Desire of Mind รอยรัก แรงปรารถนา (Boy's love) - นิยาย Desire of Mind รอยรัก แรงปรารถนา (Boy's love) : Dek-D.com - Writer
×

    Desire of Mind รอยรัก แรงปรารถนา (Boy's love)

    ความรักมักหนีจากเขาไปเสมอ หรือว่าเป็นตัวเขากันแน่ที่หนีจากความรักนั้นมา

    ผู้เข้าชมรวม

    6,848

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    52

    ผู้เข้าชมรวม


    6.84K

    ความคิดเห็น


    44

    คนติดตาม


    32
    หมวด :  นิยายวาย
    จำนวนตอน :  15 ตอน
    อัปเดตล่าสุด :  6 ม.ค. 53 / 19:35 น.

    อีบุ๊กจากนิยาย ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ



     
    ¯`*•.¸,¤°´'`°¤,¸.•*´¯)
    ¸,¤°´'`°•.¸O¸.•°´'`°¤,¸
    ஜ۩۞۩ஜ۩۞۩ஜஜ۩۞۩ஜஜ۩۞۩ஜ

    ●   Desire of Mind
       ●
    ●   รอยรัก แรงปรารถนา   ●

    ஜ۩۞۩ஜ۩۞۩ஜஜ۩۞۩ஜஜ۩۞۩ஜ
    *´'`°¤¸¸.•'´O`'•.¸¸¤´'`*
    (_¸.•*´'`°¤¸'¸¤°´'`*•.¸_)





    เซรัสคิดอยู่เสมอว่า ตัวเองเป็นคนพรากชีวิตคนรอบข้างไปจนหมดสิ้น ทั้งพ่อแม่และคนที่รักสุดดวงใจ เขาจึงกักขังตัวเองไว้ภายใต้เกราะที่ชื่อว่าความเย็นชา แต่เขาไม่คาดคิดเลยว่าเกราะของเขาจะพังทลายลงได้เพราะผู้ชายคนหนึ่ง

    ซีอัส ดาร์ค ชายผู้เปรียบเหมือนเงาหลอนของรักแรกที่ถูกพราก คนที่ไม่ว่าอย่างไรก็ไม่อยากสูญเสียไปอีกครั้ง เขาจึงผลักตัวเองออกมา หลีกหนีความรักเพื่อรักษาชีวิตของเขาไว้

    ...ปลายนาการรักให้ร้างลาไกล!




     
     



    Creme Brulee

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    คำนิยม Top

    "บทวิจารณ์ ปลายนาการรัก"

    (แจ้งลบ)

    ปลายนาการรัก นิยาย Yaoi แนวซึ้งกินใจ ผลงานของ Char ซึ่งแต่งถึงตอนที่ 14 แล้วผู้แต่งก็หยุดเขียนไป เป็นเรื่องราวชีวิตและความรักของเซรัส ฟีเซียส ชายหนุ่มที่ผิดหวังในความรักครั้งแล้วครั้งเล่า เพราะใครก็ตามที่เขารักต้องตายจากเขาไปทั้งหมด จนเขาไม่กล้าจะรักใคร และปลีกตัวออกมาใช้ชีวิตโดดเดี่ยวตามลำพัง จนกระทั่งวันหนึ่ง ซีอัส ดาร์ค ก็ก้าวเข้ามาในชีว ... อ่านเพิ่มเติม

    ปลายนาการรัก นิยาย Yaoi แนวซึ้งกินใจ ผลงานของ Char ซึ่งแต่งถึงตอนที่ 14 แล้วผู้แต่งก็หยุดเขียนไป เป็นเรื่องราวชีวิตและความรักของเซรัส ฟีเซียส ชายหนุ่มที่ผิดหวังในความรักครั้งแล้วครั้งเล่า เพราะใครก็ตามที่เขารักต้องตายจากเขาไปทั้งหมด จนเขาไม่กล้าจะรักใคร และปลีกตัวออกมาใช้ชีวิตโดดเดี่ยวตามลำพัง จนกระทั่งวันหนึ่ง ซีอัส ดาร์ค ก็ก้าวเข้ามาในชีวิต จนทำให้ชีวิตที่เปลี่ยวเหงาของเขาเริ่มเปลี่ยนแปลงไป แต่ขณะเดียวกันเซรัสก็กลัวความเปลี่ยนแปลงนี้เช่นกัน จึงต้องติดตามต่อไปว่าความรักของเซรัสครั้งนี้จะพบกับความสุขเป็นครั้งแรก หรือต้องเผชิญกับความเศร้าที่พบอยู่เสมอมาราวกับว่าเขามีชีวิตที่ต้องคำสาป ความสะดุดใจครั้งแรกที่ได้อ่านเรื่องนี้คือชื่อเรื่อง เพราะถ้าผู้เขียนตั้งใจจะใช้ชื่อว่า “ปลายนาการรัก” จริง ชื่อนี้ไม่สื่อความแก่นเรื่อง (theme) ที่ต้องการเสนอได้ และก็ยังไม่สื่อความใดๆ ในเรื่องอีกด้วย จึงคิดว่าชื่อที่ผู้แต่งคิดไว้น่าจะเป็น “ปลาสนาการรัก” ซึ่งหมายความถึงความรักที่หายไป หรือความรักที่หนีไป แต่คำว่าปลาสนาการรัก ก็ยังไม่ถูกตามหลักภาษา แต่ก็อนุโลมให้ได้ ตามหลักภาษาไทยที่ถูกต้องควรเป็น รักปลาสนา หรือปลาสนาการแห่งรัก หรือ รักอันปลาสนา ในเรื่องนี้ Char แสดงจุดยืนที่ต้องการนำเสนอนิยาย Yaoi ไว้อย่างเด่นชัด เนื่องจากตัวละครชายที่เป็นตัวเด่นของเรื่องต่างนิยมความรักแบบชายรักชายเกือบทั้งหมด และแสดงให้เห็นความสัมพันธ์ที่งดงามของความรักและความเสียสละของคู่รักที่ต่างคนก็ต้องการให้คนที่ตนรักมีความสุขอยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็นกรณีของ ลิเลียส ที่ติดเชื้ออย่างรุนแรงและรู้ตัวว่าอีกไม่นานจะตาย เขาจึงทิ้งซีอัส เพราะไม่ต้องการให้ซีอัสต้องทรมานขณะที่เฝ้ามองเขาตายอย่างช้าๆ หรือ พาลยอมเสียสละชีวิตของตนเพื่อปกป้องเซรัสชายที่ตนรัก หรือ เซรัสรู้สึกผิดที่ตนเป็นผู้คิดค้นเชื้อโรคที่เป็นสาเหตุให้ลิเลียสป่วย เขาจึงยอมใช้ร่างกายของตนเป็นเหมือนหนูทดลองเพื่อพยายามหายารักษาโรคของลิเลียส ในขณะที่ลิเลียสก็พยายามปลอบโยนให้เซรัสเลิกโทษตัวเองที่เป็นต้นเหตุให้ตนป่วย แต่อยากให้เซรัสมีความสุขบ้าง เพราะชีวิตของเขาต้องทนทุกข์อยู่กับความรู้สึกผิดอยู่ตลอดเวลา ความเด่นของเรื่องอีกประการหนึ่ง ความสามารถในการใช้ภาษาของ Char อยู่ในระดับดี ทั้งภาษาบรรยายและภาษาสนทนา ซึ่งความจัดเจนและความใส่ใจของผู้แต่งนี้เองที่ช่วยให้ผู้อ่านอ่านงานได้อย่างลื่นไหล ขณะเดียวก็สามารถสร้างจินตนาการตามไปไม่ยากนัก ซึ่งนับเป็นความรื่นรมย์ประการสำคัญในการอ่าน แม้ว่าจะพบคำผิดและการใช้คำผิดความหมายบ้าง แต่ก็พบน้อยมาก และเพื่อให้เรื่องสมบูรณ์ขึ้น จึงอยากเสนอคำผิดที่พบในเรื่องไว้ ณ ที่นี้ คือ ปอกเปลือก เขียนเป็น ปลอกเปลือก กะพริบตา เขียนเป็น กระพริบตา (ตอนที่ 4) ส่วนใหญ่ เขียนเป็น ส่วยใหญ่ (ตอนที่ 6) ปะติดปะต่อ เขียนเป็น ปะติดประต่อ (ตอนที่ 7) ลูบศีรษะ เขียนเป็น ลูกศีรษะ (ตอนที่ 8) แย้มพราย เขียนเป็น แง้มพราย (ตอนที่ 12) และ อาหารที่เคี่ยวกรำมาอย่างหนัก (เคี่ยวกรำ หมายถึง ผ่านความตรากตรำอย่างหนักหรือถูกฝึกอย่างหนัก) ควรใช้ว่า อาหารที่เคี่ยวมานาน (เคี่ยว หมายถึง ต้มนานๆ เพื่อให้เปื่อยหรือแห้งงวด) [ตอนที่ 3] ความน่าสนใจของเรื่องอยู่ที่ผู้แต่งพยายามที่จะผสานการเขียนเรื่องราวความรักเข้ากับความลับขององค์กรจารชนระหว่างประเทศ โดยให้เซรัสเป็นตัวเดินเรื่องทั้งหมด ขณะเดียวกันก็พยายามคุมโทนของเรื่องให้หม่นเศร้า เพราะเมื่อใดที่ตัวละครเริ่มมีความสุข ก็ต้องมีเหตุการณ์บางอย่างเพื่อสร้างความพลิกผันให้เรื่องกลับไปอยู่ในโทนเศร้าอยู่เสมอ ซึ่งการกระทำเช่นนี้บ่อยๆ จนดูออกว่านี่คือความจงใจของผู้แต่ง บางครั้งก็กลับสร้างความคับข้องใจให้ผู้อ่าน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การตัดสินใจของเซรัส ที่มักจะเลือกสละความสุขไปหาความทุกข์อยู่เสมอนั้น ในบางตอนก็ไม่สู้จะสมเหตุผลนัก เช่น การตัดสินใจหนีกลับไปหากลุ่มยมทูต โดยอ้างเหตุผลว่าเขากำลังจะตายจึงไม่อยากทำร้ายจิตใจของซีอัสที่หลงรักเขา แต่การตัดสินใจหนีไปหากลุ่มยมทูตของเซรัสน่าจะยิ่งทำร้ายจิตใจของซีอัสมากขึ้น เพราะซีอัสได้ขอให้เซรัสรักษาสัญญาแล้วว่าจะไม่หนีเขาไป และซีอัสก็ประกาศว่าจะเป็นผู้ปกป้องเซรัสเอง ขณะเดียวกันเซรัสก็รู้มาก่อนว่าซีอัสทราบความจริงแล้วว่ายมทูตเป็นผู้บงการให้คนสนิทของเขาทรยศและโกงเงินสหพันธ์ของเขากว่าร้อยล้าน ซึ่งเท่ากับว่าขณะนี้ยมทูตเป็นศัตรูคู่แค้นของซีอัสโดยตรง อย่างไรก็ตาม ผู้แต่งยังประสานแนวเรื่องทั้งสองได้ไม่สมบูรณ์นัก ยังพบจุดเชื่อมต่อที่ยังไม่สามารถผสานกันอย่างแนบสนิท ซึ่งทำให้เรื่องดูเหมือนว่าจะไปไม่สุดสักทางเดียว ไม่ว่าจะเป็นความรักก็ดูไม่สมเหตุผลกับความโลเลและสับสนของเซรัส หรือจะเป็นเรื่องที่เน้นความเข้มข้นของเรื่องแนวจารชนก็ยังไม่ชัดเจน เพราะผู้แต่งไม่สนใจที่จะให้ความสำคัญกับการให้รายละเอียดหรือบรรยายฉากเหล่านี้ โดยเฉพาะฉากสำคัญที่ซีอัสและพวกบุกเข้าไปเอาตัวเซรัสกลับมา ผู้แต่งก็จงใจไม่เล่ารายละเอียด แต่นำเสนอเพียงเศษเสี้ยวของเหตุการณ์ผ่านความฝันของเซรัสเท่านั้น ผู้วิจารณ์เห็นว่าการเชื่อมแนวเรื่องทั้งสองเข้าด้วยกันนั้นน่าสนใจ เพราะจะช่วยการสร้างปมขัดแย้ง (conflict) ระหว่างเซรัสกับซีอัสให้เด่นชัดขึ้น ซึ่งจะส่งให้เนื้อเรื่องมีความเข้มข้นของความรักที่เกิดขึ้นระหว่างความแค้น ที่จะพัฒนาไปถึงจุดสูงสุด (climax) ของเรื่อง ที่บีบให้ตัวละครทั้งสองจะต้องเลือก ในขณะที่เซรัสเลือกระหว่างความสุขที่จะรักกับความเศร้าที่จะเลิก แต่ซีอัสกลับต้องเลือกระหว่างความรักกับความซื่อสัตย์ต่อธุรกิจของครอบครัว นับว่าผู้แต่งกำหนดปมขัดแย้งของเรื่องได้อย่างน่าดึงดูดใจคนอ่านทีเดียว แม้ว่าในขณะนี้ผู้เขียนจะปูเรื่องให้เซรัสและซีอัสเลือกที่จะอยู่คนละฝ่ายกันแล้ว กล่าวคือเซรัสอยู่ฝ่ายยมทูต มีหน้าที่พัฒนาไวรัส ที่ช่วยให้ยมทูตมีอำนาจทางการเงินในการขายไวรัสเหล่านี้ให้กับประเทศที่ต้องการนำไปใช้เป็นอาวุธเชื้อโรค ทั้งยังสร้างความขยาดกลัวให้กับผู้ที่ต้องการเป็นศัตรู ในขณะที่ซีอัสมีความแค้นโดยตรงกับยมทูตที่ส่งคนมาขโมยความลับและยักยอกเงินของสหพันธ์ของเขา อีกทั้งจีนส์ สมุนคนหนึ่งของยมทูตที่ครั้งหนึ่งเคยทำหน้าที่เป็นผู้คุ้มกันเขาได้เคยลอบสังหารเขาแต่ไม่สำเร็จ ในจุดนี้เองที่ทำให้เห็นได้ว่า เหตุผลประการหนึ่งที่ทำให้เนื้อเรื่องยังไม่เข้มข้นและยังสับสนอยู่ ก็เพราะผู้เขียนยังลังเลเหมือนตัดสินใจไม่ได้ว่าจะให้เซรัสอยู่ที่ตำแหน่งใดกันแน่ เนื่องจากบางครั้งเซรัสก็ดูเหมือนจะเกลียดยมทูตที่ทำให้พ่อแม่เขาตายในขณะที่พยายามช่วยให้เขาหนีออกมาจากองค์กรนี้ แต่ช่วงหลังเซรัสก็ตัดสินใจจะกลับไปอยู่กับยมทูตอีกครั้ง ทั้งๆที่ในความเป็นจริง เซรัสไม่น่าจะกลับไปหายมทูตเอง นอกจากจะถูกบังคับจับตัวไปในฐานะที่เป็นบุคคลเพียงผู้เดียวที่มีความสามารถพัฒนาไวรัสและยารักษาได้ เช่นเดียวกับที่เซรัสรู้สึกผิดและเสียใจที่ไวรัสที่เขาคิดค้นขึ้นมานั้นกลายเป็นอาวุธที่ใช้สังหารคนเป็นจำนวนมาก และหนึ่งในนั้นคือลิเลียส เพื่อนคนแรกและคนเดียวที่เขารัก แต่ต่อมาเซรัสกลับยังช่วยยมทูตพัฒนาไวรัสต่ออย่างลับๆ ด้วยเหตุผลเพียงว่าจะได้ช่วยชีวิตอู่หยงหัวหน้ากลุ่มยมทูตผู้เป็นคนรักของหวงเฟย ผู้ที่เซรัสรักเหมือนพี่ชายเท่านั้นเอง ปัจจัยอีกประการหนึ่ง คือ สังเกตได้ว่า ผู้เขียนมิได้วางโครง (Plot) เรื่องทั้งหมดไว้ก่อนว่าจะให้เรื่องดำเนินไปในทิศทางใดในแต่ละตอน เรื่องราวส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของเซรัสเป็นสำคัญ เมื่อผู้แต่งยังไม่มีความชัดเจนในการสร้างและกำหนดพฤติกรรมตัวละครตัวนี้ ซึ่งเป็นตัวละครหลักที่ดำเนินเรื่อง ก็ทำให้เรื่องดำเนินไปอย่างไม่ลื่นไหล และ ส่งผลให้ความสนใจผู้อ่านต้องสะดุดเป็นระยะๆ ผู้วิจารณ์เห็นว่าตัวละครในเรื่องทั้งหมดมีเฉพาะเซรัสเท่านั้นที่ไม่ชัดเจน ทั้งในเรื่องของอาชีพ ตัวตน อารมณ์ และการตัดสินใจ จึงดูเหมือนว่าผู้แต่งยังไม่แน่ใจว่าจะให้เขาแสดงบทบาทใด เนื่องจากตลอดเวลาบุคลิก อุปนิสัย และการตัดสินใจของเขา ขึ้นอยู่กับว่าสถานการณ์แวดล้อมในขณะนั้นจะชักนำให้เขาไปทิศทางใด จนทำให้เขากลายเป็นคนไม่มีจุดยืน โลเล และสับสน เช่น อาชีพของเซรัส ถึงแม้ว่าผู้แต่งจะพยายามบอกว่าเซรัสเป็นอัจฉริยะที่อายุเพียง 10 ขวบก็สามารถที่จะเป็นหัวหน้าโครงการวิจัยไวรัสร่วมกับพ่อได้แล้ว แต่ต่อมาผู้เขียนยังให้เซรัสมีอาชีพที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นนักศึกษา หมอ นักนิติวิทยาศาสตร์ ครูสอนเปียโน อาจารย์ฝึกสอนในมหาวิทยาลัย และแม้กระทั่งแฮกเกอร์ จน น่าพิศวงว่าคนๆหนึ่งไม่น่าจะต้องทำอาชีพหลากหลายเช่นนี้ แม้ว่าเขาจะทำได้เพราะเป็นอัจฉริยะก็ตาม แต่ถ้าเรื่องปูให้เห็นความจำเป็นว่าเซรัสถูกเลี้ยงให้เป็นนักวิทยาศาสตร์ควบคู่ไปกับการเป็นสายลับที่ต้องปลอมตัว โดยต้องอาศัยความสามารถอันหลายหลากเช่นนี้ ก็พอจะเชื่อถือได้ แต่ตลอดเวลาที่กล่าวถึงนั้นก็เป็นการแสดงความโดดเด่นของเขาในแง่ของนักวิจัยทางด้านไวรัส ซึ่งเป็นต้นตอของเรื่องราวทั้งหมดเท่านั้นเอง ผู้วิจารณ์เห็นว่าปัญหาที่เกิดขึ้นสามารถแก้ไขได้ เพราะผู้เขียนมีแก่นเรื่องที่ต้องการนำเสนอไว้อย่างชัดเจน มีความสามารถในการใช้ภาษาเป็นอย่างดี เพียงแต่ต้องวางโครงเรื่องให้ชัดเจนและรัดกุมมากขึ้น เพราะแม้จะนวนิยายจะเป็นเรื่องของจินตนาการแต่ก็ต้องการความสมจริงหรือสมเหตุสมผลพอสมควร และจะทำให้การเน้นปมขัดแย้งระหว่างเซรัสและซีอัสส่งผลให้เรื่องมีความเข้มข้นเชิงอารมณ์เพิ่มขึ้น ยิ่งถ้าผู้แต่งสร้างตัวละครเซรัสให้ชัดเจนขึ้นดังกล่าวแล้ว ก็จะช่วยให้เรื่องมีทิศทางและความน่าสนใจมากขึ้นได้ ----------------------------   อ่านน้อยลง

    bluewhale | 11 มี.ค. 53

    • 12

    • 1

    คำนิยมล่าสุด

    "บทวิจารณ์ ปลายนาการรัก"

    (แจ้งลบ)

    ปลายนาการรัก นิยาย Yaoi แนวซึ้งกินใจ ผลงานของ Char ซึ่งแต่งถึงตอนที่ 14 แล้วผู้แต่งก็หยุดเขียนไป เป็นเรื่องราวชีวิตและความรักของเซรัส ฟีเซียส ชายหนุ่มที่ผิดหวังในความรักครั้งแล้วครั้งเล่า เพราะใครก็ตามที่เขารักต้องตายจากเขาไปทั้งหมด จนเขาไม่กล้าจะรักใคร และปลีกตัวออกมาใช้ชีวิตโดดเดี่ยวตามลำพัง จนกระทั่งวันหนึ่ง ซีอัส ดาร์ค ก็ก้าวเข้ามาในชีว ... อ่านเพิ่มเติม

    ปลายนาการรัก นิยาย Yaoi แนวซึ้งกินใจ ผลงานของ Char ซึ่งแต่งถึงตอนที่ 14 แล้วผู้แต่งก็หยุดเขียนไป เป็นเรื่องราวชีวิตและความรักของเซรัส ฟีเซียส ชายหนุ่มที่ผิดหวังในความรักครั้งแล้วครั้งเล่า เพราะใครก็ตามที่เขารักต้องตายจากเขาไปทั้งหมด จนเขาไม่กล้าจะรักใคร และปลีกตัวออกมาใช้ชีวิตโดดเดี่ยวตามลำพัง จนกระทั่งวันหนึ่ง ซีอัส ดาร์ค ก็ก้าวเข้ามาในชีวิต จนทำให้ชีวิตที่เปลี่ยวเหงาของเขาเริ่มเปลี่ยนแปลงไป แต่ขณะเดียวกันเซรัสก็กลัวความเปลี่ยนแปลงนี้เช่นกัน จึงต้องติดตามต่อไปว่าความรักของเซรัสครั้งนี้จะพบกับความสุขเป็นครั้งแรก หรือต้องเผชิญกับความเศร้าที่พบอยู่เสมอมาราวกับว่าเขามีชีวิตที่ต้องคำสาป ความสะดุดใจครั้งแรกที่ได้อ่านเรื่องนี้คือชื่อเรื่อง เพราะถ้าผู้เขียนตั้งใจจะใช้ชื่อว่า “ปลายนาการรัก” จริง ชื่อนี้ไม่สื่อความแก่นเรื่อง (theme) ที่ต้องการเสนอได้ และก็ยังไม่สื่อความใดๆ ในเรื่องอีกด้วย จึงคิดว่าชื่อที่ผู้แต่งคิดไว้น่าจะเป็น “ปลาสนาการรัก” ซึ่งหมายความถึงความรักที่หายไป หรือความรักที่หนีไป แต่คำว่าปลาสนาการรัก ก็ยังไม่ถูกตามหลักภาษา แต่ก็อนุโลมให้ได้ ตามหลักภาษาไทยที่ถูกต้องควรเป็น รักปลาสนา หรือปลาสนาการแห่งรัก หรือ รักอันปลาสนา ในเรื่องนี้ Char แสดงจุดยืนที่ต้องการนำเสนอนิยาย Yaoi ไว้อย่างเด่นชัด เนื่องจากตัวละครชายที่เป็นตัวเด่นของเรื่องต่างนิยมความรักแบบชายรักชายเกือบทั้งหมด และแสดงให้เห็นความสัมพันธ์ที่งดงามของความรักและความเสียสละของคู่รักที่ต่างคนก็ต้องการให้คนที่ตนรักมีความสุขอยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็นกรณีของ ลิเลียส ที่ติดเชื้ออย่างรุนแรงและรู้ตัวว่าอีกไม่นานจะตาย เขาจึงทิ้งซีอัส เพราะไม่ต้องการให้ซีอัสต้องทรมานขณะที่เฝ้ามองเขาตายอย่างช้าๆ หรือ พาลยอมเสียสละชีวิตของตนเพื่อปกป้องเซรัสชายที่ตนรัก หรือ เซรัสรู้สึกผิดที่ตนเป็นผู้คิดค้นเชื้อโรคที่เป็นสาเหตุให้ลิเลียสป่วย เขาจึงยอมใช้ร่างกายของตนเป็นเหมือนหนูทดลองเพื่อพยายามหายารักษาโรคของลิเลียส ในขณะที่ลิเลียสก็พยายามปลอบโยนให้เซรัสเลิกโทษตัวเองที่เป็นต้นเหตุให้ตนป่วย แต่อยากให้เซรัสมีความสุขบ้าง เพราะชีวิตของเขาต้องทนทุกข์อยู่กับความรู้สึกผิดอยู่ตลอดเวลา ความเด่นของเรื่องอีกประการหนึ่ง ความสามารถในการใช้ภาษาของ Char อยู่ในระดับดี ทั้งภาษาบรรยายและภาษาสนทนา ซึ่งความจัดเจนและความใส่ใจของผู้แต่งนี้เองที่ช่วยให้ผู้อ่านอ่านงานได้อย่างลื่นไหล ขณะเดียวก็สามารถสร้างจินตนาการตามไปไม่ยากนัก ซึ่งนับเป็นความรื่นรมย์ประการสำคัญในการอ่าน แม้ว่าจะพบคำผิดและการใช้คำผิดความหมายบ้าง แต่ก็พบน้อยมาก และเพื่อให้เรื่องสมบูรณ์ขึ้น จึงอยากเสนอคำผิดที่พบในเรื่องไว้ ณ ที่นี้ คือ ปอกเปลือก เขียนเป็น ปลอกเปลือก กะพริบตา เขียนเป็น กระพริบตา (ตอนที่ 4) ส่วนใหญ่ เขียนเป็น ส่วยใหญ่ (ตอนที่ 6) ปะติดปะต่อ เขียนเป็น ปะติดประต่อ (ตอนที่ 7) ลูบศีรษะ เขียนเป็น ลูกศีรษะ (ตอนที่ 8) แย้มพราย เขียนเป็น แง้มพราย (ตอนที่ 12) และ อาหารที่เคี่ยวกรำมาอย่างหนัก (เคี่ยวกรำ หมายถึง ผ่านความตรากตรำอย่างหนักหรือถูกฝึกอย่างหนัก) ควรใช้ว่า อาหารที่เคี่ยวมานาน (เคี่ยว หมายถึง ต้มนานๆ เพื่อให้เปื่อยหรือแห้งงวด) [ตอนที่ 3] ความน่าสนใจของเรื่องอยู่ที่ผู้แต่งพยายามที่จะผสานการเขียนเรื่องราวความรักเข้ากับความลับขององค์กรจารชนระหว่างประเทศ โดยให้เซรัสเป็นตัวเดินเรื่องทั้งหมด ขณะเดียวกันก็พยายามคุมโทนของเรื่องให้หม่นเศร้า เพราะเมื่อใดที่ตัวละครเริ่มมีความสุข ก็ต้องมีเหตุการณ์บางอย่างเพื่อสร้างความพลิกผันให้เรื่องกลับไปอยู่ในโทนเศร้าอยู่เสมอ ซึ่งการกระทำเช่นนี้บ่อยๆ จนดูออกว่านี่คือความจงใจของผู้แต่ง บางครั้งก็กลับสร้างความคับข้องใจให้ผู้อ่าน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การตัดสินใจของเซรัส ที่มักจะเลือกสละความสุขไปหาความทุกข์อยู่เสมอนั้น ในบางตอนก็ไม่สู้จะสมเหตุผลนัก เช่น การตัดสินใจหนีกลับไปหากลุ่มยมทูต โดยอ้างเหตุผลว่าเขากำลังจะตายจึงไม่อยากทำร้ายจิตใจของซีอัสที่หลงรักเขา แต่การตัดสินใจหนีไปหากลุ่มยมทูตของเซรัสน่าจะยิ่งทำร้ายจิตใจของซีอัสมากขึ้น เพราะซีอัสได้ขอให้เซรัสรักษาสัญญาแล้วว่าจะไม่หนีเขาไป และซีอัสก็ประกาศว่าจะเป็นผู้ปกป้องเซรัสเอง ขณะเดียวกันเซรัสก็รู้มาก่อนว่าซีอัสทราบความจริงแล้วว่ายมทูตเป็นผู้บงการให้คนสนิทของเขาทรยศและโกงเงินสหพันธ์ของเขากว่าร้อยล้าน ซึ่งเท่ากับว่าขณะนี้ยมทูตเป็นศัตรูคู่แค้นของซีอัสโดยตรง อย่างไรก็ตาม ผู้แต่งยังประสานแนวเรื่องทั้งสองได้ไม่สมบูรณ์นัก ยังพบจุดเชื่อมต่อที่ยังไม่สามารถผสานกันอย่างแนบสนิท ซึ่งทำให้เรื่องดูเหมือนว่าจะไปไม่สุดสักทางเดียว ไม่ว่าจะเป็นความรักก็ดูไม่สมเหตุผลกับความโลเลและสับสนของเซรัส หรือจะเป็นเรื่องที่เน้นความเข้มข้นของเรื่องแนวจารชนก็ยังไม่ชัดเจน เพราะผู้แต่งไม่สนใจที่จะให้ความสำคัญกับการให้รายละเอียดหรือบรรยายฉากเหล่านี้ โดยเฉพาะฉากสำคัญที่ซีอัสและพวกบุกเข้าไปเอาตัวเซรัสกลับมา ผู้แต่งก็จงใจไม่เล่ารายละเอียด แต่นำเสนอเพียงเศษเสี้ยวของเหตุการณ์ผ่านความฝันของเซรัสเท่านั้น ผู้วิจารณ์เห็นว่าการเชื่อมแนวเรื่องทั้งสองเข้าด้วยกันนั้นน่าสนใจ เพราะจะช่วยการสร้างปมขัดแย้ง (conflict) ระหว่างเซรัสกับซีอัสให้เด่นชัดขึ้น ซึ่งจะส่งให้เนื้อเรื่องมีความเข้มข้นของความรักที่เกิดขึ้นระหว่างความแค้น ที่จะพัฒนาไปถึงจุดสูงสุด (climax) ของเรื่อง ที่บีบให้ตัวละครทั้งสองจะต้องเลือก ในขณะที่เซรัสเลือกระหว่างความสุขที่จะรักกับความเศร้าที่จะเลิก แต่ซีอัสกลับต้องเลือกระหว่างความรักกับความซื่อสัตย์ต่อธุรกิจของครอบครัว นับว่าผู้แต่งกำหนดปมขัดแย้งของเรื่องได้อย่างน่าดึงดูดใจคนอ่านทีเดียว แม้ว่าในขณะนี้ผู้เขียนจะปูเรื่องให้เซรัสและซีอัสเลือกที่จะอยู่คนละฝ่ายกันแล้ว กล่าวคือเซรัสอยู่ฝ่ายยมทูต มีหน้าที่พัฒนาไวรัส ที่ช่วยให้ยมทูตมีอำนาจทางการเงินในการขายไวรัสเหล่านี้ให้กับประเทศที่ต้องการนำไปใช้เป็นอาวุธเชื้อโรค ทั้งยังสร้างความขยาดกลัวให้กับผู้ที่ต้องการเป็นศัตรู ในขณะที่ซีอัสมีความแค้นโดยตรงกับยมทูตที่ส่งคนมาขโมยความลับและยักยอกเงินของสหพันธ์ของเขา อีกทั้งจีนส์ สมุนคนหนึ่งของยมทูตที่ครั้งหนึ่งเคยทำหน้าที่เป็นผู้คุ้มกันเขาได้เคยลอบสังหารเขาแต่ไม่สำเร็จ ในจุดนี้เองที่ทำให้เห็นได้ว่า เหตุผลประการหนึ่งที่ทำให้เนื้อเรื่องยังไม่เข้มข้นและยังสับสนอยู่ ก็เพราะผู้เขียนยังลังเลเหมือนตัดสินใจไม่ได้ว่าจะให้เซรัสอยู่ที่ตำแหน่งใดกันแน่ เนื่องจากบางครั้งเซรัสก็ดูเหมือนจะเกลียดยมทูตที่ทำให้พ่อแม่เขาตายในขณะที่พยายามช่วยให้เขาหนีออกมาจากองค์กรนี้ แต่ช่วงหลังเซรัสก็ตัดสินใจจะกลับไปอยู่กับยมทูตอีกครั้ง ทั้งๆที่ในความเป็นจริง เซรัสไม่น่าจะกลับไปหายมทูตเอง นอกจากจะถูกบังคับจับตัวไปในฐานะที่เป็นบุคคลเพียงผู้เดียวที่มีความสามารถพัฒนาไวรัสและยารักษาได้ เช่นเดียวกับที่เซรัสรู้สึกผิดและเสียใจที่ไวรัสที่เขาคิดค้นขึ้นมานั้นกลายเป็นอาวุธที่ใช้สังหารคนเป็นจำนวนมาก และหนึ่งในนั้นคือลิเลียส เพื่อนคนแรกและคนเดียวที่เขารัก แต่ต่อมาเซรัสกลับยังช่วยยมทูตพัฒนาไวรัสต่ออย่างลับๆ ด้วยเหตุผลเพียงว่าจะได้ช่วยชีวิตอู่หยงหัวหน้ากลุ่มยมทูตผู้เป็นคนรักของหวงเฟย ผู้ที่เซรัสรักเหมือนพี่ชายเท่านั้นเอง ปัจจัยอีกประการหนึ่ง คือ สังเกตได้ว่า ผู้เขียนมิได้วางโครง (Plot) เรื่องทั้งหมดไว้ก่อนว่าจะให้เรื่องดำเนินไปในทิศทางใดในแต่ละตอน เรื่องราวส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของเซรัสเป็นสำคัญ เมื่อผู้แต่งยังไม่มีความชัดเจนในการสร้างและกำหนดพฤติกรรมตัวละครตัวนี้ ซึ่งเป็นตัวละครหลักที่ดำเนินเรื่อง ก็ทำให้เรื่องดำเนินไปอย่างไม่ลื่นไหล และ ส่งผลให้ความสนใจผู้อ่านต้องสะดุดเป็นระยะๆ ผู้วิจารณ์เห็นว่าตัวละครในเรื่องทั้งหมดมีเฉพาะเซรัสเท่านั้นที่ไม่ชัดเจน ทั้งในเรื่องของอาชีพ ตัวตน อารมณ์ และการตัดสินใจ จึงดูเหมือนว่าผู้แต่งยังไม่แน่ใจว่าจะให้เขาแสดงบทบาทใด เนื่องจากตลอดเวลาบุคลิก อุปนิสัย และการตัดสินใจของเขา ขึ้นอยู่กับว่าสถานการณ์แวดล้อมในขณะนั้นจะชักนำให้เขาไปทิศทางใด จนทำให้เขากลายเป็นคนไม่มีจุดยืน โลเล และสับสน เช่น อาชีพของเซรัส ถึงแม้ว่าผู้แต่งจะพยายามบอกว่าเซรัสเป็นอัจฉริยะที่อายุเพียง 10 ขวบก็สามารถที่จะเป็นหัวหน้าโครงการวิจัยไวรัสร่วมกับพ่อได้แล้ว แต่ต่อมาผู้เขียนยังให้เซรัสมีอาชีพที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นนักศึกษา หมอ นักนิติวิทยาศาสตร์ ครูสอนเปียโน อาจารย์ฝึกสอนในมหาวิทยาลัย และแม้กระทั่งแฮกเกอร์ จน น่าพิศวงว่าคนๆหนึ่งไม่น่าจะต้องทำอาชีพหลากหลายเช่นนี้ แม้ว่าเขาจะทำได้เพราะเป็นอัจฉริยะก็ตาม แต่ถ้าเรื่องปูให้เห็นความจำเป็นว่าเซรัสถูกเลี้ยงให้เป็นนักวิทยาศาสตร์ควบคู่ไปกับการเป็นสายลับที่ต้องปลอมตัว โดยต้องอาศัยความสามารถอันหลายหลากเช่นนี้ ก็พอจะเชื่อถือได้ แต่ตลอดเวลาที่กล่าวถึงนั้นก็เป็นการแสดงความโดดเด่นของเขาในแง่ของนักวิจัยทางด้านไวรัส ซึ่งเป็นต้นตอของเรื่องราวทั้งหมดเท่านั้นเอง ผู้วิจารณ์เห็นว่าปัญหาที่เกิดขึ้นสามารถแก้ไขได้ เพราะผู้เขียนมีแก่นเรื่องที่ต้องการนำเสนอไว้อย่างชัดเจน มีความสามารถในการใช้ภาษาเป็นอย่างดี เพียงแต่ต้องวางโครงเรื่องให้ชัดเจนและรัดกุมมากขึ้น เพราะแม้จะนวนิยายจะเป็นเรื่องของจินตนาการแต่ก็ต้องการความสมจริงหรือสมเหตุสมผลพอสมควร และจะทำให้การเน้นปมขัดแย้งระหว่างเซรัสและซีอัสส่งผลให้เรื่องมีความเข้มข้นเชิงอารมณ์เพิ่มขึ้น ยิ่งถ้าผู้แต่งสร้างตัวละครเซรัสให้ชัดเจนขึ้นดังกล่าวแล้ว ก็จะช่วยให้เรื่องมีทิศทางและความน่าสนใจมากขึ้นได้ ----------------------------   อ่านน้อยลง

    bluewhale | 11 มี.ค. 53

    • 12

    • 1

    ความคิดเห็น