ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ชีวประวัตินักวิทยาศาสตร์

    ลำดับตอนที่ #6 : เซอร์ไอแซค นิวตัน [ผู้ประดิษฐ์กล้องโทรทรรศ์และแรงโน้มถ่วง]

    • อัปเดตล่าสุด 14 มิ.ย. 52


                                     เซอร์ไอแซค  นิวตัน
                                
             
    ท่านเคยทั้งคำถามกับตนเองหรือไม่ว่า  เหตุใดสิ่งของต่างๆ จึงตกลงสู่พื้นดิน  เช่นผลไม้เมื่อหลุดจากขั้ว   หรือเราโยนขึ้นไปบนอากาศ   และทำไมเมื่อคนเราอยู่ในสุญญากาศคือที่ไม่มีอากาศ  เราจะลอยเคว้งคว้างเหมือนปุยนุ่น  อย่างที่เราเห็นภาพนักบินอวกาศทดลองในห้องที่เป็นสุญญากาศ   เชื่อว่าไม่มีใครเอาคำถามชนิดนี้มาใส่สมอง  แต่ก้มีคนที่ถามตัวเองอย่างนี้  และหาคำตอบให้กับตัวเองสำเร็จ   เขาคือ  เซอร์ไอแซค   นิวตัน
           
            ท่านเซอร์ผู้นี้เป็นคนอังกฤษ   ที่ชาวอังกฤษภาคภูมิใจมาก  เกิดเมื่อวันที่  25  ธันวาคม  ค.ศ.1642   และ  ถึงแก่กรรมเมื่อค.ศ.1727   รวมอายุได้  85  ปี
            
            หมู่บ้านเล็กๆ อันมีชื่อว่า  วูลซอร์ป   อยู่ห่างจากเมืองแกรนธัมในมณฑณลิงคอร์นเซอร์เพียงเล็กน้อย   คือ  ที่เกิดของ  ไอแซค  นิวตัน  เขากำพร้าพ่อตั้งแต่ยังเล็กๆ  มารดาเลี้ยงดูเขาด้วยมรดกอันเป็นผืนนาที่พ่อทิ้งไว้ให้แต่เขากลับไม่สนใจช่วยมารดาทำงาน   เพราะเขาหันเหไปสนใจอยู่กับกลไกลต่างๆ แล้วคิดค้นประดิษฐ์โน่นทำนี่เป็นที่ชื่นชอบของเด็กๆ ในละแวกหมู่บ้าน  เมื่อมารดาส่งเข้าโรงเรียน   เขาก็ไม่ค่อนสนใจการเรียน   ยังรักการประดิษฐ์กรรมต่างๆ  เช่นทำนาฬิกาแดด  ทำเครื่องสีลมสำหรับโม่แป้ง   เขาเรียนสอบขึ้นชั้นอย่างลูกผีลูกคนจนจบวิชาวิสามัญ   มารดาไม่ยอมให้เรียนต่อ   เพราะลูกชายไม่เอาถ่าน  ให้ออกมาทำไร่ไถนา ตอนนั้นนิวตัน  อายุได้  14  ปี
            
          แต่นิวตันก็ไม่นำพาต่อไร่นาสาโท   เขามักจะหลบมุมไปนั่งอ่านตำราเกี่ยวกับการประดิษฐ์คิดค้น   มารดาเห็นว่าเขาจะเอาดีทางเป็นนักกสิกรรมไม่ได้  เลยส่งไปเรียนต่อ
            
          ในปี ค.ศ.1661 (พ.ศ.2204)  ไอแซค  นิวตันอายุ ได้  19 ปี ได้เข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์   เขาเรียนไปด้วย  ทำงานไปด้วย  ที่ว่างานนั้นไม่ใช่มานั่งประดิษฐกรรมอะไร  แต่ทำงานรับจ้างพวกนิสิตรวยๆ ด้วยการเป็นคนรับใช้   เพื่อเก็บหอมรอมริบเป็นทุนการศึกษาของเขา  เพราะมาถึงตอนนี้  ไอแซค  นิวตัน   ได้เปลี่ยนนิสัยเป็นคนละคน   คือรักการเรียน  และเรียนดีทุกวิชา  โดยเฉพาะวิชาคณิตศาสตร์  เขาทำคะแนนได้ยอดเยี่ยม   ในระหว่างการเรียนได้เกิดโรคระบาดใหญ่ในกรุงลอนดอน  มหาวิทยาลัยต้องกิดการเรียน  นิสัตดเดินทางกลับบ้านหมด  ในช่วงระยะนี้ไอแซค  นิวตัน  ได้ใช้เวลาคิดค้นตามความพอใจของเขา

           ประดิษฐ์กรรมที่เขาทำเป็นชิ้นเป็นอันอีกอย่างหนึ่งก็คือ  กล้องโทรทรรศฯ

           กล้องโทรทรรศน์ที่มีผู้ทำขึ้นตามแบบของกาลิเอโอยังไม่มีประสิทธิภาพดีพอ  เพราะเลนส์ยังไม่ดีพอ  เขาใช้เวลาประดิษฐ์เลนส์หน้ากล้องโทรทรรศน์  ให้เห็นได้ชัดเจนกว่าเดิม  เมื่อได้ผลเป็นที่พอใจแล้วเขาจึงหันมาเป็นนักดาราศาสตร์ดูดาวบนท้องฟ้า   แล้วก็เกิดความคิดในเรื่องแสงและสี   สัมยนั้นยังไม่มีใครสนใจเรื่องนี้  รู้กันแต่เพียงว่าแสงแดดเกิดจากดวงอาทิตย์ที่เอื้อชีวิตคนสัตว์และพืช  เมื่อไอแซค  นิวตัน  สนใจเรื่องนี้เขาจึงค้นพบความจริงว่าแสงแดดที่แลเห็นด้วยตาเปล่านั้นมันรวมกันถึง 7 สีด้วยกัน  คือ  สีแดง  สีส้ม  สีเหลือง  สีเขียว  สีน้ำเงิน  สีคราม  และสีม่วง  วิธีแยกสีจากแสงแดดของไอแซก  นิวตัน  ก็คือ  ให้แสงผ่านรูที่เจาะไว้ผ่านเข้าไปในห้องมืด   โดยมีแท่งแก้ว  มันจะแยกสีออกมาให้เห็นชัดเจน   เช่นเดียวกับสายรุ้งซึ่งเป็นปรากฏการณ์ของธรรมชาติหลังฝนตก  (รุ้งเกิดจากแสงแดดผ่านละอองน้ำในอากาศ)

            ผลของการพิสุจน์แสงสีของแสงแดด  ทำให้ไอแซค  นิวตัน  ได้ความคิดใหม่ๆ  ในการประดิษฐ์กล้องโทรทรรศน์  และสร้างชื่อเสียงให้แก่ตัวเขาเอง  ปรากฏว่าในปี  ค.ศ1671 (พ.ศ.2214)  ไอแซก  นิวตัน  ได้รับการแต่งตั้งเป็นศาสตราจารย์ทางวิชาคณิตศาสตร์  และรุ่งขึ้นอีกหนึ่งปี  เขาได้รับเลือกเป็นสมาชิกสมาคมค้นคว้าวิชาวิทยาศาสตร์แห่งราชสำนัก  ในขณะที่เขามีอายุเพียง  30  ปี

            ทำไมโลกจึงหมุนรอบดวงอาทิตย์  ทำไมดวงจันทร์จึงหมุนรอบโลก  และทำไมวัตถุต่างๆจึงตกลงสู่พื้น  คำถามเหล่นนี้  ไอแซค  นิวตัน  ได้มาจากการหล่นของลูกแอปเปิ้ล  เขาเก็บมาคิดทันที  และทดลองด้วยตัวเอง  ผลของการทดลองทำให้เขาได้คำตอบว่าโลกมีแรงดึงดูด
      
            พระอาทิตย์ดึงดูดโลก

            โลกดึงดูดดวงจันทร์

            ดวงจันทร์ดึงดูดผิวน้ำให้เกิดน้ำขึ้นน้ำลง

            และอะไรต่อมิอะไรก็ดึงดูดกัน  แต่ถ้าไร้บรรยากาศหรือหลุดพ้นไปจากแรงดึงดูด  ทุกอย่างก็ล่องลอยไปตามยถากรรม

           อย่างนี้นี่เองเมือ่นักบินอวกาศออกมาจากยาน  จึงลอยเคว้งคว้างเหมือนปุยนุ่นต้องลม  

            ในปี ค.ศ.1688 (พ.ศ.2231) ไอแซค  นิวตัน  ได้รับเลือกเป็นผู้แทนมหาวิทยาลัยในรัฐสภา

           ก่อนหน้านี้ไอแซค  นิวตัน  ได้รับเลือกเป็นผู้แทนในการเจรจาคัดค้าน  เรื่องที่ศาสนาจะเข้ามามีบทบาทในมหาวิทยาลัย   นิวตันได้ใช้ความสามารถเต็มที่  ที่จะให้พระเจ้าเจมส์ที่ 2   ทรงยอมรับอภิสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยเกี่ยวกับควาเป็นอิสระในเรื่องศาสนา  และผลของการเจรจา   นิวตันเป็นฝ่ายชนะ

           หลังจากพ้นหน้าที่สมาชิกรัฐสภาแล้ว  ไอแซค  นิวตัน  ก็หันมาค้นคว้างานของเขาต่อไป  เขาทำงานแบบหามรุ่งหามค่ำ  จนเพื่อนฝูงเป็นห่วงใยสุขภาพ   แต่เขาก็ยังทุ่เทสติปัญญาและกำลังให้กับงาน  จนบางครั้งเขาลืมกินลืมนอน  และลืมแต่งงาน   จนมีผู้ทัดทานให้หยุดพักผ่อน  เพราะเกรงว่าโรคประสาทจะเล่นงานเขา   เขาหยุดพักผ่อนชั่วระยะหนึ่ง  ก็กลับมาทำงานใหม่   และได้งานชิ้นสำคัญของชาติ   คือได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้ากรมกระษาปณ์จัดระบบเงินตราให้เข้ารูปเข้ารอย  ปรากฏว่านิวตันทำงานได้เรียบร้อย   และยังแถมทำลวดลายที่เงินตรากับลายน้ำใธนบัตรป้องกันการปลอมแปลงอีกด้วย

           คุณงามความดีของเขาครั้งนั้น  พระเจ้ากรุงอังกฤษ  คือพระนางแอนน์ได้พระราชทานยศขุนนางชั้น "เซอร์"  ให้แก่เขาเมื่อปี ค.ศ.1705(พ.ศ.2248)

           นับตั้งแต่นั้นมา  ท่านเซอร์  ไอแซค  นิวตัน  ก็กลายเป็นขุนนางอังกฤษจนถึงแก่กรรมด้วยโรคนิ่วเมือปี ค.ศ.1727 (พ.ศ.2270)  รวมอายุ 85 ปี  สุสานของเขาอยู่ที่วิหารเวสท์มินสเตอร์  อันเป็นสุสานของผู้ที่ประกอบคุณงามความดีให้แก่ประเทศชาติ  และแก่ชาวดลกทั้งมวล.  

     

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×