb  นักฟิสิกส์ชาวฝรั่งเศส  ผู้คิดค้นกฎของคูลอมบ์ขึ้นมา

      1 C = A s

      Volt

      Electrical potential difference (ความต่างศักย์ไฟฟ้า)

      ตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติแก่ Count Alessandro Giuseppe Antonio Anastasio Volta (1745 – 1827)  ซึ่งเป็นนักฟิสิกส์ชาว Venetian ผู้คิดค้นและพัฒนาเซลไฟฟ้าขึ้น

      1 V = J/C = kg m2 A-1 s-3

      Ohm

      Electrical resistance (ความต้านทานไฟฟ้า)

      ตั้งชื่อตาม Georg Simon Ohm (1789 1854)  เขาเป็นนักฟิสิกส์ชาวเยอรมัน  ผู้คิดค้นกฎของโอห์มเกี่ยวกับไฟฟ้า

      1 W = V/A = kg m2 A-2 s-3

      Weber

      Magnetic flux

      ตั้งชื่อตามนักฟิสิกส์ชาวเยอรมัน  ชื่อ Wilhelm Eduard Weber (1804 1891)

      1 Wb = kg m2 s-2 A-1

      Tesla

      Magnetic field (สนามแม่เหล็ก)

      ตั้งตามชื่อของ Nikola Tesla  ผู้เป็นทั้งนักวิทยาศาสตร์  นักประดิษฐ์  และวิศวกรไฟฟ้า

      1 T = Wb/m2 = kg s-2 A-1

      Henry

      Electric inductance (ความเหนี่ยวนำไฟฟ้า)

      ตั้งชื่อตาม Joseph Henry (1797 1878) นักวิทยาศาสตร์ชาวอเมริกัน  เขาเป็นผู้ค้นพบความเหนี่ยวนำกระแสไฟฟ้าในช่วงเวลาเดียวกับที่  Michael Faraday  นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษก็ค้นพบเช่นกัน

      1 H = Ω s = kg m2 A-2 s-2

      Siemen

      Electric conductance (ความนำไฟฟ้า)

      ตั้งชื่อตาม Ernst Werner von Siemens (1816 1892)  ซึ่งเป็นนักประดิษฐ์และนักอุตสาหกรรม (industrialist) ชาวเยอรมัน

      1 S = Ω-1 = kg-1 m-2 A2 s3

      Becquerel

      Radioactivity (กัมมันตภาพรังสี)

      ตั้งตามชื่อของ Antoine Henri Becquerel (1852 1908)  นักฟิสิกส์ชาวฝรั่งเศสซึ่งได้รับรางวัลโนเบลจากการค้นพบกัมมันตภาพรังสี

      1 Bq = s-1

      Gray

      Absorbed radiation dose (ขนาดกำหนดของการดูดกลืนรังสี)

      ตั้งตามชื่อของ Louis Harold Gray (1905 1965)  นักฟิสิกส์ชาวอังกฤษ  ผู้ทำงานเกี่ยวกับรังสีและชีววิทยา

      1 Gy = J/kg = m2 s-2

      Sievert

      Dose equivalent (ขนาดกำหนดของกัมมันตภาพรังสี)

      ตั้งชื่อตาม Rolf Maximilian Sievert (1896 1966)  นักฟิสิกส์การแพทย์  ที่อุทิศตนเพื่อศึกษาผลของรังสีที่มีต่อสิ่งมีชีวิต

      1 Sv = J/kg = m2 s-2

      Farad

      Capacitance (ความจุไฟฟ้า)

      ตั้งตามชื่อของ Michael Faraday (1791 1867) นักเคมีและฟิสิกส์ชาวอังกฤษ  ซึ่งค้นพบสนามแม่เหล็กไฟฟ้าและค้นคว้าเกี่ยวกับไฟฟ้าเคมี

      1 F = Ω-1 s = A2 s4 kg-1 m-2

      Curie

      Radioactivity (กัมมันตภาพรังสี)

      ตั้งเพื่อเป็นเกียรติแก่นักวิทยาศาสตร์ผู้มีชื่อเสียงเกี่ยวกับการค้นพบธาตุกัมมันตรังสีหลายชนิด 2 ท่าน  คือ Marie และ Pierre Curie

      1 Ci = 3.7×1010 Bq

       

      ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

      loading
      กำลังโหลด...

      ความคิดเห็น

      ×