ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ♪ เรื่องเล่า ♪ {{{นิทานชาดก.+}}}☂

    ลำดับตอนที่ #274 : •"♥'• Me ชวนไหว้พระในจังหวัดชุมพร

    • อัปเดตล่าสุด 19 ธ.ค. 54


    FARRY' 25

    เริ่มจากอำเภอเมืองนะคะ


    ๑ รายการแรก ไปที่เดียวไหว้สององค์
             นั่นก็คือ รพ.ชุมพร








    ไหว้
    หลวงปู่สงฆ์ จนทสโร พระสุปฏิปันโนวาจาสิทธิ์




    ประวัติ
    “หลวงปู่สงฆ์ จนฺทสโร” เป็นพระมหาเถระผู้มีปฏิปทาจริยวัตรอันงดงาม ปฏิบัติตามพระธรรมวินัยอย่างเคร่งครัดและสม่ำเสมอเป็นประจำทุกวันโดยไม่ขาด ท่านเป็นพระอาจารย์ที่เชี่ยวชาญในการเจริญทั้งสมถะและวิปัสสนากรรมฐาน รักความสงบ สันโดษ มักน้อย พูดน้อย สำรวมระวังกาย วาจา ใจ และฉันอาหารเพียงวันละมื้อเดียว นับเป็นพระสุปฏิปันโนรูปหนึ่ง

    ท่านเกิดในวันขึ้น ๑ ค่ำ เดือน ๖ ปีขาล ร.ศ. ๑๐๗ (วันอังคารที่ ๓๐ เมษายน พ.ศ. ๒๔๓๓) อันเป็นแผ่นดินในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เป็นลูกชาวนาวิสัยใต้ บ้านแหลมนาว อ.สวี จ.ชุมพร โยมบิดาชื่อ นายแดง โยมมารดาชื่อ นางนุ้ย (ไม่ทราบนามสกุล)

    ครั้นเมื่ออายุ 18 ปี ได้บรรพชาเป็นสามเณรกับพระอธิการชื่น วัดสวี ต.ปากแพรก อ.สวี จ.ชุมพร อันเป็นวัดใกล้ๆ บ้านเกิดของท่าน เมื่อบรรพชาเป็นสามเณรแล้ว ท่านก็ได้ศึกษาพระธรรมวินัยอยู่เพียง 2 ปี จึงลาสิกขา ออกไปช่วยเหลือโยมบิดา-โยมมารดาประกอบอาชีพทำงานท้องนาและไร่สวน

    เมื่ออายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ ท่านได้เข้าพิธีอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ พัทธสีมาวัดสวี จ.ชุมพร โดยมีพระครูธรรมลังกาวี เป็นพระอุปัชฌาย์ หลังจากอุปสมบทแล้ว ท่านได้ไปอยู่จำพรรษาที่วัดควน (ทึงทั่ง) อ.สวี จ.ชุมพร 1 พรรษา ในระหว่างพรรษาท่านได้ศึกษาพระธรรมวินัยเพิ่มเติม จนพอรู้แนวทางการดำเนินชีวิตในเพศพรหมจรรย์

    หลังจากออกพรรษาแล้ว ท่านมีความสนใจทางสมถกรรมฐานและวิปัสสนากรรมฐาน แต่ในจังหวัดชุมพรไม่มีพระอาจารย์สอนทางด้านนี้เลย ท่านจึงกราบลาพระอุปัชฌาย์และพระอาจารย์ ออกจากจังหวัดชุมพรมุ่งหาพระอาจารย์สอนกรรมฐานในถิ่นอื่นๆ โดยได้ออกเดินทางไปท่ามกลางป่าเขาลำเนาไพรอย่างไม่มีจุดหมายปลายทาง

    หลวงปู่สงฆ์มีความแน่ใจว่า การเดินทางอยู่ในป่าดงพงไพรนี้จะต้องพบกับพระผู้ปฏิบัติบ้าง เพราะพระกรรมฐานชอบอยู่ถ้ำผาป่าดงมากกว่าอยู่วัดวาอาราม หลวงปู่สงฆ์รอดพ้นจากอันตรายต่างๆ รอบด้าน เช่น สัตว์ป่า ไข้ป่า อันดุร้ายไปได้ ก็เพราะแรงใจที่มุ่งปฏิบัติธรรมกับพระอาจารย์องค์ใดองค์หนึ่ง เมื่อพบก็จะมอบตัวเป็นศิษย์ขอฝึกอบรมปฏิบัติพระกรรมฐานด้วยเท่านั้น

    หลวงปู่สงฆ์ประสบความสมหวัง เมื่อได้ทราบว่า หลวงปู่รอด วัดโต๊ะแซ่ หรือวัดโต๊ะแซะ (วัดโฆสิต ในปัจจุบัน) เป็นพระอาจารย์ที่ทรงฌานสมาบัติสูงองค์หนึ่งในจังหวัดภูเก็ต ท่านจึงได้ไปฝากตัวเป็นศิษย์ ขอฝึกอบรมปฏิบัติพระกรรมฐานอยู่กับหลวงปู่รอด 2 พรรษา และยังมีพระอาจารย์อีกองค์หนึ่งคือ หลวงพ่อทวดเวียน ซึ่งพบกันขณะเดินธุดงค์

    ท่านมีความพากเพียรอย่างคร่ำเคร่ง มีสมาธิแก่กล้าสามารถในทางปฏิบัติมากแล้ว หลวงปู่รอดได้ให้ออกเดินธุดงค์ไปอยู่ตามป่าช้า ตามถ้ำผาป่าดงต่อไป เพื่อความรู้แจ้งในจิตใจ และจะได้ปรารภธรรมตามสติปัญญา หลวงปู่สงฆ์ท่านจึงมีความชำนาญในเรื่องสมถกรรมฐานและวิปัสสนากรรมฐานมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งสมัยก่อนโน้น ทางภาคใต้นับตั้งแต่จังหวัดชุมพรลงไป ครูบาอาจารย์ต่างๆ มักจะสนใจปฏิบัติสมถกรรมฐานแล้วเดินจิตเล่นฤทธิ์กันเสียโดยส่วนมาก สำนักเรียนวิชาต่างๆ ภายใน (จิต) สำนักเขาอ้อ มีชื่อเสียงมากในเรื่องนี้

    หลวงปู่สงฆ์ท่านได้อาศัยชีวิตอยู่ในป่าดง เป็นเวลาหลายปี อาศัยโคนไม้ ถ้ำผาต่างๆ เป็นที่พักผ่อน ไม่มีความอาลัยในชีวิตว่าจะสุขหรือทุกข์ ท่านมุ่งปฏิบัติธรรมเพื่อความรู้ธรรม เมื่อรู้ธรรมแล้ว ท่านก็นำธรรมะนั้นมาสอนจิตสอนใจตนเอง ขัดเกลา กิเลส ตัณหา อุปาทาน ซึ่งเป็นสมบัติประจำสันดานมนุษย์ ให้หลุดให้ลอกออกไปจากจิตใจ ชำระจิตใจด้วยธรรมเพื่อความสะอาดหมดจดแห่งชีวิต

    หลวงปู่สงฆ์ออกธุดงค์ยาวนาน 7 ปีเศษ เป็นช่วงเวลาแห่งการทรมานกิเลสภายในจิตใจ ท่านไม่เคยออกจากป่าสู่เมืองเลย มีความอดทนค้นคว้าสัจธรรมความเป็นจริงของพระพุทธเจ้า ด้วยชีวิตเป็นเดิมพัน ท่ามกลางป่าดง ท่านอาศัยภูเขาลำเนาไพรมาโดยตลอด การบิณฑบาตท่านโคจรไปในหมู่บ้านชาวป่า ได้บ้างอดบ้างตามอัตภาพ จนมีความพอดีแก่จิตใจ ปล่อยวางของหนักได้หมดสิ้นแล้วอย่างมั่นใจ ทำให้สภาพจิตสดใสแจ่มแจ้งในธรรมะ แต่สภาพสังขารดูออกจะเป็นฤาษีชีไพร หนวดเครารุงรัง ผมเผ้ายาว จีวร สบง ขาดรุ่งริ่ง นั่งภาวนาในป่า

    ท่านออกธุดงค์ตั้งแต่ภูเก็ตเข้าเขตพม่า ด้านตะนาวศรี มะริด ประจวบคีรีขันธ์ เพชรบุรี เข้าเขตกาญจนบุรี สุพรรณบุรี แล้วมุ่งหน้ากลับสู่ชุมพร บ้านเกิด ปักกลดปฏิบัติธรรมแสวงหาความสันโดษ ใกล้บ้านศาลาลอย


    มาพำนักอยู่วัดเจ้าฟ้าศาลาลอย

    คล้ายกับวาสนาท่านจะต้องมา อยู่วัดเจ้าฟ้าศาลาลอย มีเรื่องเล่ากันว่า ขณะนั้นมี 2 แม่ลูกออกหาของป่าละแวกวัดร้าง มีนกแก้วบินส่งเสียงร้องว่า “หนักก็วางเสีย” เป็นสำเนียงนก และบินนำหน้า 2 แม่ลูก ไปจนถึงบริเวณที่พ่อหลวงสงฆ์ปักกลด นกก็บินหายไป 2 แม่ลูกเข้าไปกราบหลวงปู่สงฆ์ และนิมนต์ให้เข้าไปในหมู่บ้าน ซึ่งมีวัดร้างอยู่อีกแห่งหนึ่ง ปัจจุบันก็คือ “วัดเจ้าฟ้าศาลาลอย” ต.บางลึก อ.เมือง จ.ชุมพร นั่นเอง

    ขณะ เดียวกัน กำนันเฉย ในหมู่บ้านนั้นเกณฑ์ชาวบ้านมาปลูกกุฏิเล็กๆ ถวายให้ท่านอยู่ 1 หลัง หลังจากนั้นมาความศรัทธาความเจริญก็บังเกิดแก่หมู่บ้านนี้มาโดยลำดับ ต่อมาหลวงปู่สงฆ์ท่านได้เข้าพำนักอยู่ประจำและก่อสร้างวัดเจ้าฟ้าศาลาลอย ตั้งแต่ปี พ.ศ.2462 เป็นต้นมา จนเจริญรุ่งเรืองในปัจจุบัน

    ด้วยมีสมณะวิสัยรักในสันโดษ หลวงปู่สงฆ์ไม่ยอมรับตำแหน่งใดๆ ภายในวัด เป็นเพียงประธานสงฆ์ของพระหนุ่ม เณรน้อยเท่านั้น ปัจจัยไทยทานอันเป็นสมบัติของสงฆ์ท่านไม่ข้องแวะ ท่านไม่สนใจ และไม่รู้ค่าของเงินด้วยว่ามีมากน้อยแค่ไหน เพราะท่านไม่จับและแตะต้อง ไม่ยินดีในเอกลาภ ชีวิตในสมมติสงฆ์มีเพียงปัจจัยสี่เท่านั้น ท่านมีอายุก็ยืนยาวถึง 5 แผ่นดิน ซึ่งกรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ (เสด็จเตี่ย) พระบิดาแห่งราชนาวีสยาม ทรงฝากพระองค์เป็นศิษย์ด้วยความเลื่อมใสในบารมีธรรม


    หลวงปู่ท่าน มีความเมตตาปรานีแก่ทุกๆคน ไม่เลือกชั้นวรรณะ ถ้าแม้บุคคล ใดไปขอพรจากท่านแล้ว จะได้รับความสมหวังอย่างมั่นคง ด้วยทุกคนเชื่อว่า ท่านหลวงปู่สงฆ์ มีวาจาศักดิ์สิทธิ์ยิ่งนัก





    วาจาสิทธิ์
    หลวงปู่สงฆ์ จนฺทสโร เป็นพระสงฆ์ในการถือสันโดษ มีจริยวัตรอันงดงามยิ่ง
    ท่านฉันอาหารเพียงวันละมื้อเดียว เป็นพระอาจารย์ฝ่ายวิปัสสนากรรมฐานเป็นพระที่พูดน้อยรักความสงบ สำรวม กาย วาจา ใจ
    เป็นพระอริยบุคคล ผู้ปฎิบัติดีปฎิบัติชอบรูปหนึ่งดังนั้นบรรดาลูกศิษย์ลูกหาญาติโยมทั้งหลาย มักจะชุมนุมกันที่ศาลาเวลาเช้าก่อนไปทำงานเป็นประจำก็เพื่อขอวาจาสิทธิ์ของท่านนั้นเอง
    ถ้าท่านกล่าวคำใดกับใคร ก็จะเป็นความจริงอย่างนั้นเสมอ
    ครั้งหนึ่งมีข้าราชการผู้ใหญ่ท่านหนึ่ง เดินทางเข้าไปนมัสการท่านพร้อมกับนำสัตว์เลี้ยงสี่เท้าไปถวายท่านด้วย หลวงปู่สงฆ์เห็นก็ถามขึ้นว่า " อ้าว ..นั่นเอานก
    ข้าราชการผู้ใหญ่คนนั้นตอบว่า " ไม่ใช้นกหรอกหลวงปู่ " ว่าแล้วก้เปิดกรงออกเท่านั้นทุกคนต่างตกตะลึงในความอัศจรรย์ที่เกิดขึ้น
    เพราะแทนที่จะเป็นสัตว์สี่เท้าที่ตนจับใส่กรงมา แต่หาเป็นเช่นนั้นไม่ กลับเป็นนกตัวหนึ่งบินปร๋อออกจากกรงไปทันที่ คนทั้งหลายในวัดต่างก็พูดว่า " นี้เป็นวาจาสิทธิ์ของหลวงปู่ "



    ยาเส้น
    ตามปกติหลวงปู่สงฆ์ท่านชอบใช้ ยาเส้น สีปากแล้วอมเอาไว้ดังนั้นยาเส้นที่ท่านใช้แล้วจะกลับกลายเป็นของวิเศษที่ศักดิสิทธิ์
    ครั้งหนึ่งได้มีคนมาหาหลวงปู่ท่านก็อมยาเส้นไปให้ ยาเส้นนี้เดิมเป็นของใช้ประจำวัน
    คนที่เคารพนับถือหลวงปู่ ก็เลยขอยาเส้นท่านไปเมื่อได้แล้วก็นำไปไว้ในเซฟ รวมกับเอกสารของมีค่า
    หลังจากนั้นไม่นานนักขโมยเกิดเข้าบ้านชายคนนี้ เมื่อมันเปิดเซฟออกมามันก็เบือนหน้า
    เพราะในเซฟไม่มีสมบัติอะไรเลยภายในเซฟมีแต่ยาเส้นกองเต็มไปหมดไม่มีของมีค่า
    แต่แล้วคนพวกนี้ก็ไปไม่รอดโดนจับได้ของกลางไม่มีอะไรเลยเพราะมันไม่ได้อะไร ไปเลยบอกกับตำรวจเพียงว่า " ในเซฟมีแต่ยาเส้นใครจะเอาไปทำไม " ความจริงยาเส้นในเซฟนั้นมีเพียงก้อนเล็กๆ ขนาดเท่าหัวแม่มือเท่านั้น




    น้ำปลา.....ยา วิเศษ
    เรื่องนี้ได้ทราบจากชาวบ้านจังหวัดนครศรีธรรมราช เมื่อหลายปีมาแล้วเขาปวดท้องมานาน ๑๐ กว่าปีไปรักษาที่ไหนตามโรงพยาบาลต่างๆเสียเงินไปเป็นแสนบาทนายแพทย์เก่งขนาด ไหนก็รักษามาแล้ว
    ที่ไหนว่าเก่งๆพอเจอโรคบุคคลนี้เข้าไป ย่อมกลัวรักษาไม่หายต่อมา ได้ยินเขาเล่าลือว่าทางจังหวัดชุมพรมีพระวิเศษรูปหนึ่ง เคยรักษาโรคมาเป็นพันๆคน และก็หายจนหมดสิ้นทุกคน
    คนป่วยจึงได้หอบสังขารชนิดผอมติดกระดูกมาหาหลวงปู่สงฆ์ นี่แหละทันทีที่เห็นหน้าหลวงปู่สงฆ์
    คนป่วยก็มีความรู้สึกศรัทธาอย่างมากมายขนลุกขนพองอยู่ตลอดเวลาแม้ท่านจะกลับ กุฎิไปแล้วก็ตาม
    ศิษย์ของท่านจึงนำน้ำปลาไปให้ท่านแพ่งกระแสจิตให้สัก ๑๐ นาที แล้วนำน้ำปลานั้นมาให้และบอกว่าให้กินน้ำปลานี้ยาอื่นท่านบอกว่าไม่ต้องกิน แล้วถึงกินก็ไม่หาย
    ด้วยความศรัทธาในองค์หลวงปู่สงฆ์คนป่วยผู้นั้นจึงเปิดขวดน้ำปลาดื่มเข้าไป แม้ว่าน้ำปลาจะมีรสเค็มจริงอยู่ แต่เวลาน้ำปลาผ่านลำคอเข้าไปแล้ว รู้สึกเย็นๆพอไปถึงท้องแล้วอาการปวดท้องเสียดๆนั้นก็หายเป็นปลิดทิ้ง ไม่เกิดขึ้นอีกเลย และมีอาการยิ้มแย้มทันที ผู้ป่วยคนนั้นก็ล้มลงกราบหลวงปู่สงฆ์ด้วยความศรัทธา ๆ




    มรณภาพ

    หลวงปู่สงฆ์ท่านได้เข้าพำนักอยู่ประจำที่ วัดเจ้าฟ้าศาลาลอยนี้ ตั้งแต่ พ.ศ.2462 จนถึงวันอังคารที่ 2 สิงหาคม พ.ศ.2526 ตรงกับแรม 9 ค่ำ เดือน 8 ปีกุน เวลาประมาณ 10.00 น. เศษๆ หลวงปู่สงฆ์ได้มรณภาพลงอย่างสงบ สิริอายุได้ 94 ปี 3 เดือน 2 วัน รวมเวลาที่ท่านพำนักอยู่ที่วัดเจ้าฟ้าศาลาลอยทั้งสิ้น 64 ปี

    ทางคณะสงฆ์และคณะศิษยานุศิษย์ได้จัดพิธี บำเพ็ญกุศลศพของ “หลวงปู่สงฆ์ จนฺทสโร” ตั้งแต่วันที่ 2-16 สิงหาคม พ.ศ.2526 และได้ทำพิธีปิดศพในคืนวันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ.2526 หลังจากนั้นทุกๆ คืนจะมีการสวดพระอภิธรรมโดยพระภิกษุสงฆ์ภายในวัด และโดยเฉพาะในวันอังคารซึ่งกับวันคล้ายวันเกิดและวันมรณภาพของหลวงปู่ท่าน จะมีการสวดพิเศษคือการสวดในบทอานัตลักขณสูตรและอาทิตปริยายสูตร สลับกันไปทุกๆ วันอังคารของแต่ละสัปดาห์ และจะมีการสวดครบรอบวันมรณภาพในแต่ละปี ซึ่งตรงกับวันที่ 2 สิงหาคม ของทุกๆ ปี โดยจะมีการนิมนต์พระเถระชั้นผู้ใหญ่ในจังหวัดชุมพรมาสวดเป็นประจำทุกๆ ปี

    ปัจจุบัน สรีระสังขารของหลวงปู่ได้ตั้งประดิษฐานอยู่บนศาลา 100 ปี ศาลาธรรมสังเวช วัดเจ้าฟ้าศาลาลอย เพื่อให้คณะศิษยานุศิษย์และพุทธศาสนิกชนโดยทั่วไปได้กราบสักการบูชา แม้ท่านจะมรณภาพรูปกายแตกดับ แต่ท่านยังคงเป็นเทพเจ้าของชาวชุมพรตลอดไป

    หลวงปู่สงฆ์ จนฺทสโร เป็นพระอริยสงฆ์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ มีจริยวัตรอันงดงาม ปฏิบัติธรรมวินัยอย่างเคร่งครัด ตั้งแต่ต้นจนหลวงปู่มรณภาพ อย่างสม่ำเสมอเป็นประจำทุกวันโดยไม่ขาด ด้วยปฏิปทานี้จึงเป็นที่เคารพศรัทธาในบารมีของหลวงปู่ ซึ่งกิจวัตรของหลวงปู่เป็นกิจวัตรที่เคร่งครัด ยากที่พระสงฆ์รูปอื่นจะปฏิบัติตามได้




    กิจวัตร หลวงปู่สงฆ์
         
    เวลา 04.00 น.     ไหว้พระทำ วัตรเช้า
    เวลา 06.10 น.     ท่านออกจาก ห้องเตรียมที่จะออกบิณฑบาตร ในระหว่างนั้นสามเณรอุปัฏฐากจะ ขึ้นปฏิบัติ และญาติโยมมากราบขอพร
    เวลา 07.00 น.     ออก บิณฑบาตร เมื่อกลับมาแล้วท่านเข้าห้องไหว้พระอีก
    เวลา 09.00 น.     ลงหอ ฉัน เพื่อฉันภัตตาหาร เมื่อฉันภัตตาหารแล้วและให้พรเรียบร้อยท่านจะพูดคุยกับญาติโยมที่มาทำบุญหลังจากนั้นท่านกลับขึ้นกุฏิและตอบรับพุทธศาสนิกชนที่มาจาก ใกล้และไกลพอสมควรแล้วเข้าห้องพักผ่อน
    เวลา 12.30 น.     ออกจาห้อง เพื่อต้อนรับศรัทธาญาติโยมที่มาขอพร
    เวลา 14.00 น.     ท่านสรงน้ำ แล้วเข้าห้องไหว้พระสวดมนต์
    เวลา 16.00 น.     ออกจากห้อง เพื่อต้อนรับศรัทธาญาติโยมที่มาขอพร
    เวลา 18.00 น.     เข้า ห้องทำกิจภาวนา และให้ภิกษุสามเณรทั้งหมดต้องทำกิจภาวนาด้วยจนถึงเวลา 20.00 น.
    เวลา 20.00 น.     เสร็จจากทำ กิจภาวนาแล้ว ออกจากห้องให้ภิกษุสามเณรขึ้นปรนนิบัติ และเป็นโอกาสที่ท่านให้โอวาทแนะนำสั่งสอน
    เวลา 22.00 น.     เข้าห้อง พักผ่อน
    เวลา 24.00 น.     ล่วงจากนี้ ไปแล้วท่านจะทำกิจภาวนาไปจนถึงเวลา 04.00 น.
     ** อนึ่งถ้าเป็นวันพระกลางเดือนและสิ้นเดือน เวลา 13.00 น. ท่านจะลงอุโบสถพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์เพื่อสวดและฟังพระปาฎิโมกข์โดยมิได้ขาด









    พ่อกรมหลวงของชาวชุมพร


    ประวัติพ่อเมืองจังหวัด ชุมพร  “กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์”


    พลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ  กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ เป็นพระเจ้าลูกยาเธอในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 นับลำดับราชสกุลวงศ์เป็นองค์ที่ ๒๘ มีพระนามเดิมว่า พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์
    ประสูติในพระบรมมหาราชวัง เมื่อวันที่ ๑๙ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๒๓ เวลา ๑๕.๕๗ น. ตรงกับแรม ๓ ค่ำ เดือนอ้าย ปีมะโรง จุลศักราช ๑๒๔๒ เป็นพระลูกยาเธอองค์ที่ ๑ ในเจ้าจอมมารดาโหมด ธิดาเจ้าพระยาสุรวงศ์ไวยวัฒน์ ( วร  บุญนาค) สมุหพระกลาโหมในรัชกาลที่ ๕
    พระองค์ทรงมีพระกนิษฐาและพระอนุชา ร่วมพระมารดา ๒ พระองค์ คือ พระองค์เจ้าหญิงอรองค์อรรคยุพา ( สิ้นพระชนม์เมื่อทรงพระเยาว์ ) และพระองค์เจ้าสุริยงประยูรพันธุ์ ( ต่อมาได้ดำรงพระยศเป็นกรมหมื่นไชยาศรีสุริโยภาส - ต้นราชสกุล สุริยง )
    พล.ร.อ. พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ พระองค์ได้รับการทูนพระเกียรติคุณเป็น " องค์บิดาแห่งกองทัพเรือ " เนื่องด้วสพระองค์ ได้ทรงนำความ เจริญรุ่งเรือง มาสู่กองทัพเรือ และ ประเทศชาติ โดยทรงวางรากฐาน การบริหารงานของกองทัพเรือ ระเบียบวิธีปฏิบัติต่าง ๆ ภายในกองทัพเรือ จนทำให้ทัพเรือไทย มีความทันสมัย มีมาตรฐาน และ เจริญก้าวหน้า ทัดเทียมกับ อารยะประเทศ มาจวบจนทุกวันนี้
    พล.ร.อ.พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพร เขตรอุดมศักดิ์ เป็นเจ้านายพระองค์แรก ที่สำเร็จการศึกษา วิชาการทหารเรือ จากประเทศอังกฤษ พระองค์ทรงมีจุดประสงค์ อันแรงกล้าที่จะฝึก ให้ทหารเรือไทย เดินเรือทะเลได้อย่างชาวต่างประเทศ และ สามารถทำการรบ ทางเรือได้เนื่องจากในอดีต ประเทศไทย ได้ว่าจ้างชาวต่างชาติ มาเป็นผู้บังคับการเรือ มาโดยตลอด แม้แต่ในคราวที่ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ เสด็จประพาสฯ ยุโรปครั้งแรก ก็ยังได้ว่าจ้าง " กัปตันคัมมิ่ง" และคณะนายทหาร เรืออังกฤษ เป็นผู้เดินเรือ
    ภายหลังจากที่พล.ร.อ. พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ สำเร็จการศึกษา และเข้ารับราชการ ทหารเรือแล้ว พระองค์ได้แก้ไข ปรับปรุงระเบียบการ ในโรงเรียนนายเรือ ทรงเป็นครูสอนนักเรียนนายเรือ และริเริ่มการใช้ ระบบการปกครองบังคับบัญชา ตามระเบียบ การปกครองในเรือรบ คือการแบ่งให้นักเรียนชั้นสูง บังคับบัญชารองลงมา นอกจากนี้ยังทรงจัดเพิ่ม วิชาสำคัญสำหรับชาวเรือขึ้นเพื่อให้สำเร็จการศึกษา สามารถเดินเรือ ทางไกลในทะเลน้ำลึกได้คือ วิชา ดาราศาสตร์ ตรีโกณมิติ อุทกศาสตร์ การเดินเรือเรขาคณิต พีชคณิต ฯลฯ
    ในปี 2462 พระองค์ทรงเป็นผู้บังคับการเรือ โดยนำเรือหลวงพระร่วงจากประเทศอังกฤษ เข้ามายังกรุงเทพมหานคร นับเป็นครั้งแรกที่นายทหารเรือไทย เดินเรือได้ไกลข้ามทวีป ที่สำคัญพระองค์ทรงเป็นหัวเรี่ยวหัวเเรงที่สำคัญที่ทำให้ พระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง ทรงเห็นความสำคัญ และโปรดเกล้าฯ พระราชทาน พระราชวังเดิม ให้เป็นที่ตั้งของโรงเรียนนายเรือ เมื่อ วันที่ 20 พ.ย. 2449 ทำให้กิจการทหารเรือมี รากฐานมั่นคงนับตั้งแต่บัดนั้น
    และกองทัพเรือจึงยึดถือ วันดังกล่าวของทุกปีเป็น "วันกองทัพเรือ" จากการที่พระองค์ ทรงเป็นนักยุทธศาสตร์ ที่เล็งเห็นการไกล พระองค์ได้ทูลเกล้าฯ ขอพระราชทานที่ดินบริเวณอำเภอสัตหีบ เพื่อสร้างเป็นฐานทัพเรือ เนื่องจากทรงพิจารณาแล้วเห็นว่า อ่าวสัตหีบเป็นอ่าว ที่มีขนาดใหญ่ น้ำลึกเหมาะแก่การฝึกซ้อม ยิงตอร์ปิโดได้และเกาะน้อยใหญ่ ที่รายล้อมรอบสามารถบังคับคลื่นลมได้เป็นอย่างดี อีกทั้งเรือภายนอกเมื่อแล่นผ่าน
    พื้นที่ดังกล่าว จะไม่สามารถมองเห็นฐานทัพได้เลย
    นอกจากพระองค์ ทรงเป็นนักยุทธศาสตร์แล้ว ด้านการแพทย์พระองค์ทรงศึกษาค้นคว้าอย่างจริงจัง และเสด็จไปรักษาโรคภัยไข้เจ็บ ให้กับประชาชนด้วยพระองค์เอง ไม่ว่าเป็นคนไทยหรือคนจีน จนกระทั่งชาวจีนย่านสำเพ็ง มีความทราบซึ้ง ในพระกรุณาธิคุณ และได้เรียกพระองค์ท่านว่า "เตี่ย" ซึ่งหมายถึงพ่อ ทำให้ในเวลาต่อมาทหารเรือได้เรียกพระองค์ว่า "เสด็จเตี่ย" สำหรับในหมู่คนไข้ชาวไทย ที่พระองค์รักษานั้น มักจะเรียกขานนามพระองค์ว่า "หมอพร"
    พล.อ.ร.พระเจ้าบรมวงศ์ เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ทรงประชวร และสิ้นพระชนม์ ในขณะที่ประทับอยู่ที่หาดทรายรี ปากน้ำเมืองชุมพร เมื่อวันที่ 19 พ.ค. 2466 เวลา 11.40 น. ยังความโศกเศร้ามาสู่บรรดาทหารเรือยิ่งนัก 


                                                                    
                                                         ตราของเสด็จในกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ 
        






                                                      บันทึกของเสด็จในกรมหลวง ชุมพร เขตรอุดมศักดิ์
                                           


    เจอบันทึกนี้ให้เอาคำต่อไปนี้ของกูไปประกาศให้คนรู้ว่า


    "กูกรมหลวงชุมพรเขต รอุดมศักด์"
    ผู้เป็นโอรสของพระปิยมหาราช ขอประกาศให้พวกมึงรับรู้ไว้ว่า
    แผ่นดินสยามนี้ บรรพบุรุษ ได้เอาเลือดเอาเนื้อเอาชีวิตแลกไว้
    ไอ้อีมันผู้ใด คิดชั่วร้ายทำลายแผ่นดิน ทำลายชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
    ฤา กระทำการทุจริต ก่อให้เกิดความเดือดร้อนต่อส่วนรวม
    จงหยุดการกระทำนั้นเสีย โดยเร็ว
    ก่อนที่ที่กูจะสั่งทหารผลาญสิ้นทั้งโคตรให้หมดเสนียดของแผ่นดินสยามอันเป็นที่รักของกู
    ตราบใดที่คำว่า "อาภากร" ยังยืนหยัดอยู่ในโลก กูจะรักษาผืนแผ่นดินสยามของกู
    ลูกหลานทั้งหลาย แผ่นดินใดให้เรากำเนิดมา
    มิให้อนาทรร้อนใจ จงซื่อสัตย์ต่อแผ่นดินนั้น
    แผ่นดินใดที่ให้ซุกหัวนอน ให้ความร่มเย็นเป็นสุข
    มิให้อนาทรร้อนใจ จงซื่อสัตย์ต่อแผ่นดินนั้น

    จาก หนังสืออนุสรณ์พระนคร '39
      








    ๒รายการต่อมา ไปที่วัดสามแก้ว อ.เมือง จ.ชุมพร

    ถ้าจะไปตักบาตรที่วัดแบบเอาปิ่นโตไปก็ต้องไปก่อน 7.30น. เจอกันที่หอฉัน


    ป้ายการท่องเที่ยว













    โบสถ์โบราณ -อันโบสถ์นี้จะเปิดให้เข้าชมเฉพาะวันสำคัญทางศาสนา ถ้าให้แน่ๆ ก็ต้องคืนที่เรามาเวียนเทียนกัน



    หอกลอง





    ประตูวัดมองจากด้านใน









    รวมรูปจากกล้องคนอื่นที่สวยกว่าข้าพเจ้า 55+


    http://www.chumphonfocus.com/webboard/index.php?showtopic=76
    ภาพที่แนบมา




    http://chumphontour.com/forum/index.php?topic=183.0
    วัดสามแก้ว ในวันมาฆบูชา


    เวียนเทียน วันมาฆบูชา 2553 วัดสามแก้ว ชุมพร


    วัดสามแก้ว ตั้งอยู่ที่บ้านสามแก้ว ตำบลนาชะอัง อำเภอเมือง ฯ ตัววัดตั้งอยู่บนเนินเขาเตี้ย ๆ เคยมีการขุดพบลูกปัดสีต่างๆ และกลองมโหระทึกขนาดต่างๆ มีลักษณะคล้ายกับที่พบในเขตอำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี  เป็นกลองมโหระทึกที่มีอายุอยู่ประมาณ ๑,๗๐๐ - ๒,๐๐๐ ปี อาจสันนิษฐานได้ว่า บริเวณเนินเขาที่ตั้งวัดสามแก้ว อาจเป็นที่ตั้งของเมืองโบราณที่มีอายุเก่าแก่มากเมืองหนึ่ง

    วัดสาม แก้ว สร้างเมื่อประมาณปี พ.ศ.๒๔๖๘  หลังคาอุโบสถมีลักษณะแตกต่างจากอุโบสถของวัดทั่วไป คือหลังคาไม่มีช่อฟ้าใบระกา ตัวอุโบสถจึงมีลักษณะคล้ายกล่องสี่เหลี่ยมลายไทย ภายในมีภาพจิตรกรรมฝาผนังของช่างเขียนมีชื่อในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเก ล้าเจ้อยู่หัว คือ พระยาอนุศาสตร์จิตรกร (จันทร์  จิตรกร) ได้เขียนภาพภายในอุโบสถ เพื่ออุทิศถวายพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

    ภาพเขียนแบ่ง เป็นสามตอน ตอนบนสุดเป็นภาพเทพนม ทั้งเทพบุตรและเทพธิดา  ตอนกลางเป็นภาพเทพเจ้าในศาสนาพราหมณ์ ได้แก่ท้าวจัตุโลกบาล เทวดานพเคราะห์ คณะเทพและพระโพธิสัตว์  ตอนล่างสุดตามช่องผนังระหว่างเสา และบานประตูหน้าต่าง เป็นภาพพุทธประวัติ ผนังด้านหน้าเป็นภาพแม่ธรณีบีบมวยผมขนาดใหญ่ ฝีมืองดงามมาก


    อันนี้ไม่ใช่รูปของไรทเตอร์นะ เป็นรูปของเจ้าของบอร์ดนี้ ลองลิงค์ต่อเข้าไปดูได้  ฝีมือถ่ายรูปคนละชั้นกะไรท์จริงๆ











    ๓หลวงปู่สงฆ์ จนฺทสโร ที่วัดเจ้าฟ้าศาลาลอย ต.บางลึก อ.เมือง จ.ชุมพร






    การเดินทางพอเข้าเขตบางลึกแล้วก็ผ่านจุดต่างๆ ที่เห็น แล้วก็จะเห็นป้ายของกรมทางหลวงอันเบ้ง











    ป้ายกรมทางหลวงเห็นชัดมาแต่ไกล








    เลยมาหน่อยก็จะเจอหลักกิโล








    เห็นซอยแล้วก็เลี้ยวตามลูกศรเข้าไป









    ที่ซอยนี้













    แล้วเราก็จะเจอประตูเข้าวัด









    เจอโบสถ์






    พระหน้าโบสถ์





    ศาลาข้างโบสถ์








    สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าองค์ปฐม(พระองค์ปฐม)















    หลวงพ่อคงหลานของหลวงปู่สงฆ์




















    หอระฆัง













    เดินต่อไปทางนี้จะเจอ










    ต้นโพธิต้นหนึ่งข้างๆ กันคือ







    ศาลาที่เก็บร่างของหลวงปู่สงฆ์









    ทางขึ้น






























    ภาพบนศาลา




    ธูปเทียนมีจัดไว้อำนวยความสะดวก และตามศรัธทา





    โอ่งน้ำมนต์หลวงปู่สงฆ์ กินเอาฤกษ์เอาชัยเป็นสิริมงคล ใครจะขอพรทานรักษาโรคตามแต่
    ไรท์เตอร์แนะนำให้อธิษฐาน
    กับหลวงปู่ก่อนแล้วตักมา
    ใครจะตักมาเก้บไว้กับบ้านก็ได้ เอาเป็นหัวน้ำ แล้วค่อยผสมน้ำกินลงไปทีหลังก็ได้ จะได้เก็บไว้ประจำบ้าน






    พระสีวลี






    ต้นสาละ ภายในวัด























    ตอนเช้าถ้ามีเวลาก็ขอเชิญไปทำบุญตักบาตรกัน
    กำหนดเวลก็  9.00น. ให้ไปให้ถึงวัด พระท่านจะลงหอฉันตอน 9.30น. เราควรจะไปให้ถึงก่อน


    สำหรับวัดนี้ใครอยากจะทำสังฆทานก็ ไม่จำเป็นต้องไปนัดท่าน เพราะว่าที่วัดทำกันทุกวัน ใครอยากจะทำก็หิ้วไปเลย ไปเจอกันในหอฉัน


    วันพระวันโกนคนจะเยอะมาก






























    บรรยากาศตอนเช้า












    พระมาแล้ว












    พอพระฉันเสร็จ ชาวบ้านก็กินกันต่อ










    ที่ล้างจาน




           















    ใครอยากจะไปปล่อยนกปล่อยปลาก็เดินมาทางนี้


















    ๔รายการต่อมา ไปที่วัดถ้ำสำเภาทอง อ.เมือง จ.ชุมพร
























































































    *************************************************************************
    หนังสือพิมพ์คม ชัด ลึก คอลัมน์ พระเครื่อง คม ชัด ลึก ฉบับวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2549
    http://www.chumphontour.com/history/watchaofasalaloi_01.html
    http://www.geocities.com/thaimedicinecm/loungpusong.htm
    http://www.dharma-gateway.com/monk/monk_biography/lp-song/lp-song-hist-02-04.htm
    http://www.seal2thai.org/etc/chumporn/
    http://www.Chumphontour.com
    http://cpn.onab.go.th/index.php?option=com_content&view=category&layout=blog&id=49&Itemid=83



    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน
    นิยายแฟร์ 2024

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×