ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ชีวประวัตินักวิทยาศาสตร์

    ลำดับตอนที่ #3 : อริสโตเติล [บิดาแห่งวิชาสัตววิทยา]

    • อัปเดตล่าสุด 14 มิ.ย. 52


    อริสโตเติล (Aristotle)

                   อริสโตเติลเกิดเมื่อปี   พ.ศ. 159   หรือราว 382    ปีก่อนคริสต์ศักราช ที่เมืองสตากิลุส   ในแคว้นแดนมาร์ซิโดเนีย   บิดาของท่านเป็นแพทย์หลวง  ประจำราชสำนัก
          พระเจ้าอมินตัส    ซึ่งครองราชสมบัติก่อนพระเจ้าฟิลิป   พระเจ้าแผ่นดินองค์ใหม่นี้พยายามขยายพระราชานุภาพ   และพระราชอาณาเขตออกไปจนมีอำนาจเหนือ
    นครรัฐต่าง ๆ   ของกรีกทั้งหมด   แม้พวกกรีกจะถือว่ามาร์ซิโดเนียอยู่นอกเขตอารยธรรมที่แท้ก็ตาม

         เมื่ออริสโตเติลอายุได้ 17   ปี   เขาได้ไปศึกษาต่อยังกรุงเอเธนส์โดยได้เข้าไปเป็นลูกศิษย์ของเพลโต    ณ   อคาเดมี    อันถือว่าเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของโลกตะวันตก เรารู้แน่ว่าเขาศึกษาคณิตศาสตร์   จริยศาสตร์  และรัฐศาสตร์ ณ สถาบันแห่งนี้ หากจะศึกษาวิชาอื่น ๆ อีก ไม่มีทางทราบได้

         ต่อมา   เขาเป็นทั้งนักศึกษาและอาจารย์   ณ   สำนักแห่งนี้   รวมเวลาทั้งสิ้น 20 ปี ในช่วงนี้   เขาคงจะได้เขียนเรื่องเกี่ยวกับจริยศาสตร์และการเมืองด้วยวิธีเลียนแบบการสนทนาดังที่เพลโตชอบกระทำ  แต่งานพวกนี้ของอริสโตเติลได้หายไปทั้งหมด  ที่รู้ว่าเขาเขียนงานขึ้นเพราะปลูตาก ( Plutarch 120-43 ปีก่อนคริสต์กาล) นักเขียนโบราณของโรมเอ่ยถึงไว้ว่าเคยได้อ่าน

        เมื่อเพลโตสิ้นชีวิตลงเมื่อปี   พ.ศ.197   อริสโตเติลก็ลาออกจากอคาเดมีไป  ซึ่งอาจจะเป็นเพราะว่าเขาเสียใจที่ไม่ได้รับเลือกเป็นอธิการบดีสืบต่อจากเพลโต   แต่ที่เขาจากไปก็อาจจะเป็นสิ่งที่เหมาะสมสำหรับความเจริญงอกงามทางสติปัญญาของเขา   เพราะด้วยสติปัญญาของเขานั้นมีความกว้างไกลเกินขอบเขตของอคาเดมีไปมาก

         เขาจากเอเธนส์ไปกับมิตรสหายจำนวนน้อย   ข้ามทะเลอีเจี้ยนไปยังเอเชียน้อย ( Asia minor )  และอาจจะปักหลักที่เมืองอัสสอส   ( Assos ) แต่ที่แน่นอนคือประสบการณ์ในช่วงนี้ของเขามีผลอย่างมาก   และสำคัญต่อโลกทัศน์ของเขาและทัศนคติของเขาที่เกี่ยวกับมนุษย์ในฐานะที่เป็นสัตว์ แต่เป็นสัตว์ชนิดเดียวที่มีความสามารถทางการเมือง ทั้งนี้เพราะธรรมชาติสร้างให้มนุษย์ขึ้นถึงจุดสูงสุดได้ กล่าวคือ เมื่อมนุษย์รู้จักอยู่ในเมืองหรือนครรัฐ  ( Polis )  ในช่วงนี้เองที่เขาแต่งงานกับภรรยาคนแรก  ซึ่งเป็นชาวมาร์ซิโดเนียด้วยกัน

         ปี พ.ศ.200    เขาได้รับเชิญให้กลับบ้านเกิด   เพื่อไปถวายพระอักษรราชโอรสหนุ่มของพระเจ้าฟิลิป ซึ่งต่อมาคือ พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช เขารับหน้าที่เป็นพระอาจารย์อยู่เพียง 2 ปี   สิ่งที่เขาสอนราชกุมารองค์นี้มีผลหรืออิทธิพลเพียงใดไม่ปรากฏ

          หลังจากนั้น 4-5 ปี   เมื่อปี พ.ศ.207 อริสโตเติลพาครอบครัวกลับไปอยู่กรุงเอเธนส์ การที่เขาจากเอเธนส์ไปประมาณ   1 ทศวรรษ (10 ปี) นั้น   การเมืองในนครรัฐ
    แห่งนี้เปลี่ยนแปลงไปมาก   เดมอสเทนิส (Demosthenes )  เป็นศิลปวาทีคนสำคัญที่คัดค้านการขยายอำนาจของพระเจ้าฟิลิปแห่งมาร์ซิโดเนีย   แต่ก็ปลุกมโนธรรม
    สำนึกของเพื่อนร่วมชาติได้ไม่เพียงพอ   เมื่อทรงได้ชัยชนะในปี พ.ศ.205 แล้ว พระเจ้าฟิลิปสามารถรวบรวมนครรัฐส่วนใหญ่ของกรีกเข้าด้วยกัน ภายใต้การนำของพระองค์ ขณะที่ทรงเตรียมกรีธาทัพไปทวีปเอเชีย ในราวปี พ.ศ.207 นั้นเอง พระเจ้าฟิลิปได้สิ้นพระชนม์ พระเจ้าอเล็กซานเดอร์จึงทรงนำทัพไปแทน

          ที่เอเธนส์ ทัศนคติเกี่ยวกับพระเจ้าฟิลิปแตกแยกกันออกไป พวกชนชั้นสูงที่เป็นเศรษฐีมักสนับสนุนการกระทำของแคว้นมาร์ซิโดเนีย อริสโตเติลเองก็มีเพื่อนฝูงอยู่ในชนชั้นนี้มิใช่น้อย   ทั้งผู้แทนพระองค์ของพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ประจำกรุงเอเธนส์ ก็เป็นมิตรกับอริสโตเติลอีกด้วย ด้วยเหตุนี้ อริสโตเติลจึงสามารถตั้งมหาวิทยาลัยขึ้นใหม่ได้เพื่อแข่งกับอคาเดมีเดิม   สถาบันการศึกษาแห่งนี้   มีชื่อตามตำบลที่ตั้งว่า ลีเซียม ( Lycium ) โดยที่เขาเป็นชาวต่างประเทศ   ย่อมไม่อาจเป็นเจ้าของที่ดินในเอเธนส์ได้ตามกฎหมาย แต่ก็ทำสัญญาเช่าที่ไว้ได้ในระยะยาว

           ตลอดเวลาที่อริสโตเติลเป็นอาจารย์และเขียนตำราอยู่ในกรุงเอเธนส์ช่วงนี้ พระเจ้าอเล็กซานเดอร์ได้ขยายอาณาจักรของมาร์ซิโดเนียออกไปในทวีปเอเชีย   จนกลายเป็นจักรวรรดิขึ้นมา   แต่แล้วอริสโตเติลกลับไม่เอ่ยถึงข้อเท็จจริงที่ว่านี้   หรือนำมาปรากฏในทฤษฎีการเมืองของเขาเลย

          เมื่อพระเจ้าอเล็กซานเดอร์สิ้นพระชนม์ลง ในปี พ.ศ.220 ย่อมเปิดทางให้พวกที่ต่อต้านมาร์ซิโดเนียในเอเธนส์ลุกฮือขึ้นได้มากมายกว่าเดิม   อริสโตเติลเห็นแล้วว่าเขาจะขืนอยู่ในนครรัฐแห่งนี้ต่อไปไม่ได้   จึงย้ายไปอยู่ที่เมืองยูโบเอีย  เขาไปอยู่ที่นั่นได้เพียงปีเดียว ก็ถึงแก่กรรม รวมอายุได้ 62 ปี

         ที่ลีเซียม อริสโตเติลมีอาจารย์หลายคนคอยช่วยแสดงบรรยายวิชาการต่าง ๆ เช่น นักชีววิทยาที่มีชื่ออย่าง   ทีโอฟรัสตัส ( Theophrastus )   อาจารย์เหล่านี้มีหน้าที่สอน
    วิชาหลายแขนง โ  ดยเน้นข้อแตกต่างระหว่าง   theoretike  และ praktike ซึ่งไม่ได้หมายถึงทฤษฎี (ปริยัติ ) และการนำมาประยุกต์ใช้ (ปฏิบัติ) เท่านั้น  หากเป็นการ
    เข้าหาหรือแสวงหาสัจจะโดย 2 วิธี หรือ 2 สาขาของตัวความรู้เลยทีเดียว theoretike ถือว่าเป็นเรื่องในทางปรัชญาและในทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งตั้งอยู่บนทฤษฎี theoria และการสังเกตหรือเก็บข้อมูล ผนวกด้วยการพิจารณาตรึกตรองให้ถ่องแท้ วิทยาการสาขานี้ รวมวิชาอย่างเช่น เทววิทยา อภิปรัชญา ดาราศาสตร์ คณิตศาสตร์ ชีววิทยา พฤกษศาสตร์อุตุนิยมวิทยา อริสโตเติลศึกษาค้นคว้า ขีดเขียน และบรรยายเกี่ยวกับแขนงต่าง ๆ เหล่านี้ทุกวิชา

           เกี่ยวกับงานทางด้านค้นคว้าทางชีววิทยา   อริสโตเติล  ได้จำแนกสัตว์ออกเป็นสองประเภทใหญ่ๆ  ได้แก่  จำพวกที่มีกระดูกสันหลัง (vertebeates) ได้แก่  สัตวืที่เลี้ยงลูกด้วยนม  และมีเลือดดสีแดง   เช่น  คน  สัตว์สี่เท้า   สัตว์เลื้อยคลาน  ปลาวาฬ  และนก อีกจำพวกหนึ่งคือ  สัตว์ที่ไม่มีกระดูกสันหลัง (invertabeates)  ได้แก่แมลงต่างๆ   กุ้ง  หอย  ปู ฯลฯ   นอกจากนี้ยังได้ศึกษาค้นคว้าความเป็นอยู่ของสัตว์น้ำเค็มอีกด้วย   จนได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาแห่งวิชาสัตววิทยา

           แม้กระนั้น  อริสโตเติลก็ยังพลาดโอกาสจนได้  เช่น เขามีวคามเชื่อว่าแมลงเกิดจากน้ำค้าง   และตัวหมัดตัวรเกิดจากสสารที่เน่าเปื่อย  นอกจากนี้เขายังเข้าใจผิดๆ  ในเรื่องวัตถุสองสิ่งมีที่มีน้ำหนักต่างกันเมื่อทิ้งลงจากที่สูงจะถึงพื้นดินต่างเวลากัน  ซึ่งเรื่องนี้กาลิเลโอ  นักดาราสาสร์ชาอิตาเลียนได้ลบล้างความเข้าใจขิงอริสโตเติลได้สำเร็จ  ด้วยการทดลองให้เห็นจริงบนหอเอนแห่งเมืองปิซา

          "สี่ตีนยังรู้พลาด  นักปราญช์ยังรู้พลั้ง"  ว่างั้นเถอะ   คนที่ยังไม่ทำอะไรย่อมไม่มีความผิด  เมื่ออริสโตเติลยัง ดัง"  อยู่  ก็ไม่มีใครมาคัดง้างความเชื่อถือของเขาได้  ก็ต้องศึกษาเล่าเรียนกันไปจนกว่าจะมีผู้รู้แจ้งเห็นจริง  มาแก้ไขท้วงติงให้ถูกต้อง

        อริสโตเติล  รับราชการอยู่ในราชสำนักตลอดพระชนม์ของพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช   จนกระทั้งสิ้นพระชนม์  เขาจึงลาออกจากราชการสำนัก   และอีกไม่กี่ปีต่อมาเขาก็ถึงแก่กรรมที่เมืองแคลเซิล   ก่อนคริสต์ศก 322


    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×