ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    บุคคลสำคัญของโลกที่ควรรู้จัก

    ลำดับตอนที่ #4 : แม่ชีเทเรซา แม่พระของชาวโลก (มาซีโดเนีย)

    • อัปเดตล่าสุด 4 มี.ค. 50


    แม่ชีเทเรซา
    แม่พระของชาวโลก (มาซีโดเนีย
    )

              เมืองสโคปเจ(SKOPLJE) เมื่อก่อนคริสต์กาลนั้นเป็นเมืองสำคัญเมืองหนึ่งของมาซีโดเนีย (MACEDONIA)นครรัฐแห่งหนึ่งของกรีก ด้วยเหตุที่แผ่นดินของนครรัฐแห่งนี้เต็มไปด้วยที่ราบสูงและภูเขา จึงทำให้ประชาชนชาวมาซีโดเนียน ซึ่งแท้จริงล้วนแต่สืบเชื้อสายมาจากชาวกรีก อาศัยอยู่อย่างกระจัดกระจายไปตามดินแดนที่สามารถเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์ได้

    ถึงแม้ว่าจะเป็นดินแดนที่ไม่อุดมสมบูรณ์นัก แต่มาซีโดเนียก็เป็นที่ต้องการของชาติใกล้เคียงที่พากันจดจ้องหาทางยึดดินแดนมาซีโดเนียเข้าเป็นของตนตลอดเวลาเมื่อจักรวรรดิออตโตมานรุ่งเรืองขึ้นบนดินแดนแถบนี้ ยังมีชาติต่างๆ ที่อยู่รอบๆ พยายามด้วยวิธีการต่างๆ จนสามารถเฉือนมาซีโดเนียไปเป็นของตนได้ในบางส่วน ในท้ายที่สุดมาซีโดเนียทั้งหมดถูกรวมเข้าเป็นประเทศยูโกสลาเวีย ทำให้เมืองสโคปเจ ซึ่งเป็นเมืองเก่าแก่ของรัฐมาซีโดเนียกลายเป็นส่วนหนึ่งของยูโกสลาเวียด้วย

    หากเปิดแผนที่ยุโรปในปัจจุบันดูจะเห็นว่า ติดกับยูโกสลาเวียทางด้านตะวันตกเฉียงใต้ ริมฝั่งทะเลอาเดรียติกมีประเทศเล็กๆ ที่เก่าแก่พอๆ กับมาซีโดเนียอยู่ประเทศหนึ่งที่ชื่อว่าแอลเบเนีย ประเทศเล็กๆ ที่มีพลเมืองไม่มากมายนัก และส่วนใหญ่ประกอบอาชีพกสิกรรม ประเทศนี้ติดอันดับประเทศที่ยากจนที่สุดในโลกประเทศหนึ่ง แต่เดิมเคยอยู่ใต้การปกครองของโรมัน ไบแซนไทน์ และออตโตมาน เพิ่งมาได้เอกราชประกาศตัวเป็นประเทศเมื่อ ค.ศ. ๑๙๑๒ นี่เอง ความลำบากยากจนและอาชีพกสิกรรมที่ต้องเร่ร่อนไปเพื่อหาที่ทำกินใหม่ๆ อยู่เสมอ ทำให้ชาวแอลเบเนียอพยพกระจัดกระจายไปอาศัยอยู่ตามส่วนต่างๆของประเทศรอบๆ รวมทั้งเมืองสโคปเจด้วย วันที่ ๒๗สิงหาคม ค.ศ. ๑๙๑๐ ภายใต้ครอบครัวชาวแอบเบเนียนผู้อพยพมาตั้งถิ่นฐานอยู่ในเมืองสโคปเจได้ให้กำเนิดทารกเพศหญิงคนหนึ่ง ซึ่งไม่มีผู้ใด แม้แต่บิดามารดาของทารกนั้นรู้ว่า เด็กน้อยผู้นี้คือนักบุญผู้ยิ่งใหญ่ของโลก ซึ่งจะปฏิบัติภารกิจสำคัญของพระผู้เป็นเจ้าต่อเพื่อมนุษย์

    จึงให้ชื่อทารกน้อยผู้นั้นตามวัฒนธรรมของชาวแอลเบเนียนว่า แอกเนส โกอินซ์ฮา เบจักซ์ฮุย (AGNES GONXHA BEJAXHIU) ซึ่งบางแห่งออกเสียงเป็น แอกเนสกอนซาโบจากฮิว

    เล่ากันว่าหนูน้อยแอกเนสมีรูปร่างเล็กบอกบางมาก ทั้งกิริยามารยาทก็เรียนร้อยผิดไปกว่าเด็กทั่วไป กิริยามารยาทที่ผิดแผกไปอย่างปกติธรรมดาอย่างมากมาย เช่นนี้เป็นเหตุให้ผุ้คนทั่วไปมองว่าเธอเป็นคนเงอะงะงุ่มง่ามไม่น่าไว้วางใจ ประกอบกับรูปร่างที่ค่อนข้างเล็กมากจึงทำให้ไม่สู้จะมีผู้ใดเชื่อมั่นในอันที่จะมอบหมายงานใดให้ทำ

    แต่สิ่งหนึ่งที่ซ่อนอยู่ในความเรียบร้อยเงียบขรึมของเด็กหญิงแอกเนส ซึ่งผู้ใหญ่ส่วนมากมองข้ามไปอย่างไม่ได้ให้ความสำคัญก็คือ ความมีเมตตาอารีต่อเพื่อและผู้คนทั่วไป ตลอดจนนิสัยที่ฝักใฝ่ไปในทางศาสนาเป็นพิเศษ และด้วยที่มีจิตใจมุ่งไปทางศาสนาอย่างมากนี่เองที่ทำให้เด็กน้อยแอกเนสประกาศกับบิดามารดาและคนทั่วไปว่าเธอจะเติบโตขึ้นไปเพื่อเป็นผู้เผยแพร่สารแห่งความรักของพระผู้เป็นเจ้า ขณะที่มีอายุเพียง ๑๒ ปี ซึ่งตอนนั้นคงสร้างความประหลาดใจและพิศวงให้แก่พ่อแม่ของผู้คนที่ได้ยินได้ฟังเป็นอันมาก ด้วยต่างยังมองไม่เห็นว่า เด็กหญิงร่างเล้กบางที่ทำอะไรดูเงอะงะงุ่มง่ามไปเสียทั้งนั้นจะเป็นอย่างที่เธอกล่าวได้

    แต่อีก ๖ ปีต่อมา นางสาวแอกเนส โกอนซ์ฮา เบจักซ์ฮุย ก็ตัดสินใจทำตามคำมั่นที่เธอประกาศไว้เมื่ออายุ ๑๒ ปี นั่นคือเดินทางไปเพื่อปฏิบัติภารกิจของพระผู้เป็นเจ้าเธอลาบิดามารดา เดินทางออกจากบ้านเกิดมุ่งหน้าสู่กรุงดับลิน อันเป็นที่ตั้งของสำนักเวอร์จินแมรี ซึ่งเป็นองค์การกุศลทางศาสนาของสตรีที่อุทิศการเพื่อพระศาสนา แม่ชีลอเรตโต อนุญาตให้เธอบวชเป็นแม่ชีฝึกหัดในศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกในปี ค.ศ. ๑๙๒๘ แม้ว่าจะได้เข้ามาบวชเป็นแม่ชีอยู่ในสำจักแม่ชีของคริสต์ศาสนาแล้วก็ตาม แต่แม่ชีแอกเนสก็ยังไม่มีโอกาสทำในสิ่งที่เธอตั้งใจเอาไว้ได้ บุคลิกของเธอที่คนทั่วไปมองว่าเป็นแม่ชีสาวที่งุ่มง่ามเงอะงะ ทำให้เธอไม่ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติกิจอะไรเป็นพิเศษ แม้แต่การรับหน้าที่จัดเทียนในโบสถ์ สิ่งนี้ทำให้แม่ชีแอกเนสรู้สึกไม่สบายใจมากพยายามขบคิดหาทางเพื่อสร้างความหวังตั้งใจของตนให้เป็นรูปธรรมขึ้

    จนปีต่อมาเธอจึงได้รับอนุญาตจากแม่ชีลอเรตโตให้เดินทางไปยังอินเดียเพื่อปฏิบัติงานภายใต้การปกครองของอาร์คบิช็อบ เฟอร์ดินันด์ เปอไรส์ ซึ่งรับผิดชอบดูแลการปฏิบัติงานของบาทหลวงและแม่ชีนิกายโรมันคาทอลิกในกัลกัตตา ประเทศอินเดีย

    กัลกัตตา( CALCUTTA) เป็นเมืองที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของอินเดีย ตั้งอยู่ห่างจากแม่น้ำฮูกลีประมาณ ๑๔๕ กิโลเมตร จัดเป็นเมืองที่มีประชากรอาศัยอยู่หนาแน่นที่สุดแห่งหนึ่งของอินเดีย แต่เดิมกัลกัตตาเป็นเมืองหลวงของเบงกอลตะวันตก มีท่าเรือน้ำลึกซึ่งมีเรือจากที่ต่างๆในโลกแวะเข้ามาจอดเทียบท่ามากที่สุด ประชาชนส่วนใหญ่เป็นชาวฮินดูและเบงกาลีซึ่งมีฐานะยากจน ว่างงาน จึงทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ค่อนข้างต่ำ มีสลัมมากมาย ส่งปัญหาไปสู่เด็ก สตรี และคนชราอย่างที่สุด ในจำนวนคนอันมากมายเหล่านี้ส่วนใหญ่เป็นขอทาน และผู้ยากไร้ที่อุดมไปด้วยโรคสารพัดชนิด

    แม่ชีแอกเนสไม่ได้รับความชื่อชมจากอาร์คบิช็อบเท่าใดนัก โดยอ้างสาเหตุระหว่างเป็นแม่ชีฝึกหัดอยู่ที่สำนักเวอร์จินแมรี แล้วไม่ได้รับมอบหมายให้ทำสิ่งใดเลย แม้กระทั่งจุดเทียนไขในโบสถ์ อย่างไรก็ตาม แม่ชีแอกเนสก็ได้รับมอบหมายให้เป็นครูสอนวิชาภูมิศาสตร์ให้แก่ประชาชนชาวอินเดีย งานแรกของเธอครั้งนี้เริ่มต้นในคอนแวนต์ที่เมืองดาร์จีลิง ซึ่งเป็นเมืองตากอากาศบนเทือกเขาหิมาลัย

    วันที่ ๑๐ กันยายน ค.ศ. ๑๙๔๖ หลังจากทำงานอยู่บนเขาหิมาลัยอันเงียบสงบแลห่างไกลผู้คนมานานถึง ๑๗ ปี แม่ชีแอกเนสได้เดินทางด้วยขบวนรถไฟที่แน่นขนัดขบวนหนึ่ง ทำให้ได้พบเห็นผู้คนมากมาย ซึ่งเกือบทั้งหมดยากจน มีโรคภัยเบียดเบียน แม้ว่าผู้คนเหล่านั้นจะเป็นชาวอินเดียซึ่งต่างเชื้อชาติและเผ่าพันธุ์กับเธอ แต่แม่ชีแอกเนสก็คิดว่าคนเหล่านี้คือเพื่อนร่วมโลกและร่วมทุกข์ของเธอเช่นเดียวกัน สิ่งที่เธอสมควรที่จะทำมากที่สุดในเวลานี้น่าจะเป็นเพื่อคนผุ้อดอยากยากจนและทุกข์ทรมานเหล่านี้มากกว่า แม่ชีแอกเนสคิดว่า ถึงเวลาแล้วที่เธอควรละทิ้งความคิดที่จะเดินทางไปยังที่ต่างๆ ให้หมดสิ้น พร้อมๆ กับลืมความงดงามและความสุขของโลกและจักรวาล เพื่อปฏิบัติตนตามพระประสงค์ของพระผู้เป็นเจ้า พระผู้เป็นเจ้าต้องการให้เธออยู่ที่นี่ ดูแลและช่วยเหลือผู้ทุกข์ยากอันมีมากมายมหาศาลเหล่านี้ เธอจึงควรปฏิบัติตามพระวัจนะของพระองค์ สิ่งนี้เธอถือว่าเป็นสัญญาณจากพระผู้เป็นเจ้าอนุญาตให้เธอทำงานช่วยเหลือคนยากไร้ ในวินาทีเดียวกันที่แม่ชีแอกเนสดำริได้เช่นนั้นเธอก็ให้คำมั่นแก่ตนเองว่าจะอุทิศชีวิตของเธอเพื่อช่วยเหลือผู้ทุกข์ยากเดือดร้อนทั่วโลกจากนั้นก็เริ่มด้วยการขออนุญาต อาร์คบิช็อบ เฟรอ์ดินันด์ เปอไรส์ ออกจากคอนแวนต์บนเทือกเขาหิมาลัย เพื่อเริ่มต้นงานที่เธอมุ่งมั่นด้วยตัวเธอเอง

    แต่อาร์คบิช็อบไม่เห็นด้วย เพราะยังคงยึดถือความคิดเดิมของตนที่เคยมีต่อแม่ชีแอกเนสแต่ต้น ด้วยเหตุนี้จึงทำให้แม่ชีแอกเนสจำเป็นต้องหาทางออกด้วยการขอแปลงสัญชาติเป็นพลเมืองอินเดีย พร้อมกับเปลี่ยนชื่อจากแอกเนส โกินซ์ฮา เบจักซ์ฮุย เป็นเทเรซา (MOTHER TERESA)

    จากนั้นก็เปลี่ยนเครื่องแต่งกายเป็นชุดส่าหรีสีขาวขลิบน้ำเงิน ซึ่งนอกจากนี้จะทำให้ดูเป็นเครื่องแบบใหม่ที่แสดงความสะอาด บริสุทธิ์ในฐานนักบวชของเธอแล้วยังให้ความรู้สึกกลมกลืนกับวัฒนธรรมอินเดียเป็นอย่างดี การช่วยเหลือคนยากไร้ในสลัมนั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องดูแลในเรื่องโรคภัยไข้เจ็บของพวกเขาด้วย ดังนั้น แม่ชีเทเรซาจึงขอเข้าร่วมฝึกอบรมวิชาพยาบาบกับมิชชันนารีอเมริกาในกัลกัตตาก่อนที่จะเดินทางไปยังย่านสลัมของเมืองนี้ และเปิดโรงเรียนแห่งแรกขึ้น

    ปีต่อมาจึงจัดตั้งมูลนิธิมิชชันนารี ออฟ แชริตี ขึ้นอย่างเป็นทางการ โดยเปิดรับสตรีที่มีจิตใจเลื่อมใสศรัทธาที่ต้องการจะปฏิบัติกิจของพระผู้เป็นเจ้าเพื่อเพื่อนมนุษย์ผู้ทุกข์ยากเข้าบวชเป็นแม่ชีของสำนักงานของแม่ชีเทเรซาและแม่ชีร่วมสำนักในยุคแรกๆ ก็ได้แก่การดูแลเด็กกำพร้าโดยขัดตั้งเป็นสถานเลี้ยงและสงเคราะห์เด็ก ด้วยการให้อาหารเครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย ยารักษาโรคและวิชาความรู้

    ต่อจากนั้นแม่ชีเทเรซาก็ขยายความช่วยเหลือออกไปสู่คนยากคนจน และคนที่ถูกทอดทิ้งในสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนที่เป็นโรคติดต่อและโรคเรื้อน เล่ากันว่าในกัลกัตตานั้นมีผุ้ป่วยด้วยโรคต่างๆถูกทอดทิ้งไว้กลางถนนมากมาย ครั้งหนึ่งแม่ชีเทเรซาได้พบสตรีชาวสลัม กัลกัตตาผู้หนึ่งถูกทิ้งไว้กลางถนน เมื่อเข้าไปดูจึงรู้ว่าป่วยหนัก ที่เท้าของเธอมีบาดแผลอันเกิดจากหนูแทะ กำลังเน่าเปื่อยส่งกลิ่นเหม็นและมีหนอนชอนไชเต็มไปหมด แม่ชีจึงตั้งคณะมิชชันนารีขึ้นมาใหม่อีกคณะหนึ่ง มีชื่อว่า มิชชันนารีเพื่อผู้สิ้นหวัง แล้วเปิดบ้านพักผู้ป่วยขึ้นที่ริมถนนสายหนึ่งใกล้กับวิหารของพระแม่กาลี ซึ่งมีผู้ป่วยถูกทอดทิ้งไว้กลางถนนมากที่สุดโดยให้ชื่อบ้านพักผู้ป่วยหลังนี้ว่าบ้านใจกรุณา

    ปรากฏว่ามีผู้ป่วยด้วยโรคต่างๆ เช่น วัณโรค บิด บาดทะยัก เข้ามาพักอาศัยเพื่อรักษาตัวที่บ้านใจกรุณามากมาย บางรายหายป่วยแต่ก็มีไม่น้อยที่ต้องเสียชีวิตที่บ้านแห่งนี้ การทำงานอย่างมุมานะและจริงจังของแม่ชีเทเรซา และมวลมิชชันนารีในปกครองของเธอสร้างความเลื่อมใสศรัทธาแก่คริสต์ศาสนิกชนทั่วไปเป็นอันมาก ทำให้มีการก่อตั้งมิชชันนารีการกุศล อย่างเดียวกันอีกมากมายหลายแห่ง และทุกแห่งที่ยินดีที่จะเป็นสาขาของสำนักมิชชันนารี ออฟ แชริตี

    ภารกิจอันบริสุทธิ์ของแม่ชีเทเรซาที่แพร่กระจายไปทั่วโลก เป็นที่ชื่นชมของพระสันตะปาปาจอห์น ปอล ที่ ๒ และให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่ และในปี ค.ศ. ๑๙๗๑ แม่ชีเทเรซาก็ได้รับรางวัลแห่งความดีที่กระทำมาเป็นเวลานานเป็นครั้งแรก โดยได้รับรางวัลเพื่อสัตนติภาพจอห์นที่ ๒๓ จากสมเด็กพระสันตะปาปาจอห์น ปอล

    หลังจากได้รับรางวัลสันติภาพแล้ว แม่ชีเทเรซาก็เริ่มรณรงค์ต่อต้านการทำแท้งอย่างหนัก เธอแสดงความไม่เห็นด้วยอย่างชัดแจ้งต่อทัศนสิทธิสตรีในเรื่องเพศโดยเฉพาะยาคุมกำเนิด แม่ชีให้เหตุผลที่ค่อนข้างน่าฟังมากกว่า

    “เป็นไปได้อย่างไรที่จะป้องกันไม่ให้คนฆ่ากันเองหากแม่ยังกล้าฆ่าแม้ลูกในไส้ของตน” แม่ชีเทเรซาประณามการทำแท้งว่า เป็นปีศาจร้าย ผู้ทำลายสันติภาพที่ยิ่งใหญ่ของมวลมนุษย์   การต่อสู้เพื่อให้มนุษย์ยุติการทำแท้งและการทำงานองค์กรต่างๆในสังกัด ของแม่ชีเทเรซา ทำให้ได้รักการเสนอชื่อเข้ารับรางวัลโนเบล สาขาสันติภาพประจำปี ๑๙๗๙ พร้อมด้วยเงินรางวัล ๑๙๒,๐๐๐ ดอลลาร์ ซึ่งเงินทั้งหมดนี้แม่ชีก็นำไปใช้เป็นกองทุนสำหรับการทำงานเพื่อคนยากไร้ของเธอทั้งหมด

    สำหรับรางวัลต่างๆที่แม่ชีเทเรซาได้รับนั้นยังมีอีกมากมายหลายรางวัล เช่น รางวัลวาหระลาล เนห์รู รางวัลเทมเปิลตัน รางวัลอัลเบิร์ต ชโวท์เซอร์ และรางวัย ภรัตรัตน อันเป็นรางวัลสำหรับพลเมืองที่ได้รับการยกย่องสูงสุดของอินเดีย

    ในปี ค.ศ. ๑๙๘๙ แม่ชีเทเรซาเริ่มมีปัญหาทางด้านสุขภาพหลายอย่าง เป็นต้นว่าหัวใจ ข้อต่และสายตาแพทยต้องทำการรักษาด้วยการใช้เครื่องควบคุมการเต้นของหัวใจ ปีต่อมาแม่ชีก็ต้องเข้าโรงพยาบาลอีกหนหนึ่งคราวนี้เป็นการผ่าตัดหัวใจที่โรงพยาบาลในแคลิฟอรืเนียดูเหมือนว่าจะมีโรคปอดอักเสบแทรกซ้อนในระหว่างนี้ด้วย

    ตั้งแต่ปี ค.ศ. ๑๙๙๐ เป็นต้นมา สุขภาพของแม่ชีเทเรซาทรุดหนักลงเรื่อยๆ นอกจากนั้นยังมีอาการต่างๆ แทรกซ้อนเพิ่มเติมขึ้นมาเสมอ แต่โรคที่ค่อนข้างน่าห่วงที่สุดเห็นจะเป็นโรคหัวใจนั่นเอง จนกระทั่งเมื่อต้นเดือนกันยายนที่ผ่านมา แม่ชีเทเรซาผู้เป็นแม่พระของคนยากไร้ทั่วโลกก็จากโลกนี้ไปอย่างสงบด้วยอาการหัวใจล้มเหลวหลังจากเสร็จสิ้นการเดินทางเยือนประเทศต่างๆเป็นเวลา ๒ เดือน ในการเดินทางครั้งนี้ แม่ชีเทเรซาได้พบกับเจ้าหญิงไดอาน่าซึ่งเป็นการพบกันครั้งสุดท้ายในชีวิตของทั้งสองด้วย

    ข่าวอันเศร้าสลดประกาศไปทั่วโลกว่า แม่ชีเทเรซา นักบุญแห่งยุคสมัยได้ละสังขารอำลาจากโลกนี้ไปเมื่อคืนวันศุกร์ที่ ๕ กันยายน ค.ศ. ๑๙๙๗ ขณะที่มีอายุ ๘๗ ปี ท่ามกลางความเศร้าโศกของสานุศิษย์และชาวโลกผู้ยากไร้ ทั้งที่เคยพึ่งพาใบบุญของแม่ชีและไม่เคย ซึ่งต่างกล่าวเป็นเสียงเดียวว่า เธอคือแม่พระของปวงชนอย่างแท้จริง

    ที่มา : http://www2.srp.ac.th/~s40544/woman/tarasa.htm

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×