ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ชีวประวัตินักวิทยาศาสตร์

    ลำดับตอนที่ #20 : จอร์ช สตีเฟนสัน [ผู้ประดิษฐ์รถจักรสำหรับลากเป็นคนแรก]

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 2.01K
      1
      17 ต.ค. 52


    จากชีวประวัตินักวิทยาศาสตร์  และนักประดิษฐ์ที่ผ่านมา   จอร์ช สตีเฟนสัน  จะแย่กว่าเพื่อนในด้านการศึกษาเล่าเรียน  เพราะครอบครัวของเขายากจน   มีลูกก็มาก   เมื่อจอร์ช   สตีเฟนสันโตพอที่จะช่วยพ่อแม่ได้  เขาทำงานตัวเป็นเกลียว   ในขณะที่เด็กรุ่นราวคราวเดียวกันกับเขาถือหนังสือไปโรงเรียน   เขามาเรียนหนังสือเอาตอนที่โตเป็นหนุ่มและมีรายได้เป็นของตัวเอง   เรียกว่า เรียนแบผู้ใหญ่  และเวลาเรียนก็ใช้เวลากลางคืน   เพราะตอนกลางวันต้องทำงาน   แต่ในที่สุด  เขาก็กลายเป็นผู้ที่มีชื่อเสียงจนได้

     

    ผลงานดีเด่นของเขาก็  คือ  ประดิษฐ์รถจักรลากขบวนรถได้สำเร็จเป็นคนแรก

     

    จอร์ช  สตีเฟนสัน (George   Stephenson) เกิดเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน  ..1781 (พ..2324) ณ  ตำบลใกล้เมืองนิวคาสเซิล  ประเทศอังกฤษ   บิดาเป็นกรรมกรถ่านหิน  มีบุตรหกคน  เมื่อสตีเฟนสันเติบโตก็ช่วยครอบครัวหารายได้ด้วยการรับจ้างเลี้ยงวัวบ้าง    จูงม้าบ้าง  และขุดผักกาดตามไร่   เมื่ออายุสิบห้าก็โดดขึ้นขับรถบรรทุกหิน   ทำงานจนอายุ 21 ปี  และมีรายได้สัปดาห์ละ 1 ปอนด์

     

    แม้เขาจะไม่ได้เข้าโรงเรียน   แต่ก็ขวนขายหาความรู้ใส่ตัวด้วยตัวเอง   เช่นเมื่อตอนที่เขาขลุกอยู่กับรถบรรทุกถ่านหิน   เขาก็เรียนกลไกของมันจนสามารถแก้ไขได้   แล้วใช้เวลากลางคืนไปเรียนหนังสือ   ศึกษาภาคทฤษฏีในด้านวิศวกรรม   มีอยู่ครั้งหนึ่งที่เครื่องสูบน้ำในบ่อถ่านหินเสีย  ไม่มีใครสามารถแก้ไขได้   คงปล่อยให้น้ำท่วมบ่อถ่านหิน   สตีเฟนสันจึงอาสาแกไขจนใช้การได้ดี   คนงานก็ทำงานต่อไป   นายงานให้รางวัลเขา 10 ปอนด์  และเลื่อนตำแหน่งให้เขาเป็นคนคุมเครื่องจักร

     

    ในสมัยของจอร์ช   สตีเฟนสัน  ได้มีวิศวกรพยายามนำประโยชน์ของเครื่องจักรไอน้ำมาใช่ประโยชน์ของเครื่องจักรไอน้ำมาใช้กับรถแทนม้า     แต่เมื่อประดิษฐ์ขึ้นมาแล้วก็ใช้การไม่ได้ดี  เช่น  คักน็อต  วิศวกรชาวฝรั่งเศส   ได้สร้างรถแล่นด้วยกำลังไอน้ำ  แต่พอออกมาแล่นโชว์  รถเกิดแล่นไปชนกำแพงพังทลาย   คักน็อตตกใจเลยเลิกสร้างต่อไป   อีกคนหนึ่งคือ  ซีมินตัน  วิศวกรชาวสก็อต  ได้สร้างรถที่มีกำลังไอน้ำเช่นเดียวกัน  แต่ก็ประสบความล้มเหลว    เพราะถนนสู้น้ำหนักของรถไม่ได้  ถนนพัง

     

    ในปี ค..1800  ริชาร์ด  เทรเวธิค   วิศวกรอังกฤษ    คนเมืองคอนวอล   ได้สร้างรถสี่ล้อ กำลังจักรไอ้น้ำเช่นเดียวกัน  แต่คราวนี้ใช้การได้ดี   จะมีอุปสรรคก็ตรงถนนไม่ดีพอ   เพราะไม่สามารถรับน้ำหนักของรถได้  เลยต้องนำไปใช้กับกิจการถ่านหิน   โดยสร้างรางเพิ่มเติมและปรับปรุงเสียใหม่ให้แล่นบนรางได้   สตีเฟนสันก็สนใจรถแบบของ   ริชาร์ด  เทรเวธิค  และคิดว่าเขาสามารถที่จะปรับปรุงแก้ไขให้ดีกว่านี้   ซึ่งเขาก็ไม่ได้ฝันลมๆ แล้งๆ   เมื่อเขาไปปรารภกับเจ้าของบ่อถ่านหินที่คิลลิงเวิธ  ก็ได้รับความเชื่อถือ   แถมควักกระเป๋าให้เขายืมไปทดลองอีกด้วย

     

    สตีเฟนสันปลุกปล้ำอยู่ถึงสิบสองเดือน   ก็ได้รถจักรที่ใช้ไม้สร้างเป็นตัวรถ  ประกอบด้วยล้อเหล็กสี่ล้อ  ปล่องไฟรับน้ำหนักบรรทุกได้ 30 ตัน  ความเร็วขึ้นเขา 4 ไมล์ ต่อชั่งโมง   รถคันนี้สร้างเสร็จเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม ค..1814 (พ..2357)

     

    แม้เขาจะประสบความสำเร็จในระยะแรก   แต่ก็ยังไม่เป็นที่พอใจของเขา   เมื่อมีผู้ว่าจ้างให้เขาสร้างคันต่อๆไป   เขาก็ปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้นตามลำดับ   ต่อมาได้มีผู้ริเริ่มสร้างทางรถไฟใช้แทนการขนส่งสินค้าทางน้ำ  คนที่ป็นตัวตั้งตัวตีในเรื่อนนี้คือ  เอ็ดเวิร์ด พิส  เขาวิ่งเต้นให้การสร้างทางรถไฟระหว่างเมืองสต็อกตัน   และเมืองดาร์ลิงตัน  โดยให้รัฐสภาออกกฎหมายให้สร้างทางรถไฟ   เมือสตีเฟนสันรู้เรื่องนี้   เขาก็ไปพบกับเอ็ดเวิร์ด  พิส   พูดจาให้มาดูรถจักรของเขา   เอ็ดเวิร์ด  พิส   ก็ไปดูและพอใจ   ว่าจ้างให้เขาสร้างรถจักร เป็นจำนวน  ปีละ 300  ปอนด์  สตีเฟนสันต้องทำงานอย่างเหน็ดเหนื่อย   เพราะเขาไม่มีผู้ช่วยทางด้านทางด้านเทคนิค   มีแต่กรรมกรที่ใช้แรงงานที่เขาว่าจ้างมา    วันที่ชาวอังกฤษได้เห็นรถไฟคันแรกคือวันที่ 27 กันยายน ค..1825 (พ..2368)  ปรากฏในวันนั้นชาวบ้านแตกตื่นกันมาดูรถไฟคันแรกกันเนื่องแน่น   ซึ่งเริ่มออกจากเมืองดาร์ลิงตน   โดยมีคนขี่ม้านำหน้ารถไฟ จอร์ช  สตีเฟนสัน  ทำหน้าที่ขับรซึ่งมีอัตราเร็วชั่วโมงละ 15 ไมล์

     

    เมื่อผู้คนแลเห็นประโยชน์ของรถไฟ   ก็ไดมีการสร้างทางรถไฟเพิ่มขึ้น   แต่ก็พบอุปสรรคอย่างรุนแรงจากพวกถ่วงความเจริญ   ได้แก่เจ้าพวกเจ้าของคลองที่เก็บผลประโยชน์จากเรืองที่บรรทุกสินค้าและผู้โดยสารผ่าน   เจ้าของรถม้า   เจ้าของที่ดินและเจ้าของไร่นา   พวกนี้รวมหัวกันคัดค้านไม่ให้รัฐสภาอกกฎหมายว่าด้วยการสรางทางรถไฟออกมาให้ขัดผลประโยชน์ของตนได้   รัฐสภาต้องเรียกตัวสตีเฟนมาชี้แจงผลได้ผลเสียของรถไฟให้เป็นที่เข้าใจแจ่มแจ้ง   สตีเฟนสันไม่เคยผ่านการศึกษาขั้นหาวิทยาลัย   ไม่เคยผ่านสถาบันฝึกการพูด   แต่ต้องมาเผชิญหน้ากับคนหัวสูง   เช่น นายทหารและนักการเมือง   เขาจึงหนักใจมากแต่ก็ไม่ถอยเขาปักหลักสู้กับคารมคมคายของพวกที่มีการศึกษาสูงๆ ตอบโต้คำถาม และชี้แจงปัญหาต่างๆ ที่ยังไม่มีใครเข้าใจโดยแจ่มแจ้ง   และเรื่องที่เขาเน้นหนักก็คือ  ผลประโยชน์อังเอกอุของรถไฟ    ในที่สุดเขาก็เป็นฝ่ายชนะรัฐสภาอังกฤษประกาศใช้กฤษฎีกาการจัดสร้างทางรถไฟได้ในปี  ..1826 (พ..2369)

     

    ทางรถไฟที่สร้างสายต่อมาก็คือ  สายลิเวอร์พูล-แมนเชสเตอร์

     

    และรถไฟสายนี้มีความเร็วสูงสุดชั่วโมงละ 29 ไมล์   เปิดเดินรถเมื่อ ค..1827  โดย  ดยุค  ออฟ  เวลลิงตัน  ซึ่งเป็นนายกรัฐมนตรี   มาเป็นประธานเปิดทางรถไฟสายนี้ (ในระหว่างพิธีเปิดทางรถไฟ   ได้เกิดอุบัติเหตุสยองขึ้น  มีผู้เคราะห็ร้ายคือ  มิสเตอร์  ฮัสคิสสัน   ซึ่งดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีถูกรถชนถึงแก่ความตายในขณะที่ก้าวลงจากรถจะเดินไปสนทนากับนายกรัฐมนตรี  ดยุค  ออฟ  เวลลิงตัน)

     

    ไม่เพียงแต่  จอร์ช  สตีเฟนสัน   จะเป็นผู้สร้างหัวรถจักรอย่างเดียว   เขายังเป็นผู้ควบคุมทางรถไฟอีกหลายสาย    ซึ่งบางครั้งต้องควบคุมการวางรางถึง 5 สายด้วยกัน   โดยมีบุตรชาย   คือ  ริชาร์ด  สตีเฟนสัน  เป็นผู้ช่วย  ในระยะหลังๆ เขาไม่จำเป็นต้องลงมือสร้างหัวรถจักรเอง  เพราะมีผู้ช่วยแล้ว  ก่อหน้าที่เขาจะถึงแก่กรรม   อังกฤษก็มีทางรถไฟเชื่อมเมืองต่างๆเกือบทั่วประเทศแล้ว   และประเทศอื่นๆก็กำลังเร่งเจริญรอยตามอังกฤษ  นับว่าเขาเป็นผู้บุกเบิกการรถไฟเป็นคนแรกของโลก

     

    เขาจบชีวิตลงอย่างสงบเมื่อวันที่ 12  สิงหาคม    ..1848 (พ..2391)  ที่บ้านไร่ของเขาในเชสเตอร์ฟิลด์   รวมอายุได้  71 ปี  ผู้รับมรดกสืบต่อจากเขาคือ  ริชาร์ด   สตีเฟนสัน   บุตรชายผู้ให้กำพร้ามารดามาตั้งแต่เยาว์

     

     

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×