คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #12 : ตำนานผีมัมมี่
ชาวอียิปต์โบราณมีคติเกี่ยวกับเรื่องชีวิตหลังความตาย ซึ่งเชื่อกันว่าดวงวิญญาณจะกลับมาเข้าร่างในวันหนึ่งข้างหน้า จึงคิดวิธีการทำ มัมมี่ ขึ้นมาเพื่อรักษาสภาพศพเอาไว้ไม่ให้เน่าเปื่อย หรือพยายามหาวิธีให้ศพคงสภาพสมบูรณ์มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
วิธีการทำมัมมี่
- การทำมัมมี่มีวิวัฒนาการมาเป็นลำดับ ในยุคก่อนประวัติศาสตร์ของอียิปต์โบราณ ร่างของคนตายจะถูกห่อหุ้มไว้ด้วยผ้าหรือเสื่อ อย่างลวกๆ และถูกฝังไว้ในหลุมแคบๆภายในพื้นทรายซึ่งลึกลงไปไม่กี่ฟุต ทั้งนี้เพราะความร้อนของทะเลทรายทำให้ศพอยู่ ในสภาพที่เหมือนถูกอบแห้งด้วยวิธีการอาศัยปัจจัยทางธรรมชาติ
- ในยุคราชวงศ์แรกของอียิปต์หรือราว 3,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช ศพของชาวอียิปต์ถูกห่อหุ้มด้วยผ้าลินินซึ่งอาบน้ำยาและมัดไว้ อยางแน่นหนา ล่วงเลยมาจนถึงราชวงศ์ที่ 2 ของอียิปต์ ราว 2,800 ปีก่อนคริสศักราช การห่อศพจึงเริ่มพิถีพิถันมากขึ้น โดนมีการพันผ้าลินินอาบน้ำยารอบตัวทั้งบริเวณหัว แขน ขา หน้าอก ท้องและลำตัวจนเห็นเห็นรูปทรงของคน รวมทั้งบริเวณนิ้วมือ ก็มีการพัน
- ช่วงปลายราชวงศ์ที่ 3 แห่ง อียิปต์โบราณ มีการผ่าพระศพของกษัตริย์หรือองค์ฟาโรห์และพระราชวงศ์ เพื่อนำเอาอวัยวะภายใน อันเป็นสาเหตุที่สำคัญที่ทำให้ศพเน่าเปื่อย ออกมาดองไว้ต่างหากด้วยตัวยาที่เชื่อว่าสามารถป้องกันการเน่าเปื่อยได้ เช่นแช่ไว้ด้วยของเหลวที่เรียกว่า เนตรอน ( Natron ) อันเป็นสารละลายของโซดาชนิดหนึ่งดังเช่นการค้นพบพระบรมศพของ ราชินี เฮเตเฟเรส ( Hetepheres ) พระชายาแห่ง สเนฟูรู ( Snefru ) ซึ่งเป็นพระชนนีของฟาโรห์คีออปส์( ผู้มีชื่อเสียงเกี่ยวกับ ปิรามิด แห่งคีออปส์ ) ปรากฎว่าอวัยวะภายในของพระนางถูกดองเอาไว้และมีการปิดผนึกอย่างดี สามารถคงสภาพไว้ได้เป็นเวลาถึง 4,000 ปี วิธีการนำอวัยวะออกมาดองนี้ต่อมาได้แพร่หลายสู้พวกอัศวินหรือขุนนางและบุคคลสำคัญอื่นๆ สหรับช่องท้องนั้นได้ถูกยัดไว้ด้วยผ้า ลินินอาบน้ำยา
- ในช่วงประวัติศาสตร์ของราชวงศ์อียิปโบราณที่ 4-5 หรือราว 2570-2450 ก่อนคริสศักราช เทคนิคการทำมัมม ี่ได้วิวัฒนาการใช้ยางสนแสดงรูปลักษณ์ภายนอกของมัมมี่ซึ่งมี ความคงทนถาวรถึงขนาดขนคิ้วหรอกหนวดของผู้ตายยังแสดง ออกให้เห็น ดังเช่นมัมมี่ของ เพตริค ( Petric ) ซึ่งค้นพบโดย วิลเลี่ยม เอ็ม.เอฟ.เพตริค ( Willam M.F. Petric ) นัก อียิปต์วิทยาชาวอังกฤษ และมัมมี่ของ เยนตี้ ( Yenty ) อัครมหาเสนาบดีในยุคราชวงค์ที่ 5 ( เป้นเพียงข้อสันนิษฐาน ทางประวัติศาสตร )์ ซึ่งถูกบรรจุไว้ในโลงหินแกรนิตสามารถรักษาเค้าหน้าของมัมมี่ ไว้ได้อย่างน่าทึ่ง ค้นพบโดย ยอร์ช เอ. ไรส์เนอร์ ผู้ขุดพบปิรามิดแห่ง กีซา
-
จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์เชื่อกันว่าเริ่มทฃมีการใช้ปูนปลาสเตอร์ฉาบหน้าหรือศีรษะและบางทีก็พอกมมมี่ทั้งตัว ในยุคราชวงศ์ ที่ 6 หรือราว 2300 ปีก่อนคริสกาล และมีการเขียนตบแต่งรูปใบหน้าให้สวยงาม ต่อมาจีงมีการสวมทับด้วยหน้ากากซึ่งทำด้วยสาร คาร์ตันเนจ ( Cartonnage ) อันเป็นส่วนผสมของกระดาษ ปาปิรัส ( Papyrus ) กับ ผ้าปลาสเตอร์รวมกับกาว ต่อมาจึงมีการคลุมหรือปิดทันทั้งตัวไม่ใช่เฉพาะส่วนของหน้า และในยุคอาณาจักรของพระเจ้าทีปส์ ( Thebes ) หรือราว 1550 ปีก่อนคริสศักราช ได้มีการดูดมันสมองออกมาจากศพและการฉีดสารเคมีบางอย่างเข้าไปใต้ผิวหนังเพื่อรักษาสภาพเอาไว้ให้คงอยู่ ได้นานที่สุด
โลงศพสำหรับมัมมี่
- ในยุคแรก โลงศพของชาวอียิปต์มีลักษณะคล้ายตุ่มมีฝาปิด และจารึกคำขอความคุ้มครองจากเทพเจ้าเอาไว้ที่ด้านข้าง และได้วิวัฒนาการตามการทำมัมมี่มาตามลำดับ ลักษณะของดลงจึงเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า หรือรูปหีบซึ่งทำด้วยไม้และหินแข็ง อย่างหินแกรนิต มีการตบแต่งลวดลายของหีบศพทั้งภายนอกและภายใน จนในที่สุดได้มีการจำลองรูปคนโดยแกะสลักให้มีหน้าตาเป็นรูปคนยืนเหยียดตรงมือทั้งสองผสานไว้ที่หน้าอกดังที่เราพบเห็นกันทั่วไปตามหน้า นิตยสาร หรือภาพถ่าย
- สำหรับอวัยวะภายใน เมื่อมีการนำออกมาดองก็ต้องทำภาชนะสำหรับเก็บรักษา ซึ่งมีชื่อเรียกว่า คาโนปิค ( Canopic ) มาจากชื่อของ คาโนปัส ( Canopus ) นักรบแห่งเมนาเลียส ( Menaleus ) ซึ่งศพของเขาถูกเก็บไว้ในภาชนะรูปตุ่มมีฝาครอบซึ่งคาดนปิคนี้มีอยู่ถึง 4 ใบ เนื่องจากอวัยวะภายในของศพที่สำคัญถูกแบ่งออกเป็น 4 อย่าง ได้แก่ ตับ กระเพาะ ปอด และลำไส้ใหญ่ สำหรับหัวใจนั้นชาวอียิปต์จะไม่นำออก มาจากร่างของศพ
- ฝาครอบของคาโนปิค ต่อมาได้ถูกแกะสลักเป็นรูปของ "ผู้คุ้มครองทั้ง 4 " อันได้แก่ อิมเซตี้ ( Imsety ) แกะสลักเป็นรูปหัวคน เดวาอุมาอุเตฟ ( Dewau-Mautef ) แกะสลักเป็นรูปหัวสุนัข ฮาปิ ( Hapy ) แกะสลักเป็นรูปหัวลิง และ เคเบห์สเนเวท ( Kebehsnewet ) แกะสลักเป็นรุปหัวเหยี่ยว
สิ่งที่บรรจุรวมอยู่ในโลงศพ
- นอกจากศำขอมัมมี่แล้วในการทำพิธีของชาวอียิปต์โบราณจะมีการนำข้าวของเครื่อใช้ที่สำคัญใส่ลงไปในโลงด้วย เช่น เสื้อผ้า เครื่องประดับ และอาวุธ ฯลฯ เพื่อให้ผู้ตายเอาไว้ใช้สอยดังนั้นหีบศพจึงต้องทำเป็นหลายๆชั้นวางซ้อนกัน เพื่อจะให้ได้บรรจุข้าวของเครื่องใช้ และอีกทางหนึ่ง ก็เพื่อป้องกันการรบกวนศำโดยทำให้ซับซ้อนยากแก่การเปิด แต่กลับเป็นเครื่องท้าทายความสามารถของบรรดาเหล่าขดมยและมิจฉาชีพ จึงปรากฎว่าพระบรมศพหรือมัมมี่ขององค์ฟาดรห์ส่วนใหญ่แทบจะไม่ได้อยู่ในสภาพที่สมบูรณ์เลยแม้แต่พระองค์เดียว เห็นจะมีแต่มัมี่ของ ตุตันคามัน ( Tutankhamun ) ฟาโรห์องค์หนึ่งซึ่งไม่ค่อยเป็นที่รู้จักนักในประวัติศาสตร์ แต่เมื่อมีการค้นพบกลับเป็นข่าวโด่งดังไปทั่วโลก และนักอียิปต์ศาสตร์ให้ความสนใจเป็นอย่างมาก เพราะมัมมี่ซึ่งอยู่ในสภาพสมบูรณ์มากที่สุดเท่าที่มีการขุดพบมา
- สิ่งที่สำคัญอีกประการหนึ่งที่ทำให้สำหรับคนตายตามความเชื่อของชาวอียิปต์โบราณคือ " คนรับใช้" ในยุคแรกใช้วิธีวาดภาพ การปั้นด้วยดินเหนียว หรือสีผึ้ง จนถึงการแกะสลักด้วยไม้ และได้มีการทำตัวแทนของคนรับใช้เป็นรูปมัมมี่เหมือนผู้ตายในยุคราชวงศ์ที่ 12 โดยบรรจุไว้ในหีบศพจำลองซึ่งเรียกว่า "ชาวับติ" ( Chawabti ) ซึ่งมีความหมายว่า " ผู้ขานรับ "
ปิรามิดสถานที่ฝังพระบรมศพ
- หลุม หรือสถานที่ฝังศพของชาวอียิปต์โบราณในยุคเริ่มแรก อาจทำอย่างง่ายๆด้วยการขุดหลุม ฝังในพื้นทราย ต่อมาจึงมีวิวัฒนาการเป็นหลมศพที่มีหลังคา และสำหรับสถานที่ของผู้มีฐานะดีหรือมี ความสำคัญเช่นองค์ฟาโรห์ก็ต้องทำให้วิจิตรพิสดารมากขึ้น จนเกิดการสร้างปิรามิดอันยิ่งใหญ่ในที่สุด
- หลุ่มฝังศพในยุคแรกๆเรียกว่า "มัสตาบา" ( Mastaba ) ลักษณะเป็นสีเหลี่ยมผืนผ้าสร้างด้วยอิฐ ทำไว้เหนือหลุมศพ ต่อมาพัฒนาเป็นการสร้างด้วยหินจนกลายเป็นปิรามิดในยุคเริ่มต้น เรียกว่า ปิรามิดขั้นบันได ลักษณะเป็นทางสี่เหลี่ยมผืนผ้าเรียงซ้อนจากใหญ่ไปหาเล็กซึ่งอยู่ทางสูงสุดยอด ต่อมามีการฉาบด้านทั้งสี่ให้เรียบ ส่วนภายนอกออกแบบเป็นห้องหับต่างๆ อย่างสลับซับซ้อนมีทางเดินสถานที่ไว้พระบรมศพขององค์ฟาโรห์ วิหารสำหรับสักการะพระบรมศพ และด้านนอกได้สร้างรูปแกะสลักอสุรกายสฟิงซ์หรือสัตว์ครึ่งคนครึ่งสิงโต ไว้สำหรับเป็นผู้เฝ้าสุสานของฟาโรห
ความคิดเห็น