ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ชีวประวัตินักวิทยาศาสตร์

    ลำดับตอนที่ #1 : เกรเกอร์ เมลเดล [บิดาแห่งพันธุศาสตร์]

    • อัปเดตล่าสุด 14 มิ.ย. 52


    ประวัติ

               เกรเกอร์ เมนเดล   บิดาแห่งพันธุศาสตร์ที่ชาวโลกรู้จักกันนั้น มีชื่อจริงว่า โจฮันน์ เมนเดล   เกิดเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม    .. 1822   ในครอบครัวที่พูดภาษาเยอรมัน และนับถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก   ในเมืองไฮเซนดอร์ฟ อาณาจักรออสเตรีย

    เขาเป็นบุตรชายคนกลางของบิดาชื่ออังตวน   เมนเดล และมารดาชื่อโรซีน   เมนเดล เขามีพี่สาว 1 คน และน้องสาว 1 คน    ครอบครัวจัดอยู่ในฐานะดีแต่ไม่ถึงกับมั่งคั่งนัก บิดาของเขาเป็นเกษตรกร   เขาจึงช่วยทำสวนอยู่เสมอ   ทำให้เมนเดล มีความรู้เกี่ยวกับพืชเป็นอย่างดีมาตั้งแต่เด็กๆ   นอกจากนี้เขายังเรียนรู้การทำสวน      และการเลี้ยงผึ้ง

    เมนเดลเริ่มต้นการศึกษาขั้นแรกที่โรงเรียนมัธยมในเมืองทรอปโป  ในเวลาต่อมา บิดาของเขาได้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุ   ทำให้ฐานะทางครอบครัวของเขานั้นยากจนลง เมนเดลต้องลาออกจากโรงเรียนเพื่อช่วยทำงานภายในฟาร์ม และเขาต้องทำงานอย่างหนักจน ล้มป่วย เมื่อเขามีอายุประมาณ 17 ปี

    ในที่สุด ครอบครัวของเมนเดลจึงตกลงขายที่ดินของไร่ที่มีอยู่ทั้งหมด และนำเงินมาแบ่งกัน   น้องสาวของเขาเห็นว่า เขามีความจำเป็นต้องใช้เงินในการศึกษา   เพราะ

    เมนเดลเรียนเก่งมาตั้งแต่เด็กๆ    เธอจึงมอบเงินส่วนของเธอให้กับเขาเพื่อศึกษาต่อจนจบ แต่เงินที่มีอยู่ก็ยังคงไม่เพียงพอ   ในระหว่างเรียนนั้น เมนเดลจึงทำงานไปด้วย ต่อมาใน ภายหลังเมื่อเมนเดลมีงานทำแล้วเขาก็ตอบแทนน้องสาวของ   เขาโดยส่งบุตรชายของเธอเรียนจนจบมหาวิทยาลัย

             พอเริ่มเป็นหนุ่ม    เขาเข้าเรียนที่สถาบันปรัชญาแห่ง    โอโลมุทส์ ซึ่งเป็นวิทยาลัยแห่งหนึ่งในมหาวิทยาลัยแห่งโอโลมุทส์   โดยบรรดาอาจารย์สอนหนังสือในสถาบันแห่งนี้จะเป็นพระในนิกายออกัสติเนียน สถาบันแห่งนี้เน้นการเรียนการสอนด้านปรัชญา เทววิทยา    วรรณกรรมลาติน   ด้านคณิตศาสตร์และฟิสิกส์ขั้นพื้นฐาน   เมนเดลเข้าเรียนที่นี่ในปี ค.. 1840   และเรียนได้เพียงภาคเรียนเดียวแต่ก็ต้องหยุดไปหนึ่งปีเพราะล้มป่วย จากนั้นเขาก็กลับมาเรียนใหม่จนกระทั่งจบการศึกษาในปี ค.. 1843 และเริ่มการฝึกเพื่อเป็นพระ  จากการแนะนำของครูวิชาฟิสิกส์ให้แก่เขา   เขาจึงได้ไปบวชในนิกายออกัสติเนียน   ที่โบสถ์นิกายออกัสติเนียนแห่งเซนต์โธมัส ในบรึนโน ในปี ค.. 1843 ซึ่งเมื่อตอนที่เขาเกิดมานั้นเขา  มีชื่อว่าโจฮันน์ เมนเดล แต่พอเมื่อบวชเป็นพระแล้วเขาได้ฉายานำหน้าชื่อเดิมว่า เกรเกอร์ กลายเป็น เกรเกอร์ โจฮันน์ เมนเดล นับตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา

    ในปี ค.. 1851 เขาถูกส่งตัวไปเรียนที่มหาวิทยาลัยแห่งกรุงเวียนนา   และกลับมาทำงานที่โบสถ์เดิมในปี ค.. 1853 เพื่อเป็นครูสอนวิชาฟิสิกส์ เขาสอนอยู่นานถึง 15 ปีและมีผลงานการสอนที่ดีเด่นเป็นที่ยอมรับ  

         ในการเป็นพระนั้น เขาต้องเดินทางไปในที่ต่างๆ   เพื่อเยี่ยมเยียนผู้เจ็บป่วย ด้วยสุขภาพที่ไม่ค่อยแข็งแรงจึงล้มป่วยและถูกเรียกตัวกลับวัด    ในเวลาเดียวกันกับที่เขาบวชเป็นพระนั้น    เขาก็ได้สอบเพื่อรับประกาศนียบัตรวิชาชีพครูด้วย แต่สอบตก  เพราะได้คะแนนวิชาชีววิทยาต่ำ เพราะตอนที่เขาได้สอบเป็นครูประจำตำบลนั้นคณะกรรมการไม่เข้าใจในคำตอบจึงลงความเห็นว่าเมนเดลมีความรู้น้อย   จนแทบจะสอบชั้นประถมไม่ได้เลย ทั้งที่ความเป็นจริงเมนเดลมีความรู้ทางวิทยาศาสตร์เป็นอย่างดี

    ก่อนที่จะมาเป็น บิดาแห่งพันธุศาสตร์ ได้นั้น เขาได้รับแรงบันดาลใจจากบรรดาศาสตราจารย์ที่มหาวิทยาลัยแห่งเวียนนาและเจ้าอาวาสของโบสถ์ คือ  ซีริล ฟรานซ   แนปป์   ที่สนับสนุนและกระตุ้นให้เขาศึกษาความหลากหลายของพืช   และแหล่งที่เป็นสถานศึกษาเกี่ยวกับพืชของเขานั้น   นั่นก็คือสวนของโบสถ์นั้นเอง แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดที่ปลูกฝังเขามาในด้านนี้คือ   การที่เขามีบิดาเป็นชาวไร่ จึงทำให้เขาชอบศึกษาการแพร่พันธุ์ของพืชชนิดต่างๆ

         จากการที่เมนเดลเคยทำงานในไร่มาก่อน จึงทำให้เขามีความรู้ด้านพืชเป็นอย่างดี เมนเดลได้ปลูกพืชชนิดต่างๆ เป็นจำนวนมากในสวนหลังโบสถ์   เขาเริ่มสังเกตเห็นความแตกต่างของต้นไม้แต่ละต้นทั้งที่เกิดจากต้นกำเนิดเดียวกันและต่างพันธุ์กัน   ดังนั้นเขาจึงเริ่มหันมาให้ความสนใจเกี่ยวกับเรื่องพันธุศาสตร์ และเริ่มทำการทดลอง

        เขาทำงานในสวนของวัดยามว่างเป็นประจำ    ที่นั่นมีพันธุ์พืชมากมายหลายชนิด แต่ละชนิดแตกต่าง  หลากหลายอย่าง     ความแตกต่างนี้ทำให้เมนเดลนึกสงสัย   เขาเกิดความสงสัยว่าอะไรเป็นสาเหตุของสิ่งมีชีวิตทั้งๆที่อยู่ในตระกูลเดียวกันก็ทำให้สี   ขนาด     

     และรูปร่างแตกต่างกันไป   อีกทั้งเขาไม่พอใจและไม่เห็นด้วยกับทฤษฏีกำเนิดชีวิตของชาร์ล ดาร์วิน   จึงได้เริ่มทำการทดลองด้วยการปลูกถั่วและบันทึกเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นตามวิธีการของเขาเอง ระหว่างปี   .. 1856    ถึงปี ค.. 1863 เขาได้ทดลองเพาะต้นถั่วราว 29,000 ต้น เขาได้ผสมพันธุ์ถั่วเดียวกันและต่างพันธุ์ เป็นจำนวนแตกต่างถึง 22 ชนิดของต้นถั่ว เพื่อศึกษาลักษณะทั้งหมด  เป็นเวลารวม 8 ปีเต็ม

        สาเหตุที่เขาเลือกต้นถั่วเพื่อการทดลองนี้   เนื่องจากต้นถั่วเป็นพืชล้มลุก   ใช้ระยะเวลาในการเจริญเติบโตสั้น   และมีพันธุ์ที่แตกต่างกันมากมายหลายพันธุ์ เช่น ชนิดต้นใหญ่ ต้นเตี้ย   ส่วนเมล็ดบางชนิดสีเขียว   สีเหลือง  และสีน้ำตาล    ดังนั้นดอกก็ย่อมมีสีที่ แตกต่างกันด้วย เช่นกัน  คือ   ดอกบางชนิดสีขาว สีม่วงแกมแดง ซึ่งลักษณะของดอกต้นถั่วนี้คือเหตุผลที่สำคัญที่สุดเนื่องจากดอกของต้นถั่วซึ่งเรียกกันตามลักษณะทางพฤกษศาสตร์ว่า ดอกสมบูรณ์เพศ  คือ   ดอกที่มีทั้งเกสรตัวผู้และตัวเมียอยู่ในดอกเดียวกัน ย่อมเป็นการง่ายต่อการนำมาทดลองซึ่ง   ในขั้นต้นเมนเดลได้หว่านเมล็ดพืชลงบริเวณแปลงทดลอง ในเรือนเพาะชำ   และปล่อยให้ต้นถั่วผสมพันธ์และเจริญเติบโตกันเองตามธรรมชาติ   จากผลการทดลองพบว่าต้นถั่วมีขนาดไม่เท่ากันบางต้นสูง  บางต้นเตี้ย   อีกทั้งเมล็ดก็มีสีต่างกัน บางต้นเหลืองอ่อน   บางต้นสีน้ำตาล การทดลองครั้งแรกจึงไม่ประสบผลสำเร็จ เพราะเมนเดลไม่สามารถหาข้อสรุปได้

         จากนั้นเขาจึงทำการทดลองอีกครั้งหนึ่ง   โดยการใช้กระดาษห่อดอกที่ต้องการผสมพันธุ์เพื่อป้องกันไม่ใช้เกิดการผสมพันธุ์กันเอง  จากนั้นเมนเดลได้คัดเลือกเกสรของพันธ์ถั่วชนิดต่างๆ   ที่มากถึง 7 พันธุ์   มาผสมข้ามพันธุ์กัน โดยการทดลองครั้งนี้เมนเดลได้มุ่งประเด็นไปที่ความสูงและความเตี้ยของต้นถั่วเป็นสำคัญ

        เมนเดลนำเกสรตัวผู้ของต้นสูง   มาผสมกับเกสรตัวเมียของต้นเตี้ย   จากผลการทดลองปรากฏว่าได้พันธุ์ทาง (Hybrid) ที่มีต้นเตี้ยและต้นสูง   และไม่มีต้นที่มีความสูงระดับปานกลาง   จากนั้นเขาจึงทำให้การทดลองต่อไปโดยการสลับกัน   คือ นำเกสรตัวผู้ของต้นเตี้ย   มาผสมกับเกสรตัวเมียของต้นสูง  จากนั้นเขาได้สลับไปมาระหว่างต้นสูง และต้นเตี้ยกว่า 10 ครั้ง ทำให้เมนเดลมีเมล็ดถั่วจำนวนมาก เมนเดลได้นำเมล็ดถั่วมาทดลองปลูกปรากฏว่าต้นถั่วชุดแรกได้พันธุ์สูงทั้งหมด   ตามลักษณะเช่นนี้ เมนเดลได้สันนิษฐานว่า พันธุ์ต้นสูงเป็นลักษณะพันธุ์เด่นที่ข่มพันธ์เตี้ยซึ่งด้อยกว่าไว้

       จากนั้นเมนเดลได้ปล่อยให้ต้นถั่วผสมพันธุ์กันเอง และเมื่อเมนเดลเก็บเมล็ดถั่วมาปลูกในปีต่อมา   ผลปรากฏว่าในจำนวน 1,064 ต้น   เป็นต้นสูง 787 ต้น   ต้นเตี้ย 277 ต้น จากสิ่งที่ปรากฏขึ้นทำให้เมนเดลเกิดความสงสัยเป็นอันมาก   ดังนั้นเขาจึงทำการทดลองต่อไปในครั้งที่ 3    ซึ่งใช้วิธีการเดียวกับครั้งแรกและครั้งที่ 2   คือ ปล่อยให้ผสมกันเองตามธรรมชาติ ผลปรากฏว่าได้พันธุ์แท้ตามลักษณะของพ่อแม่พันธุ์ คือ ต้นสูงได้ต้นสูง ต้นเตี้ยได้ต้นเตี้ย

         จากผลการทดลองหลายครั้งซึ่งในเวลานานหลายปีเขาสามารถสรุปได้ และเปิดเผยความจริงเกี่ยวกับการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมว่า   ลักษณะเด่นและด้อยที่อยู่ในแต่ละพันธุ์จะไม่ถูกผสมกลมกลืน แต่ยังคงเก็บลักษณะต่างๆ   ไว้เพื่อถ่ายทอดให้กับลูกหลานภายใน 2-3 ชั่วอายุ   ซึ่งลูกที่ออกมาจะเป็นไปในอัตราส่วน พันธุ์เด่น: พันธุ์ด้อย เท่ากับ 3: 1 เสมอ แต่ถ้ามี การผสมข้ามพันธุ์ไปอีกย่อมเกิดความเปลี่ยนแปลงไปอีกเช่นกัน   ส่วนนี้เป็นเรื่องของพันธุ์ทาง   แต่ถ้าเป็นพันธุ์แท้  คือไม่มีการผสมข้ามพันธุ์แล้วลูกย่อมมีลักษณะเช่นเดียวกับพ่อแม่ แม้จะต่อไปถึง 2-3 ชั่วอายุแล้วก็ตาม

         เมนเดลยังคงอธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับสิ่งเหล่านี้ว่า   ลักษณะทางพันธุกรรมที่ว่านี้ถูกกำหนดโดย    Heredity Atoms ซึ่งอยู่ภายในเซลล์ของสิ่งมีชีวิตทุกชนิด   ปัจจุบันรู้จักกันดีในชื่อของ ยีนส์ ซึ่งเป็นตัวการสำคัญที่ถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมจากพ่อแม่ไปยังลูกหลาน   โดยหน่วยของยีนส์จะอยู่ในทั้งเซลล์สืบพันธุ์ตัวผู้   และเซลล์สืบพันธุ์ตัวเมีย หลังจากการทดลองและพบความจริงของธรรมชาติเกี่ยวกับการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม ในสมัยนั้นมีความเชื่อว่า   ลูกที่เกิดมาต้องมีรูปร่างหน้าตาเหมือนพ่อแม่ทุกอย่าง    เมนเดลสามารถอธิบายให้   เห็นว่าเด็กที่เกิดจากพ่อแม่เดียวกันมีความเหมือนและแตกต่างจากพ่อแม่อย่างไร ปัจจุบันนี้ ทฤษฎีของเมนเดล   ช่วยให้เราสามารถผสมพันธุ์พืชและสัตว์ให้ได้พันธุ์ที่ดีตามต้องการ

    การบันทึกข้อสังเกตต่างๆ  ที่ได้จากการทดลองได้ทำให้เมนเดลพบกฎแห่งพันธุกรรม และเขียนงานวิจัยของเขาเรื่องนี้ออกมาในชื่อว่า “Experiments on Plant Hybridization” และเขาได้นำเสนองานชิ้นนี้ที่การประชุมของสมาคมธรรมชาติวิทยา

    แห่งบรุนน์    ในเมืองโมราเวีย เมื่อปี ค.. 1865 และถูกตีพิมพ์ในวารสาร “Proceedings of the Natural History Society of Brünn” เมื่อปี ค.. 1866 แต่ก็ไม่ได้รับความสนใจมากนัก

          และในเวลาเดียวกันนั้น   เขาก็ได้ส่งรายงานการวิจัยฉบับเดียวกันนี้ไปให้ Karl Nageli   ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการผสมพันธุ์พืชอ่านด้วย แต่เมื่อ Nageli อ่านรายงานของเมนเดลแล้ว   เขามีความรู้สึกสงสัยและเคลือบแคลงในผลสรุปของเมนเดลมาก  เขาจึงได้เสนอแนะให้เมนเดลทดลองใหม่โดยพืชชนิดอื่นแทน   แต่เมนเดลก็มิได้ดำเนินการใดๆ    ตามที่ Nageli เสนอ เพราะเขาได้รับการสถาปนาให้เป็นเจ้าอาวาสประจำโบสถ์ที่ภาระงานบริหารได้ทำให้เขาไม่มีเวลาทำการทดลอง

    เขาเก็บรายงานการทดลองไว้ในห้องสมุดของวัด  และในช่วง 35 ปีต่อมา มีการอ้างอิงถึงผลงานการค้นพบการทดลองของเขาเพียง 3 ครั้งเท่านั้น    อีกทั้งงานของเขายังได้รับการวิพากษ์วิจารณ์อย่างมาก   ณ เวลานั้น แต่ปัจจุบันงานของเขากลับเป็นผลงานที่มีอิทธิพลอย่างมากในภายหลัง

          หลังจากที่เขาทดลองกับถั่วเป็นผลสำเร็จ   เขาก็หันมาทดลองกับผึ้ง   เพื่อขยายการทดลองของเขาจากพืชไปยังสัตว์   เขารวบรวมราชินีพันธ์ผึ้งจากสายพันธ์ยุโรป อียิปต์ และอเมริกา และทดลองผสมข้ามสายพันธ์กัน แต่ก็ล้มเหลวในการให้คำอธิบายเรื่องกฎพันธุกรรมของผึ้ง   เพราะเขาไม่สามารถควบคุมพฤติกรรมการผสมพันธุ์ของผึ้งนางพญาได้

         ในปี ค.. 1868 เขาได้รับการเลื่อนขั้นให้เป็นเจ้าอาวาสของโบสถ์ ทำให้การทดลองทางวิทยาศาสตร์ของเขาต้องยุติลง   เพราะภาระงานบริหารได้ทำให้เขาไม่มีเวลาทำการทดลอง น่าเสียดายว่าในช่วงเวลาที่เขามีชีวิตอยู่นั้นผลงานของเขาได้รับการปฏิเสธและไม่เป็นที่ยอมรับในแวดวง   จนกระทั่งเขาเสียชีวิตแล้วผลงานของเขาถึงจะได้รับการยอมรับ

         ในบั้นปลายของชีวิตนั้น เมนเดลไม่ค่อยมีความสุขนัก   เพราะนอกจากเรื่องระหองระแหงกับรัฐบาลแล้ว ยังมีเรื่องแบ่งแยกเชื้อชาติเกิดขึ้น ทำให้ประเทศออสเตรียเกิดปัญหาที่จะมีการแบ่งแยกประเทศ   นอกจากนี้สุขภาพของเขาก็แย่ลงด้วยโรคภาวะไตอักเสบ    วันที่ 6 มกราคม ค.. 1884    เมนเดลก็เสียชีวิตลงที่โบสถ์นิกายออกัสติเนียนแห่งเซนต์โธมัส ในเมืองบรึนโน ปัจจุบันอยู่ในประเทศเชคโกสโลวาเกีย ด้วยโรคไตอักเสบเรื้อรัง ศพของเขาได้ถูกนำไปฝังที่สุสานใกล้โบสถ์   ในพิธีศพมีสานุศิษย์และชาวบ้านที่ได้เดินทางมาไว้อาลัยแก่เขาในฐานะนักบวชคนหนึ่ง   ผู้ซึ่งได้อุทิศชีวิตให้ทานแก่ผู้ยากไร้ นับเป็นเรื่องที่น่าเสียดายมากว่าหลังจากที่เขาเสียชีวิต เจ้าอาวาสของโบสถ์คนต่อมาได้เผางานเขียนของเมนเดลทั้งหมด

         หลังจากนั้น   ในปี ค.. 1900 มีนักวิทยาศาสตร์ทำการวิจัยเกี่ยวกับรื่องพันธุกรรม และได้ค้นเจอหนังสือของเมนเดลเกี่ยวกับการทดลองเรื่องถั่วในห้องสมุดเป็นผลงาน ของเมนเดลที่ได้เสนอต่อสมาคมตั้งแต่ปี ค..1865 ซึ่งการทดลองนี้ได้เป็นส่วนหนึ่งของความลับในการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิต   รวมถึงมนุษย์ด้วย นอกจากนี้ยังมีบันทึกที่เกี่ยวกับสิ่งอื่นๆ อีกได้แก่การศึกษาชีวิตของผึ้ง   ระยะเวลาของการขึ้นและตกของดวงอาทิตย์    อุณหภูมิประจำวัน ทิศทางของลม และการศึกษาการเจริญเติบโต    การขยายพันธ์ของพืชชนิดอื่นๆ   ซึ่งนับว่ามีประโยชน์อย่างมากสำหรับวงการวิทยาศาสตร์

         นักวิทยาศาสตร์ทั้งสามคนนี้ ต่างก็ได้ทำการทดลองเพื่อพิสูจน์กฎของเมนเดล โดยได้ทดลองตามที่เมนเดลได้กระทำไปแล้ว    ผลการทดลองสอดคล้องกับเมนเดลทุกประการ ไม่มีผู้ใดสามารถคัดค้านกฎของเมนเดลได้    นักชีววิทยา ทั้ง 3 คนนี้ ได้ค้นพบหลักการถ่ายทอดกรรมพันธุ์   เช่นเดียวกันโดยเอกเทศ   ซึ่งต่อมาเรียกว่ากฎของเมนเดล จากนั้นเป็นต้นมาชื่อของเมนเดล จึงเป็นที่รู้จักกันในนามของบิดาแห่งพันธุศาสตร์

    ได้มีการสร้างอนุสาวรีย์เพื่อระลึกถึงเมนเดลขึ้น ที่เมืองบรุนน์ ในวันที่ 2 ตุลาคม .. 1910  

    กฎของเมนเดล

       1.กฎแห่งการแยกลักษณะ  (Law  of  Segregation)
       2.กฎแห่งการเลือกกลุ่มอิสระ  (Law  of  independent  Assortment)
       3.กฎแห่งลักษณะเด่น  (Law of  Dominance)

     

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×