ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    วัสดุศาสตร์--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

    ลำดับตอนที่ #6 : แนะนำภาควิชา -- จากเอกสารประชาสัมพันธ์ในงาน Open Hose เมื่อวันที่ 30 พย - 1ธค 254

    • อัปเดตล่าสุด 2 ธ.ค. 49


    าควิชาวัสดุศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นสถาบันอุดมศึกษาแห่งแรกของประเทศที่ได้เปิดการเรียนการสอนสาขาวิชาวัสดุศาสตร์ขึ้นอย่างเป็นทางการตั้งแต่ปี พ.. 2517 จนถึงปัจจุบัน โดยแบ่งการเรียนการสอนออกเป็น 2 แขนงวิชา ได้แก่ แขนงวิชาเซรามิกและวัสดุศาสตร์ และแขนงวิชาพอลิเมอร์และสิ่งทอ

    แขนงวิชาเซรามิกและวัสดุศาสตร์นั้นเน้นการเรียนการสอนด้านวิทยาศาสตร์วัสดุและเซรามิกที่ใช้ในงานวิศวกรรมและอุตสาหกรรม นับตั้งแต่โครงสร้างและสมบัติเฉพาะของวัสดุเซรามิก วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต ขั้นตอนการผลิต และการนำไปใช้งาน ทั้งเซรามิกแบบดั้งเดิม (Conventional ceramics) อาทิ แก้ว กระจก ปูน ยิปซัม ซีเมนต์ กระเบื้อง อิฐก่อสร้าง วัสดุทนไฟ ฯลฯ และเซรามิกแนวใหม่ (New ceramics) เช่น วัสดุการแพทย์ ชิ้นส่วนอุปกรณ์ทางไฟฟ้าแม่เหล็ก ชิ้นส่วนยานยนต์ ใยแก้วนำแสง เป็นต้น

    สำหรับแขนงวิชาพอลิเมอร์และสิ่งทอเน้นการเรียนการสอนด้านวัสดุพอลิเมอร์ ได้แก่ พลาสติก สิ่งทอ ยาง วัสดุเชิงประกอบ และสารเคลือบผิว โดยครอบคลุมตั้งแต่โครงสร้างและสมบัติในด้านต่างๆ การสังเคราะห์ กระบวนการผลิต การตรวจสอบสมบัติ และการประยุกต์เพื่อใช้เป็นผลิตภัณฑ์ นอกจากนี้ยังมีการวิจัยต่างๆที่เชื่อมโยงกับอุตสาหกรรมหลักของประเทศอีกด้วย

    นิสิตที่สำเร็จการศึกษาจากภาควิชาฯสามารถเข้าไปทำงานในหน่วยงานของภาครัฐและเอกชน เช่น ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ โรงพิมพ์ธนบัตร ธนาคารแห่งประเทศไทย สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ และโรงงานอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง

     

    หลักสูตรการเรียนการสอน

    นิสิตที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาบัณฑิตของภาควิชาต้องผ่านการเรียนตลอดหลักสูตร ไม่น้อยกว่า 142 หน่วยกิต ซึ่งประกอบด้วยวิชาบังคับ และวิชาเลือก ของแต่ละแขนงวิชาดังต่อไปนี้

     

    §         แขนงวิชาเซรามิกและวัสดุศาสตร์

    หมวดวิชาการศึกษาทั่วไป              30             หน่วยกิต

    หมวดวิชาเฉพาะ                          106           หน่วยกิต

    กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน

    และคณิตศาสตร์                    32             หน่วยกิต

    กลุ่มวิชาบังคับสาขา              65             หน่วยกิต

    กลุ่มวิชาเลือกสาขา                                  9            หน่วยกิต

    หมวดวิชาเลือกเสรี                         6            หน่วยกิต

     

     

    §         แขนงวิชาพอลิเมอร์และสิ่งทอ

    หมวดวิชาการศึกษาทั่วไป                              30             หน่วยกิต

    หมวดวิชาเฉพาะ                                          106           หน่วยกิต

    กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน

    และคณิตศาสตร์                                    32             หน่วยกิต

    กลุ่มวิชาบังคับสาขา                              61             หน่วยกิต

    กลุ่มวิชาเลือกสาขา                                                13             หน่วยกิต

    หมวดวิชาเลือกเสรี                                         6            หน่วยกิต

    ระยะเวลาการศึกษา

    เป็นหลักสูตร 4 ปี มีระยะเวลาการศึกษาไม่ต่ำกว่า 7 ภาคการศึกษา และไม่เกิน 16 ภาคการศึกษา

    การคัดเลือกเข้าศึกษา

    §         คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา

    เป็นผู้สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย และเป็นไปตามระเบียบของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา

    §         การคัดเลือกผู้เข้าศึกษา

    เป็นไปตามระเบียบของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและสำนักงาน คณะกรรมการการอุดมศึกษา

    §         รหัสคณะ 1016 คณะวิทยาศาสตร์ ภาควิชาวัสดุศาสตร์

    §         คะแนนรวมสูงสุด - ต่ำสุด 2549 7308.70 / 5700.20 คะแนนรวมเฉลี่ย 6072.71

    §         ผู้เลือก 513 คน รับ 55 คน อัตราแข่งขัน 9 : 1

    §         จำนวนนิสิตที่รับเข้าศึกษา 55 คน/ปี

     

    บรรยากาศการเรียนการสอน

    เนื่องจากภาควิชาวัสดุศาสตร์รับนิสิตจำนวนจำกัด บรรยากาศการเรียนจึงค่อนข้างเป็นกันเอง อาจารย์สามารถดูแลและให้คำปรึกษาแก่นิสิตได้อย่างใกล้ชิด สำหรับการเรียนการสอนภายในสาขาวิชาฯนั้น นอกเหนือจากคณาจารย์ประจำที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทางแล้ว ยังมีอาจารย์พิเศษและบุคลากรจากหน่วยงานวิจัยของรัฐและเอกชน โรงงานอุตสาหกรรม บริษัทเอกชน ทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศที่พร้อมจะถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์อันเป็นประโยชน์แก่นิสิต ทั้งยังมีความร่วมมือกับหน่วยงานภายนอกและมหาวิทยาลัยอื่นๆทั้งภายในและต่างประเทศหลายแห่ง มีการพานิสิตเข้าเยี่ยมชมและฝึกงานในโรงงานอุตสาหกรรมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อเสริมการเรียนการสอนเป็นระยะอีกด้วย

     

     

     

    การดำเนินการวิจัย

    การดำเนินการวิจัยด้านเซรามิก โดยคณาจารย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านนั้นครอบคลุมวัสดุเซรามิกประเภทต่างๆ ได้แก่ Bioceramics, เซรามิกโครงสร้าง วัสดุก่อสร้าง แก้ว กระจก กลาสเซรามิก การสังเคราะห์วัสดุนาโนโดยใช้ วิธี Hydrothermal Piezoelectric materials และ เซรามิกดั้งเดิมเช่นกระเบื้อง สุขภัณฑ์และ ถ้วยชาม

    สำหรับการดำเนินการวิจัยด้านพอลิเมอร์และสิ่งทอได้รับความร่วมมือและการสนับสนุนจากองค์กรต่างๆทั้งในและต่างประเทศ โดยครอบคลุมวัสดุพอลิเมอร์ประเภทต่างๆ ได้แก่ พลาสติกวิศวกรรม Composite materials, พอลิเมอร์และพลาสติกที่ย่อยสลายได้ Technical textiles และ functional textiles, เสื้อนาโนป้องกันเชื้อแบคทีเรีย ยางธรรมชาติและการใช้ประโยชน์จากยาง และเทคโนโลยีสารเคลือบผิว

    นอกจากนี้ ด้วยความพร้อมของภาควิชาทั้งทางด้านบุคลากร และความสามารถในการดำเนินการวิจัยทางด้านวัสดุศาสตร์อย่างต่อเนื่อง ภาควิชาจึงมีศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทาง และ หน่วยปฏิบัติการวิจัย ที่สามารถให้การบริการวิชาการแก่สถาบันการศึกษา หน่วยงานของรัฐและเอกชน รวมถึงภาคอุตสาหกรรมดังนี้

    §         ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านสิ่งทอ (Center of Excellence in Textiles)

    §         หน่วยปฏิบัติการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีรีไซเคิลและวัสดุย่อยสลาย (Recycling Technologies and Degradable Materials Research and Development Unit)

    §         หน่วยปฏิบัติการวิจัยเซรามิกขั้นสูง (Advanced Ceramics Research Unit)


     

    จบแล้วทำงานอะไร ?

        นิสิตที่สำเร็จการศึกษาจากภาควิชา สามารถเข้าทำงานในหน่วยงานของรัฐและเอกชน  ได้แก่

     

    -           โรงงานอุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับปิโตรเคมี  พลาสติก  สี  เส้นใย  สิ่งทอ  ฟอกย้อม เป็นต้น  โดยสามารถทำงานในลักษณะต่างงๆ เช่น  ฝ่ายวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ (R&D)  ตรวจสอบคุณภาพ (QC) หรือฝ่ายผลิต (Production)

    -           Sales Engineer หรือ Technical Sales

    -           โรงงานอุตสาหกรรมท่เกี่ยวกับวัสดุเซรามิก อาทิ แก้ว กระจก  ปูน  ซีเมนต์ กระเบื้อง วัสดุทนไฟ เป็นต้น

    -           นักวิจัย  นักวิทยาศาสตร์  ในสถาบันวิจัยของรัฐบาลและเอกชน เช่น ศูนย์เทคโนโลยีและวัสดุแห่งชาติ (MTEC)   โรงพิมพ์ธนบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย  สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ

    หนังสือ/ตำราที่แต่งและเรียบเรียงโดยคณาจารย์ในภาควิชา

    "เซรามิกส์"                                                 โดย           รศ. ปรีดา พิมพ์ขาวขำ

    "วัสดุทนไฟ"                                 โดย           รศ. ปรีดา พิมพ์ขาวขำ

    "วิทยาศาสตร์เส้นใย"                     โดย           รศ.ดร.วีระศักดิ์ อุดมกิจเดชา

    "อุตสาหกรรมสิ่งทอไทย"                                โดย           รศ.ดร.วีระศักดิ์ อุดมกิจเดชา

    "วัสดุอุตสาหกรรม"                       โดย           รศ. ไพพรรณ สันติสุข

    "วัสดุศาสตร์มูลฐาน"                     โดย           รศ. เสาวรจน์ ช่วยจุลจิตร์

    "สารเติมแต่งพอลิเมอร์ เล่ม 1"       โดย           รศ. อรอุษา สรวารี

    "สารเคลือบผิว (สี วาร์นิช และ        โดย           รศ. อรอุษา สรวารี

    แลกเกอร์)"

    “Gypsum Technology” โดย           รศ.ดร.สุพัตรา จินาวัฒน์               

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×