อัศจรรย์หินทิเบต - อัศจรรย์หินทิเบต นิยาย อัศจรรย์หินทิเบต : Dek-D.com - Writer

    อัศจรรย์หินทิเบต

    อัศจรรย์หินทิเบต

    ผู้เข้าชมรวม

    651

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    2

    ผู้เข้าชมรวม


    651

    ความคิดเห็น


    0

    คนติดตาม


    0
    เรื่องสั้น
    อัปเดตล่าสุด :  12 มี.ค. 50 / 16:31 น.


    ข้อมูลเบื้องต้น
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ
      อัศจรรย์หินทิเบต
      โดย เอกลักษณ์ ยิ้มวิไล

      ตั้งแต่สมัยอดีตกาล เผ่าพันธุ์มนุษย์ได้พัฒนาท่ามกลางความเชื่อต่างๆ นานา ถึงแม้ว่าสังคมมนุษย์ในวันนี้เจริญเติบโตเพียบพร้อมไปด้วยความทันสมัย

      แต่สิ่งหนึ่งที่ยังคงไม่มีวันเปลี่ยนแปลง คือ ปัจจัยด้าน "ความเชื่อ" (Believes)

      ทั้งนี้ *ความเชื่อ* ย่อมมีความสัมพันธ์เกี่ยวโยงกับความฝันและจินตนาการในสิ่งพิศวง จนหลายครั้งอาจหาข้อพิสูจน์ไม่ได้

      โดยเฉพาะในบางศาสนาที่บ่มสร้างความขลัง และความศักดิ์สิทธิ์ต่อลัทธิตนเอง ด้วยการตอกย้ำตำนานเรื่องราวทางประวัติศาสตร์

      ซึ่งสัญลักษณ์และวัตถุโบราณชิ้นสำคัญถูกนำมาใช้เป็นช่องทางการนำเสนอความศักดิ์สิทธิ์ของลัทธินั้นๆ จึงพอสรุปได้ว่าศาสนาเป็นที่ยึดเหนี่ยวทางจิตใจมาโดยตลอด

      ทั้งนี้ สภาวะทางจิตของผู้คนในสังคมเริ่มถดถอยลง สาเหตุสำคัญคือความขัดแย้ง การชิงดีชิงเด่น เป็นบ่อเกิดของความสับสนและความว้าวุ่น ทำให้ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น คือ

      *การสร้างรูปแบบความเชื่อใหม่ๆ บนวัตถุใหม่ๆ เป็นที่ยึดเหนี่ยวทางใจ*

      "หินทิเบต" หรือหิน DZi (ดีซีไอ) นับว่าเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวทางจิตใจอีกชนิดหนึ่ง และเป็นของขลังที่คนไทยในปัจจุบันให้ความสนใจมากพอสมควร โดยเฉพาะในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา

      แต่สิ่งที่น่าสนใจต่อความเชื่อในวัตถุประเภทนี้ คือ ความสัมพันธ์ระหว่าง "ความเชื่อ" ตามหลักวิทยาศาสตร์ที่ส่งเสริมพลังลี้ลับอีกทีหนึ่ง โดยเฉพาะด้านจิตวิญญาณ จึงนับได้ว่าเป็นหนึ่งในกระบวนการพลิกโฉมหลักความเชื่อที่สามารถอธิบายในเชิงตรรก มีเหตุมีผลมากขึ้นกว่าเดิม

      ทั้งนี้ ผู้ที่นิยมสวมใส่หินทิเบตอาจแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่มหลักๆ คือ กลุ่มนิยมใส่ตามแฟชั่น หรือกระแสนิยม ส่วนอีกกลุ่มหนึ่งมีความเชื่อต่ออำนาจความขลังของวัตถุ

      สำหรับผู้อ่านทางบ้านอาจจะอยากทราบข้อมูลเพิ่มเติม ว่าหินทิเบต หรือหิน DZi (ดีซีไอ) นั้นมีดีอะไร ถึงได้รับความนิยมปานนี้ ผมก็ขออนุญาตอธิบายโดยสังเขป

      ประเทศทิเบตมักถูกเปรียบเปรยว่าเป็น "หลังคาโลก" มาโดยตลอด เป็นดินแดนที่เปรียบได้กับสวรรค์บนโลก เพราะทิเบตเป็นประเทศที่เต็มไปด้วยความศักดิ์สิทธิ์ และความเร้นลับที่ชวนให้ค้นหาเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือหิน DZi (ดีซีไอ) ที่กำลังเป็นที่นิยมและได้รับความสนใจเป็นอย่างมากในยุคปัจจุบัน

      หิน DZi (ดีซีไอ) หรือลูกปัดหินทิเบตนี้ได้มีการทำขึ้นเกือบ 2,500 ปีมาแล้ว การทำหิน DZi (ดีซีไอ) ถือเป็นวัฒนธรรมหนึ่งของชาวทิเบต สามารถพบได้ในประเทศทิเบตเอง และในประเทศเพื่อนบ้านที่มีอาณาบริเวณติดกับประเทศทิเบต

      หิน DZi (ดีซีไอ) จัดได้ว่าเป็นเครื่องประดับล้ำค่าของชาวทิเบต มีรูปลักษณ์เป็นท่อรูปทรงยาว สลักเป็นรูปดวงตา บางทีถูกเรียกว่า "หินแห่งสวรรค์"

      อันเป็นหินที่ถูกแกะสลักเป็นลวดลายสีขาว-ดำ หรือน้ำตาล-ดำ ที่แฝงไว้ซึ่งความหมายมากมาย และที่สำคัญคือ ที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับพลังจักรวาลอีกด้วย

      ผู้ที่ทุ่มเทศึกษาในประเด็นดังกล่าว ได้พยายามอธิบายว่า "พลังจักรวาล" มีคุณประโยชน์ต่อมวลมนุษยชาติเป็นอย่างยิ่ง โดยที่คุณประโยชน์จากพลังจักรวาลสามารถแบ่งออกเป็นหมวดหมู่หลักๆ ที่สำคัญได้ 4 หมวด ด้วยกัน คือ

      1.พลังแห่งการปกป้องล้างอาถรรพณ์ รวมถึงการป้องกันและลบล้างอาถรรพณ์จากคุณไสยมนต์ดำ

      2.พลังแห่งความเมตตา ซึ่งเป็นพลังทางด้านเมตตามหานิยม มหาเสน่ห์ อันเป็นพลังที่ช่วยเสริมทางด้านสิริมงคลให้แก่ชีวิต

      3.พลังแห่งการป้องกันภัยอันตรายทั้งปวง

      4.พลังทางด้านการรักษาโรคภัยไข้เจ็บ โดยจะช่วยในการปรับสมดุลของธาตุทั้งสี่และพลังชีวิตภายในร่างกาย ส่งผลให้ร่างกายมีสุขภาพที่ดี


      ทั้งนี้ "ดีซีไอ" ในภาษาทิเบต แปลว่า ความเจิดจรัส ความสว่างไสว ความสุกสกาว โดยตามความเชื่อของชาวทิเบตที่สืบต่อกันมานับเป็นพันปี

      กล่าวถึงการสวมใส่หิน DZi (ดีซีไอ) ไว้ว่าจะสามารถคุ้มครองผู้ที่สวมใส่ให้ปลอดภัยจากเคราะห์ร้าย และภยันตรายทั้งมวลได้

      อย่างไรก็ตาม ในเชิงวิทยาศาสตร์หิน DZi (ดีซีไอ) เองก็เป็นหินอาเกต ซึ่งจะมีพลังสูงอยู่ในตัวอยู่แล้ว คือมีค่าสูงถึง 13-17 วัตต์ ซึ่งถือว่ามีพลังวัตต์มากกว่าคริสตัลเสียด้วยซ้ำ

      หินอาเกต เป็นหินที่มีค่าความแข็งอยู่ในช่วง 7-8.5 และเดิมเคยเป็นน้ำในภูเขาไฟก่อนที่จะกลายมาเป็นหินอาเกตในปัจจุบัน

      ดังนั้น ในเนื้อหินอาเกตจึงมีสารแมงกานีสและแมกนีเซียมประกอบอยู่ ซึ่งทั้ง 2 แร่ธาตุมีคุณสมบัติสนับสนุนการหมุนเวียนของโลหิต

      ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

      loading
      กำลังโหลด...

      ความคิดเห็น

      ×