ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ชีวประวัตินักวิทยาศาสตร์

    ลำดับตอนที่ #9 : โจเซฟ ลิสเตอร์ [ผู้ประดิษฐ์ยาฆ่าเชื้อโรคในปากหรือลิสเตอรีนนั่นเอง]

    • อัปเดตล่าสุด 14 มิ.ย. 52



         โจเซฟ  ลิสเตอร์  หรือ  ลอร์ด ลิสเตอร์  เป็นนักวิทยาศาสตร์การแพทย์ ที่ประสบความสำเร็จในการค้นพบวิธีป้องกันเชื้อโรคในอากาศเข้าสู่บาดแผลในการผ่าตัดคนไข้และเป็นผู้ประดิษฐ์ยาฆ่าเชื้อโรคในปาก  ที่รู้จักกันแพร่หลายทุกวันนี้ว่า ลิสเตอรรีน (Listerine) ซึ่งตั้งตามชื่อสกุลให้เป็นเกียรติแก่เขา

          เขาเกิดเมื่อวันที่ 5 เมษายน  ค.ศ.1827 (พ.ศ.2370) ที่เมืองเอสเซกซ์  ประเทศอังกฤษ  เมื่อสำเร็จการศึกษาชั้นสามัญแล้ว  ได้เรียนแพทย์ต่อที Quacker  School เมืองฮัทชิน  และที่ฮอตเตนแฮม  ซึ่งเป็นหลักสูตรชั้นต้นของวิชาแพทย์  เมื่อจบหลักสูตรแล้วจึงเข้าเรียนต่อในหมาวิทยาลัยการแพทย์ที่กรุงลอนดอน  ได้รับปริญญา M.B. และ F.R.C.S.  เมื่อปี  ค.ศ. 1852(พ.ศ.2395)

          หลังจากรับปริญญาแล้ว  ลิสเตอร์เข้ารับการฝึกงานกับนายแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางสรีระวิทยา  คือ  นายแพทย์วิลเลียม ชาเปย์  และนายแพทย์วาร์ตัน  โจนส์  เขาฝึกหัดอยู่ปีหนึ่ง  ก็ได้รับการสนับสนุนจากนายแพทย์วิลเลียม  ชาเปย์  ให้ไปฝึกงานกับนายแพทย์ใหญ่อีกผู้หนึ่งที่เมืองเอดินบะระ  สกอตแลนด์

         งานแพทย์ที่เขาสนใจมากคือ  การผ่าตัด  เขาศึกษาทางนี้อย่างจริงจัง  และยังได้รวบรวมงานค้นคว้าทั้งหมดของเขาตีพิมพ์เป็นเล่มให้ชื่อว่า  The  Early  of  Stages  of  Inflammation  หนังสือเล่มนี้กล่าวถึงการอับเสบระยะเริ่มแรกของบาดแผลที่ผ่าตัด  การเกิดโลหิตเป็นพิษ  และโรคร้าย  ซึ่งเป็นอันตรายสำหรับคนไข้

          ความสำเร็จในด้านการแพทย์ของลิสเตอร์  คือ  เขาค้นพบสาเหตุที่ทำให้บาดแผลเกิดหนอง  เรื่องนี้เขาอาศัยหลักกการของหลุยส์  ปาสเตอร์  นายแพทย์ฝรั่งเศษ คือ การที่เกิดบาดแผลเกิดเป็นหนองได้นั้น  เพราะเชื้อโรคในอากาศเข้าสู่บาดแผลนั่นเอง  เมื่อเขารู้ถึงการเกิดของมัน  เขาต้องหาทางป้องกันมิให้เชื้อโรคเข้าสู่บาดแผลได้ในเวลาผ่าตัด  เขาคิดค้นอยู่ 3 วิธี  คือ

         1. โดยอาศัยความร้อน
         2. โดยการปิดกั้นบาดแผล
         3. โดยการใช้ยาเคมีทางบาดแผล

            ทั้ง 3 วิธีนี้เขาต้องเลือกวิธีใดวิธีหนึ่ง แล้วเขาก็เอาวิธีที่ 3 มาลองดูก่อน

         ขั้นแรกใช้กรดคาร์บอลิกทาที่บาดแผลของผู้ป่วย กระดูกหัก  แต่มีบาดแผล  กรดคาร์บอริกทำปฏิกิริยากับโลหิตเป็นม่านป้องกันมิให้เชื้อโรคในอากาศผ่านเข้าไปได้  ความสำเร็จของเขา  แม้จะทำความตื่นเต้นให้แก่วงการแพทย์  แต่ลิสเตอร์ก็ยังไม่พอใจ  เพราะยังมิใช้วิธีป้องกันที่สมบรูณ์  เนื่องจากกรดคาร์บอริกไม่เหมาะสำหรับการผ่าตัด  เขาจึงต้องใช้เวลาค้นคว้าต่อไปจนสำเร็จ

          ความสำเร็จและความสามารถในด้านการแพทย์ของเขา    ทำให้เขามีตำแหน่งการงานดีเด่นขึ้นตามลำดับ  ซึ่งต่อมาได้รับตำแหน่งนายแพทย์ผู้ช่วยที่  The  Royal  Infirmary   ได้เป็นศาสตราจารย์วิชาผ่าตัดที่กล๊าสโกว์ เมื่อปี ค.ส.1860(พ.ศ.2403)

          ปี 1877(พ.ศ.2420) เป็นศาสตราจารย์ของมหาวิทยาลัย King's  College  แห่งกรุงลอนดอน

          และเป็นนายแพทย์ประจำพระองค์  ของสมเด็จพระราชินีอังกฤษ

          ปี 1896 (พ.ศ.2439) เขาวางมือจากการรักษาคนไข้หันมาค้นคว้าวิชาการแพทย์เพิ่มเติม  จนได้รับบรรดาศักดิ์เป็น  บารอน  และลอร์ด  ตามลำดับ

           ไม่เฉพาะแต่คนอังกฤษเท่านั้นที่เป็นหนี้บุญคุณของลอร์ด ลิสเตอร์  คนทั่วโลกก็เป็นหนีบุญคุณของเขาเพราะการผ่าตัดช่วยชีวิตคนไข้  ที่ได้ผลโดยสมบูรณ์  เกิดจากมันสมองของเขาโดยแท้  เมื่อเขาถึงแก่กรรมในปีค.ศ.1912(พ.ศ.2455) วันที่ 10 กุมภาพันธ์   รัฐบาลอังกฤษได้ตั้งสถาบันลอสเตอร์ขึ้น  เพื่อระลึกถึงเกียรติคุณของเขา
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×