คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #6 : อารยธรรมกรีก ง่ายๆ
อารยธรรมกรีก
*กรีกโบราณ*
ด้วยที่ว่ากรีกมีที่ราบน้อย เพราะ
ส่วนใหญ่เป็นภูเขา+หมู่เกาะในทะเลอีเจียน
ผู้คนจึงอยู่กันใน ที่ราบกลุ่มเล็กๆ
ล้อมรอบด้วยหุบเขาสูง
เป็นอุปสรรคต่อการสื่อสารกับที่ราบอื่นๆ
ทําให้ แต่ละชุมชนต่างๆออกจากกัน
ส่งผลให้
แต่ละเมืองแตกแยกเป็น
“นครรัฐ” ต่าง ๆ
มากมายซึ่งเป็นอิสระไม่ขึ้นแก่กัน
นครรัฐที่สําคัญ นครรัฐเอเธนส์ +
นครรัฐสปาร์ตา
และจากลักษณะภูมิประเทศที่มีลักษณะคล้ายแหลมยื่นไปในทะเล
ทําให้กรีกมีชายฝั่งทะเลที่ยาว
(ที่เว้าแหว่งของทะเลเป็นที่กําบังคลื่นลมได้อย่างดี)
ทําให้ชาวกรีกเป็นคนชอบค้าขายทางทะเล นอกจากนยังเป็นดินแดนที่มีทรัพยากรธรรมชาติมาก (เหล็ก ทอง เงิน หินอ่อน)
1. อารยธรรมเริ่มต้นของอารยธรรมกรีก
1.1 อารยธรรมไมนวน (Minoan
Civilization)
เกิดขึ้นที่เกาะครีต
ชนพื้นเมือง คือ ชาวครีตหรือชาวครีตัน
(นักประวัติศาสตร์ตั้งชื่ออารยธรรมให้ตามชื่อกษัตริย์)
กษัตริย์ที่มีอํานาจมากที่สุด คือ
"พระเจ้ามินอส" Minos
พระราชวังที่สําคัญ คือ
“พระราชวังคนอสซอส Knossos
ที่นี่มีตำนาน
"ตํานานมิโนทอร์" Minotaur
กล่าวถึง ราชาไมนอส
ตอนที่กําลังจะก้าวเป็น กษัตริย์ของเกาะครีต แต่ชาวครีตไม่รู้จักเขา
เขาจึงอ้างว่าการขึ้นบัลลังค์ของนั้น
แม้แต่ทวยเทพก็ยังยอมรับ!
ชาวครีตเลยให้เขาพิสูจน์ว่าถ้าเทพเห็นด้วยจริงๆ
โดยให้เขาขอ
“วัวสีขาว”
จากเทพโพไซดอนเจ้าสมุทร
ไมนอสรับปากทั้งที่ไม่มั่นใจ
เขาไปที่ริมหาดพร้อมชาวครีต แล้วอ้อนวอนต่อเทพโพไซดอน
พร้อมบอกว่า
“หากส่งวัวมาให้แล้ว เขาจะบูชายัญวัวนั้น สรรเสริญทันที”
ท่ามกลางความประหลาดใจ
วัวสีขาวก็ถูกส่งลงมาจริงๆ และ ตรงเข้ามาหาไมนอส ทําให้ชาวครีตยอมรับเขา
ต่อมาเมื่อ ไมนอสได้ขึ้นบัลลังค์...
เขากลับลืมเลือนสัญญาที่ให้ไว้ อีกทั้ง
วัวสีขาวนั้นช่างงดงามเกินกว่าที่ทําใจเชือดมันได้
เขาเลยใช้วัวธรรมดาๆ ไปเชือดบูชายัญแทน
ทําให้ เทพโพไซดอนโกรธมาก!
จึงจัดการสาปให้ “ฟาชิฟาอี”
มเหสีของไมนอสไปรักกับวัวสีขาวนั่นซะเลย!
เพราะ พิษของคําสาปนางหลงใหลวัวมาก
จนขนาดที่ว่าสั่งให้ ช่างประดิษฐ์ แดดาลุส” มาสร้าง
“วัวปลอมตัวเมีย ขึ้นมา
แล้วเธอจะเข้าไปในวัวนั้น เพื่อสมสู่
กับวัวสีขาว
การแก้แค้นของเทพโพไซดอนสําเร็จ!
ฟาซิฟาอีตั้งท้อง และ คลอดทารกเป็นสัตว์ประหลาด
ครึ่งคนครึ่งวัว
ทําให้ไมนอสอับอายมากและฟังสํานึกได้ว่าเทพต้องแก้แค้นตน
จะฆ่าทารกนี่ ก็ไม่ได้ เพราะ
กลัวเทพจะโกรธ
เขาเลยเลี้ยงดูทารกเรื่อยมา และ
ชาวครีตกขนานนามทารกว่า
“มิโนทอร์” แปลว่า
ทารกโค แห่งไมนอส
มิโนทอร์โตเร็วมาก รูปร่างสูงใหญ่
กลายเป็นสัตว์ระหายเลือด จับคนกินเป็นอาหาร
ไมนอสกลุ้มใจอย่างแรง จึงเรียก แดดาลุส
มาพบ
แล้วให้สร้าง
“เขาวงกต" ขังมิโนทอร์ไว้
ในเวลาเดียวกันนี้
“เอนโดรจีอุส”
โอรสอีกคนของไมนอส เป็นนักกีฬามากความสามารถ ชนะทุกรายการโอลิมปิก
ที่ เอเธนส์
ถูกลอบฆ่าโดยนักกีฬาชาวเอเธนส์
ด้วยความริษยา
ไมนอสรู้ข่าว ก็รีบ กรีฑาทัพ เข้าล้อมเมืองเอเธนส์ทุกด้าน
เพื่อแก้แค้นให้ลูกตน
จนกษัตริย์เมืองเอเธนส์ยอมเจรจาศึก
ไมนอสจึงตั้งข้อแม้ว่า
“ทุกๆ ปี เอเธนส์ต้องส่งหญิงสาว 7 คน ชาย 7
คน
ลงเรือมาที่ครีต แล้วสังเวยแก่มิโนทอร์”
แล้วกษัตริย์ก็ยอมตามนั้น ยอมส่งชายหญิงมาเพื่อจุดจบ
อันน่าสยดสยองมานานหลายปี
จนครั้งที่ 27
“เธสิอุส” โอรสกษัตริย์อีจีอุส แห่ง เอเธนส์
อาสาให้ส่งเขาพร้อมผู้เคราะห์ร้าย
โดยตั้งใจว่า
“ข้าจะต้องปราบมิโนทอร์ให้ได้!”
//หลบหน่อยพระเอกมา55555
กษัตริย์อีจีอุส
จึงบอกให้เขาติดใบเรือสีขาวหากชนะ
และติดใบเรือสีดําหากพ่ายแพ้
เขาสัญญา(แม้ตอนนั้นยังหาวิธีปราบไม่ได้ด้วยซ้ํา)
เมื่อถึงเกาะครีต
“อาริแอดนี” ที่คอยดูผู้เคราะห์ร้ายถูกสังเวย
เมื่อเธอพบกับ เธอสิอุส เข้าจึงตกหลุมรักทันที
เมื่อต้องพาตัวผู้เคราะห์ร้ายเข้าเขาวงกต
เธอก็ยัด “มัวนด้าย” ใส่มือเขา
และผลักเขาเข้าไปในเขาวงกต
เธสิอุสโรยด้ายมาตามทาง
จนเจอมิโนทอร์กระโจนเข้าใส่เขาอย่างแรง
เขาจึงคว้าไว้ และสังหารมันได้สําเร็จ
จนออกมาจากเขาวงกตได้และกลับพร้อมอาริแอดนี
ทั้งคู่มาพักที่ เกาะแนกซอส
(ซึ่งอยู่ระหว่างทางไปเอเธนส์)
อาจเพราะเขาไม่มีใจให้นางเลยก็ว่าได้
พอสบโอกาสจึงหนีนางออกมาและรีบกลับบ้าน
ด้วยความเร่งรีบจึงลืมสัญญาเปลี่ยนใบเรือ
กษัตริย์อีจีอุส เห็นใบเรือสีดํามาแต่ไกล
เลยคิดว่าเขาตายแล้ว จึงฆ่ากระโดดน้ําตัวตายตาม
..จบตำนาน..
1.2 อารยธรรมไมซีเนียน(Mucenae
Civilization)
ศูนย์กลางอยู่ที่เมือง ไมซิเน
(บรรพบรษของชาวไมซีเนียน คือ พวกเอเคียน
สามารถด้านรบและการค้า พวกนี้เองที่โจมตีเกาะครีต
ทําลายพระราชคนอสซุส และได้สร้างเมืองขึ้น
ซึ่งมีป้อมปราการที่แข็งแรง
ทําให้พวกเอเคียนมีชื่อใหม่ว่า 'ไมซีเนียน' ตามชื่อเมืองไมซิเน
อีกทั้งยังชนะ เมืองทรอยใน
“สงครามโทรจัน”)
**รูปม้าโทรจัน หรือ ม้าไม้เมืองทรอย
เกิดขึ้นจาก “อุบาย” ของโอดิสเซียส ในการบุกเข้าเมืองทรอย
ที่มีป้อมปราการแข็งแรง หลังรบยืดเยื้อถึง 10 ปี
โดยการให้ทหารสร้างม้าไม้นี้ขึ้นมา
แล้วลากไปวางไว้หน้ากําแพงเมืองทรอย
แล้วให้ทหารกรีกแสร้งทําเป็น ถอยออกไป
เมื่อชาวทรอยเห็นแล้วเข้าใจว่า
เป็นบรรณาการที่ทางฝ่ายกรีกสร้างขึ้นมา
เพื่อบูชาเทพเจ้าและล่าถอยไปแล้ว
จึงลากเข้าไปไว้ในเมืองและฉลองชัยชนะ
เมื่อตกดึก
ทหารกรีกที่ซ่อนตัวอยู่ในม้าไม้
ก็ไต่ลงมาเผาเมืองและปล้นเมืองทรอยได้เป็นที่สําเร็จ!
ผลงานสําคัญ
-ริเริ่มการนับถือเทพเจ้าหลายองค์
แต่แล้วความเจริญต้องถูกหยุดชะงักลง...
เมื่อมี “พวกดอเรียนเข้ามารุกราน”
1.3 กรีกยุคมืด
สงครามเป็นเหตุให้เศรษฐกิจกรีก พินาศ
ซึ่งสร้างความยากจนและสับสน
ทางการเมืองซึ่งยาวนาน
เรื่องราวต่าง ๆของยุตนี้ ปรากฎแค่อยู่ในวรรณกรรมมุขปาฐะ
คือเรื่อง “มหากาพย์อิเลียด”
เกี่ยวกับสงครามกับทรอย
และโอดิสซี ของมหากวีโฮเมอร์ (Homer)
เกี่ยวกับชัยชนะจากการทําสงครามกับทรอย
เข้าสู่
2.อารยธรรมกรีก(หลัก)
2.1 อารยธรรมเฮเลนิก (Hellenic
Civilization)
หรือ ยุคคลาสสิก (Classical
Age)
มีการปฏิรูปทางเศรษฐกิจ
ผู้นําชุมชนเริ่มตั้งสภาและกลุ่มต่าง ๆ
เพื่อจัดกิจกรรมสาธารณะที่
“อกอรา” Agora
และเกิดนครรัฐขนาดใหญ่ 2 นครรัฐ ได้แก่
-นครรัฐสปาร์ตา
ชาวสปาร์ตาเป็นชาตินักรบ !!
เนื่องจากต้องต่อสู้เพื่อให้ได้ครอบครองลาโคเนียและเมอซีเนีย
และเพื่อป้องกันการกบฎของลาโคเนียและเมอซีเนีย
**เกร็ด
ในศตวรรษที่ 6 BC. สปาร์ต้าเริ่มไม่สนใจกับศิลปวิทยาการ และสูญเสียฐานะผู้นำทางอารยธรรมไปให้กับเอเธนส์ในที่สุด
ซึ่งสาเหตุที่สปาร์ตาไม่เป็นผู้นำในอารยธรรมกรีกนั้น พอจะสรุปได้ดังนี้
1. สปาร์ตาตั้งอยู่บนคาบสมุทรเพลอปปอนเนซุส
ซึ่งเกือบจะถูกตัดขาดจากผืนแผ่นดินใหญ่มีเพียงคอคอดรินธ์
์เชื่อมต่อกับกรีกตอนกลางล้อมรอบด้วยภูเขาทางตะวันออกเฉียงเหนือและตะวันตก
ขาดท่าเรือดีๆ ที่จะติดต่อกับโลกภายนอก
การรับถ่ายทอดอารยธรรมหรือการเผยแพร่อารยธรรมเป็นไปได้โดยลำบาก
2. หวาดเกรงพวกเฮล็อตซึ่งมีอยู่เป็นจำนวนมากในความดูแลของสปาร์ตาจะก่อการกบฎแย่งชิงอำนาจจากพวกตนซึ่งมีอยู่เป็นจำนวนน้อยมาก
สปาร์ตาเริ่มหวาดระแวงเกรงตนจะสูญเสียอำนาจ
เร่งปรับปรุงทางด้านการทหารให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น
ไม่สนับสนุนการค้าหรือศิลปวิทยาการใดๆ ตัดการติดต่อกับโลกภายนอก ไม่ยอมรับแนวความคิดใหม่ๆ หรืออารยธรรมใดๆ ทั้งสิ้น
ความคิดเห็นส่วนบุคคลและความคิดสร้างสรรค์ก็ถูกขัดขวางมิให้แสดงออกทำให้ชาวสปาร์ตาล้าหลังกว่านครรัฐอื่นๆ
ในด้านศิลปวิทยาการและความนึกคิด
3. สปาร์ตาเชื่อว่าการหลงละเมออยู่ในความสุข
ความสะดวกสบาย ความมั่งคั่งและศิลปวิทยาการจะทำให้สปาร์ตาสูญเสียอำนาจในการเป็นรัฐผู้นำในคาบสมุทรเพลอปปอนเนซุสประกอบกับความหวาดระแวงในศัตรูตัวฉกาจคือนครรัฐอาร์กอส
(Argos) จะแย่งชิงอำนาจจากตน ทำให้สปาร์ตา
ไม่สนใจในการทำนุบำรุงศิลปวิทยาการเช่นนครรัฐเอเธนส์
-นครรัฐเอเธนส์
ภูมิประเทศของชาวเอเธนส์มั่งคั่งด้วยแร่ธาตุและท่าเรือที่ดี
การค้าและวัฒนธรรมจึงรุ่งเรือง
อีกทั้งเป็นมีการปกครองแบบระบอบ จึงเป็นต้นแบบประชาธิปไตย
ทําให้ชาวเมืองเป็นนักประชาธิปไตย และรักความก้าวหน้า
ยุคคลาสสิคนี้
เกิดสงครามครั้งยิ่งใหญ่ 2
ครั้ง ได้แก่
-สงครามเปอร์เซีย
สาเหตุ
ขัดแย้งระหว่างเอเธนส์กับเปอร์เซีย เพราะเปอร์เซียขยายอํานาจเข้ามาในเอเชียไมเนอร์
ผลของสงคราม
เอเธนส์ชนะเปอร์เซีย
-สงครามเพโลพอนเนเชียน
2.2 อารยธรรมเฮเลนสติก(Hellenistic
civilization)
เป็นช่วงที่นครรัฐต่างๆ ของกรีกเสื่อมลง
(เนื่องมาจากสงครามเพโลพอนเนเชียน)
และ “แคว้นมาซิโดเนียเจริญขึ้น”
มีกษัตริย์องค์สําคัญ ได้แก่
"พระเจ้าฟิลิปที่ 2"Philip II of Macedon
ได้ครองนครรัฐกรีก
และกษัตริย์องค์ต่อมา คือ
"พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช" Alexander the Great
ได้ทําการปลดปล่อยหัวเมืองกรีกต่างๆ
บนเอเชียไมเนอร์ให้พ้นจากการปกครองเปอร์เซีย
ได้รวมรวบสร้างอารยธรรมเฮเลนสติกขึ้นมานั่นเอง
ผลงานสําคัญ
-สถาปัตยกรรม
หัวเสาที่มีเอกลักษณ์ 3 แบบ คือ
แบบดอริก (Doric)
แบบไอโอนิก (lonic)
แบบคอรินเธียน (Corinthian)
-ประติมากรรม
รูปปั้นเทพเจ้าที่มีลายเส้นกล้ามเนื้อและเส้นเอ็น
คล้ายมนุษย์ที่มีชีวิต ดูเป็นธรรมชาติ
-จิตรกรรม
เป็นลวดลายที่ปรากฎบนเครื่องปั้นดินเผา
และฝาผนังที่พบในวิหารหรือกําแพง
-นาฏกรรม
ทั้งโศกนาฏกรรม (Tragedy)
และสุขนาฏกรรม (Comedy)
ใช้นักแสดงชายทั้งหมด
โดยทุกคนจะสวมหน้ากาก และมีผู้พากย์และหมู่นักร้อง (Chorus)
ส่งเสียงประกอบ
-วรรณกรรม
อีเลียด และ โอดิสซี
(ที่กล่าวข้างต้น)
-นักปรัชญา
-โซเครติส (Socrates)-
-
สอนให้คนใช้เหตุผลและสติปัญญา
แสวงหาความจริงเกี่ยวกับชีวิต
วิธีสอนของเขาเรียกว่า “Socretic method” ให้ผู้ถูกถามขบคิดปัญหาเพื่อหาคําตอบด้วยตนเอง
-เพลโต (Plato)-
เปิดโรงเรียนชื่อ
“อะคาเดมี” (Academy) ได้เขียนหนังสือที่สะท้อนแนวคิดเกี่ยวกับการปกครอง
การศึกษา ระบบยุติธรรม
ผลงานที่โดเด่นจนได้รับยกย่องว่าเป็นบิดาแห่งปรัชญาการเมืองสมัยใหม่ คือหนังสือชื่อ
สาธารณรัฐ (Republic)
(ศิษย์เอก โซเครติส)
-อริสโตเติล (Aristotle)-
เป็นทั้งนักปรัชญาและนักวิทยาศาสตร์
ผลงานที่โดดเด่นของเขาคือหนังสือชื่อ การเมือง (Politics)
(ศิษย์ของเพลโตและ
เคยเป็นอาจารย์ของพระเจ้า
อะเล็กซานเดอร์มหาราช)
- ประวัติศาสตร์
ชาติแรกที่เริ่มศึกษาประวัติศาสตร์ตามแบบ'วิธีการทางประวัติศาสตร์'
มีผลงานเขียนของ –
ทูซิดดีส (ThuCydides) คือ
The Peloponnesian War
และบิดาแห่งประวัติศาสตร์
คือ
-เฮโรโดตัส (Herodotus)-
- คณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์
นักคณิตศาสตร์เด่น คือ
-ปีทาโกรัสแห่งเมืองซามอส -
คิดทฤษฎีบทปีทาโกรัส
-ยูคลิดแห่งเมืองอะเล็กซานเดรีย -
คิดเรขาคณิตแบบยูคลิด
-อาร์คิมีดีสแห่งเซียราคิวส์-
คิดระหัดวิดนำ้ แบบเกลียวลูกกรอกชุด
ตั้งกฎของคานดีดคานงัด
พบวิธีการหาปริมาตรของวัตถุโดยการแทนที่น้ํา
-การแพทย์ บิดาแห่งการแพทย์
-ฮิปโปเครตีส (Hippocrates)-
ค้นพบว่าโรคร้ายต่างๆเกิดจากธรรมชาติ (ไม่ใช่การลงโทษของพระเจ้า) -
เชื่อว่าวิธีการรักษาที่ดีที่สุดคือ การควบคุมด้านโภชนาการและการพักผ่อน
ผู้ริเริ่มการผ่าตัด
และการกําหนดหลักจรรยาแพทย์
-ดาราศาสตร์และภูมิศาสตร์
-เอราทอสทินีส (Eratosthenes)-
เชื่อว่าโลกกลม สามารถคํานวณความยาวรอบโลกได้
ค้นพบว่าการขึ้นลงของกระแสน้ําเกิดจากอิทธิพลของดวงจันทร์
/////////////////////////////////////////
เรื่องแปลกๆของเหล่าเทพ
“อะโฟรไดต์”
กําเนิดมาจาก
เกิดจากฟองคลื่นที่เกิดจาก...เอ่อ...อวัยวะเพศของยูเรนัสกระแทกกับท้องทะเล
จึงเกิดเป็นเทพนารีผู้งดงามผุดผ่อได้ผุดขึ้นมาจากฟองน้ํานั้น
ด้วยเหตุนี้
ชาวกรีกจึงเรียกเทพองค์นี้ว่า “Aphrodite” แปลว่า
“ผู้กําเนิดจากฟองสมุทร” เพราะ
“aphros” แปลว่า “ฟอง”
เธอเป็นเทพแห่งความงามและความรัก
แต่เรื่องราวของเธอกลับไม่สวยงามนัก
ด้านมืดๆเธอเยอะมาก
ตั้งแต่ สะกดให้เทพและมนุษย์ลุ่มหลงเธอ
ลบเลือนสติคนฉลาดให้เขลา
และ
เธอมักจะคอยหัวเราะเย้ยคนที่ตกในอํานาจของเธอเสมอ
แถมเธอยังเล่นไปทั่วด้วย ไม่ว่าจะเทพ
หรือ มนุษย์
เอริส โพไซดอน เฮอร์มีส
เจ้าชายแอนคิซัส
ที่สําคัญเธอยังเป็นสาเหตุของ
สงครามกรุงทรอย!
ที่สัญญากับ
“ปารีสแห่งทรอย” ไว้ว่า
(ไรท์วาดเอง^^)
"หากเลือกเธอเป็นเทพที่งามที่สุด จะยกหญิงงามที่สุดให้"
แต่หญิงที่ว่ากลับเป็น เฮเลน และนางมีสามีแล้ว
ทําให้เกิดสงครามกรุงทรอย
มีผู้คนตายมากมาย
เรื่องยังไม่พอ หากใครไม่นมัสการเธอ
เธอก็สาปแช่งอีกด้วย!
////////////////////////////////////////
"กําเนิดมาราธอน"
บุรุษนามว่า Pheidippides ฟิดิปปิเดซ (นายทหารชาวกรีกผู้ส่งข่าว)
เขาได้รับหน้าที่ให้ส่งข่าวจากสนามรบมาราธอนไปเอเธนส์
เพื่อประกาศว่าได้ชัยชนะเหนือทัพเปอร์เซียแล้ว
และเพื่อเตือนภัยชาวเอเธนส์ว่าอาจมีกองเรือเปอร์เซียที่เหลือไปโจมตี
เขาวิ่งมาตลอดทางโดยไม่หยุดพัก
เมื่อมาถึงกรุงเอเธนส์เขาก็ร้องตะโกนว่า
“vevikkauty” (nenikekamen) = “เราชนะแล้ว”
หลังสิ้นเสียงเขาก็ล้มลงขาดใจ
เสียชีวิตทันที รวมระยะทางที่วิ่งจากมาราธอนมายังเอเธนส์
ทั้งหมด 40 กิโลเมตร (2485 ไมล์)
แต่!!
ยังมีการถกเถียงอยู่มากเกี่ยวกับตํานานนี้
เช่น
นักประวัติศาสตร์กรีก ฮีโรโดตุส (Herodotus)
“อ้างว่า Pheidippides เป็นผู้ส่งสารที่วิ่งจากกรุงเอเธนส์ไป
สปาร์ตาเพื่อขอความช่วยเหลือ
แล้ววิ่งกลับเป็นระยะทางไปกลับ (รอบละกว่า 240 กิโลเมตร
(150 ไมล์))"
บ้างก็ว่า
ชื่อของนักวิ่งที่วิ่งระหว่างกรุงเอเธนส์และสปาร์ตาก็คือ
Philippides (ฟิร์ลิปปิเดซ)
ไม่ใช่ “pheidiepides (ฟิร์ดิปปิเดซ)
(โดยไม่มีการเอ่ยถึงชื่อของผู้ส่งสารจากมาราธอนไปยังเอเธนส์แต่อย่างใด)
แต่ความจริงเป็นยังไง ก็ไม่สําคัญแล้วเพราะ
จากตํานานเล่าขานนี้จึงเป็นที่มาของการแข่งขันวิ่งระยะไกล
'มาราธอน'
ความคิดเห็น