ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ♪ เรื่องเล่า ♪ {{{นิทานชาดก.+}}}☂

    ลำดับตอนที่ #13 : กุกกุฏชาดก - พญาไก่ป่า

    • อัปเดตล่าสุด 15 เม.ย. 51


     

     

    c กุกกุฏชาดก - พญาไก่ป่า

     

     

    ในสมัยหนึ่ง พระพุทธเจ้าประทับอยู่วัดเชตวัน เมืองสาวัตถี ทรงปรารภภิกษุผู้กระสันจะสึกรูปหนึ่ง ได้ตรัสอดีตนิทานมาสาธก ว่า...

     

    กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว พระโพธิ์สัตว์เกิดเป็นพญาไก่ป่า มีไก่เป็นบริวารหลายร้อยตัว อาศัยอยู่ในป่าแห่งหนึ่ง มีนางแมวตัวหนึ่งอาศัยอยู่ในที่ไม่ไกลจากที่อยู่ของไก่ป่านั้น มันเที่ยวใช้อุบายล่อลวงจับไก่ป่ากินเป็นอาหารเกือบหมด พญาไก่ป่าทราบว่าบริวารถูกนางแมวจับกินไปเกือบหมดก็ไม่ไปใกล้ที่อยู่ของมัน

     

    หลายวันต่อมา เมื่อไม่เห็นไก่ตัวใดไปใกล้ที่อยู่ของตน นางแมวจึงต้องดั้นด้นมาหาไก่เสียเอง มันเดินย่องเข้าไปใต้คอนไม้ที่พญาไก่ป่าจับอยู่ พร้อมกับพูดขึ้นว่า

     

    "พ่อไก่น้อยสีแดง ผู้มีขนสวยงาม เจ้าลงมาจากกิ่งไม้เถิด เราจะยอมเป็นภรรยาท่าน"

     

    พญาไก่ป่ารู้ทันเล่ห์เหลี่ยมของมันจึงตอบไปว่า "นางแมวเอ๋ย เจ้าเป็นสัตว์ ๔ เท้าที่สวยงาม ส่วนเราเป็นสัตว์ ๒ เท้า แมวกับไก่อยู่ร่วมกันไม่ได้ดอก เชิญท่านไปหาผู้อื่นเป็นสามีเถิด"

     

    นางแมวไม่ลดละความพยายามยังพูดออดอ้อนว่า "พ่อไก่น้อย ฉันจะเป็นภรรยาผู้สวยงาม ร้องเสียงไพเราะเพื่อเจ้า เจ้าจะรู้ว่าฉันเป็นภรรยาสาวพรหมจรรย์ที่สวยงาม ร้องเสียงไพเราะเพื่อเจ้า เจ้าจะรู้ว่าฉันเป็นภรรยาสาวพรหมจรรย์ที่สวยงามและมีความสุขที่สุด"

     

    พญาไก่ป่าจึงพูดขู่นางแมวไปว่า "นางแมวเอ๋ย เจ้ากินซากศพ ดื่มเลือด กินไก่บริวารของเราแล้ว จงไปเสียเถอะ"

     

    นางแมวเมื่อรู้ว่าพญาไก่ไม่หลงกล ก็รีบวิ่งหนีกลับไปอย่างผู้ผิดหวังและไม่กลับไปหากินที่นั่นอีกเลย

     

    พระพุทธองค์เมื่อตรัสอดีตนิทานจบ ได้ตรัสพระคาถาว่า "ผู้ใดรู้ไม่เท่าทันเหตุที่เกิดขึ้นโดยฉับพลัน ผู้นั้นจะตกอยู่ในอำนาจของศัตรู และจะเดือดร้อนภายหลัง ส่วนผู้ใดรู้เท่าทันเหตุที่เกิดขึ้นโดยฉับพลัน ผู้นั้นจะพ้นจาการเบียดเบียนของศัตรู เหมือนไก่พ้นจากนางแมวฉะนั้น"

     

    นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า : ผู้มีปัญญารู้เท่าทันเหตุการณ์ย่อมสามารถรู้รักษาตัวรอดได้

     

     

     

     

     

     

     

     

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน
    นิยายแฟร์ 2024

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×