ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    เส้นชีวิต

    ลำดับตอนที่ #1 : บทนำ

    • อัปเดตล่าสุด 16 พ.ย. 49


    บ นกุฏิที่จัดเรียงอย่างเรียบง่ายสมถะ มีภิกษุรูปหนึ่งที่ทุกคนเรียกกันว่าหลวงพี่โย กำลังนั่งอ่านพระไตรปิฏกอยู่ ท่านนั่งอย่างสงบ ภายใต้แสงไฟที่ส่องใบหน้าของท่าน จะพบง่าท่านมีใบหน้าที่ดูดี จนเรียกได้ว่าหล่อเหลา แต่ท่านกลับเข้าหาทางธรรม ไม่ยุ่งเกี่ยวกับทางโลกอีกต่อไป ในห้องที่มีนิตยสารธรรมะและความรู้ต่างๆเรียงอย่างเป็นระเบียบ แทบไม่มีข้าวของที่เกินความจำเป็นมีเพียงแค่ที่นอน และเครื่องใช้ส่วนตัวกาน้ำและแปรงสีฟันเท่านั้น ไม่มีของใช้อย่างฟุ่มเฟือย เพราะเราผ่านความฟุ่มเฟือยมาแล้วและไม่มีอะไรที่ยั่งยืนเลย ไม่ว่าลาภยศชื่อเสียงหรืออะไรถ้าแผ่นดินกลบหน้าก็นำเอาไปด้วยไม่ได้

      


      แ ต่ถึงอย่างไรเมื่ออยู่เพียงลำพังก็ทำให้คนที่พวกเด็กๆเรียกกันว่าหลวงพี่โย อดเศร้าไม่ได้ บางครั้งความเหงาก็เข้ามาเกาะกุมหัวใจ มีบางคนบอกว่าการบวชคือการละจากทางโลก หลวงพี่เห็นว่าไม่ใช่เลย การบวชคือการเข้าใจโลกอย่างถ่องแท้ต่างหาก เพราะเข้าใจความเสื่อมไปของทางโลกจึงเดินตามรอยพระศาสดา ไม่ใช่การหนีจากปัญหาแล้วมาบวช หากบวชด้วยสภาพจิตใจเช่นนั้นก็ทำให้จุดมุ่งหมายของการบวชเสียไป

      ต อนเด็กหลวงพี่โยไม่คิดว่าตนจะเดินมาตามเส้นทางสายนี้ แม้เด็กชายวินัยจะเป็นเด็กที่ค่อนข้างเรียบร้อย และไม่ชอบเล่นรุนแรงกับสัตว์โดยมีครั้งหนึ่งมีเด็กปาหินใส่นกขุนทองตัวหนึ่ง จนปีกของมันบาดเจ็บเด็กชายวินัยก็ได้เข้ามาห้ามเด็กเกเรพวกนั้นไว้ไม่ให้มาร ังแกนก และเฝ้ารักษาพยาบาลนกตัวนั้นจนหายดี เด็กชายวินัยเชื่อว่านกจะสวยงามที่สุดเมื่อมันมีอิสระอยู่บนท้องฟ้า และเหล่าสัตว์ทั้งหลายก็รักชีวิตของตน เราเองกลัวความเจ็บปวด สัตว์ทั้งหลายก็กลัวความเจ็บปวดเช่นกันแล้วทำไมถึงต้องมาเบียดเบียนกันด้วยน ั่นคือความคิดของเด็กชายวินัย ที่มีพื้นฐานจิตใจโอบอ้อมอารีย์

      

       ต ั้งแต่แรกเกิด เด็กชายวินัยเติบโตมาด้วยความรักของคนในครอบครัว แม้พ่อแม่ของเขางานยุ่งแต่ก็มีเวลามาอบรมสั่งสอนเขาด้วยตนเอง และบางครั้งพ่อก็จะพาเขาไปตกปลาที่ริมแม่น้ำด้วย โดยแม่ของเขาจะทำอาหารให้เขาทานด้วยตนเอง และไปด้วยกันทั้งครอบครัว ไม่ว่างานในสัปดาห์ของพ่อแม่จะยุ่งเพียงไรต้องมีอย่างน้อย1วันที่ต้องพร้อมห น้ากันทั้งครอบครัววินัยถูกพ่อแม่สั่งสอนให้ทำหมายกำหนดการเพื่อจัดแบ่งเวลา ในการทำเรื่องต่างๆก็ตอนนั้นนั่นเอง

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×