ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ♪ เรื่องเล่า ♪ {{{นิทานชาดก.+}}}☂

    ลำดับตอนที่ #278 : ☆ : พระพุทธเจ้า 3 ประเภท

    • อัปเดตล่าสุด 29 ธ.ค. 54


    http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9E%E0%B8%B8%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B9%89%E0%B8%B2



    พระพุทธเจ้า

    จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

    ส่วนหนึ่งของ
    ศาสนาพุทธ

    Dhamma Cakra.svg สถานีย่อย


    Dharmacakra flag (Thailand).svg
    ประวัติศาสนาพุทธ

    ศาสดา

    พระโคตมพุทธเจ้า
    (พระพุทธเจ้า)

    จุดมุ่งหมาย
    นิพพาน
    ไตรรัตน์

    พระพุทธ · พระธรรม · พระสงฆ์

    ความเชื่อและการปฏิบัติ
    ศีล (ศีลห้า) · ธรรม (เบญจธรรม)
    สมถะ · วิปัสสนา
    บทสวดมนต์และพระคาถา
    คัมภีร์และหนังสือ
    พระไตรปิฎก
    พระวินัยปิฎก · พระสุตตันตปิฎก · พระอภิธรรมปิฎก
    หลักธรรมที่น่าสนใจ
    ไตรลักษณ์
    อริยสัจ ๔ · มรรค ๘ · อิทัปปัจจยตา
    นิกาย
    เถรวาท · อาจริยวาท (มหายาน) · วัชรยาน · เซน
    สังคมศาสนาพุทธ
    ปฏิทิน · บุคคล · วันสำคัญ · ศาสนสถาน · วัตถุมงคล
    การจาริกแสวงบุญ
    พุทธสังเวชนียสถาน ·
    การแสวงบุญในพุทธภูมิ
    ดูเพิ่มเติม
    อภิธานศัพท์ศาสนาพุทธ
    หมวดหมู่ศาสนาพุทธ

    พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นพระบรมศาสดาของพระพุทธศาสนา พุทธศาสนาทั้งฝ่ายเถรวาทและมหายานนับถือพระพุทธเจ้าว่าเป็นศาสดาของตนเหมือนกันแต่ รายละเอียดปลีกย่อยต่างกัน ฝ่ายเถรวาทให้ความสำคัญกับพระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบันคือพระโคตมพุทธเจ้า และกล่าวถึงพระพุทธเจ้าในอดีตกับในอนาคตบ้างแต่ไม่ให้ความสำคัญเท่า ฝ่ายมหายานนับถือพระพุทธเจ้าของฝ่ายเถรวาททั้งหมดและมีการสร้างพระพุทธเจ้า เพิ่มเติมขึ้นมาจนบางองค์มีลักษณะคล้ายเทพเจ้าของศาสนาฮินดู

    ตามคัมภีร์ฝ่ายพุทธ ถือกันว่า พระพุทธเจ้า (พระโคตมพุทธเจ้า) พระองค์ดำรงพระชนม์ชีพอยู่ระหว่าง 80 ปีก่อนพุทธศักราช จนถึงเริ่มพุทธศักราชซึ่งเป็น วันปรินิพพาน ตรงกับ 543 ปีก่อนคริสตกาลตามตำราไทยอ้างอิงปฏิทินสุริยคติไทยและปฏิทินจันทรคติไทย และ 483 ปีก่อนคริสตกาลตามปฏิทินสากล

    เนื้อหา

     [ซ่อน

    [แก้] ความ หมายของคำว่าพุทธะ

    ในพระพุทธศาสนา พุทธะ (ภาษาบาลี พุทฺธ แปลว่า "ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน") หมายถึงบุคคลผู้ตรัสรู้อริยสัจ 4 แล้วอย่างถ่องแท้ ในชั้นอรรถกถา จำแนกพุทธะออกเป็น 3 จำพวกด้วยกันได้แก่

    1. พระสัมมาสัมพุทธเจ้า บางทีเรียกเพียง "พระพุทธเจ้า" คือบุคคลที่ตรัสรู้ด้วยตนเองและสอนให้ผู้อื่นรู้ตาม ตามคัมภีร์ฝ่ายพุทธนั้น พระพุทธเจ้าพระองค์ที่ปรากฏในประวัติศาสตร์ (พระโคตมพุทธเจ้า) เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์หนึ่งในบรรดาพระพุทธเจ้าทั้ง หลาย
    2. พระปัจเจกพุทธะ,อีกอัน หนึ่งพระปัจเจกพุทธเจ้า (อ่านว่า พระ-ปัด-เจก-กะ-พุด-ทะ-เจ้า) คือบุคคลที่ตรัสรู้ด้วยตนเอง แต่มิได้สอนให้ผู้อื่นรู้ตาม
    3. อนุพุทธะ คือบุคคลที่ตรัสรู้เนื่องด้วยคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ไม่ว่าจะโดยทางตรงหรือทางอ้อม ผู้ที่ตรัสรู้ได้ด้วยเหตุนี้เรียกว่า พระ สาวก

    ในอรรถกถาบางแห่งจำแนกเป็น 4 ดังนี้

    1. พระสัพพัญญูพุทธะ (พระสัมมาสัมพุทธเจ้า)
    2. ปัจเจกพุทธะ
    3. จตุสัจจพุทธะ (สาวกของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ได้บรรลุอรหัตตผล)
    4. สุตพุทธะ (ผู้เป็นพหูสูตร)

    [แก้] คำ ที่ใช้กล่าวเรียกพระพุทธเจ้า

    มีหลายคำดังจะกล่าวต่อไปนี้

    • พระบรมโพธิสัตว์, พระโพธิสัตว์ หมายถึง ท่านผู้ที่กำลังบำเพ็ญ บารมี 10 (โดยยิ่งยวด ๓๐ ทัศ) คือ ทาน ศีล เนกขัมมะ ปัญญา วิริยะ ขันติ สัจจะ อธิฐาน เมตตา อุเบกขา และ จะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า
    • อังคีรส หมายถึง ท่านผู้มีรัศมีแผ่ออกมาจากพระกาย
    • สิทธัตถะหมายถึง ท่านผู้ที่มีความเพียรพยายาม เมื่อต้องการสำเร็จ เป้าหมายที่ประสงค์จะทำ
    • พระมหาบุรุษ เป็นคำที่ใช้เรียก พระพุทธเจ้าก่อนตรัสรู้ อีกความหมายหนึ่งคือ บุรุษผู้ยิ่งใหญ่
    • ตถาคต เป็นคำที่พระพุทธเจ้าตรัสถึงพระองค์เองมี ความหมาย 8 อย่างคือ
      1. พระผู้เสด็จมาแล้วอย่างนั้น
      2. พระผู้เสด็จไปแล้วอย่างนั้น
      3. พระผู้เสด็จมาถึงตถลักษณะ
      4. พระผู้ตรัสรู้ตถธรรมตามที่มันเป็น
      5. พระผู้ทรงเห็นอย่างนั้น
      6. พระผู้ตรัสอย่างนั้น
      7. พระผู้ทำอย่างนั้น
      8. พระผู้เป็นเจ้า
    • ตถาคตโพธิสัทธา หมายถึง การเชื่อถือปัญญาตรัสรู้ของพระตถาคต
    • ธรรมกาย หมายถึงท่าน ผู้มีธรรมในกาย
    • ธรรมราชา หมายถึง ท่านผู้เป็นราชาแห่งธรรม
    • ธรรมสวามิศร, ธรรมสามิสร หมายถึง ท่านผู้เป็นใหญ่โดยเป็นเจ้าของธรรม
    • ธรรมสามี หมายถึง ท่านผู้เป็นเจ้าของธรรม
    • ธรรมิศราธิบดี หมายถึง ท่านผู้เป็นอธิปดีในธรรม เป็นคำกวีหมายถึงพระพุทธเจ้า
    • บรมศาสดา, พระบรมศาสดา หมายถึง ท่านผู้เป็น ศาสดาอันยอดยิ่ง พระผู้เป็นครูสูงสุด พระบรมครู
    • พระผู้มีพระภาคเจ้า
    • พระพุทธเจ้าหมายถึง ท่านผู้รู้ดี รู้ชอบ ด้วยตนเองก่อนแล้ว สอนประชุมชนให้ประพฤติชอบด้วยกาย วาจา ใจ
    • พระศาสดา หมายถึง ท่านผู้ทรงสอนชนทั้งปวง
    • พระสัมพุทธเจ้า, พระสัมมาสัมพุทธเจ้า, พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า, สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า หมายถึง พระผู้ตรัสรู้เองโดยชอบ
    • ภควา หมายถึง ท่านผู้เป็นผู้มีโชค หรือ ท่านผู้จำแนกแจกธรรม
    • มหาสมณะ
    • โลกนาถ, พระโลกนาถ หมายถึง พระผู้เป็นที่พึ่งแห่งโลก
    • สยัมภู, พระสัมภู หมายถึง ท่านผู้ตรัสรู้ได้โดยตนเอง ไม่มีใครมาสั่งสอน
    • สัพพัญญู, พระสัพพัญญูสัมพุทธเจ้า หมายถึง ท่านผู้รู้ทุกสิ่งทุกอย่าง
    • พระสุคต, พระสุคโต หมายถึง ท่านผู้เสด็จไปดีแล้ว

    [แก้] พระ พุทธเจ้าตามความเชื่อของฝ่ายเถรวาท

    ในพระไตรปิฏกกล่าวว่า ในภัทรกัปนี้มีพระพุทธเจ้าอุบัติขึ้นแล้ว 4 พระองค์ พระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบันเป็นองค์ที่ 4 และพระพุทธเจ้าองค์ถัดไปคือพระศรีอารยเมตไตรย ในทัสศนะเถรวาทถือว่าพระพุทธเจ้าเป็นมนุษย์ธรรมดา แต่ที่เหนือกว่าคนทั่วไปคือพระองค์พบทางดับทุกข์ได้ด้วยพระองค์เอง และเผยแพร่หนทางนั้นต่อสรรพสัตว์ ทรงเป็นบุคคลในประวัติศาสตร์ เมื่อทรงดับขันธปรินิพพาน คือดับไปโดยไม่เหลือเชื้อใดๆ ผู้จะเป็นพระพุทธเจ้าต้องทำความดี (บารมี) มาในชาติก่อน ๆ นับชาติไม่ถ้วน (ก่อนที่จะเป็นพระพุทธเจ้า เรียกว่า พระโพธิสัตว์)

    [แก้] การ ประสูติของพระพุทธเจ้า

    พระโพธิสัตว์ผู้ที่จะจุติจากสวรรค์ชั้นดุสิตลงมาเสด็จอุบัติเป็นพระ พุทธเจ้านั้น ก่อนจะลงพระโพธิสัตว์จะทรงเลือก 5 อย่าง คือ


    1. กาล (อายุขัยของมนุษย์)

    อายุขัยของมนุษย์ขึ้นอยู่กับกระแสสังขารและการทำความดี หากทำดีมากขึ้นอายุก็จะเพิ่มขึ้น หากทำดีน้อยอายุขัยก็จะลดลง อายุขัยของมนุษย์อยู่ระหว่าง 10 ปีถึง 1 อสงไขยปี (1 × 10140 ปี) แต่พระโพธิสัตว์ทรงเลือกอายุขัยมนุษย์ระหว่าง 100-100,000 ปี ถ้าหากน้อยกว่า 100 ปีมนุษย์จะมีจิตใจหยาบช้าเกินกว่าจะฟังธรรมให้แตกจนบรรลุพระนิพพานได้ ถ้าเกิน 100,000 ปีมนุษย์จะเริ่มประมาทความแก่ ความเจ็บ ความตายเพราะอายุยืนความตายมาถึงช้า จะไม่เห็นอริยสัจ 4 หรือธรรมใดๆ


    2. ทวีป (ทวีปที่จะลงมาประสูติ)

    พระโพธิสัตว์เลือกชมพูทวีปเป็นทวีปที่จะจุติทุกครั้ง เพราะมนุษย์ในชมพูทวีปมีทั้งความสุขและความทุกข์ มีความเห็นทุกข์ เห็นสุข ได้ดีกว่ามนุษย์ในทวีปอื่นๆ

    สาเหตุอีกอย่างที่เลือกลงมามนุษยภูมิเพราะมนุษย์เห็นสุขทุกข์ได้ง่ายที่ สุด สัตว์ในอบายภูมิ 4 มีแต่ความทุกข์ไม่เห็นสุขกระจ่าง เทวดาพรหมก็เห็นสุขมากกว่าทุกข์จนยากที่จะทำให้เป็นพระอรหันต์ได้ อีกทั้งมนุษย์ทำบุญได้ จึงทรงเลือกมนุษย์


    3. ประเทศ (ประเทศที่จะประสูติ)

    พระโพธิสัตว์จะทรงเลือกประเทศที่มีความเจริญรุ่งเรือง เศรษฐกิจดี มีประชากรหนาแน่น มีนักปราชญ์ เจ้าสำนัก เป็นที่รวมของการศึกษาและศิลปวิทยามากมาย มีผู้มีคุณธรรมมากมาย จะสามารถเผยแพร่ธรรมให้รุ่งเรือง มีคนรู้มากได้


    4. ตระกูล (ตระกูลที่จะประสูติ)

    พระโพธิสัตว์ทรงเลือกได้ระหว่าง ตระกูลกษัตริย์ กับ ตระกูล พราหมณ์ ว่าในช่วงเวลานั้นตระกูลใดเจริญมากกว่ากัน ได้รับการยอมรับมากกว่ากัน ใน 4 อสงไขยแสนมหากัปล่าสุดนี้มีพระพุทธเจ้าจากตระกูลกษัตริย์มากกว่า แต่ในภัทรกัปป์นี้มีพระพุทธเจ้าจากตระกูลพราหมณ์มากกว่า (พระกกุสันธะ พระโกนาคมณ์ พระกัสสปะ และพระศรีอาริยเมตไตรยพุทธเจ้า) มีเพียงพระโคตมพุทธเจ้าเพียงพระองค์เดียวที่มาจาก ตระกูลกษัตริย์

    พระโพธิสัตว์ผู้ได้มาจุติเป็นพระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบันนี้ ทรงเลือกตระกูลศากยโคตมวงศ์แห่งกรุงกบิลพัสดุ์นคร เพราะได้รับความนับถือมาก และบริสุทธิ์มา 7 รุ่นแล้ว ถ้าไม่บริสุทธิ์แล้วลงมาจุติแล้วเป็นพระพุทธเจ้าก็ยากที่จะได้รับการนับถือ สาเหตุที่เลือกตระกูลกษัตริย์เพราะในช่วงเวลานั้นมีการแบ่งชนชั้นวรรณะกัน และวรรณะกษัตริย์เป็นวรรณะที่มีคนนับถือมากที่สุด จึงทรงเลือกวรรณะกษัตริย์


    5. มารดา (มารดาผู้ให้กำเนิดและกำหนดอายุของพระมารดาหลังประสูติ)

    พระโพธิสัตว์จะทรงเลือกผู้หญิงจากตระกูลกษัตริย์หรือพราหมณ์ที่รักษาศีล รักษาธรรมได้ดีที่สุด บริสุทธิ์ทางกาย วาจา ใจ ไม่ดื่มสุรา ไม่หลงในอบายมุข ไม่โลเลในบุรุษ และทรงกำหนดอายุของพระมารดาว่ามีประมาณเท่าใด เพราะพระครรภ์ที่ประทับแห่งพระโพธิสัตว์ผู้จะได้เสด็จอุบัติตรัสรู้เป็นพระ สัมมาสัมพุทธเจ้านั้น เปรียบประดุจพระคันธกุฎีแห่งพระบรมศาสดา ไม่สมควรแก่ผู้อื่น

    พระบรมโพธิสัตว์ทรงเลือกพระมารดาที่บริสุทธิ์ไม่แปดเปื้อนมลทินโทษ มิฉะนั้นจะยากแก่การเผยแผ่ศาสนา เพราะจะถูกโจมตีว่ามารดาของพระศาสดาไม่บริสุทธิ์ พระนางสิริมหามายาได้อธิษฐานเป็นพระพุทธมารดามาแต่อดีตกาล เมื่อประสูติพระบรมโพธิสัตว์เจ้าได้ 7 วันก็เสด็จทิวงคต ไปบังเกิดเป็นเทพบุตรสถิตในดุสิตเทวโลก ตามประเพณี พระพุทธมารดาไม่ได้เป็นหญิงอย่างเก่า ที่เกิดเป็นหญิงเพราะอธิษฐานขอเป็นมารดาพระพุทธเจ้า

    [แก้] ประเภท ของพระพุทธเจ้า

    ในพระไตรปิฎกจะแบ่งประเภทของพระพุทธเจ้าไว้ดังนี้ การแบ่งประเภทของพระพุทธเจ้าตามวิธีการสร้างบารมี[1]

    1. ปัญญาธิกพุทธเจ้า คือพระพุทธเจ้าที่สร้างบารมีโดยใช้ปัญญาเป็นตัวนำ ใช้เวลาบำเพ็ญบารมี 20 อสงไขยกับอีก 100,000 มหากัปป์
      ตั้งความปารถนาเป็นพระพุทธเจ้าไว้ในใจ 7 อสงไขย กล่าววาจาปารถนาเป็นพระพุทธเจ้า 9 อสงไขย นับเวลาตั้งแต่ได้รับพุทธพยากรณ์ครั้งแรก 4 อสงไขยกัป กับอีก 100,000 มหากัปป์
    2. ศรัทธาธิกพุทธเจ้า คือพระพุทธเจ้าที่สร้างบารมีโดยใช้ศรัทธาเป็นตัวนำ ใช้เวลาบำเพ็ญบารมี 40 อสงไขยกับอีก 100,000 มหากัปป์
      ตั้งความปารถนาเป็นพระพุทธเจ้าไว้ในใจ 14 อสงไขย กล่าววาจาปารถนาเป็นพระพุทธเจ้า 18 อสงไขย นับเวลาตั้งแต่ได้รับพุทธพยากรณ์ครั้งแรก 8 อสงไขยกัป กับอีก 100,000 มหากัปป์
    3. วิริยะธิกพุทธเจ้า คือพระพุทธเจ้าที่สร้างบารมีโดยใช้ความเพียรเป็นตัวนำ ใช้เวลาบำเพ็ญบารมี 80 อสงไขยกับอีก 100,000 มหากัปป์
      ตั้งความปารถนาเป็นพระพุทธเจ้าไว้ในใจ 28 อสงไขย กล่าววาจาปารถนาเป็นพระพุทธเจ้า 36 อสงไขย นับเวลาตั้งแต่ได้รับพุทธพยากรณ์ครั้งแรก 16 อสงไขยกัป กับอีก 100,000 มหากัปป์

    [แก้] พระ พุทธเจ้าในอดีต

    ดูเพิ่มที่ พระพุทธเจ้าในอดีต

    [แก้] พระ พุทธเจ้าในอนาคต

    ในคัมภีร์อนาคตวงศ์นั้น ได้กล่าวถึงพระพุทธเจ้าในอนาคต 10 พระองค์ที่จะบังเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้ ดังนี้ [2]

    [แก้] พระ พุทธเจ้าตามความเชื่อของฝ่ายมหายาน

    นิกายมหายานยอมรับพระพุทธเจ้าตามคัมภีร์ฝ่ายเถรวาททั้งหมดและยังสร้างพระ พุทธเจ้าอีกมากมาย ทั้งที่เป็นมนุษย์และมีสถานะเหมือนเทพเจ้าในศาสนาฮินดู นิกายมหายานเชื่อว่าเมื่อพระพุทธเจ้าปรินิพพานไปแล้วไม่ดับสูญแต่ไปประทับ ณ พุทธเกษตรซึ่งเป็นดิน แดนที่งดงามกว่าสวรรค์ พระพุทธเจ้าตามคติมหายานแบ่งได้เป็น 3 ประเภท คือ

    1. อาทิพุทธะ ถือว่าเป็นพระพุทธเจ้าที่อุบัติมาพร้อมกับโลกและประทับอยู่กับโลกเป็นนิรัน ดร์ มีบทบาทคล้ายพระพรหมในศาสนาฮินดูที่เป็นผู้สร้างโลกและจักรวาล
    2. พระมานุสสพุทธะ เป็นพระพุทธเจ้าที่อวตารมาจากอาทิพุทธะมาเกิดในโลกมนุษย์และบำเพ็ญเพียรใน ฐานะพระโพธิสัตว์จนตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า เมื่อปรินิพพานแล้วจะไปอยู่กับอาทิพุทธะ คล้ายกับคติของศาสนาฮินดูที่เมื่อทำความดีถึงขั้นสูงสุดจะกลับไปเป็นส่วน หนึ่งของมหาพรหม พระพุทธเจ้าองค์ปัจจจุบัน ทางมหายานเรียกว่าพระศากยมุนีพุทธเจ้า เป็นพระมานุสสพุทธะด้วยเช่นกัน
    3. พระธยานิพุทธะ เป็นพุทธะที่อวตารมาจากอาทิพุทธะเช่นกันแต่สำเร็จเป็นพระพุทธเจ้าด้วยอำนาจ ฌาน (ธยาน) ของอาทิพุทธะไม่ได้ผ่านการบำเพ็ญเพียรในโลกมนุษย์ พุทธะเหล่านี้ประทับบนสวรรค์ ในสภาวะกายทิพย์ มีเฉพาะพระโพธิสัตว์ที่มองเห็นได้
    4. พระพุทธเจ้าอื่นๆ เช่น พระสัทธรรมวิทยาตถาคต พระไภษัชยคุรุทั้ง 7 พระสหัสประภาราชาศานติสถิต ยตตถาคต พระประภูตรัตนะ

    [แก้] จำนวน ของพระพุทธเจ้า

    ในคัมภีร์ของทางมหายานนั้นได้ระบุนามของพระพุทะเจ้าไว้เป็นจำนวนมาก มีทั้งพระพุทธเจ้า 35 พระองค์ พระพุทธเจ้า 53 พระองค์ และที่มากที่สุดคือพระพุทธเจ้า 3,000 พระองค์ โดยแบ่งเป็น [3]

    [แก้] อ้าง อิง

    1. ^ http://geocities.com/ss12345_th/poti/P101.html
    2. ^ ประชุมพงศาวดารฉบับราษฏร์ ภาค 3 อนาคตวงศ์. กทม. อมรินทร์วิชาการ. 2542 และ ดู : http://www.84000.org/anakot/index.html
    3. ^ ภิกษุจีนวิศวภัทร. พระพุทธเจ้าและพระธรรมสูตรฝ่ายมหายาน. กทม. หมื่นคุณธรรมสถาน.2549
    • ประสงค์ แสนบุราณ. พระพุทธศาสนามหายาน. กทม. โอเดียนสโตร์. 2548
    • พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). "พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์".

    [แก้] แหล่ง ข้อมูลอื่น

    เครื่องมือส่วนตัว
    สิ่งที่แตกต่าง
    การกระทำ



    http://larndham.org/index.php?/topic/29472-%E0%B8%97%E0%B9%8D%E0%B8%B2%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9E%E0%B8%B8%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%88%E0%B8%B6%E0%B8%87%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%81%E0%B8%9A%E0%B9%88%E0%B8%87/page__st__5




    ทําไมพระพุทธเจ้าจึงต้องแบ่งเป็น 3 ประเภทครับ ผู้รู้โปรดอธิบายด้วยครับ ให้คะแนนกระทู้: -----

    #0 ผู้ใช้ออฟไลน์   racerwin_x ไอคอน

    • ตอบไม่มาก
    • กลุ่ม: สมาชิกลานธรรมถาวร
    • ตอบ: 23
    • สมัคร: 27/04/2006

    ตอบ: 08/12/2007 - 08:29

    สงสัยครับว่าทําไมพระพุทธเจ้าจึงต้องแบ่งเป็น 3 ประเภท
    พระพุทธเจ้า คือผู้ที่เป็นศาสดาเอกในพุทธศาสนา แบ่งพระพุทธเจ้าออกเป็น 3 ประเภท

    1.ปัญญาพุทธเจ้า คือพระพุทธเจ้าที่สร้างบารมีโดยใช้ปัญญาเป็นตัวนำ ระยะเวลาการสร้างบารมีทั้งหมด 20 อสงไขยกับเศษแสนมหากัป คือปรารถนาอยู่ในใจเป็นเวลา 7 อสงไขย หลังจากนั้นออกปากกล่าววาจาต่อพระพักตร์พระพุทธเจ้าเป็นเวลา 9 อสงไขย รวมเป็น 16 อสงไขย และได้เป็นพระนิยตะโพธิสัตว์ ได้รับพุทธพยากรณ์ ครั้งแรก เหลืออีก 4 อสงไขยกับเศษแสนมหากัป เป็นการสร้างบารมีอย่างยิ่งและเข็มงวดขึ้นเรื่อย และได้รับพยากรณ์ช้ำมาตลอดเมื่อได้พบกับพระพุทธเจ้า จนถึงสมัยพุทธภูมิของท่าน

    2. ศรัทธาพุทธเจ้า คือพระพุทธเจ้าที่สร้างบารมีโดยใช้ศรัทธาเป็นตัวนำ ระยะเวลาการสร้างบารมีทั้งหมด 40 อสงไขยกับเศษแสนมหากัป คือปรารถนาอยู่ในใจเป็นเวลา 14 อสงไขย หลังจากนั้นออกปากกล่าววาจาต่อพระพักตร์พระพุทธเจ้าเป็นเวลา 18 อสงไขย รวมเป็น 32 อสงไขย และได้เป็นพระนิยตะโพธิสัตว์ ได้รับพุทธพยากรณ์ครั้งแรก เหลืออีก 8 อสงไขยกับเศษแสนมหากัป เป็นการสร้างบารมีอย่างยิ่งและเข็มงวดขึ้นเรื่อย และได้รับพยากรณ์ช้ำมาตลอดเมื่อได้พบกับพระพุทธเจ้า จนถึงสมัยพุทธภูมิของท่าน

    3. วิริยะพุทธเจ้า คือพระพุทธเจ้าที่สร้างบารมีโดยใช้วิริยะเป็นตัวนำ ระยะเวลาการสร้างบารมีทั้งหมด 80 อสงไขยกับเศษแสนมหากับล์ คือปรารถนาอยู่ในใจเป็นเวลา 28 อสงไขย หลังจากนั้นออกปากกล่าววาจาต่อพระพักตร์พระพุทธเจ้าเป็นเวลา 36 อสงไขย รวมเป็น 64 อสงไขย และได้เป็นพระนิยตะโพธิสัตว์ ได้รับพุทธพยากรณ์ครั้งแรก เหลืออีก 16 อสงไขยกับเศษแสนมหากัป เป็นการสร้างบารมีอย่างยิ่งและเข็มงวดขึ้นเรื่อย และได้รับพยากรณ์ช้ำมาตลอดเมื่อได้พบกับพระพุทธเจ้า จนถึงสมัยพุทธภูมิของท่าน

    ซึ่งพระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบันนี้ มีพระนามว่า พระศรีศากยมนีโคดมพุทธเจ้า พระองค์ทรงสร้างบารมีมาทาง ปัญญาพุทธเจ้า

    ที่ผมสงสัยคือว่า มันแตกต่างกันยังไงครับระหว่าง
    1.ปัญญาพุทธเจ้า
    2. ศรัทธาพุทธเจ้า
    3. วิริยะพุทธเจ้า

    ทั้ง 3 แบบเป็นพระพุทธเจ้าเหมือนกัน แต่ต่างกันที่ระยะเวลา แล้วอย่างอื่นมีอะไรเพิ่มเติมไหมครับ ที่แตกต่าง
    ผู้รู้ช่วยตอบด้วยนะคร้าบ

    ไปตั้งที่ Pantip แล้วแต่ยังไม่กระจ่างอะครับ



    #5 ผู้ใช้ออฟไลน์   เฉลิม ศักดิ์ ไอคอน

    • ตอบ 5000+
    • PipPipPipPipPipPipPip
    • กลุ่ม: สมาชิกลานธรรมถาวร
    • ตอบ: 5978
    • สมัคร: 26/01/2004

    ตอบ: 09/12/2007 - 06:50

    [๑๓๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่ในโลก
    ๔ จำพวกเป็นไฉน คือ อุคฆฏิตัญญู ผู้อาจรู้ธรรมแต่พอท่านยกหัวข้อขึ้นแสดง ๑
    วิปจิตัญญู ผู้อาจรู้ธรรมต่อเมื่อท่านอธิบายความแห่งหัวข้อนั้น ๑ เนยยะ
    ผู้พอแนะนำได้ ๑ ปทปรมะ ผู้มีบทเป็นอย่างยิ่ง ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    บุคคล ๔ จำพวกนี้แล มีปรากฏอยู่ในโลก ฯ


    อรรถกถาอุคฆฏิตัญญุสูตรที่ ๓
    พึงทราบวินิจฉัยในอุคฆฏิตัญญุสูตรที่ ๓ ดังต่อไปนี้ :-
    พึงทราบความต่างกันแห่งบุคคลแม้ ๔ จำพวกด้วยสูตรนี้ ดังนี้
    อุคฆฏิตัญญูเป็นไฉน? บุคคลตรัสรู้ธรรมขณะที่ท่านยกหัวข้อขึ้นแสดง เรียกว่าอุคฆฏิตัญญูบุคคล. วิปจิตัญญูบุคคลเป็นไฉน? บุคคลตรัสรู้ธรรมต่อเมื่อท่านแจกแจงความโดยพิสดาร เรียกว่าวิปจิตัญญูบุคคล. เนยยบุคคลเป็นไฉน? บุคคลต้องเรียน ต้องสอบถาม ต้องใส่ใจโดยแยบคาย ต้องคบหา อยู่ใกล้กัลยาณมิตร จึงตรัสรู้ธรรมตามลำดับขั้นตอน เรียกว่าเนยยบุคคล ปทปรมบุคคลเป็นไฉน? บุคคลฟังมากก็ดี พูดมากก็ดี ทรงจำมากก็ดี สอนมากก็ดี ยังไม่ตรัสรู้ธรรมในชาตินั้น เรียกว่าปทปรมบุคคล.

    เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๑ บรรทัดที่ ๓๗๑๒ - ๓๘๓๔. หน้าที่ ๑๕๙ - ๑๖๔.
    http://www.84000.org...834&pagebreak=0
    ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
    http://www.84000.org....php?b=21&i=131


    ------------------------------------------------------------
    จากหนังสือ พระพุทธเจ้าเคยเกิดเป็นผู้หญิง โดยท่าน บารมี

    อุคฆฏิตัญญูโพธิสัตว์ คือ พระโพธิสัตว์ประเภทที่มีปัญญาแก่กล้ากว่าศรัทธา สามารถตรัสรู้ได้เร็วที่สุด และใช้ระยะเวลาในการบำเพ็ญพระบารมีน้อยกว่าพระโพธิสัตว์ประเภทอื่น มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "ปัญญาธิกะโพธิสัตว์"
    ---------------------------------------------------------------------
    อุคฆฏิตัญญูโพธิสัตว์ ในหนังสือ มุนีนาถทีปนี ของพระพรหมโมลี ท่านอธิบายว่า เมื่อพระโพธิสัตว์ประเภทนี้ ได้รับพุทธพยากรณ์จากพระพุทธเจ้าพระองค์ใดพระองค์หนึ่ง ว่าจะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า หากปรารถนาที่จะได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์และปรินิพพานในชาตินั้น แล้วตั้งใจสดับพระสัทธรรมเทศนาเฉพาะพระพักตร์มณฑลแห่งสมเด็จพระทศพลพระองค์ นั้น พอสดับพระธรรมเทศนาบาทพระคาถาที่ ๓ ยังมิทันจะจบลง พระองค์ท่านก็จักได้สำเร็จเป็นพระอรหันตสาวก
    --------------------------------------------------------------------

    บางส่วนจาก

    วิทยานิพนธ์ เรื่องการสร้างบารมี โดย นายสรกานต์ ศรีตองอ่อน คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2547



    ประเภทและระยะเวลาในการบำเพ็ยบารมีของพระ สัมมาสัมพุทธเจ้า
    " พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนอานนท์ ความปรารถนาของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
    โดยกำหนดอย่างต่ำ ย่อมเป็นไป 4 อสงไขยแสนกัป
    โดยกำหนดอย่างกลาง ย่อมเป็นไป 8 อสงไขยแสนกัป
    โดยกำหนดอย่างสูง ย่อมเป็นไป 16 อสงไขยแสนกัป
    ก็ความแตกต่างกันเหล่านี้ พึงทราบโดยอำนาจแห่งพระพุทธเจ้า ผู้เป็นปัญญาธิกะยิ่งด้วยปัญญา สัทธาธิกายิ่งด้วยศรัทธา และ วิริยาธิกะยิ่งด้วยความเพียร

    จริงอยู่ พระพุทธเจ้าผู้เป็นปัญญาธิกะ มี ศรัทธาอ่อน มีปัญญา กล้าแข็ง (4 อสงไขยแสนกัป)
    พระพุทธเจ้าผู้เป็นสัทธาธิกะ มี ปัญญา ปานกลาง มี ศรัทธา กล้าแข็ง (8 อสงไขยแสนกัป)
    พระพุทธเจ้าผู้เป็นวิริยาธิกะ มี ศรัทธา และ ปัญญา อ่อน มีความเพียร กล้าแข็ง " (16 อสงไขยแสนกัป)
    ส่วนใน ปรมัตถทีปนี อรรถกถาขุททกนิกาย จริยาปิฎก กล่าวเสริมว่า

    "ฝ่ายอาจารย์อีกพวกหนึ่งกล่าวว่า นี้เป็นการแบ่งกาลของพระโพธิสัตว์ทั้งหลาย ด้วยความแก่กล้า ปานกลาง และ อ่อนแห่งความเพียร แต่โดยความไม่ต่างกัน โพธิสมภารทั้งหลายย่อมถึงความบริบูรณ์แห่งบารมีเหล่านั้น โดยความต่างแห่งกาลตามที่ได้กล่าวแล้ว โดยความแก่กล้า ปานกลาง และอ่อนแห่งธรรมทั้งหลายอันบ่มบารมีให้แก่กล้าด้วยวิมุติ เพราะเหตุนั้น ความต่างแห่งกาล 3 เหล่านี้จึงควรแล้ว ด้วยอาการอย่างโพธิสัตว์ทั้งหลาย ย่อมมี 3 ส่วนในขณะแห่งอภินิหารโดยความต่างกันแห่ง อุคฆฏิตัญญู วิปัจจิตัญญู และ เนยยะ "





    โดยการบำเพ็ญบารมีที่ต่างกันนี้ อรรถกถาจารย์ มีความเห็นเป็นสองทางคือ ความกล้าแข็งที่ต่างกันของ ปัญญา ศรัทธา และ วิริยะ ซึ่งเป็นตัวนำในการตรัสรู้ธรรม กับความแก่กล้าที่ต่างกันของความเพียรอย่างไรก็ตาม สำหรับระยะเวลาในการบำเพ็ญบารมีของพระโพธิสัตว์แต่ละประเภทนี้ ในคัมภีร์ชั้นรองลงมาจากอรรถกถามีขยายความเพิ่มเติม คือ

    1. อุคฆฏิตัญญูโพธิสัตว์ บำเพ็ญบารมีเพื่อตรัสรู้เป็นพระปัญญาธิกพุทธเจ้า ใช้เวลา 20 อสงไขยแสนกัป โดยแบ่งระยะเวลาเป็น
    ก) คิดปรารถนาเป็นพระพุทธเจ้าในใจ ไม่ได้เปล่งวาจาแสดงความปรารถนานั้นออกมาให้ผู้ใดทราบ ใช้เวลาบำเพ็ญบารมี 7 อสงไขย
    ข) ต่อจากนั้น จึงได้เปล่งวาจาแสดงความปรารถนาเป็นพระพุทธเจ้านั้นออกมา ใช้เวลาบำเพ็ญบารมี 9 อสงไขย
    ค)ต่อจากนั้น จึงได้รับพุทธพยากรณ์จากพระพุทธเจ้าพระองค์ใดพระองค์หนึ่ง ว่าจะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า ใช้เวลาบำเพ็ยบารมี 4 อสงไขยแสนกัป

    2. วิปจิตัญญูโพธิสัตว์ บำเพ็ญบารมีเพื่อตรัสรู้เป็นพระสัทธาธิกพุทธเจ้า ใช้เวลา 40 อสงไขยแสนกัป โดยแบ่งระยะเวลาเป็น
    ก) คิดปรารถนาเป็นพระพุทธเจ้าในใจ ไม่ได้เปล่งวาจาแสดงความปรารถนานั้นออกมาให้ผู้ใดทราบ ใช้เวลาบำเพ็ญบารมี 14 อสงไขย
    ข) ต่อจากนั้น จึงได้เปล่งวาจาแสดงความปรารถนาเป็นพระพุทธเจ้านั้นออกมา ใช้เวลาบำเพ็ญบารมี 18 อสงไขย
    ค) ต่อจากนั้น จึงได้รับพุทธพยากรณ์จากพระพุทธเจ้าพระองค์ใดพระองค์หนึ่ง ว่าจะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า ใช้เวลาในการบำเพ็ยบารมี 8 อสงไขยแสนกัป

    3.ไนยโพธิสัตว์ บำเพ็ยบารมีเพื่อตรัสรู้เป็นพระวิยิยาธิกพุทธเจ้า ใช้ระยะเวลา 80 อสงไขย โดยแบ่งระยะเวลาเป็น
    ก)คิดปรารถนาเป็นพระพุทธเจ้าในใจ ไม่ได้เปล่งวาจาแสดงความปรารถนานั้นออกมารให้ผู้ใดทราบ ใช้เวลาบำเพ็ญบารมี 28 อสงไขย
    ข) ต่อจากนั้น จึงได้เปล่งวาจาแสดงความปรารถนาเป็นเพระพุทธเจ้านั้นออกมา ใช้เวลาบำเพ็ญบารมี 36 อสงไขย
    ค) ต่อจากนั้น จึงได้รับพุทธพยากรณ์จากพระพุทธเจ้าพระองค์ใดพระองค์หนึ่ง ว่าจะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า ใช้เวลาบำเพ็ญบารมี 16 อสงไขยแสนกัป


    --------------------------------------------------------


    อ้างอิง
    ตอบกระทู้ ทําไมพระพุทธเจ้าจึงต้องแบ่งเป็น 3 ประเภทครับ


    ก็เนื่องด้วยจริตนิสัยของสัตว์ที่แตกต่างกันครับ ดูจากเวไนยสัตว์ หรือ สมาชิกในลานธรรมเรานี้ไงครับ ยังแตกต่างกันเลยครับ

    :09: สาธุครับคุณ cygnus กับข้อมูลที่คุณพระนายรวบรวมไว้

    ศึกษาเพิ่มเติมจาก หนังสือ พระพุทธเจ้าเคยเกิดเป็นผู้หญิง และ ทีปังกร พระนามของพระพุทธเจ้าในอดีต ๒ พระองค์
    0



    #6 ผู้ใช้ออฟไลน์   เฉลิม ศักดิ์ ไอคอน

    • ตอบ 5000+
    • PipPipPipPipPipPipPip
    • กลุ่ม: สมาชิกลานธรรมถาวร
    • ตอบ: 5978
    • สมัคร: 26/01/2004

    ตอบ: 09/12/2007 - 07:00

    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๗ พระอภิธรรมปิฎก เล่มที่ ๔
    กถาวัตถุปกรณ์

    http://84000.org /tip...��นิยะ_
    --------------------------------------------
    จากหนังสือ กรณีธรรมกาย

    http://dhammakaya.ex...050418/entry-48


    ดูกรเสนิยะ ศาสดา ๓ ประเภทนี้มีปรากฏอยู่ในโลก . . . ในศาสดา 3 ประเภทนั้น

    1. ศาสดาที่บัญญัติ อัตตา โดยความเป็นของจริง โดยความเป็นของแท้ ทั้งในปัจจุบัน ทั้งในเบื้องหน้า นี้เรียกว่าศาสดาที่เป็นสัสสตวาท (ลัทธิมิจฉาทิฏฐิว่าเที่ยง)

    2. ศาสดาที่บัญญัติ อัตตา โดยความเป็นของจริง โดยความเป็นของแท้ เฉพาะในปัจจุบัน ไม่บัญญัติเช่นนั้นในเบื้องหน้า นี้เรียกว่าศาสดาที่เป็นอุจเฉทวาท (ลัทธิมิจฉาทิฏฐิว่าขาดสูญ )

    3. ศาสดาที่ไม่บัญญัติ อัตตา โดยความเป็นของจริง โดยความเป็นของแท้ ทั้งในปัจจุบัน ทั้งในเบื้องหน้า นี้เรียกว่าศาสดาผู้สัมมาสัมพุทธะ "

    โดยเฉพาะลัทธิมิจฉาทิฐิที่เรียกว่าสัสสตวาทนั้น อรรถกถาได้อธิบายไว้อีกว่า
    อตฺตานํ สจฺจโต เถตโต ปญฺญเปติ: อตฺตา นาเมโก อตฺถิ นิจฺโจ ธุโว สสฺสโตติ ภูตโต ถิร โต ปญฺญเปติ (ปญฺจ.อ.83)
    แปลว่า: "ข้อความว่า บัญญัติอัตตา โดยความเป็นของจริง โดยความเป็นของแท้ หมายความว่า (ศาสดาที่เป็นสัสสตวาท) บัญญัติโดยความเป็นของจริง โดยความเป็นของมั่นคงว่า มีภาวะอย่างหนึ่งที่เป็นอัตตา ซึ่งเที่ยง (นิจจะ) คงที่ (ธุวะ) ยั่งยืน (สัสสตะ)"

    ---------------------------------------------------------------------

    อ้างอิง
    วิทยานิพนธ์ เรื่องการสร้างบารมี  โดย นายสรกานต์ ศรีตองอ่อน คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2547


    จริงแล้ว คือ

    วิทยานิพนธ์ เรื่องการสร้างบารมี ของวัดพระธรรมกาย โดย นายสรกานต์ ศรีตองอ่อน คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2547

    แต่เนื่องด้วย วัดธรรมกาย มีการบิดเบือนศาสนาของพระพุทธองค์ให้เป็น ศาสนาที่เป็นสัสสตวาท ข้าพเจ้าจึงไม่ศรัทธา
    0



    #7 ผู้ใช้ออฟไลน์   sssboun ไอคอน

    • ตอบ 3000+
    • PipPipPipPipPip
    • กลุ่ม: สมาชิกลานธรรมถาวร
    • ตอบ: 3605
    • สมัคร: 16/05/2007

    ตอบ: 09/12/2007 - 08:32

    :09:

    อ้างอิง
      ผมก็คิดในใจ ว่า พระพุทธธรรมนั้นสิ่งเดียวกัน พระพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรมเหมือนกัน
    แต่พระพุทธองค์ทรงตรัสถึง พระพุทธเจ้าองค์อื่นๆไว้ แตกต่างกันบ้าง
    ดังจะอ่านได้ใน


    เปรียบเหมือนต้นโพธิ์ ที่มีชื่อเหมือนกัน มีคุณสมบัติเหมือนคล้ายกัน แต่อายุต่างกัน ต้นที่มีอายุน้อยย่อมจะให้ความร่มเย็นแผ่กิ่งก้านสาขาออกไปได้น้อยฉันใด พระพุทธเจ้าที่บำเพ็ญบารมีมาน้อยก็เช่นเดียวกันครับ

    เมื่อลำต้นมีความใหญ่โต กิ่งก้านสาขามีมากย่อมจะให้ความร่มเย็นแด่ชีวิตที่มีเพิ่งพาอาศัยได้มากฉัน นั้นครับ

    กราบขอบพระคุณครับ

    :09: :09: :09:
    0



    คำตอบต่อไป: ไม่มี











    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน
    นิยายแฟร์ 2024

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×