คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #11 : ยุคใหม่ : Petra [ มหานครศิลาชมพูแห่งจอร์แดน ]
เพตรา เป็นเมืองที่สร้างขึ้นมาตั้งแต่สมัย Byzantine ก่อนคริสตกาลถึง 400 ปี โดยพวก Nabateans วิธีการสร้างส่วนใหญ่จะขุดเจาะหน้าผาหินเข้าไปให้เป็นถ้ำหรืออาคารต่างๆ หินที่เจาะออกมา ก็เอามาสร้างเสริมเป็นอาคารภายนอกได้อีก ไม่ได้สูญเสียแรงหรือวัสดุไปเปล่าๆ การก่อสร้างมีความสวยงามละเอียดอ่อน ทั้งสง่างามและอ่อนช้อยจากหน้าผาหินอันแข็งแกร่งใหญ่โตนี้ จนไม่น่าที่มนุษย์จะทำได้ และหน้าผานี้ยังถือเป็นปราการธรรมชาติอย่างวิเศษ ที่คอยปกป้องเมืองจากศัตรูได้อย่างดี เพราะที่นี่นับเป็นเมืองที่มีความมั่งคั่งเมืองหนึ่ง ถือเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจในขณะนั้น เพราะอยู่บนเส้นทางค้าขายหลักในสมัยนั้น ด้วยประชากรประมาณ 10,000-20,000 คน แต่ภายหลังสงครามครูเสดสิ้นสุดลง (ประมาณปีค.ศ. 1200) เส้นทางค้าขายก็เปลี่ยนไป เมืองนี้จึงถูกลดความสำคัญลง และทิ้งร้างสาบสูญไปกว่า 700 ปี จึงได้มีนักสำรวจชาวสวิสมาค้นพบ และระบุในแผนที่อีกครั้งเมื่อปีค.ศ.1812 เพตรา เป็นเมืองโบราณขนาดใหญ่ อยู่ในหุบเขาทางตอนใต้ของ Dead Sea ในประเทศจอร์แดน ต้องใช้เวลานั่งรถจากกรุงอัมมันมา 2-3 ชั่วโมง คำว่า"เพตรา"มีความหมายแปลว่า “หิน” ในภาษากรีก และถ้าคิดว่าเคยผ่านสายตาของคุณๆละก็ คงมาจากภาพยนตร์เรื่อง Indiana Jones and the Last Crusade ที่นำแสดงโดยแฮริสัน ฟอร์ด นั่นเอง ในฉากนั้น เขาถ่ายอาคาร Royal Treasury มาสมมติให้เป็น Holy Temple ที่ซ่อนจอกศักดิ์สิทธิ์นั่นเอง นักท่องเที่ยวหลายๆคนที่เริ่มมาเที่ยวหลังจากดูหนังเรื่องนี้ ก็เพราะต้องการมาเห็นของจริงที่นี่
นครเปตราได้รับลงทะเบียนจากองค์การยูเนสโกให้เป็นมรดกโลกเมื่อปี พ.ศ. 2528 โดยกล่าวอธิบายไว้ว่า "เป็นหนึ่งในสิ่งที่ล้ำค่ามากที่สุดของมรดกทางวัฒนธรรมแห่งมวลมนุษยชาติ" (one of the most precious cultural properties of man's cultural heritage) ปัจจุบันสามารถเดินทางเข้าไปโดยอาศัยม้าเท่านั้น
เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 นครเปตราได้รับคัดเลือกให้เป็น 1 ใน เจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุคใหม่ของโลก จากการลงคะแนนทั่วโลกทั้งทางอินเทอร์เน็ตและโทรศัพท์มือถือ
ชนกลุ่มแรกที่เดินทางเข้ามาสู่เพตราคือพวกเอโดไมต์ ซึ่งเข้ามาราวปี 1000 ปีก่อนคริสตกาล แต่ชนชาติที่สร้างเมืองเพตราขึ้นมานั้นคือชาวนาบาเทียน(Nabataeans) ในช่วงศตวรรษที่ 4 ก่อนคริสตกาล[2] ซึ่งแต่เดิมเป็นเพียงชนเผ่าเร่ร่อนในทะเลทรายอาหรับ คนกลุ่มนี้สกัดผาหินทรายเป็นบ้านเรือนและอาศัยอยู่ในถ้ำทีมีอยู่ทั่วเมือง พวกเขามีอาชีพเป็นคนเลี้ยงแกะ แต่เปลี่ยนมาค้าขายและรับจ้างเป็นยามรักษาความปลอดภัยให้แก่กองคาราวาน คนเผ่านี้มีความซื่อสัตย์ ค่าธรรมเนียมผ่านทางที่เรียกเก็บจากผู้สัญจรก็ช่วยให้พวกนาบาเทียนมีชีวิตที่รุ่งเรื่องขึ้น
สาเหตุที่เพตราตั้งอยู่บนดินแดนอันแห้งแล้ง มีแต่หินกับทรายนั้นก็น่าจะเพราะเพตราตั้งอยู่เส้นทางการค้าสำคัญที่สุดของโลกในขณะนั้น 2 สาย ได้แก่เส้นทางสายสายตะวันออก - สายตะวันตก คาบสมุทรอาหรับกับอ่าวเปอร์เซียจนถึงทะเลเมดิเตอร์เรเนียน และสายสายเหนือ - ใต้ ที่เชื่อมทะเลแดงกับ กรุงดามัสกัส ซีเรีย นอกจากนั้นเมืองนี้ยังมีแหล่งน้ำจืดสำคัญซึ่งต่อมาเรียกกันว่า วาดี มูซา หรือ หุบเขาโมเสส ซึ่งเล่ากันว่าเป็นน้ำที่ได้เมื่อโมเสสเสกออกมาเพื่อให้ชาวยิวได้กินแก้กระหาย เหล่าพ่อค้าหรือนักเดินทางที่เดินทางผ่านทะเลทรายอันว่างเปล่าและแห้งแล้งใกล้เคียงนั้นไม่มีทางเลือกอื่น นอกจากมุ่งมาที่เมืองเพตราอย่างเดียว
เพตราเป็นศูนย์กลางค้าขนาดใหญ่ จนทำให้นักเดินทางชาวกรีกมักนำเรื่องความมั่งคั่งมาเล่าให้ฟัง ตามบันทึกของสตราโบ นักภูมิศาสตร์ชาวกรีกได้อธิบายไว้ว่า เมืองเพตราเป็นตลาดซื้อสินค้าสำคัญที่สุดของโลกตะวันออก ยางไม้หอม กำยาน เครื่องเทศของชาวอาหรับ ทองแดง เหล็ก เครื่องปั้นดินเผา รูปปั้น ผ้าย้อมของชาวฟินิเซียนล้วนถูกลำเลียงผ่านเมืองเปตราไปสู่ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน และชาวเปอร์เซีย
เพตราเจริญถึงขีดสูงสุดในช่วง 50 ปีก่อนคริสตกาล จนถึงคริสต์ศักราชที่ 70 ในช่วงเวลานี้เพตราถูกปกครองด้วยกษัตริย์นาม อารีตัสที่ 4 (Aretas IV) ผู้ที่ชาวกรีกยกย่องให้ว่า ฟิโลเดมอส(Philodemos) ซึ่งแปลว่า ผู้รักประชาชน และด้วยความมั่งคั่ง ความเป็นเมืองที่อยู่ห่างไกล และชัยภูมิอันยากแก่การพิชิต จึงทำให้เมืองมีโอกาสเจริญเติบโตได้อย่างง่ายดายโดยไม่ต้องกลัวศัตรูจากภายนอก
ชาวเพตรานับถือเทพเจ้าสององค์คือ เทพดูซาเรส (Dushares) เทพแห่งความอุดมสมบูรณ์ และเทพอัลอัซซา (Al Uzza) ชายาของเทพดูซาเรส เทวีแห่งน้ำ
ความคิดเห็น