ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    76จังหวัดของไทย

    ลำดับตอนที่ #5 : บุรีรัมย์

    • อัปเดตล่าสุด 17 ก.ย. 50


     สัญลักษณ์
    รูปเทวดารำและปราสาทหิน เทวดารำหมายถึงดินแดนแห่งเทพเจ้าผู้สร้าง ผู้ปราปยุคเข็ญ และผู้ประสาทสุข ท่ารำ หมายถึงความสำราญชื่นชมยินดี ซึ่งตรงกับพยางค์สุดท้ายของชื่อจังหวัด ปราสาทหินคือปราสาทเขาพนมรุ้งซึ่งมีกำแพงล้อมรอบ ภายในท้องพระโรงมีเทวสถาน
    คำขวัญ
    เมืองปราสาทหิน ถิ่นภูเขาไฟ ผ้าไหมสวย รวยวัฒนธรรม

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     
    บุรีรัมย์ ตั้งอยู่ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง หรืออีสานตอนล่าง มีเนื้อที่ประมาณ 10,321.885 ตารางกิโลเมตร อยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ทางรถยนต์ประมาณ 410 กิโลเมตร และทางรถไฟประมาณ 376 กิโลเมตร แบ่งการปกครองออกเป็น 18 อำเภอ กับ 4 กิ่งอำเภอ คือ อำเภอเมืองบุรีรัมย์ อำเภอนางรอง อำเภอลำปลายมาศ อำเภอประโคนชัย อำเภอพุทไธสง อำเภอสตึก อำเภอกระสัง อำเภอบ้านกรวด อำเภอคูเมือง อำเภอละหานทราย อำเภอหนองกี่ อำเภอปะคำ อำเภอนาโพธิ์ อำเภอหนองหงส์ อำเภอพลับพลาชัย อำเภอห้วยราช อำเภอโนนสุวรรณ อำเภอเฉลิมพระเกียรติจังหวัดบุรีรัมย์ กิ่งอำเภอบ้านด่าน กิ่งอำเภอชำนิ กิ่งอำเภอบ้านใหม่ไชยพจน์ และกิ่งอำเภอโนนดินแดง อำเภอที่อยู่ติดชายแดนได้แก่ อำเภอบ้านกรวด และอำเภอละหานทราย

    บุรีรัมย์ เป็นเมืองแห่งความรื่นรมย์ตามความหมายของชื่อเมือง เป็นเมืองที่น่าอยู่อาศัยสำหรับคนในท้องถิ่น และเป็นเมืองที่น่ามาเยือนสำหรับคนต่างถิ่น จังหวัดบุรีรัมย์มากมีไปด้วยปราสาทหินใหญ่น้อย อันหมายถึงความรุ่งเรืองมาแต่อดีต จากการศึกษาของนักโบราณคดีพบหลักฐานการอยู่อาศัยของมนุษย์มาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ สมัยทวาราวดี และที่สำคัญที่สุดพบกระจายอยู่ทั่วไปในจังหวัดบุรีรัมย์ คือ หลักฐานทางวัฒนธรรมของเขมรโบราณ ซึ่งมีทั้งปราสาทอิฐและปราสาทหินเป็นจำนวนมากกว่า 60 แห่ง รวมทั้งได้พบแหล่งโบราณคดีที่สำคัญ คือ เตาเผาภาชนะดินเผา และภาชนะดินเผาแบบที่เรียกว่า “เครื่องถ้วยเขมร” ซึ่งกำหนดอายุได้ประมาณพุทธศตวรรษที่ 15-18 อยู่ทั่วไป หลังจากสมัยของวัฒนธรรมขอมหรือเขมรโบราณแล้ว หลักฐานทางประวัติศาสตร์ของบุรีรัมย์เริ่มมีขึ้นอีกครั้งตอนปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา โดยปรากฏชื่อว่าเป็นเมืองขึ้นของเมืองนครราชสีมา และปรากฏชื่อต่อมาในสมัยกรุงธนบุรี ถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ บุรีรัมย์มีฐานะเป็นเมืองๆ หนึ่ง จนถึง พ.ศ. 2476 ได้มีการจัดระเบียบราชการบริหารส่วนภูมิภาคใหม่ จึงได้ชื่อเป็นจังหวัดบุรีรัมย์มาจนถึงปัจจุบันนี้

    การเดินทาง :


    ทางรถยนต์
    จากกรุงเทพฯ เดินทางไปตามทางหลวงหมายเลข 1 (พหลโยธิน) ถึงสระบุรี เลี้ยวขวาเข้าทางหลวงหมายเลข 2 (มิตรภาพ) จากนั้นแยกขวาเข้าทางหลวงหมายเลข 24 (โชคชัย-เดชอุดม) ผ่านอำเภอหนองกี่ อำเภอนางรอง แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าสู่ตัวจังหวัดบุรีรัมย์ ตามทางหลวงหมายเลข 218 รวมระยะทาง 410 กิโลเมตร หรือจากนครราชสีมา ตามทางหลวงหมายเลข 226 ผ่านอำเภอจักราช-ห้วยแกลง-ลำปลายมาศ รวมระยะทาง 384 กิโลเมตร

    ทางรถไฟ
    มีรถไฟสายกรุงเทพฯ-อุบลราชธานี กรุงเทพฯ-สุรินทร์ และนครราชสีมา-อุบลราชธานี ทั้งที่เป็นขบวนรถด่วน รถเร็ว รถธรรมดา และรถดีเซลราง ผ่านสถานีบุรีรัมย์ทุกขบวน โดยเฉพาะรถดีเซลรางปรับอากาศจะใช้เวลาน้อยกว่ารถยนต์มาก รายละเอียดติดต่อสอบถามได้ที่ 223-7010, 223-7020

    ทางเครื่องบิน
    บริษัท การบินไทย จำกัด ไม่มีเที่ยวบินไปจังหวัดบุรีรัมย์โดยตรง แต่มีเที่ยวบินไปลงที่จังหวัดนครราชสีมา จากนั้นต่อรถโดยสารประจำทางไปจังหวัดบุรีรัมย์ได้ ระยะทางจากนครราชสีมาถึงบุรีรัมย์ ประมาณ 151 กิโลเมตร

    ระยะทางจากอำเภอเมือง ไปยังอำเภอและกิ่งอำเภอต่างๆ

    อำเภอห้วยราช 15 กิโลเมตร
    อำเภอกระสัง 31 กิโลเมตร
    อำเภอลำปลายมาศ 32 กิโลเมตร
    อำเภอคูเมือง 33 กิโลเมตร
    อำเภอสตึก 40 กิโลเมตร
    อำเภอพลับพลาชัย 40 กิโลเมตร
    อำเภอนางรอง 54 กิโลเมตร
    อำเภอหนองหงส์ 54 กิโลเมตร
    อำเภอประโคนชัย 64 กิโลเมตร
    อำเภอพุทไธสง 64 กิโลเมตร
    อำเภอโนนสุวรรณ 65 กิโลเมตร
    อำเภอบ้านกรวด 66 กิโลเมตร
    อำเภอเฉลิมพระเกียรติจังหวัดบุรีรัมย์ 70 กิโลเมตร
    อำเภอนาโพธิ์ 76 กิโลเมตร
    อำเภอปะคำ 78 กิโลเมตร
    อำเภอหนองกี่ 83 กิโลเมตร
    อำเภอละหานทราย 99 กิโลเมตร
    กิ่งอำเภอบ้านด่าน 14 กิโลเมตร
    กิ่งอำเภอชำนิ 70 กิโลเมตร
    กิ่งอำเภอบ้านใหม่ไชยพจน์85 กิโลเมตร
    กิ่งอำเภอโนนดินแดง 92 กิโลเมตร

    อาณาเขต :

    ทิศเหนือ ติดต่อจังหวัดขอนแก่น และมหาสารคาม
    ทิศใต้ ติดต่อจังหวัดปราจีนบุรีและเทือกเขาพนมมาลัย ซึ่งกั้นเขตแดน ระหว่างไทยกับกัมพูชาประชาธิปไตย
    ทิศตะวันออก ติดต่อจังหวัดสุรินทร์
    ทิศตะวันตก ติดต่อจังหวัดนครราชสีมา


    หมายเลขโทรศัพท์สำคัญ (รหัสทางไกล 044)
    สำนักงานจังหวัดบุรีรัมย์ 611-449
    ประชาสัมพันธ์บุรีรัมย์ 611-957
    ศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดบุรีรัมย์ 611-221
    สถานีตำรวจภูธรอำเภอเมือง 611-234
    สถานีรถไฟบุรีรัมย์ 611-202
    สำนักงานขนส่งจังหวัดบุรีรัมย์ 611-595, 612-534, 613-412
    ไปรษณีย์จังหวัด 611-142
    อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง 631-746
     
    สถานที่ท่องเที่ยว

    ปราสาทหินเขาพนมรุ้ง ปราสาทหินเมืองต่ำ พระสุภัทรบพิตร ปรางค์กู่สวนแตง
    งานประจำปี

    งานมหกรรมว่าวอีสาน ประเพณีขึ้นเขาพนมรุ้ง งานแข่งเรือยาว งานประจำปีและงานกาชาด
    ของขวัญของฝาก

    ผ้าฝ้ายของพุทไธสง ปลาจ่อมประโคนชัย มะพร้าวเผา ขาหมูนางรอง กุนเชียง ไก่ย่างลำปลายมาศ ผ้าไหม น้ำผึ้งหวาน หัวผักกาดอบน้ำผึ้ง กุ้งสตึก
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×