ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    76จังหวัดของไทย

    ลำดับตอนที่ #13 : ชุมพร

    • อัปเดตล่าสุด 17 ก.ย. 50


     สัญลักษณ์
    รูปคนยืน ต้นไม้ ค่าย และหอรบ ภาพคนยืนหมายถึงเทวดาที่ประทานพรให้แก่ชาวเมืองและกองทัพที่ยกออกไปทำศึก ต้นไม้ทั้งสองข้างคือต้นมะเดื่อ ซึ่งในพื้นที่แถบนี้มีอยู่มากมาย ค่ายและหอรบหมายถึงจังหวัดนี้เคยเป็นที่ชุมนุมบรรดานักรบทั้งหลาย ก่อนที่จะเดินทัพออกสู้รบกับข้าศึก
    คำขวัญ
    ประตูสู่ภาคใต้ ไว้เสด็จในกรม ชมไร่กาแฟ และหาดทรายรี ดีกล้วยเล็บมือ ขึ้นชื่อรังนก

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     
    ชุมพร มีพื้นที่การปกครองทั้งสิ้น 6,009.008 ตารางกิโลเมตร แบ่งการปกครองออกเป็น 8 อำเภอ คืออำเภอเมืองชุมพร อำเภอหลังสวน อำเภอสวี อำเภอท่าแซะ อำเภอละแม อำเภอพะโต๊ะ และอำเภอทุ่งตะโก ตั้งอยู่ทางภาคใต้ของประเทศไทย บนแหลมมลายูบริเวณคอคอดกระ อยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4 (ถนนเพชรเกษม) ระยะทางประมาณ 463 กิโลเมตร และทางรถไฟสายใต้ประมาณ 485 กิโลเมตร มีความยาวประมาณ 200 กิโลเมตร กว้างโดยเฉลี่ยประมาณ 36 กิโลเมตร

    ชุมพร มีชื่อปรากฏมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 1098 โดยมีฐานะเป็นเมืองสิบสองนักษัตรของนครศรีธรรมราช ใช้รูปแพะเป็นตราเมือง และเป็นเมืองหน้าด่านฝ่ายเหนือเพราะอยู่ตอนบนของภาคใต้ ในพุทธศักราช 1997 รัชสมัยแผ่นดินสมเด็จพระบรมไตรโลกนารถ ปรากฏในกฎหมายตราสามดวงว่าเมืองชุมพร เป็นเมืองตรี อาณาจักรฝ่ายใต้ของกรุงศรีอยุธยา ในสมัยรัชกาลที่ 5 โปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งเป็นมณฑลชุมพร ต่อมามีการยุบการปกครองระบอบมณฑลเป็นจังหวัด ชุมพรจึงมีฐานะเป็นจังหวัด คำว่า “ชุมพร” มีผู้สันนิษฐานว่าน่าจะมาจากคำว่า “ชุมนุมพล” เนื่องจากเป็นเมืองหน้าด่าน การเดินทัพไม่ว่าจะมาจากฝ่ายเหนือหรือว่าฝ่ายใต้ ล้วนเข้ามาตั้งค่ายชุมนุมพลกันที่นี่ จึงเรียกจุดนี้ว่า “ชุมนุมพล” ต่อมาเพี้ยนเป็น “ชุมพร” อีกประการหนึ่งในการเดินทางไปทำศึกสงครามของแม่ทัพนายกองตั้งแต่สมัยโบราณมา เมื่อจะเคลื่อนพลจะต้องทำพิธีส่งทัพโดยการบวงสรวงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ขอให้ได้รับชัยชนะในการสู้รบเป็นการบำรุงขวัญทหาร ในสถานที่ชุมนุมเพื่อรับพรเช่นนี้ ตรงกับความหมายชุมนุมพร หรือประชุมพร ซึ่งทั้งสองคำนี้อาจเป็นต้นเหตุของคำว่า “ชุมนุมพร” เช่นเดียวกัน แต่อีกทางหนึ่งสันนิษฐานว่า น่าจะได้มาจากชื่อพันธุ์ไม้ธรรมชาติในท้องถิ่น ได้แก่ ต้นมะเดื่อชุมพร เพราะที่ตั้งของเมืองชุมพรนั้นอยู่บนฝั่งแม่น้ำท่าตะเภา มีต้นมะเดื่อชุมพรขึ้นอยู่มากมาย ต้นมะเดื่อชุมพรจึงเป็นสัญลักษณ์ส่วนหนึ่งของตราประจำจังหวัดชุมพร

    การเดินทาง :

    ทางรถยนต์
    จากกรุงเทพฯ ใช้เส้นทางพุทธมณฑล นครปฐม-เพชรบุรี หรือเส้นทางสายธนบุรี-ปากท่อ (หมายเลข 35) แล้วแยกที่อำเภอปากท่อ เข้าทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4 (ถนนเพชรเกษม) ผ่านจังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ จนถึงสี่แยกปฐมพร จากนั้นแยกซ้ายเข้าตัวเมืองชุมพรตามทางหลวงหมายเลข 4001 อีกประมาณ 8 กิโลเมตร

    ทางรถโดยสาร
    มีรถโดยสารธรรมดาของบริษัท ขนส่ง จำกัด ออกจากสถานีขนส่งสายใต้ไปชุมพรทุกวัน รายละเอียดเพิ่มเติม ติดต่อที่ฝ่ายประชาสัมพันธ์สถานีขนส่งสายใต้ โทร. 435-1200, 434-7192 สำหรับเที่ยวกลับจากชุมพรเข้ากรุงเทพฯ ขึ้นรถได้ที่สถานี บ.ข.ส. ชุมพร ถนนท่าตะเภา โทร. (077) 502725 สำหรับรถโดยสารปรับอากาศ ติดต่อสอบถามได้ที่
    บริษัท โชคอนันต์ทัวร์ โทร. 435-0279, 435-7429 ที่สถานีชุมพร โทร. (077) 511480
    บริษัท สุวรรณนทีทัวร์ โทร. 435-5026 ที่สถานีชุมพร โทร. (077) 511422

    ทางรถไฟ
    จากสถานีรถไฟกรุงเทพฯ (หัวลำโพง) มีรถเร็ว และรถด่วนไปจังหวัดชุมพรทุกวัน รายละเอียดเพิ่มเติม ติดต่อสอบถามได้ที่ โทร. 223-7010, 223-7020 หรือที่สถานีชุมพร โทร. (077) 511103
    จากสถานีรถไฟธนบุรี (บางกอกน้อย) มีขบวนรถดีเซลรางไปจังหวัดชุมพรทุกวัน รายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อสอบถามได้ที่ โทร. 411-3102

    การคมนาคมภายในจังหวัดและไปจังหวัดใกล้เคียง

    รถโดยสารประจำทางสายชุมพร-สวี-หลังสวน รถจอดหน้าตลาดชุมพร ถ.ท่าตะเภา ตั้งแต่เวลา 06.00-18.00 น.
    รถแท็กซี่ รถจอดที่คิวแท็กซี่ หลังตลาดสดเก่า ตรงข้ามสถานี บ.ข.ส.ชุมพร มีบริการเดินรถไปอำเภอหลังสวน จังหวัดระนอง จังหวัดสุราษฎร์ธานี

    อาณาเขต :

    ทิศเหนือ เขตอำเภอท่าแซะและอำเภอปะทิว ติดต่อกับ อ.บางสะพานน้อย จ.ประจวบคีรีขันธ์
    ทิศใต้ เขตอำเภอละแมและอำเภอพะโต๊ะ ติดต่อกับอำเภอท่าชนะ จ.สุราษฎร์ธานี
    ทิศตะวันออก เขต อ.ปะทิว อ.เมืองชุมพร อ.สวี อ.ทุ่งตะโก อ.หลังสวน อ.ละแม จดอ่าวไทย
    ทิศตะวันตก เขตอำเภอเมืองชุมพร อำเภอท่าแซะ อำเภอสวี อำเภอหลังสวน อำเภอพะโต๊ะ ติดต่อกับจังหวัดระนอง และทิศตะวันตกของอำเภอ ท่าแซะบางส่วนติดต่อกับสหภาพพม่า
    ทิศใต้ เขตอำเภอละแม และอำเภอพะโต๊ะ ติดต่อกับอำเภอท่าชนะ จ.สุราษฎร์ธานี

    หมายเลขโทรศัพท์สำคัญ (รหัสทางไกล 077)

    สำนักงานจังหวัด 511-551
    ศูนย์ข่าวสารการท่องเที่ยว 288-818-9 , 281-828
    สมาคมธุรกิจการท่องเที่ยวชุมพร 504-441 , 501-633
    ขนส่งจังหวัดชุมพร511-119 , 502-268
    สถานี บ.ข.ส. จังหวัดชุมพร 502-725
    สถานีรถไฟชุมพร511-103
    กองกำกับการตำรวจภูธร 511-004, 501-039
    เทศบาลเมืองชุมพร 511-024
    ที่ว่าการอำเภอเมืองชุมพร 511-214
    รพ.ชุมพร 511-180 , 503-672-3
    รพ.หลังสวน541-771
    รพ.สวี 531-206 , 531-394
     

    สถานที่ท่องเที่ยว
    วนอุทยานแห่งชาติน้ำตกกระเปาะ อ่าวทุ่งวัวแล่น หาดอรุโณทัย เกาะสาก เกาะพร้าว เกาะลังกาจิว เกาะรังนก ถ้ำไกรลาศ ถ้ำขุนกระทิง ถ้ำโครำ ถ้ำเขาเงิน ถ้ำเขาเกรียบ
    งานประจำปี
    งานเทิดพระเกียรติในกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ มีในช่วงเดือนธันวาคม งานโลกทะเลชุมพรมีในช่วงเดือนมีนาคม
    ของขวัญของฝาก
    ทุเรียนกวน กล้วยเล็บมือนาง มังคุด สับปะรด กะปี น้ำปลา ปลาหมีกแห้ง ปลาเค็ม ปลาตากแห้ง
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×