ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ♪ เรื่องเล่า ♪ {{{นิทานชาดก.+}}}☂

    ลำดับตอนที่ #275 : •"♥'• Me ทำหนังสือรวมบทเจริญพระพุทธมนต์ส่วนตัว

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 469
      1
      29 ธ.ค. 54




    กราบพระ สามครั้ง            
    ครั้งที่๑ ท่องพุทธัง วันทามิ(ในใจ) 
    ครั้งที่๒ ท่องธัมมัง วันทามิ(ในใจ)    
    ครั้งที่๓ ท่องสังฆัง วันทามิ(ในใจ)     


    นมัสการพระรัตนตรัย
    อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา พุทธัง ภะคะวันตัง อะภิวาเทมิ(กราบ)
    สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม ธัมมัง นะมัสสามิ(กราบ)
    สุปะฎิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สังฆัง นะมามิฯ(กราบ)



    บทนมัสการพระพุทธเจ้า  
      
    นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ   
    นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ 
    นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ  
    (ขอนอบน้อมต่อพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ นั้น ซึ่งเป็น
    ผู้ไกลจากกิเลส ตรัสรู้ชอบได้ด้วยพระองค์เอง)



    บทขอขมาพระรัตนตรัย
    วันทามิ พุทธัง สัพพัง เมโทสัง ขะมะถะ เม ภันเต
    วันทามิ ธัมมัง สัพพัง เมโทสัง ขะมะถะ เม ภันเต
    วันทามิ สังฆัง สัพพัง เมโทสัง ขะมะถะ เม ภันเต

    บทขอขมาพระรัตนตรัย(เวอร์ชั่นเป๋าเป่า)
    กรรมน่าติเตียนใดใด อันข้าฯพระพุทธเจ้าได้กระทำแล้วล่วงเกินต่อคุณพระพุทธ พระธรรม แลพระสงฆ์ กรรมน่าติเตียนเหล่านั้นอันข้าฯพระพุทธเจ้ากระทำแล้วระลึกได้ก็ดี ระลึกไม่ได้ก็ดี ทั้งที่รู้เท่าถึงการณ์ก็ดี รู้ไม่เท่าถึงการณ์ก็ดี
    ข้าฯพระพุทธเจ้าขอขมาพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
    ขอคุณพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ได้โปรดประทานอภัยให้แก่ข้าฯพระพุทธเจ้าด้วยเทอญ
    ขอคุณพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ได้โปรดประทานอโหสิกรรมให้แก่ข้าฯพระพุทธเจ้าด้วยเทอญ
    ขอคุณพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ได้โปรด
    ประทานงดเว้นโทษกรรมเหล่านั้นให้แก่ข้าฯพระพุทธเจ้าด้วยเทอญ
    ขอคุณพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ได้โปรดอวยพรให้ข้าฯพระพุทธเจ้าได้เจริญรุ่งเรืองยิ่งๆ ขึ้นไปในพระพุทธศาสนานี้ด้วยเทอญ(กราบ ๓ ครั้ง)     
    (ข้าฯพระพุทธเจ้า = ข้าทาสของพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าเป็นนายเหนือข้าพเจ้า )




    บทอารธนาศีลไตรสรคมน์
    มะยัง ภันเต วิสุง วิสุง รักขะณัตถายะ ติสะระเณนะ สะหะปัญจะ สีลานิยาจามะฯ
    ทุติยัมปิ มะยัง ภันเต วิสุง วิสุง รักขะณัตถายะ ติสะระเณนะ สะหะปัญจะ สีลานิยาจามะฯ
    ตะติยัมปิ มะยัง ภันเต วิสุง วิสุง รักขะณัตถายะ ติสะระเณนะ สะหะปัญจะ สีลานิยาจามะฯ




    นมัสการพระพุทธเจ้า บูชาไตรสรณคมน์ และอาราธนาศีล ๕
    นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
    นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
    นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
     
    พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ        ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ        สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
    ทุติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ    ทุติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ    ทุติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
    ตะติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ    ตะติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ    ตะติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ       
    (แทรกบทแปล - ข้าฯ พระพุทธเจ้าขอถือเอาซึ่งคุณพระพุทธเจ้า พระธรรมเจ้า พระสังฆะเจ้าเป็นที่พึ่งของข้าพเจ้า เป็นสรณะของข้าพเจ้า นับแต่กาล บัดนี้ เป็นต้นไป ตราบชั่วกาลนานเทอญ)     

    (๑)ปาณาติปาตา เวระมณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
    (๒)อะทินนา ทานา เวระมณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
    (๓)กาเมสุมิจฉาจารา เวระมณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
    (๔)มุสาวาทา เวระมณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
    (๕)สุราเมระยะ มัชชะ ปะมา ทัฏฐานา เวระมณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ




    บทถวายพรพระ สรรเสริญพระพุทธคุณ ธรรมคุณ สงฆคุณ
    (๑)อิติปิโส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู อะนุตตะโรปุริสะทัมมะสาระถิ
    สัตถาเทวะมะนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติฯ -(พุทธคุณ ๕๖)-
    (๒)สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม สันทิฎฐิโก อะกาลิโก เอหิปัสสิโก โอปะนะยิโก ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูฮีติฯ
    -(ธรรมคุณ ๓๘)-
    (๓)สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ    อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
    ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ    สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
    ยะทิทัง จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะปุริสะปุคคะลา เอสะภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
    อาหุเนยโย ปาหุเนยโย ทักขิเณยโย อัญชะลีกะระณีโย อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสาติฯ -(สังฆคุณ ๑๔)-



    พุทธชัยมงคลคาถา
    (๑)พาหุงสะหัสสะมะ ภินิมมิตะ สาวุธันตัง         ครีเมขะลัง อุทิตะโฆระสะเสนะมารัง
    ทานาทิธัมมะ วิธินา ชิตะวา มุนินโท                ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ
                                                                     ตันเตชะสา ภะวะตุ เม ชะยะมังคะลานิ
    (๒)มาราติเรกะ มะภิยุชฌิตะ สัพพะรัตติง         โฆรัมปะนาฬะวะกะ มักขะ มะถัทธะยักขัง
    ขันตีสุทันตะ วิธินา ชิตะวา มุนินโท                 ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ
                                                                      ตันเตชะสา ภะวะตุ เม ชะยะมังคะลานิ
    (๓)นาฬาคิริง คะชะวะรัง อะติมัตตะภูตัง          ทาวัคคิ จักกะมะ สะนีวะ สุทารุณันตัง
    เมตตัมพุเสกะ วิธินา ชิตะวา มุนินโท               ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ
                                                                     ตันเตชะสา ภะวะตุ เม ชะยะมังคะลานิ
    (๔)อุกขิตตะ ขัคคะ มะติหัตถะ สุทารุณันตัง      ธาวันติโย ชะนะปะถัง คุลิมาละวันตัง
    อิทธีภิสังขะตะมะโน ชิตะวา มุนินโท               ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ
                                                                     ตันเตชะสา ภะวะตุ เม ชะยะมังคะลานิ
    (๕)กัตตะวานะ กัฏฐะมุทะรัง อิวะ คัพภินียา      จิญจายะ ทุฎฐะวะจะนัง ชะนะกายะมัชเฌ
    สันเตนะ โสมะวิธินา ชิตะวา มุนินโท              ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ
                                                                    ตันเตชะสา ภะวะตุ เม ชะยะมังคะลานิ
    (๖)สัจจัง วิหายะ มะติสัจจะกะวาทะเกตุง         วาทาภิโร ปิตะมะนัง อะติอันธะภูตัง
    ปัญญาปะที ปะชะลิโต ชิตะวา มุนินโท            ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ
                                                                     ตันเตชะสา ภะวะตุ เม ชะยะมังคะลานิ
    (๗)นันโทปะนันทะ ภุชะคัง วิพุธัง มะหิทธิง      ปุตเตนะเถระ ภุชะเคนะ ทะมาปะยันโต
    อิทธูปะเทสะ วิธินา ชิตะวา มุนินโท                ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ
                                                                     ตันเตชะสา ภะวะตุ เม ชะยะมังคะลานิ
    (๘)ทุคคาหะ ทิฏฐิภุชะเคนะ สุทัฏฐะหัตถัง      พรัหมังวิสุทธิชุติ มิทธิ พะกาภิธานัง
    ญาณาคะเทนะ วิธินา ชิตะวา มุนินโท             ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ
                                                                    ตันเตชะสา ภะวะตุ เม ชะยะมังคะลานิ
    เอตาปิ พุทธะ ชะยะมังคะละอัฎฐะ คาถาโย      วาจะโน ทินะทิเน สะระเต มะตันที
    หิตวานะ เนกะวิวิธานิ จุปัททะวานิ                 โมกขัง สุขัง อะธิคะเมยยะ นะโร สะปัญโญฯ

    (เม = ตัวเรา / เต = ตัวท่าน/ท่านทั้งหลาย )

    บทชัยปริตร(สวดให้ตัวเอง) –(มหากา)-
    มหาการุณิโก นาโถ หิตายะ สัพพะปาณินัง ปูเรตวา ปาระมี สัพพา ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง
    เอเตนะ สัจจะ วัชเชนะ โหตุ เม ชะยะมังคะลังฯ
    ชะยันโต โพธิยา มูเล สักยานัง นันทิวัฑฒะโน เอวัง อะหัง วิชะโย โหมิ ชะยามิ
    ชะยะมังคะเล อะปะราชิตะ ปัลลังเก สีเส ปะฐะวิโปกขะเร
    อะภิเสเก สัพพะพุทธานัง อัคคัปปัตโต ปะโมทะติฯ
    สุนักขัตตัง สุมังคะลัง สุปะภาตัง สุหุฎฐิตัง สุขะโณ สุมุหุตโต จะ สุยิฎฐัง
    พรัหมะ จาริสุ ปะทักขิณัง กายะกัมมัง วาจากัมมัง ปะทักขิณัง
    ปะทักขิณัง มะโนกัมมัง ปะณิธี เม ปะทักขิณา ปะทักขิณานิ กัตวานะ ละภันตัตเถ ปะทักขิเณฯ
    ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง รักขันตุ สัพพะเทวะตา สัพพะพุทธานุภาเวนะ สะทาโสตถี ภะวันตุ เมฯ
    ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง รักขันตุ สัพพะเทวะตา สัพพะธัมมานุภาเวนะ สะทาโสตถี ภะวันตุ เมฯ
    ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง รักขันตุ สัพพะเทวะตา สัพพะสังฆานุภาเวนะ สะทาโสตถี ภะวันตุ เมฯ
    บทชัยปริตร(สวดให้คนอื่น) –(มหากา)-
    มหาการุณิโก นาโถ หิตายะ สัพพะปาณินัง ปูเรตวา ปาระมี สัพพา ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง
    เอเตนะ สัจจะ วัชเชนะ โหตุ เต ชะยะมังคะลังฯ
    ชะยันโต โพธิยา มูเล สักยานัง นันทิวัฑฒะโน เอวัง ตะวัง วิชะโย โหหิ ชะยัสสุ
    ชะยะมังคะเล อะปะราชิตะ ปัลลังเก สีเส ปะฐะวิโปกขะเร
    อะภิเสเก สัพพะพุทธานัง อัคคัปปัตโต ปะโมทะติฯ
    สุนักขัตตัง สุมังคะลัง สุปะภาตัง สุหุฎฐิตัง สุขะโณ สุมุหุตโต จะ สุยิฎฐัง
    พรัหมะ จาริสุ ปะทักขิณัง กายะกัมมัง วาจากัมมัง ปะทักขิณัง
    ปะทักขิณัง มะโนกัมมัง ปะณิธี เต ปะทักขิณา ปะทักขิณานิ กัตวานะ ละภันตัตเถ ปะทักขิเณฯ
    ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง รักขันตุ สัพพะเทวะตา สัพพะพุทธานุภาเวนะ สะทาโสตถี ภะวันตุ เตฯ
    ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง รักขันตุ สัพพะเทวะตา สัพพะธัมมานุภาเวนะ สะทาโสตถี ภะวันตุ เตฯ
    ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง รักขันตุ สัพพะเทวะตา สัพพะสังฆานุภาเวนะ สะทาโสตถี ภะวันตุ เตฯ



    คาถามงกุฏพระพุทธเจ้า
    นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ(๓จบ)
    อิติปิโส วิเสเสอิ อิเสเส พุทธะ นาเมอิ อิเมนา พุทธะ ตังโสอิ อิโสตัง พุทธะปิติอิฯ


    คาถาบูชาครู(หลวงพ่อพระพุทธคันธารราฐ วัดหน้าพระเมรุ จ.อยุธยา)
    นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ(๓จบ)
    สิทธิกิจจัง สิทธิกัมมัง สิทธิการิยะ ตะถาคะโต สิทธิลาโภ นิรันตานัง
    สิทธิเตโช ชะโยนิจจัง สัพพะสิทธิภะวันตุ โว อะหังวันทามิ สัพพะทาฯ


    พระคาถามหาจักรพรรดิ์

    นะ โมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ(๓จบ)
    นะโมพุทธายะ พระพุทธไตรรัตนญาณ มณีนพรัตน์ สีสะหัสสะ สุธรรมา
    พุธโธ ธัมโม สังโฆ ยะธาพุทโมนะ อัคคีธานัง วะรังคันธัง สีวลีจะมหาเถรัง
    อะหังวันทามิ ทูระโต อะหังวันทามิ ธาตุโย อะหังวันทามิ สัพพะโส
    พุทธะ ธัมมะ สังฆะ ปูเชมิ



    คาถาบูชาหลวงปู่ทวดเหยียบน้ำทะเลจืด(มหาโพธิสัตว์)
    นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ(๓จบ)
    นะโม โพธิสัตว์โต อาคันติมายะ อิติภะคะวา (๓จบ)


    คาถาบูชาหลวงปู่เทพโลกอุดร
    นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ(๓จบ)
    โลกุตตะโร จะ มะหาเถโร อะหัง วันทามิ ตัง สะทา เมตตาลาโภ นะโสมิยะ อะหะพุทโธฯ
    (ภาวนา ๓จบ ๗จบ ๙จบ เช้า-เย็น ตื่นนอน และก่อนนอน)



    มหากรุณาธารณีสูตร
    (๘๔)
    นโม รัตนะตระยายะ นโม อารยะ อวโลกิเตศะวะรายะ โพธิสัตตะวายะ มหาสัตตะวายะ มหากรุณิกายะ โอม
    สะวะละวะติ ศุททะนะตัสยะ นมัสกฤตวานิมาง อารยะ อวโลกิเตศะวะระลันตะภา
    นโมนิลากันถะ ศรีมหาปะฏะศะมิ สระวาทะวะตะศุภัม อสิยูม สะระวะ สัตตวะ นโม ปวสัตตะวะ
    นโมภะคะ มะภะเตตุ   ตัทยะถา      โอม อวโลกา    โลกาเต กาละติ อีศีลี    มหาโพธิสัตตวะ สาโพ สาโพ
    มะรามะรา มะศิมะศิ      ฤธะยุ  คุรุ คุรุ      ฆามัม  ธูรูธูรู     ภาษียะติ มหาภาษียะติ      ธาระ ธาระ ถิรินี
    ศะวะรายะ   ชะละ ชะละ มามะภามะละ     มุธิริ    เอหิ เอหิ     ศินะ ศินะ    อาละสิน ภะละศรี   ภาษาภาษิน
    ภาระศะยะ   หุลุ หุลุ มะระ    หุลุ หุลุ ศรี   สะระสะระ    สิรี สิรี   สุรุ สุรุ   พุทธายะ พุทธายะ   โพธายะ โพธายะ
    ไมตรีเย นิละกันสะตะ   ตริสะระณะ     ภะยะมะนะ สวาหา      สีตายะ สวาหา      มหาสีตายะ สวาหา
    สีตายะ เย   ศะวะรายะ สวาหา    นีลากันถิ สวาหา     มะละนะละ สวาหา    ศรีสิงหะมุขายะ สวาหา
    สะระวะ  มหาสัสตายะ สวาหา     จักระอัสตายะ สวาหา   ปัทมะเกสายะ สวาหา    นีลากันเต  ปันตะลายะ  สวาหา
    โมโผลิศังกะรายะ สวาหา     นโม รัตนะตระยายะ     นโม อารยะ อวโลกิเตศะวะรายะ สวาหา
    โอม   สิทธิ ยันตุ   มันตรา   ปะทาเย สวาหา


    มหากรุณาธารณีสูตร(“นำโม กวนสี่อิม ผู่สัก” ๘๔นาม)(อันนี้เอาไว้ร้องกะเพลงจีนหรือทิเบตเนื้อจะตรงพอดี)
    “โชย ชิ่ว โชย งั่ง บ่อ ไหง๋ ไต่ ปุย ซิม ทอ ลอ นี จิ่ว” 3จบ
    “ปึง ซือ ออ นี ทอ ยู ไล้” 3จบ
    ¤นำ มอ ฮอ ลา ตัน นอ ตอ ลา เหย่ เย ¤นำ มอ ออ ลี เย ¤ผ่อ ลู กิด ตี ซอ ปอ ลา เย
    ¤ผู่ ทีสัต ตอ พอ เย ¤หม่อ ฮอ สัต ตอ พอ เย ¤หม่อ ฮอ เกีย ลู นี เกีย เย งัน
    ¤สัต พัน ลา ฮัว อี ¤ซู ตัน นอ  ตัน เซ ¤ นำ มอ สิด กิด ลี ตอ อี หม่ง ออ ลี เย
    ¤ผ่อ ลู กิด ตี สิด ฮู ลา เลง ถ่อ พอ ¤นำ มอ นอ ลา กิน ซี ¤ซี ลี หม่อ ฮอ พัน ตอ ซา เม
    ¤สะ พอ ออ ทอ เตา ซี พง ¤ออ ซี เย็น ¤สะ พอ สะ ตอ นอ มอ พอ สะ ตอ
    ¤นอ มอ พอ เค ¤มอ ฮัว เตอ เตา ¤ตัน จิต ทอ งัน ¤ออ พอ ลู ซี
    ¤ลู เกีย ตี ¤เกีย ลอ ตี ¤อี ซี ลี ¤หม่อ ฮอ ผู่ ที สัต ตอ ¤สัต พอ สัต พอ
    ¤มอ ลา มอ ลา ¤มอ ซี มอ ซี ลี ทอ ยิน ¤กี ลู กี ลู กิด มง ¤ตู ลู ตู ลู ฟา เซ เย ตี
    ¤หม่อ ฮอ ฮัว เซ เย ตี ¤ทอ ลา ทอ ลา ¤ตี ลี นี ¤สิด ฮู ลา เย ¤เจ ลา เจ ลา
    ¤มอ มอ ฮัว มอ ลา หมก ตี ลี ¤อี ซี อี ซี ¤สิด นอ สิด นอ ¤ออ ลา ซัน ฮู ลา เซ ลี
    ¤ฮัว ซอ ฮัว ซัน ¤ฮู ลา เซ เย ¤ฮู ลู ฮู ลู มอ ลา ¤ฮู ลู ฮู ลู ซี ลี ¤ซอ ลา ซอ ลา
    ¤สิด ลี สิด ลี ¤ซู ลู ซู ลู ¤ผู่ ถี่ เย ผู่ ถี่ เย ¤ผู่ ถ่อ เย ผู่ ถ่อ เย ¤มี ตี ลี เย
    ¤นอ ลา กิน ซี ¤ตี ลี สิด นี นอ ¤ผ่อ เย มอ นอ ¤ซอ ผ่อ ฮอ ¤สิด ถ่อ เย ¤ซอ ผ่อ ฮอ
    ¤หม่อ ฮอ สิต ถ่อ เย ¤ซอ ผ่อ ฮอ ¤สิด ทอ ยี อี ¤สิด พัน ลา เย ¤ซอ ผ่อ ฮอ
    ¤นอ ลา กิน ซี ¤ซอ ผ่อ ฮอ ¤มอ ลา นอ ลา ¤ซอ ผ่อ ฮอ ¤สิด ลา เซง ออ หมก เค เย ¤ซอ ผ่อ ฮอ
    ¤ซอ ผ่อ หม่อ ฮอ ออ สิด ถ่อ เย ¤ซอ ผ่อ ฮอ ¤เจ กิด ลา ออ สิด ถ่อ เย ¤ซอ ผ่อ ฮอ
    ¤ปอ ทอ มอ กิด สิด ถ่อ เย ¤ซอ ผ่อ ฮอ ¤นอ ลา กิน ซี ¤พัน เค ลา เย ¤ซอ ผ่อ ฮอ
    ¤มอ พอ ลี เซง กิด ลา เย ¤ซอ ผ่อ ฮอ ¤นำ มอ ห่อ ลา ตัน นอ ตอ ลา เย เย ¤นำ มอ ออ ลี เย
    ¤ผ่อ ลู กิต ตี ¤ชอ พัน ลา เย ¤ซอ ผ่อ ฮอ ¤งัน สิด ติน ตู ¤ มัน ตอ ลา ¤ปัด ถ่อ เย ¤ซอ ผ่อ ฮอ



    เมตตาใหญ่พิศดาร (เมตตาพรหมวิหารภาวนา) -เทวดาคุ้มครอง-
    เมตตา พรัหมะ วิหาระ ภาวนา (แบบย่อ)
    บดสวดมนต์บทนี้ มีอานิสงส์ส่งถึงจิตถึงทุกวิญญาณให้ได้รับทั้งสามภพ
    (แผ่เมตตาให้แก่ตนเอง)
    อะหัง สุขิโต โหมิ         ขอให้ข้าพเจ้ามีความสุข
    นิททุกโข โหมิ             ขอให้ข้าพเจ้าพ้นทุกข์
    อะเวโร โหมิ                ขอให้ข้าพเจ้าปราศจาก
    ภัยเวร
    อัพยาปัชโฌ โหมิ         ขอให้
    ปราศจากการรังแกเบียดเบียน ข่มเหงน้ำใจ
    อะนีโฆ โหมิ                 ขอให้ข้าพเจ้า
    ปราศจากความทุกข์กายทุกข์ใจ
    สุขี อัตตานัง ปะริหะรามิฯ    มีความสุขกายสุขใจ รักษาตน ให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเทอญ

    นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ(๓จบ)
    เอวัมเม สุตังฯ เอกัง สะมะยัง ภะคะวา สาวัตถิยัง วิหะระติ เชตะวะเน อะนาถะปิณฑิกัสสะ อาราเมฯ
    ตัตฺระโข ภะคะวา ภิกขู อามันเตสิ ภิกขะโวติฯ ภะทันเตติ ภิกขู ภะคะวะโต ปัจจัสโสสุง ภะคะวา เอตะทะโวจะ
        เมตตายะภิกขะเว เจโตวิมุตติยา อาเสวิตายะ ภาวิตายะ พะหุลีกะตายะ ยานีกะตายะ วัตถุกะตายะ อะนุฏฐิตายะ ปะริจิตายะ สุสะมารัทธายะ เอกาทะสานิสังสา ปาฏิกังขาฯ กะตะเม เอกาทะสะฯ
    (๑)สุขัง สุปะติ            หลับเป็นสุข
    (๒)สุขัง ปะฏิพุชฌะติ        ตื่นก็เป็นสุข
    (๓)นะ ปาปะกัง สุปินัง ปัสสะติ    ไม่ฝันร้าย
    (๔)มะนุสสานัง ปิโย โหติ        เป็นที่รักของมวลมนุษย์
    (๕)อะมะนุสสานัง ปิโย โหติ        เป็นที่รักของอมนุษย์
    (๖)เทวะตา รักขันติ            เทวดารักษา
    (๗)นาสสะ อัคคิวา วิสังวา สัตถังวา กะมะติ    ไฟ พิษร้าย ศาสตราวุธไม่กร้ำกราย
    (๘)ตุวะฏัง จิตตัง สะมาธิยะติ        จิตเป็นสมาธิเร็ว
    (๙)มุขะวัณโณ วิ ปะสีทะติ        สีหน้าย่อมผ่องใส
    (๑๐)อะสัมมุฬ โห กาลัง กะโรติ    ไม่หลงกิริยาในก่อนตาย
    (๑๑)อุตตะริง อัปปะฏิวิชฌันโต พรหมะโลกูปะโคโหติฯ    เมื่อยังไม่เข้าพระนิพพานก็ได้ไปพรหมโลก
        เมตตายะ ภิกขะเว เจโตวิมุตติยา อาเสวิตายะ ภาวิตายะ พะหุลีกะตายะ ยานีกะตายะ วัตถุกะตายะ อะนุฏฐิตายะ
    ปะริจิตายะ สุสะมารัทธายะ อิเม เอกาทะสานิ สังสา ปาฏิกังขาฯ
        อัตถิ    อะโนธิโส ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติฯ
    อัตถิ    โอธิโส ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติฯ
    อัตถิ    ทิสา ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติฯ
    กะตีหากาเรหิ    อะโนธิโส ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติฯ
    กะตีหากาเรหิ    โอธิโส ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติฯ
    กะตีหากาเรหิ     ทิสา ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติฯ
    ปัญจะหากาเรหิ   อะโนธิโส ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติฯ
    สัตตะหากาเรหิ   โอธิโส ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติฯ
    ทะสะหากาเรหิ   ทิสา ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติฯ
    กะตะเมหิ ปัญจะหากาเรหิ อะโนธิโส ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติฯ

    สัพเพ สัตตา,   สัพเพ ปาณา,  สัพเพ ภูตา,  สัพเพ ปุคคะลา,   สัพเพ อัตตะภาวะปริยาปันนา
        อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา โหนตุ สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    สัพพา อิตถิโย,   สัพเพ ปุริสา,  สัพเพ อะริยา,  สัพเพ อะนะริยา,  
    สัพเพ จาตุมมหาราชิกาเทวา,  สัพเพ ตาวะติงสาเทวา
    สัพเพ ยามาเทวา,  สัพเพ ตุสิตาเทวา
    สัพเพ นิมมานะระตีเทวา,  สัพเพ ปะระนิมมิตะวะสะวัตตีเทวา
    สัพเพ อินทา,   สัพเพ พรหมา,  สัพเพ จตุโลกะปาลา,  สัพเพ ยมมะราชา,  สัพเพ ยะมะปาลา
    สัพเพ สิริคุตตะระอมัจจา  สาสะนัง  อนุรักขันตุ
        อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา โหนตุ สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    สัพเพ ยักษา,   สัพพา ยักษี,  สัพเพ กุมภัณฑา, 
    สัพเพ ครุทธา,   สัพเพ กินนรา,  สัพพา กินนะรี
    สัพเพ นาคา,  สัพพา นาคี
    สัพเพ มะนุสสา,  สัพเพ อะมะนุสสา, สัพเพ วิริยะปะติกา
    สัพเพ มิตตา,   สัพเพ อมิตตา,  สัพเพ มัชฌะตา
        อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา โหนตุ สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    สัพเพ ติรัจฉา,   สัพเพ เปติกา,  สัพเพ เปตา, 
    สัพเพ อะสุระกายา,   สัพเพ เปตาวัตถุโย,  สัพพา เปตวิเสยยา
    สัพเพ วินิปาติกา
        อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา โหนตุ สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

        อิมัสมิง จะ อาราเม,  สัพเพ สัตตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา โหนตุ สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    อิมัสมิง ชมภูทีเป,  สัพเพ สัตตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา โหนตุ สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    อิมัสมิง มังคลาจักกะวาเฬ,  สัพเพ สัตตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา โหนตุ สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    ทะสาสุทิสาสุรัฐธิตายะ,  สัพเพ สัตตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา โหนตุ สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
        อิเมหิ ทะสะหากาเรหิ ทิสา ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติฯ
    สัพเพสัง สัตตานัง ปีฬะนัง วัชเชตวา อะปีฬะนายะ อุปะฆาตัง
    วัชเชตวา อะนุปะฆาเตนะ สันตาปัง วัชเชตวา อะสันตาเปนะ
    ปะริยาทานัง วัชเชตวา อะปะริยาทาเนนะ  วิเหสัง วัชเชตวา
    อะวิเหสายะ สัพเพ สัตตา อะเวริโน โหนตุมา เวริโน สุขิโน
    โหนตุ มา ทุกขิโน สุขิตัตตา โหนตุ มา ทุกขิตัตตาติ อิเมหิ
    อัฏฐะหากาเรหิ สัพเพ สัตเต เมตตายะตีติ เมตตาตัง ธัมมัง
    เจตะยะตีติ เจโต สัพพะ พยาปาทะปะริยุฏฐาเนหิ มุจจะตีติ
    วิมุตติ เมตตา จะ เจโตวิมุตติ จาติ เมตตาเจโตวิมุตติฯ
    เมตตาพรัหมะวิหาระภาวะนา นิฏฐิตา

    อ.เสริมศิลป์ ขอนวงค์ อ.เด่นชัย จ.แพร่ ดัดแปลงมาจากบทแผ่เมตตาใหญ่ของหลวงพ่อจรัญแห่งวัดอัมพวัน และบทสวดมนต์แผ่เมตตาแบบละเอียดของครูบาศรีวิชัย จนได้บทแผ่เมตตาใหญ่พิศดารที่มีอานิสงส์ในการสวดแปลกประหลาดพิศดารอย่างยิ่ง คือสามารถป้องกันภัยธรรมชาติได้ ณ ที่สวด
        ถ้าผู้สวดเป็นผู้มีกำลังสมาธิปานกลางก็สามารถส่งกำลังเมตตาได้ทุกทิศทุกทางไกลถึง 16 กิโลเมตร และถ้าผู้สวดเป็นผู้มีกำลังสมาธิมากก็จะสามารถส่งกำลังเมตตาได้ถึงชั้นเทวดา และชั้นภพเบื้องล่าง
        ถ้าสวดกันมากๆ จะ ทำให้ประเทศชาติสงบร่มเย็น สบาย ถึงแม้ว่าจะยังไม่เข้าถึงแก่นธรรม แต่ก็ทำให้มีเมตตาต่อกัน ไม่ฆ่าฟันกัน ภัยต่างๆ ก็จะเกิดขึ้นน้อย เพราะเทวดาเขาจะช่วยรักษา เหมือนมีเกราะแก้วบังกาย

    ---------------------------------
    นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ(๓จบ)
    ปุตตะกาโมละ เภปุตตัง    ธะนะกาโมละเภธะนัง
    อัตถิกาเยกายะญายะ    เทวานังปิยะตังสุตตะวา
    อิติปิโส ภะคะวา ยะมะราชาโน ท้าวเวสสุวัณโณ
    มรณังสุขัง อะระหัง สุคะโต นะโมพุทธายะ

    พุทธะ,   พุทธา,   พุทเธ,   พุทโธ,   พุทธัง,
    อะระหัง พุทโธ,   อิติปิโส ภะคะวา,  นโม พุทธายะฯ  (๕จบ)
    (“๕พุทธ” สืบสร้างทางสวรรค์นิพพาน ของสมเด็จฯโต พรหมรังสี)

    ปุริมะทิสัง   ธะตะรัฏโฐ            ทักขิเณนะ   วิรุฬหะโก
    ปัจฉิเมนะ   วิรูปักโข                กุเวโร  อุตตะรัง  ทิสัง
    จัตตาโร เต มะหาราชา                โลกะปาลา   ยะสัสสิโน
    เตปิ มัยหัง  อะนุรักขันตุ                อาโรคะเยนะ สุเขนะ จะ
    อากาสัฏฐา จะ ภุมมัฏฐา                เทวา นาคา มะหิทธิกา
    เตปิ มัยหัง  อะนุรักขันตุ                อาโรคะเยนะ สุเขนะ จะ

    นัตถิ เม สะระณัง อัญญัง            พุทโธ เม สะระณัง วะรัง
    เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ                โหตุ เม ชะยะมังคะลัง
    นัตถิ เม สะระณัง อัญญัง            ธัมโม เม สะระณัง วะรัง
    เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ                โหตุ เม ชะยะมังคะลัง
    นัตถิ เม สะระณัง อัญญัง            สังโฆ เม สะระณัง วะรัง
    เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ                โหตุ เม ชะยะมังคะลัง

    ยังกิญจิ ระตะนัง โลเก            วิชชะติ วิวิธัง ปุถุ
    ระตะนัง พุทธะสะมัง นัตถิ                ตัสสะมา โสตถี ภะวันตุ เม
    ยังกิญจิ ระตะนัง โลเก            วิชชะติ วิวิธัง ปุถุ
    ระตะนัง ธัมมะสะมัง นัตถิ                ตัสสะมา โสตถี ภะวันตุ เม
    ยังกิญจิ ระตะนัง โลเก            วิชชะติ วิวิธัง ปุถุ
    ระตะนัง สังฆะสะมัง นัตถิ                ตัสสะมา โสตถี ภะวันตุ เมฯ

        สักกัตตะวา พุทธะระตะนัง            โอสะถัง อุตตะมัง วะรัง
    หิตัง เทวะมะนุสสานัง                พุทธะเตเชนะ โสตถินา
    นัสสันตุปัททะวา สัพเพ                ทุกขา วูปะสะเมนตุ เม
        สักกัตตะวา ธัมมะระตะนัง            โอสะถัง อุตตะมัง วะรัง
    ปะริฬาหู ปะสะมะนัง                ธัมมะเตเชนะ โสตถินา
    นัสสันตุปัททะวา สัพเพ                ภะยา วูปะสะเมนตุ เม
        สักกัตตะวา สังฆะระตะนัง            โอสะถัง อุตตะมัง วะรัง
    อาหุเนยยัง ปาหุเนยยัง                สังฆะเตเชนะ โสตถินา
    นัสสันตุปัททะวา สัพเพ                โรคา วูปะสะเมนตุ เมฯ

    ---------------------------------



    บทแผ่เมตตาและแผ่ส่วนกุศล(เวอร์ชั่นดัดแปลงโดยเป๋าเป่า)

            สัพเพสัตตา สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด  อย่าได้มีเวรซึ่งกันและกันเลย
            สัพเพสัตตา สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด  อย่าได้พยาบาทเบียดเบียนซึ่งกันและกันเลย
            สัพเพสัตตา สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด  อย่าได้มีความทุกข์กายทุกข์ใจเลย
            จงมีแต่ความสุขกายสุขใจ รักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัย ด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้นเทอญ
            ข้าพเจ้าขอตั้งจิตอุทิศส่วนกุศลนี้ให้แก่คุณบิดาและมารดาทั้งหลายทุกภพทุกชาติ คุณครูบาอาจารย์ทั้งหลาย ปู่ย่าตายาย ญาติสนิทมิตรสหาย ท่านผู้มีพระคุณทั้งหลาย เจ้ากรรมนายเวรทั้งหลาย รวมทั้งเจ้าของเลือดเนื้อที่ข้าพเจ้าดื่มกิน
            เปรตอสุรกายทั้งหลาย ผีสางนางไม้ทั้งหลาย เจ้าที่เจ้าทางทั้งหลาย เจ้าทุ่งเจ้าท่าทั้งหลาย เจ้าป่าเจ้าเขาเจ้าถ้ำทั้งหลาย แลทั้งเจ้าผาทั้งหลาย
            เทพเจ้าทั้งหลายที่ปกปักษ์รักษาข้าพเจ้า และเทพเจ้าทั้งหลายทั่วสากลพิภพ
            เทพเจ้าในรอบจักรวาลทั้งหลาย เทพซึ่งสถิตอยู่ในฉกามาพจรสวรรค์ อยู่ในกามภพ อยู่ในรูปภพ อยู่ในห้วยเหว อยู่คูหายอดคีรี อยู่ในอากาสวิมานมาสมณเฑียรทอง อยู่ในเกาะแก้วเมืองหลวง นครน้อยใหญ่ อยู่ในเคหะสถานบ้านน้อย เมืองใหญ่ทั่วทุกชนบท อยู่ในโรงศาล พระภูมิเจ้าที่ อยู่ในห้วยหนอง คลองบึง บางแม่น้ำใหญ่ไพรพฤษา ทุกหย่อมหญ้าลดาวัลย์ อีกทั้งยักษา คนธรรพ์ ครุฑ นาคา ที่สิงสถิตอยู่ในสถานที่ใดๆ
           ทั้งท่านพญายมราช ยมทูตภูตทั้งหลาย ท่านท้าวจาตุโลกบาลทั้งสี่ พระธรณี พระคงคา พระเพลิง พระพาย
    และสรรพสัตว์ทั้งหลายที่เวียนว่ายตายเกิดอยู่ในวัฏสงสาร และ ณ สถานที่แห่งนี้ ขอจงรับกุศลผลบุญนี้อันข้าพเจ้า(ทั้งหลาย) ได้กระทำแล้วด้วยดี ในครั้งนี้ด้วยเทอญ
           ข้าพเจ้าขออุทิศส่วนกุศลนี้เพื่อถวายเป็นพระราชกุศล แด่องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และพระบรมวงศานุวงศ์ทุกๆพระองค์ ขอจงทรงพระเกษมสำราญ ทรงมีพระชนมายุยิ่งยืนนาน ตลอดกาลด้วยเทอญ
           ข้าพเจ้าขออุทิศส่วนกุศลนี้เพื่อถวายเป็นพระราชกุศล แด่องค์วีรกษัตริย์ไทยทุกๆ พระองค์ (เพื่อเป็นการแสดงความกตัญญู) ขอจงทรงพระเกษมสำราญตลอดกาลเทอญ
           ขอผลบุญนี้จงเป็นพลวปัจจัยส่งผลให้ ไม่ว่าข้าจะเกิดในชาติใด ภพใด อยู่ ณสถานที่ไหนๆ ขอจงอย่าประสบ อย่าได้พบกับคำว่าไม่มี ไม่ดี ไม่ได้ ไม่สบาย ตลอดกาลนานเทอญ


    *เพิ่ม เติม โดยเป๋าเป่า*
    *สัตว์ ทั้งหลายทั้งปวงที่เป็นเพื่อนทุกข์ เกิดแก่เจ็บตายด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น
    *สัตว์ ทั้งหลายทั้งปวงยังย่อมรวมถึงตัวเราเองด้วย



    *เพิ่ม เติม โดยเป๋าเป่า*
    ข้าฯ พระพุทธเจ้าขอขอบูชาคุณพระรัตนตรัยด้วยการปฏิบัติบูชาเจริญพุทธมนต์ (+สมาทานศีล +ฝึกสติ +เจริญเมตตา +เจริญภาวนาสมาธิ) ครั้งนี้ ขอการบูชานี้จงสำเร็จเป็นเครื่องบูชา แด่องค์สมเด็จพระชินวรพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกๆ พระองค์, พระปัจเจกพุทธเจ้าทุกๆ พระองค์, พระมหาโพธิสัตว์เจ้าทุกๆ พระองค์, พระอรหันต์เจ้าทุกๆ พระองค์, พระอนาคามีเจ้าทุกๆ พระองค์, พระสกิทาคามีเจ้าทุกๆ พระองค์, พระโสดาบันเจ้าทุกๆ พระองค์, ด้วยการบูชานี้ขอความสวัสดีมีมงคลจงมีแก่ข้าพเจ้าทุกประการเทอญ (กราบ ๓ ครั้ง)
         


    กราบลาพระ
    เดชะ พุทธานุภาเวนะ สทาโสตถี ภวันตุ เม  ด้วยเดชะอานุภาพแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้า ขอความสวัสดีจงมีแก่ข้าพเจ้า (กราบ)
    เดชะ ธัมมานุภาเวนะ สทาโสตถี ภวันตุ เม  ด้วยเดชะอานุภาพแห่งพระธรรม ขอความสวัสดีจงมีแก่ข้าพเจ้า (กราบ)
    เดชะ สังฆานุภาเวนะ สทาโสตถี ภวันตุ เม  ด้วยเดชะอานุภาพแห่งพระสงฆ์ ขอความสวัสดีจงมีแก่ข้าพเจ้า (กราบ)




    สวดมนต์อย่างไรให้ได้บุญมาก
    เจ้าพระคุณสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ประทานคำแนะนำว่า การทำบุญด้วยการสวดมนต์ จะสัมฤทธิผลดังตนมุ่งหวังจำต้องทำด้วยความจริงจังและจริงใจ มิใช่สักแต่เป็นกิริยา หรือทำด้วยความจำใจ นอกจากนั้น การไหว้พระสวดมนต์ถือได้ว่า เป็นการปฏิบัติตามหลักของ ไตรสิกขา คือ
    ขณะสวดมนต์ ผู้สวดสำรวมความคึกคะนองทางกาย วาจา กล่าวแต่คำสวดที่เป็นวาจาสุภาษิต เรียกว่า ศีล
    ขณะกล่าวคำสวดมนต์ ใจของผู้สวดจดจ่อกับบทสวด มิเช่นนั้นจะทำให้สวดผิดสวดถูก จึงทำให้เป็นผู้มีจิตตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์เดียวคือการสวดมนต์ เรียกว่า สมาธิ
    ในการสวดมนต์ ผู้สวดมีความเพียรที่จะละสิ่งที่เป็นอกุศล นึกถึงแต่สิ่งที่ดีงาม รู้ตัวว่ากำลังทำความดี ทำให้เกิดความรู้ว่า กุศลความดีเป็นสิ่งที่ควรทำ อกุศลเป็นสิ่งที่ควรละ เรียกว่า ปัญญา

    ---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

    *เตรียมตัวก่อนไปวัด*
    (๑)เตรียมใจ => ตั้งสติ สำนึกอยู่ตลอดว่าวัดเป็นสถานที่สงบ กาย วาจา ใจ สมควรเตรียมใจให้สะอาด สำรวม ระวัง
    (๒)แต่งกายสะอาด สุภาพ และเหมาะสม => เนื้อผ้าไม่ควรโปร่งบาง ไม่รัดรูปเพื่อสะดวกในการกราบไหว้พระและนั่งสมาธิ ไม่ใช้น้ำหอมเพื่อจะได้ไม่รบกวน(กิเลสของ)ผู้อื่น
    (๓)การจัดเตรียมภัตตาหารถวายแด่พระภิกษุสงฆ์ ได้แก่อาหารที่เราใช้รับประทานโดยทั่วไป คือปรุงขึ้นจากพืชผัก ผลไม้ หรือเนื้อสัตว์ที่มีวางขายอยู่ในท้องตลาด ฯลฯ แต่ต้องไม่ใช่อาหารที่เป็นเดนทิ้งแล้ว
        และที่สำคัญอย่านำอาหารต้องห้าม ไม่สมควรแก่สมณะบริโภคดังต่อไปนี้ไปถวายพระภิกษุสงฆ์
    เนื้อ ๑๐ อย่าง
    §    เนื้อมนุษย์
    §    เนื้อช้าง
    §    เนื้อม้า
    §    เนื้อสุนัข
    §    เนื้อง§    ู
    §    เนื้อราชสีห์(สิงโต)
    §    เนื้อเสือโคร่ง  
    §    เนื้อเสือเหลือง
    §    เนื้อเสือดาว
    §    เนื้อหมี
        อย่านำอาหารที่ปรุงจากเนื้อดิบๆ เลือดดิบๆ ไปถวาย เช่น ปลาดิบ กุ้งดิบ ไก่ดิบ ฯลฯ
    อย่านำอาหารที่ปรุงด้วยสุรา จนมีสี กลิ่น รสปรากฏให้รู้ว่ามีสุราเจือปนอยู่ไปถวาย
    อย่านำเนื้อสัตว์ที่ฆ่าโดยจำเพาะเจาะจงเพื่อทำอาหารถวายแด่พระภิกษุสงฆ์ไปถวายเป็นอันขาด



    วิธีปฏิบัติในการกรวดน้ำ


    การกรวดน้ำ คือการรินน้ำหลั่งลงให้เป็นสาย เป็นเครื่องหมายแห่งสายน้ำใจอันบริสุทธิ์ ให้แก่ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว
    น้ำที่ใช้กรวด นิยมใช้น้ำสะอาดบริสุทธิ์ ไม่มีสิ่งอื่นเจือปน เช่น น้ำฝน น้ำประปา เป็นต้น

    ภาชนะที่ใช้กรวด ต้องเตรียมไว้ล่วงหน้า ให้ใส่น้ำไว้ให้พร้อม และมีที่รอง หากไม่มีภาชนะสำหรับกรวดน้ำโดยฉพาะ จะใช้ขันหรือแก้วน้ำแทนก็ได้ ในกรณีนี้ควรหาจานหรือถาดไว้รองกันน้ำหกด้วย

    เมื่อถวายไทยธรรมแด่พระภิกษุสงฆ์เสร็จแล้ว เจ้าภาพหรือประธานในพิธีนิยมนั่งกับพื้น ห่างจากพระภิกษุสงฆ์พอสมควร ประคองภาชนะที่ใส่น้ำด้วยมือทั้งสองเตรียมกรวดน้ำ

    เมื่อพระภิกษุสงฆ์ผู้เป็นหัวหน้าเริ่มอนุโมทนาว่า “ยะถา วาริวะหา...” พึงรินน้ำให้ไหลลงเป็นสายโดยไม่ให้น้ำขาดตอนเป็นหยดๆ พร้อมทั้งตั้งใจ สำรวมจิต อุทิศส่วนบุญส่วนกุศลให้แก่ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว โดยนึกถึงในใจ จะระบุคนที่เราต้องการผู้ใดผู้หนึ่งเจาะจงลงไปด้วยก็ได้

    เมื่อพระภิกษุสงฆ์รูปที่๒ รับว่า “สัพพีติโย...” แล้วผู้กรวดน้ำจะหยุดกรวด เทน้ำลงทั้งหมด แล้วประนมมือตั้งใจรับพร

    ขณะที่พระภิกษุสงฆ์กำลังสวดอนุโมทนาอยู่นั้น ไม่ควรจะลุกไปกลางคัน ควรนั่งรับพรไปจนจบ

    เมื่อพระภิกษุสงฆ์อนุโมทนาจบแล้ว จึงกราบไหว้พระภิกษุสงฆ์อีกครั้งหนึ่ง แล้วนำน้ำที่กรวดนั้นไปเทรดต้นไม้นอกตัวอาคาร(นิยมไปที่ต้นไม้ใหญ่อายุมาก) เพื่อฝากไว้กับแม่ธรณีตามคติแต่โบราณ

    การกรวดน้ำพึงกระทำเมื่อได้บำเพ็ญกุศลหรือความดีอย่างใดอย่างหนึ่งแล้ว เช่น ทำบุญใส่บาตร ถวายของแด่พระภิกษุสงฆ์ หรือให้ทานแก่คนยากคนจน หรือทำสาธารณะประโยชน์ หรือสวดมนต์ไหว้พระก่อนนอนก็ได้ ฯลฯ

    หากว่าภาชนะใส่น้ำกรวดไม่มีก็พึงนั่งกรวดในใจนิ่งๆ

    ที่สำคัญที่สุด คือ ต้องตั้งใจทำจริงๆ ไม่ใช่ทำเล่นๆ หรือทำเป็นเล่น จึงจะมีผล



    วัตถุอนามาส
    วัตถุอนามาส คือสิ่งของที่พระพุทธองค์ทรงห้ามพระภิกษุสงฆ์จับต้อง ดังนั้นจึงห้ามนำไปประเคนถวายพระภิกษุ เพราะผิดวินัยพุทธบัญญัติ ได้แก่
    ผู้หญิง ทั้งที่เป็นทารกแรกเกิด และผู้ใหญ่ รวมทั้งเครื่องแต่งกาย รูปภาพ รูปปั้น ทุกชนิดของผู้หญิง
    รัตนะ ๑๐ ประการ คือ เงิน ทอง แก้วมุกดา แก้วมณี แก้วประพาฬ ทับทิม บุษราคัม สังข์เลี่ยมทอง ศิลา เช่น หยก และโมรา ฯลฯ
    ศัตราวุธทุกชนิด อันเป็นเครื่องทำลายชีวิต
    เครื่องดักสัตว์ทุกชนิด
    เครื่องดนตรีทุกชนิด
    ข้าวเปลือก และผลไม้อันเกิดอยู่กับที่


    ข้อควรระวัง
    ของที่ประเคนแล้ว ห้ามคฤหัสแตะต้องอีก เป็นเรื่องของพระท่านจะหยิบส่งกันเอง หากไปแตะต้องเข้าโดยเจตนาหรือไม่เจตนาก็ตาม ของนั้นถือว่าขาดประเคนต้องประเคนใหม่
    อย่าใช้แตรรถ หรือเร่งเครื่องยนต์ในวัด

    ตัวอย่างคำอธิษฐาน
    1 ขอให้มีส่วนได้ทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาตลอดไปทุกชาติภพ
    2 เป็นผู้บริบูรณ์เต็มพร้อมไปด้วยรัตนะ ๑๐ ประการ
    3 ขอให้ได้สมบัติทั้งมนุษย์สวรรค์ อย่าขัดข้องทรัพย์สินทุกสิ่งอัน
    4 ขออย่าได้พบพานคนใจบาปหยาบช้า อธรรม ให้พบแต่กัลยาณมิตร
    5 สุขกายใจ
    6 เกิดในตระกูลสัมมาทิฐิ
    7 ขอให้พบดวงแก้ว ขอให้แคล้วบ่วงมาร
    8 ขอให้มีดวงตาเห็นธรรมในเร็ววันเร็วพลัน


    ไม้มงคล
    ไม้มงคล เป็นไม้ที่ใช้ประกอบพิธีต่างๆ เช่น การสร้างบ้าน สร้างศาลพระภูมิ รวมไปถึงราชพิธีต่างๆ เช่น สร้างศาล โบสถ์ ฝังลูกนิมิตร
    ประกอบด้วยไม้ ๙ ชนิดดังนี้
    ไม้สักทอง ความหมาย มีศักดิ์ศรี เงินทอง
    ไม้ทองหลาง ความหมาย ความเป็นสง่าราศี ความมีบารมี
    ไม้ราชพฤกษ์ ความหมาย มีความอยู่เย็นเป็นสุขทั่วราชอาณาจักร
    ไม้ชัยพฤกษ์ ความหมาย มีความอยู่เย็นเป็นสุขทั่วราชอาณาจักร
    ไม้(ไผ่)สีสุก ความหมาย จะมีความอยู่เย็นเป็นสุข มีความสงบสุข
    ไม้ขนุน ความหมาย เวลาที่เกิดอะไรขึ้น จะล้ม จะเอียง ก็จะคอยหนุนไว้ ไม่ให้ล้ม ไม่ให้เอียง
    ไม้พยุง ความหมาย ความสูงส่ง มีศักดิ์ศรีค้ำจุน
    ไม้ทรงบาดาล ความหมาย ให้มีความสงบความสุข ร่มเย็น เป็นสุข เหมือนทรงยศ ทรงบาดาล
    ไม้กรั่นเกรา ความหมาย ให้คนในบ้านเป็นคนดีหรือกรั่นเกราทำให้เกิดแต่สิ่งดีๆ กรั่นเกราทำแต่สิ่งดีๆ
    ความหมายทั้งหมดนี้เชื่อถือกันมาแต่ดั้งเดิม โหราศาสตร์ไทยดั้งเดิม นำมาประกอบพิธีจะเป็นศิริมงคลดังที่กล่าวมา

    -------------------------------------------------------------------------------------------------------





    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน
    นิยายแฟร์ 2024

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×