ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    รวม เรื่องผี,เรื่องลึกลับ

    ลำดับตอนที่ #13 : ตำนานศุกร์13

    • อัปเดตล่าสุด 11 พ.ค. 53



    เมื่อเอ่ยถึงวันศุกร์ 13 นั้นหลาย ๆ คนอาจจะนึกไปถึงวันแห่งอาถรรพ์ เพราะเคยมีภาพยนตร์เรื่องหนึ่งใช้ชื่อว่า ศุกร์ 13 ฝันหวาน แต่เป็นภาพยนตร์สยองขวัญ ในขณะที่อีกหลาย ๆ คนอาจจะยังไม่ทราบความเป็นมาว่า ทำไมวันศุกร์ 13 ถึงเป็นวันที่ไม่ดี

    ว่ากันว่าความเชื่อที่ว่าถ้าวันศุกร์เกิดไปตรงกับวันที่ 13 ของเดือนใดก็ตาม แล้วจะกลายเป็นวันแห่งความโชคร้ายนั้นเป็นความเชื่อของชาวตะวันตก

    โดยต้นตอแห่งความเชื่อนี้มาจากอาหารมื้อสุดท้ายของพระเยซู (The Last Supper) โดยเชื่อกันว่าในอาหารมื้อนั้นมีผู้ร่วมรับประทานอาหารกับพระองค์ 13

    คนก่อนที่พระองค์จะถูกนำตัวไปตรึงบนไม้กางเขนใน วันศุกร์ประเสริฐ (Good Friday)

    ในขณะที่มีอีกความเชื่อหนึ่งกล่าวว่าวันศุกร์ที่ 13 ตุลาคม 1307 เป็นวันที่พระเจ้าฟิลิปที่ 4 แห่งฝรั่งเศสทำการจับกุมตัวบรรดาอัศวินเทมพลาร์ชาวฝรั่งเศสจำนวนหลายร้อยคนไป

    ก่อนจะนำตัวไปทรมานและสังหาร เพื่อนำทรัพย์สินของพวกเขามาเป็นของฝรั่งเศส

    ทั้งนี้นักจิตวิทยาพบว่า ในบางคนจะมีโอกาสที่จะเกิดอุบัติเหตุหรือล้มป่วยในวันศุกร์ที่ 13 ซึ่งมีการให้เหตุผลเอาไว้ว่าเป็นเพราะบางคนรู้สึกวิตกจริตเป็นอย่างมากในวันศุกร์ที่ 13

    โดยทางศูนย์จัดการความเครียดและสถาบันอาบำบัดการกลัวในเมืองแอชวิลล์ มลรัฐนอร์ทแคโรไลนา

    ประเมินว่าในแต่ละครั้งที่มีวันศุกร์ที่ 13 สหรัฐอเมริกาต้องสูญเสียทางเศรษฐกิจเป็นเงิน 800 - 900 ล้านเหรียญสหรัฐฯทีเดียว เพราะว่าประชาชนบางคนไม่กล้าเดินทางไปไหนและไม่กล้าแม้แต่จะไปทำงาน

    จนทำให้เกิดโรคกลัววันศุกร์ที่ 13 มีชื่อเรียกว่า Paraskavedekatriaphobia หรือ paraskevidekatriaphobia หรือfriggatriskaidekaphobia ซึ่งเป็นอาการหนึ่งของโรค triskaidekaphobia คือ โรคกลัวหมายเลข 13


    และที่มาที่ทำให้วันศุกร์ 13 กลายเป็นวันโชคร้ายไปทั่วนั้นน่าจะมาจากภาพยนตร์สยองขวัญอย่าง ศุกร์ 13 ฝันหวาน หรือ "Friday the 13th"

    ซึ่งเรื่องเกี่ยวกับฆากรต่อเนื่องในสหรัฐอเมริกา ซึ่งตัวเอกของเรื่องมีเอกลักษณ์เด่นคือการสวมหน้ากากฮ็อกกี้ เพื่อปกปิดใบหน้า ก่อนทำการฆาตกรรมเหยื่อ


    สำหรับความเชื่อเรื่องศุกร์ 13 เป็นวันไม่ดีนั้นส่วนใหญ่จะเชื่อกันในหมู่ชาวตะวันตกเสียเป็นส่วนมาก

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×