ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    รวม เรื่องผี,เรื่องลึกลับ

    ลำดับตอนที่ #5 : อาถรรพณ์การสาปแช่ง...เผาพริก เผาเกลือ

    • อัปเดตล่าสุด 10 พ.ค. 53





    ก่อนอื่นเราต้องรู้ความหมายของ คำสาป ซึ่งหมายถึง คำพูดที่ถูกเปล่ง ออกเพื่อให้เป็นไปต่างๆ ตามต้องการของผู้มีฤทธิ์มีอำนาจ เช่น เทวดา ฤาษี หรือ แม่มด เป็นต้น ส่วน"คำแช่ง"นั้นหมายถึง คำพูดที่ผู้พูดกล่าวด้วยประสงค์ร้ายมุ่ง ให้เกิดสิ่งเลวร้ายขึ้นกับ ฝ่ายตรงข้าม หรือประสงค์ให้ผู้อื่นที่ตนเองไม่ชอบใจ ให้เป็นอันตรายอย่างร้ายแรง ตามความต้องการของตนเอง เมื่อนำคำพูดทั้งสองคำมารวมกันแล้วก็จะได้ความหมายว่า คำพูดที่เปล่งออกไป โดยอ้างสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เพื่อให้ลงโทษฝ่ายตรงข้ามขอให้มีอันเป็นไปหรือเกิดอันตรายอย่างร้ายแรง มีความเชื่อสืบต่อกันมาว่า คำสาปแช่งจะมีผล ก็ต่อเมื่อผู้สาปแช่งเป็นคนดี มีศีลธรรมสาปแช่งเพื่อพิทักษ์ รักษาความดีเอาไว้ไม่ให้ถูกคนชั่วทำลายเสีย ผู้ถูกสาปแช่งเป็นคนไร้ศีลไร้สัจจะ หรือมีความผิดจริง ถ้าไม่เช่นนั้นแม้ จะสาปแช่งนานเพียงใดก็ไร้ผล สำหรับที่มาของ พิธีกรรมเผาพริกเผาเกลือ นั้น โหรลักษณ์ เรขานิเทศ เลขาธิการสถาบันพยากรณ์ศาสตร์ บอกว่า ไม่มีเอกสารหรือหลักฐานใดบันทึกพิธีกรรมนี้ไว้ว่า เกิดขึ้นเมื่อใดกันแน่ รวมทั้งใน สมุดไทยดำ ก็เขียนไว้เพียงเล็กน้อย เท่านั้น เช่น ไอ้อีผู้ใดทำให้ไม่พึงใจ การสาปแช่งทำได้ดังนี้แล พึงไปหาเกลือตัวผู้สักหนึ่งกำมือ... ซึ่งผู้อ่านต้องมาตีความหมายอีกครั้งหนึ่ง โดยพอสรุปได้ว่า การสาปแช่งด้วยการเผาพริกเผาเกลือเป็นพิธีกรรม และความเชื่อพื้นบ้าน โดยมีความเชื่อว่าทั้งพริกและเกลือ เป็นของรักของหวงสำหรับคนโบราณ ซึ่งทางโหราศาสตร์โบราณถือว่าเป็นของศักดิ์สิทธิ์ประจำบ้าน การนำพริกกับเกลือมาเผาหมายถึงเป็นการเกลียดชัง ชนิดเรียกว่า ตายไปก็ไม่ร่วมเผาผีกันเลยทีเดียว เกลือสำหรับเผานั้นจะเป็นเกลือตัวผู้ ซึ่งมีลักษณะแหลมคม ส่วนพริกนั้นจะเป็นพริกเม็ดใหญ่ๆ และเผ็ดสุด โดยใช้พริกและเกลือวางเรียงเป็นชื่อคนที่ต้องการสาปแช่ง จากนั้นก็ใช้ไฟสุม ซึ่งก่อนจะเผานั้น จะมีการบวงสรวงดวงวิญญาณและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ให้มาเป็นสักขีพยาน สิ่งหนึ่งที่ขาดไม่ได้ คือ ต้องดูฤกษ์อัปมงคลสำหรับผู้ถูกกระทำ หรือเรียกว่า ฤกษ์ที่ใช้กระทำย่ำยี โดยแต่ละคนนั้นจะมีฤกษ์ อันเป็นอัปมงคล ในสมัยโบราณคนจะถือเรื่องการบอกวันเดือนปีเกิด โดยจะไม่มีการบอกกันง่ายๆ เพราะเกรงว่าเมื่อเกลียดกันจะทำร้ายกันโดยใช้วัน เดือนปีเกิดไปหาฤกษ์อันเป็นอัปมงคล เช่น ผู้เกิดวันอาทิตย์จะมีคู่ศัตรูเป็นวันอังคาร ผู้เกิดวันจันทร์ก็จะมีคู่ศัตรูเป็นวันเสาร์ ผู้เกิดวันพุธกลางวันมีคู่ศัตรูเป็นพุธกลางคืน เป็นต้น โหรลักษณ์ บอกด้วยว่า การเผาพริกเผาเกลือในปัจจุบัน เป็นเพียง การแสดงออกถึงความเกลียดชังเท่านั้น เกลียดชนิดที่เรียกว่าเข้ากระดูกดำ ตายก็ไม่ไปเผาผี ดังนั้น ผู้ที่ถูกสาปแช่งด้วยวิธีนี้จงเข้าใจว่าตนเองเป็นที่รังเกียจ ขออย่าได้ทำพฤติกรรมเช่นนั้นอีก ทางด้าน พระพิพิธธรรมสุนทร ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดสุทัศนเทพวราราม ให้คติธรรมว่า พิธีกรรมการสาปแช่งไม่ใช่พิธีของพุทธศาสนา พระพุทธเจ้าถือว่าเป็นปาณาติบาตอย่างรุนแรง (ฆ่ากันอย่างรุนแรง) และถือว่าเป็นมิจฉาสมาธิ ในทางพระพุทธศาสนา พระพุทธเจ้าทรงไม่สนับสนุน เพราะ เป็นการสร้างเวรสร้างกรรม ต่อกันไม่มีวันจบสิ้น แต่ในลัทธิของพ่อมดหมอผีนั้นใช้ เป็นเครื่องกำราบคนเลว โดย ใช้สมาธิเป็นเครื่องกำกับซึ่งถือว่าเป็นการใช้จิตที่เป็นสมาธิในทางผิด การเผาพริกเผาเกลือ เป็นการประท้วงและประจานอย่างหนึ่ง เท่านั้น โดยมีจุดประสงค์เพื่อ ให้ผู้ที่ถูกกระทำนั้นเจ็บแสบ อับอาย และเข็ด มิได้ทำเพื่อมุ่งหวังเอาชีวิต เหมือนเป็นการตักเตือนอย่างรุนแรง เพื่อให้ผู้ที่ถูกกระทำนั้นสำนึกกลับตัวโดยการขอขมาลาโทษ เพราะฉะนั้น ใครที่เอารัดเอาเปรียบประชาชน รวมทั้งกระทำไม่ดีต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ความเจ็บแสบปวดร้อนไม่ได้อยู่ที่การเผาพริกเผาเกลือ หากอยู่ที่คำสาปแช่งที่เข้าหู ซึ่งจะทำให้ผู้ฟังนั้นปวดแสบปวดร้อน โดยเฉพาะคำสาปแช่งของผู้อยู่ในศีลในธรรม แต่ถ้าผู้ถูกกระทำนั้นอยู่ในศีลในธรรม คำสาปแช่งนั้นก็ไม่เป็นผล ตำนานการสาปแช่ง อาจารย์ธรรมจักร สิงห์ทอง คณาจารย์สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง ได้เล่าถึงเรื่องนี้มีตำนาน ของการสาปแช่งว่า ในคำภีร์ ธรรมบทขุททกนิกาย ยมกวรรค เรื่องที่ ๓ มีความเป็นมาดังนี้ ในอดีต มีพระดาบสสองรูป รูปหนึ่งชื่อ เทวละ อีกรูปหนึ่งชื่อ นารทะ ได้เข้าไปขอพักอาศัย อยู่ที่โรงงานปั้นหม้อดิน ซึ่งเจ้าของโรงงานก็อนุญาตโดยดี โดยเทวลดาบสได้เข้ามาขอพักก่อน ต่อมาในวันเดียวกันนารทดาบสก็มาถึง และเข้าไปขอพักอาศัยด้วย พระดาบสทั้งสอง ได้สนทนาทำความรู้จักกันตามสมควรแล้ว พอถึงเวลาจะนอน นารทดาบส ก็สังเกตเห็นว่าดาบสอีกรูปหนึ่งนอนที่บริเวณใกล้ประตูทางออก เผื่อว่าตนออกมาทำธุระส่วนตัว จะได้ไม่ต้องเดินผ่านไปใกล้ท่าน จากนั้นก็นอน ส่วนเทวลดาบส เวลาจะนอนกลับไม่นอนในที่ที่เดิม ขยับออกไปนอนขวางประตูเอาไว้ พอตกกลางดึก นารทดาบสลุกเดินออกไปห้องน้ำ ก็เหยียบเอาที่ชฎาของเทวละเข้า ทำให้แกร้องเอะอะโวยวายว่า ใครเหยียบเรา นารทะก็บอกว่า" ผมนารทะเองครับท่าน" "คุณมาจากป่าแล้วถือดียังไงถึงได้มาเหยียบชฎาเรา" "ผมไม่ทราบว่าท่านนอนหันศีรษะมาทางนี้ เพราะก่อนนอนเห็นท่านนอนอยู่ด้านโน้น ผมขอโทษ" ในขณะที่เทวลดาบสกำลังบ่นพึมพำคล้ายคนหัวเสียเพราะถูกเหยียบชฎา นารทดาบสก็ออกไปข้างนอกเพื่อทำธุระส่วนตัว เทวลดาบสคิดว่า ต้องย้ายที่นอนใหม่ ไม่อย่างงั้นต้องโดนมันเหยียบอีกแน่ เสร็จแล้วก็ลุกขึ้น หันศีรษะไปอีกทางหนึ่ง นารทะกลับเข้ามาก็คิดว่า เมื่อสักครู่ท่านเทวละนอนหันศีรษะมาทางนี้ เดี๋ยวเราต้องเดินไปทางปลายเท้าท่านจะเหมาะกว่า จึงเดินหลบไปอีกทางหนึ่ง แต่ทว่าพอเดินไปได้ไม่ไกลก็เหยียบที่คอของเทวละเข้าอีกจนได้ เสียงเทวละร้องเอะอะโวยวายลั่นโรงงาน เมื่อตอนก่อนออกไปท่านเหยียบชฎา เราก็พอทน แต่พอกลับเข้ามากลับมาเหยียบที่คออีก "เราทนไม่ไหวแล้วเราขอสาปแช่งท่าน" "ท่านครับ ผมขอโทษ ผมไม่มีเจตนาจริงๆ และก็ไม่รู้ว่าท่านนอนหันศีรษะกลับไปอีกทางหนึ่ง อย่าให้ถึงกับต้องมีการสาปแช่งกันเลยครับ และไม่ได้ต้องแช่งเพื่อเป็นการสั่งสอนให้ได้สำนึก" จากนั้นเทวละก็กล่าวคำสาปแช่งนารทะว่า "พระอาทิตย์ มีรัศมีแผ่กว้างออกไปได้ตั้งหนึ่งพันเท่า มีเดชกำหนดได้หนึ่งร้อยเท่า สามารถกำจัดความมืดได้ พรุ่งนี้เช้า พอพระอาทิตย์โผล่ขึ้นมา ขอให้ศีรษะของท่านจงแตกออกเจ็ดเสี่ยง" นารทะ กล่าวว่า "ท่านครับ ผมบอกท่านแล้วว่า ผมไม่มีความผิดอะไร เพราะไม่มีเจตนา ท่านก็ยังสาปแช่ง ถ้าอย่างนั้น หากใครมีความผิด ศีรษะของผู้นั้นจงแตก" จากนั้นนารทะก็ได้สาปแช่งกลับบ้าง แต่เนื่องจากพระนารทดาบสเป็นผู้ทรงศีลมีตบะบำเพ็ญบุญบารมีมานานจนบุญญาธิการ แก่กล้า พอเปล่งวาจาออกมักเป็นไปตามนั้น ดังนั้น ท่านนารทะจึงมาทบทวนว่า ใครจะเป็นผู้ที่ต้องคำสาปกันแน่ ก็รู้ว่าเป็นท่านเทวละแน่นอน ทันใดนั่นเองความเมตตาก็เกิดขึ้นภายในจิตใจของท่าน เกรงว่าศีรษะของท่านเทวละจะต้องแตกเพราะเรื่องเพียงเท่านี้เอง พอก่อนรุ่งอรุณ ท่านนารทะจึงได้ห้ามพระอาทิตย์ขึ้นด้วยกำลังของอิทธิฤทธิ์ ชาวเมืองเห็นว่าได้เวลาสว่างแล้ว แต่พระอาทิตย์ไม่ขึ้นก็ร้อนใจ เข้าไปเฝ้าพระราชาทูลถามถึงเหตุที่เป็นอาเพศเช่นนั้น พระราชาจึงตรวจดู งานราชกิจของพระองค์ทุกอย่างก็ไม่ขาดตกบกพร่อง ในที่สุดได้ทราบความจริง ที่เกิดขึ้นทั้งหมด จากนั้นก็เสด็จไปพบพระดาบสทั้งสอง พร้อมกับมีดำรัสกับนารทะว่า "ท่านนารทะ ชาวบ้านชาวเมืองลำบาก ทำงานไม่ได้ เวลานี้โลกมืดสนิท เป็นเพราะเหตุใด ขอให้ท่านช่วยบอกหน่อยเถอะว่า จะหาวิธีแก้ไขอย่างไร" "มีอยู่ทางเดียวคือ ให้เทวละขอโทษอาตมา แล้วทุกอย่างจะกลับเข้าสู่สภาวะปกติ" เทวละเป็นคนดื้อรั้นไม่ยอมขอโทษไม่ยอมรับเงื่อนไขทุกอย่าง พระราชาจึงรับสั่งให้ทหารจับมาก้มกราบนารทะ ท่านนารทะจึงยอมยกโทษให้ และทูลพระราชาว่า "เทวละ ยอมขอโทษแบบไม่เต็มใจ ถึงยังไงศีรษะก็ต้องแตกแน่นอน ถ้าพระอาทิตย์ขึ้น เอายังงี้ก็แล้วกัน ที่นอกเมืองมีสระน้ำอยู่ ให้ท่านใช้ดินเหนียวก้อนโตๆ เกือบเท่าศีรษะทูนไว้บนหัว แล้วให้ท่านลงไปแช่อยู่ในน้ำ พออาตมาคลายฤทธิ์แล้วพระอาทิตย์ก็จะขึ้น จากนั้นก้อนดินที่ศีรษะก็จะแตก พร้อมกับให้ท่านดำลงไปในน้ำแล้ว ไปโผล่เสียที่อื่น เพียงเท่านี้ก็จักไม่มีอันตรายแก่เทวละเลย" เมื่อได้ปฏิบัติตามที่ นารทะแนะนำทุกอย่าง ทันทีที่แสงเงินแสงทองตั้งขึ้น ก้อนดินที่ตั้งอยู่บนศีรษะ ของเทวละก็แตกแยกออกเป็นเจ็ดเสี่ยง เทวละก็พ้นจากอันตรายพ้นจากคำสาปอาถรรพณ์ทันที พร้อมกับการสำนึกได้ว่า ได้ทำผิดพลาดไป
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน
    นิยายแฟร์ 2024

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×