คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #4 : เทคนิคการสร้างตัวละคร ฉบับฟรีสไตล์ จากมิจิโกะ
โอเค... ไม่นอกเรื่องมาก... พี่มิจิมีเทคนิคสำหรับการ “สร้างตัวละคร” ให้ดู แปลก แหวกแนว ค่ะ....
หลายครั้งที่นักเขียนทุกๆ คนมีพล็อตเรื่องแล้ว แต่นึกไม่ออกว่า... พระเอก นางเอกของเราจะสร้างมาแบบไหน ให้มีความแตกต่าง แต่ก็ลงตัว แบบ ทูโทน *-* ... (ขออนุญาตใช้ภาษาอิโมชั่นนิดหน่อย)
บางคนก็ได้แนวทางสร้างจากการ “ดูละครโทรทัศน์” หรือ “ละครซีรีย์เกาหลี”
บางคนใช้วิธี อ่านนิยายหลายๆ เล่มเพื่อคัดตัวพระเอกที่ปลื้ม หรือนางเอกที่ชอบ จากต่างหนังสือหลายเล่ม มาสร้างผลงานใหม่ของตัวเอง
แต่สำหรับวิธีที่มิจิจะแนะต่อไปนี้ บางคนอาจจะเคยทำมาแล้ว หรือบางคนอาจจะไม่ได้สังเกต
พระเอก นางเอกฉบับใกล้ตัว.... ^-^
- พระเอก นางเอกจากคนรอบข้าง
คาแร็คเตอร์พระเอก : พิเศษตรงที่ หาคาแร็คเตอร์ง่ายค่ะ ถ้าเป็นนิยายวัยรุ่น พระเอกที่หาได้คือ เพื่อนสนิท หรือ มากกว่าเพื่อนแต่ไม่ใช่แฟน (เอ๊ะ...ยังไง) สังเกตพฤติกรรมเขาไว้นะคะ เด็กผู้ชายจะมีลักษณะที่แตกต่างกับผู้หญิง (แล้วมันต่างยังไงล่ะ?) ก็เพราะว่าน้องๆ ที่เขียนนิยายหวานแหววทุกคน จะเข้าใจความรู้สึกของผู้หญิงดีกว่า ผู้ชาย ซึ่งยังไม่มีข้อมูลเพียงพอ เพื่อจะเขียนแล้วคนอ่านประทับใจยังไงล่ะคะ...
ปล. บ่อยครั้งนะคะ... ที่พี่มิจิอ่านนิยายหวานแหววของน้องๆ จะพบว่า พระเอกที่น้องเขียนเป็นแบบ นร.ชายญี่ปุ่น ที่เย็นชา ไม่สนใจหญิงใดนอกจากนางเอกเพียงคนเดียว (ง่ายไปมะนั้น) และนิสัยพระเอกบางคนเหมือนผู้หญิงมากกว่าความเป็นเด็กชายด้วยซ้ำ... ระวังหน่อยนะคะ มันไม่สมเหตุสมผลค่ะ
คาแร็คเตอร์นางเอก : ขอแนะนำว่า นักเขียนสาวๆ (สาวน้อยและสาวใหญ่) หลายคนที่เอาตัวเองมาเป็น นางเอก (รวมถึงพี่มิจิด้วยค่ะ คิคิ) มันก็เป็นการดีที่จะได้เขียนถึงตัวนางเอกได้ถึงแก่นแท้ แต่จงระวังไว้อย่างนึงว่า... คนอ่านจะรู้นิสัยคนเขียนอย่างแท้จริง ดังนั้น หากมีผลงานหลายเรื่อง ควรเปลี่ยนคาแร็คเตอร์นางเอกบ้างนะคะ... ถ้าหาใครเป็นนางเอกไม่ได้ ลองดูน้องสาว พี่สาว คุณครูในดวงใจ หรือวีรสตรีที่ปลื้ม ถึงแม้พวกเธอจะไม่พิเศษ แต่ขอรับรองว่า เขียนนางเอกคนใหม่ไปแล้ว จะได้อะไรใหม่ๆ แน่ๆ ค่ะ
ปล. บ่อยครั้งที่นิยายหวานแหวว นักเขียนหญิงมักจะเขียนให้นางเอกเราเป็นทอมเกิร์ล แต่อ่อนไหวกับพระเอกง่าย ขอให้มีฟอร์มกันหน่อยค่ะ อย่ามัวแต่แอ๊บแบ๊ว จริงอยู่อยากให้เรื่องสนุก... แต่ดูเหตุผลบ้างนะคะ ว่าเด็กมีการศึกษาในระดับไหน ความคิดเป็นอย่างไร
ขอให้ระวัง : ในเรื่องของอารมณ์ตัวละคร ขอให้มีความคงที่กันหน่อย เช่นถ้ามีอารมณ์ขุ่นมัวก็ขอให้ต่อเนื่องจบไปตอนนึงยาวหน่อย มิใช่ขุ่นมัวได้เพียงสามวินาที แล้วก็หัวเราะ หรือ ร้องไห้อย่างกระทันหัน ไม่มีปี่ไม่มีขลุ่ย จนกระทั่งคนอ่านไม่ทันตั้งตัว
แบบว่า ถ้าอ่านมาเจอแบบนี้ เขาจะคิดว่า “คนเขียนคนนี้อารมณ์เปลี่ยนเร็วมากๆ เลยค่ะ” ค่อยเป็นค่อยไปนะคะ
- พระเอก นางเอกจากหนังต่างประเทศ
คาแร็คเตอร์พระเอก : เราอาจจะเคยอ่านหนังสือของนักเขียนคนดัง เจ.เค. (บอกกันแค่นี้ คนที่คุณก็รู้ว่าใคร คิคิ) ลองนำข้อดีของเขามา และข้อเสียของเขามาสิคะ.. เราอาจจะได้คาแร็คเตอร์ที่แปลกออกมาเป็นบุคลิกที่ไม่มีใครเหมือน และไม่เหมือนใคร จุดเด่นและจุดด้อยที่ดึงใจ จนน่าสนใจในที่สุด หรือหากให้น่าสนใจยิ่งกว่านี้ คือ สร้างเสน่ห์ให้แก่ตัวละคร (อย่างมีเหตุผล) มีที่มาที่ไป ของประวัติตัวละครนี้ เพราะเขาจะต้องดำเนินเรื่องตั้งแต่ต้นจนจบ (จริงไหมคะ?)
คาแร็คเตอร์นางเอก : ตัวละครนางเอกเรานี่ค่อนข้างสับสนหน่อย โดยเฉพาะเวลาที่บรรยายอารมณ์ของเธอ นางเอกบางคนอาจจะอารมณ์ร้ายแต่น่าสงสาร หรือนางเอกบางคนน่าสงสาร แต่จิตใจโหดร้าย... บางทีจะต้องสร้างความแตกต่างจนเธอไม่น่าจะไปพบพระเอก แต่ก็มีเหตุการณ์ที่ทำให้พบกัน... ครั้งแรก อาจจะน่าประทับใจสำหรับเธอ หรือ ครั้งแรกอาจจะไม่น่าจดจำจนน่าหมั่นไส้ เขียนอย่างไรให้นางเอกเรามีความแตกต่างจากนิยายเรื่องอื่นๆ สร้างเธอขึ้นมาใหม่ ให้ไฉไลกว่านิยายทุกเรื่องที่พบเจอ...
ข้อควรระวัง : พระเอกของเราอย่าให้เป็น “ชายกลางในเรื่องดาวพระศุกร์” หรือ นางเอกของเราก็อย่าเป็น “อังศุมาลินในเรื่องคู่กรรม” ถ้าคิดจะเขียนแนวต่างประเทศ ขอให้มีทักษะและสำนวนแบบ “ต่างประเทศ” มิใช่แค่ชื่อภาษาอังกฤษ อย่าให้เหมือนละครตบจูบนิยายไทย ไม่เช่นนั้นแล้ว... นิยายสำเร็จรูปฉบับ “จำเลยรัก” ก็ไม่ได้สร้างอะไรแปลกใหม่เลย
มีข้อสงสัย... คอมเม้นท์สอบถามได้ค่ะ พระเอกนางเอกของเรา มีหลายแบบ ร้อยแปดพันเก้า...
ไว้พบกันตอนหน้านะคะ... ^-^
ความคิดเห็น