คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #5 : กาลิเลอิ กาลิเลโอ [นักดาราสาสตร์ผู้ยิ่งใหญ่ผู้ประดิษฐ์กล้องจุลทรรศ์]
กาลิเลโอ กาลิเลอิ
เขาเป็นชาวอิตาเลียน เกิดที่เมืองปิซาเมืองที่มีหอเอน ซึ่งนับเป็นสิ่งมหัศจรรย์ชิ้นหนึ่งของโลก เขาเป็นผู้ที่หักล้างความเชื่อถือเก่าของนักปราชญ์ จนเกิดเรื่องราวใหญ่โต พวกที่นับถถือพระเจ้า กล่าวหาว่า เขาเป็นคนนอกรีตนอกรอย แล้วก็รวมหัวกันจับเขาเข้าคุก ได้รับความทุกข์ทรมาณจนนัยน์ตาบอดทั้งสองข้าง แต่เขาก็ยังต่อสู้ยังคัดค้านความเชื่อถือเหลวไหลของพวกหัวเก่า จนถึงวาระสุดท้ายของชีวิต
โลกยกย่องให้เขาเป็นนักดาราศาสตร์ผู้ยิ่งใหญ่และเป็นนักบุกเบิกจักรวาลที่สำคัญคนหนึ่ง เขาคือ กาลิเลอิ กาลิเลโอ (Galilei Galileo)
กาลิเลโอ ก็เหมือนกับบุคคลสำคัญๆ อีกหลายคนที่เริ่มต้นชีวิตอย่างลุ่มๆ ดอนๆ บิดาเป็นนักดนตรีและนักคำนวณ เขาควรจะถนัดในเรื่องดีด สี ตี เป่า เจริญรอยตามบิดาเข้าทำนองลูกไม้หล่นไม่ไกลต้น แต่บิดาไม่ต้องการให้เขาเป็นเช่นนั้น กลับให้เขาเป็นพ่อค้า เพราะเห็นว่าอาชีพนี้ตั้งหลักฐานได้มั่นคง แต่กาลิเลโอกลับไม่ชอบ อ้างว่าไม่มีหัวทางนี้ ขอเป็นนายแพทย์ บิดาก็ตามใจ ส่งลูกชายเข้าเรียนในมหาวิทยาลัยปิซา
เมื่ออยู่มหาวิทยาลัยการแพทย์ กาลิเลโอก็มีเรื่องขัดแย้งกับบรรดาคณาจารย์ เนื่องจากอาจารย์ที่สอนเขานั้นใช้ตำราเก่าๆ ซึ่งเป็นตำรากรีซสมัยโบราณ แทนที่อาจารย์จะว่าอะไรว่าตาม กาลิเลโอกลับนำไปทดสอบแล้วก็ได้เหตุผลที่ขัดแย้งกับคำสอนของอาจารย์
มีเรื่องเล่าว่า เมื่อกาลิเลโอยังเป็นเด็กนักเรียนอายุเพียง 17 ปี เขาเข้าไปยืนสังเกตการแกว่งของตะเกียงแขวนภายในโบสถ์แห่งเมืองปิซา เขายืนสังเกตดูการแกว่งของตะเกียง แล้วเกิดความคิดอย่างที่คนทั่วๆ ไปไม่คิด คือ ไม่ว่าตะเกียงนั้นจะมีช่วงแกว่งสั้นหรือยาวความเร็วก็มิได้ช้าลงหรือเร็วขึ้นเลย เขาลองนับชีพจรที่ข้อมือแข่งกับการแกว่งของตะเกียง ก็พบว่าไม่ว่าตะเกียงจะแกว่งสูงหรือแกว่งต่ำ เวลาจะเท่ากันหมด จากความรู้ในเรื่องนี้ กาลิเลโอก็ได้ประดิษฐ์เครื่องมือจับชีพจรคนไข้และลูกตุ้มนาฬิกา
เพราะเขาเป็นคนช่างสังเกต และมีความคิดเหนือคนธรรมดา เขาจึงมีเรื่องขัดแย้งกับบุคคลที่มีความช่วยถือเก่าๆ หรือล้าสมัย
อะไรก็ไม่ร้ายเท่าที่เขาไม่ยอมเชื่อทฤษฎีของนักปราชญ์อริสโตเติล (Alistotle) ที่บรรดาศาสตราจารย์เก่าๆ ยึดถือเป็นบรรทัดฐานในการสอนลูกศิษย์ ทฤษฎีของอริสโตเติลมีว่า "วัตถุสองสิ่งมาน้ำหนักเท่ากัน เมื่อทิ้งลงมาจากที่สูงจะตกถึงพื้นดินในเวลาต่างกัน" กาลิเลโอทำการทดลองคัดค้านทฤษฎีของอริสโตเติลด้วยการขึ้นไปทำการทดลองบนหอเอนปิซาด้วยการทิ้งวัตถุทรงกลมสองลูกที่มีนำหนักต่างกันลงมา โดยมีคนดูผลการพิสูจน์ของเขานับพัน ผลปรากฏว่า ทฤษฎีของอริสโตเติลใช้ไม่ได้
เพราะการคัดค้านความเชื่อถืออย่างไม่มีเหตุผลของนักปราชญ์เก่าๆ แบบหัวชนฝาของกาลิเลโอนี่เอง ทำให้เขา "ดัง" กลายเป็นคนที่มีลูกศิษย์ลูกหามามาย ไม่ว่าเขาจะไปปาฐกถาที่ไหน จะมีคนฟังอย่างล้นหลาม ในเวลาเดียวกัน เขาก็กลายเป็นศัตรูหมายเลขหนึ่งของคน "หัวเก่า" แต่เขาก็ไม่สะดุ้งสะเทือน
ทำไมเขาจึงได้ชื่อว่า เป็นนักดาราศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ของโลก เรื่องนี้ก็มาจากผลแห่งการไม่ยอมเชื่อถือความเชื่อของนักปราชญ์รุ่นเก่านั่นเอง
คนโบราณมีความเชื่อถือในเรื่องโลกที่เราอาศัยอยู่ทุกวันนี้แตกต่างไปคนละอย่าง ชาวยุโรปสมัยกลางมีความเชื่อว่าดลกแบน มีท้องฟ้าเพียงครึ่งวงกลมครอบอยู่และเพราะความเชื่อถืออย่างนี้ ทำให้นักเดินเรือไม่กล้าแล่นเรือไปไหนมาไหนไกลๆ กลัวตกโลก จนกระทั่งมีผู้พิสูจน์ว่าโลกกลม จึงเลิกเชื่อถือเก่าๆ และนายแม็กเจลแลน ผู้ทำให้นักเดินเรือไม่กลัวตกโลกอีกต่อก็กลายเป็นวีรบุรุษไป
นอกจากความเชื่อถือในเรื่องโลกแบนแล้ว ยังเชื่อกันอีกว่า โลกเป็นจุดศูนย์กลางในเอกภพอีกด้วย คือโลกอยู่ตรงกลาง มีดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และดวงดาวโคจรหรือหมุนรอบโลก ซึ่งเป็นหลักของพโตเลมี่ นักปราชญ์ชาติกรีซ (ความจริงดวงอาทิตย์เป็นจุดศูนย์กลางของเอกภพ (เฉพาะระบบสุริยะจักรวาลของเรา) มีโลก ดวงจันทร์ และดวงดาวโคจรรอบดวงอาทิตย์) ความเชื่อถือในเรื่องนี้มีมากกว่า 2,000 ปีแล้ว จนกระทั่งในปี ค.ศ.1512 (พ.ศ.2055) นักดาราศาสตร์ชาวโปแลนด์ชื่อ นิโคลัส คอเปอร์นิคัส (Nicholas Copernicus) เป็นผู้คัดค้านทฤษฎีนี้ แต่เมื่อมีผู้ขัดแย้งให้เขาอธิบายข้อเท็จจริง เพื่อหักล้างความเชื่อถือของเขานิโคลัสก็ให้คำตอบคลุมๆ เครือๆ
ในขณะที่เกิดการขัดแย้งกันเรื่องโลก หรือดวงอาทิตย์เป็นจุดศูนย์กลางกันอยู่นั้น กาลิเลโอ กำลังมั่งมีศรีสุข มีบ้านอยู่อย่างใหญ่โต มีลูกศิษย์มาก เขาก็หันมาสนใจเรื่องนี้กับเขาบ้าง ซึ่งตอนแรกๆ เขาก็เพียงแต่ค้นคว้าหาความมหัศจรรย์ของจักรวาล ด้วยการประดิษฐ์กล้องโทรทรรศน์ส่องดูดาว เขาทำทั้งๆ ที่ไม่เคยเห็นเพียงแต่ได้ยินข่าวว่า มีผู้ทำกล้องส่องทางไกลหรือกล้องโทรทรรศน์ได้สำเร็จ เป็นชาวดัทช์ชื่อ แฮนส์ ลิบเปอร์ซี่ แต่กล้องโทรทรรศน์ของนายแฮนส์ เมื่องส่องดูสรรพสิ่งใดๆ แล้วหัวกลับ กาลิเลโอสร้างกล้องโทรทรรศน์อย่างมีประสิทธิภาพ คือ ขยายของจริงได้ถึง 30 เท่า และหัวไม่กลับเหมือนของนายแฮนส์
เมื่อกาลิเลโอสร้างกล้องโทรทรรศน์ได้สำเร็จ เขาก็เริ่มจับงานชิ้นนี้ สำรวจดวงจันทร์ ดวงดาวบนท้องฟ้าแล้วพบความจริงว่า ดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางของจักรวาล แดงว่าหลักการของนิโคลัสถูกต้อง และของพโตเลมี่ผิด
จากการสำรวจจักรวาลทำให้กาลิเลโอค้นพบว่าผิวดวงจันทร์ขรุขระ ไม่ราบเรียบเหมือนมองด้วยตาเปล่า (สมัยนี้พวกเราได้รู้จักหน้าตาของดวงจันทรืมากกว่ากาลิเลโอหลายร้อยเท่า) พบวงแหวนของดาวพระเสาร์ พบบริวารของดาวพฤหัส และพบจุดดับของดวงอาทิตย์ การพบความมหัศจรรย์ของจักรวาล ทำให้กาลิเลโกลายเป็นบุคคลที่เกลียดชังของพวกหัวเก่ายิ่งขึ้น เพราะเมื่อกาลิเลโอค้นพบอะไรใหม่ๆ เขาก็จะนำมาสั่งสอนลูกศิษย์ พวกหัวสมัยใหม่หรือพวกที่ถือหางกาลิเลโอพากันผาตำราเก่าๆ ทิ้งหมด พวกหัวโบราณไม่สามารถหาเหตุผลมาลบล้างกาลิเลโอได้ ในที่สุดก้โยนไปให้พระตัดสิน
พวกพระก็คือพวกที่ยึดถือหลักการเก่าๆ คร่ำครึล้าสมัย จึงรวมหัวกันเกลียดชังกาลิเลโอไปด้วย แล้วก็ช่วยกันตั้งข้อหาฉกรรจ์ใส่ร้ายป้ายสีกาลิเลดอว่า เป็นคนนอกรีตนอกรอย เป็นผู้ทำลายศาสนา ครั้งแรกก็ใช้วิธีขู่บังคับไม่ให้กาลิเลโอสอนหสัการใหม่ๆ ตอนนั้นกาลิเลโอย่างเข้าสู่วัยชราแล้ว ประกอบกับโรคภัยไข้เจ็บเบียดเบียน เขาจึงไม่ยอมทำสงครามกับพวกพระ หรือหาเรื่องเดือดร้อนใส่ตัวเหมือนสมัยหนุ่มๆ แต่แล้วเขาก็ไม่สามารถรักษาคำมั่นสัญญาดังให้ไว้กลับพวกพระได้เรา เพราะเขาอดกลั้นที่จะสอนความรู้ใหม่ๆ ที่เขาค้นพบไม่ได้ในปี ค.ศ.1632 (พ.ส.2175) กาลิเลโอได้เขียนหนังสือแพร่หลายออกมาเล่มหนึ่ง ซึ่งขัดแย้งกับพวกพระอย่างรุนแรง เขาถูกบังคับให้สารภาพว่า หลักการที่เขาสอนนั้นผิดหมด แล้วก็ถูกตัดสินจำคุก แต่เมื่อเรื่องนี้รู้ถึงสันตะปาปาที่โรม ซึ่งทรงพระเมตตาแก่เขา กาลิเลดอจึงได้รับการปลดปล่อยตัว
เขาไม่ได้กลับไปใช้ชีวิตสงบอยู่บ้าน แต่แอบไปซ่อนเร้นเขียนหนังสือเผยแพร่ความคิดเห็นของเขาอย่างลับๆ ที่ประเทศเนเธอร์แลนด์ เขาทำงานเอาชนะกับฝ่ายอริและสังขารของตัวเอง จนกระทั่งตาบอดซึ่งมีอายุ 80 ปีแล้ว แม้จะตกอยู่ในดลกมืด แต่สมองของเขายังสว่างไสวด้วยความคิดใหม่ๆ และด้วยหลัการที่ทำให้คนอื่นยอมรับอย่างมีเหตุมีผล
เขาถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 8 มกราคม ค.ศ.1643 (พ.ศ.2186) เมื่อเขาตาย พวกที่เป็นศัตรูกับเขาก็ยังรวมหัวกันขอให้สันตะปาปามีรับสั่งห้ามทำศพกาลิเลโออย่างเปิดเผย และห้ามทำแผ่นจารึกหินอ่อน อันเป็นแบบนิยมของชาวอิตาเลียน แต่ปัจจุบัน เหนือสุสานฝังศพของเขาอยุ่ที่เมืองฟลอเรนซ์ ได้มีอนุสาวรีย์ตั้งตระหง่านอยู่ เพราะเมื่อพวกหัวเก่าสูญสิ้นไปหมดแล้วคุณงามความดีของยอดนักดาราศาสตร์ผู้นี้ก็ปรากฏเด่นเขาตายแต่ตัว แต่หลักวิชาที่ถูกต้องของเขาหาได้ตายตามไปไม่
ความคิดเห็น