ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    สังคมไม่ขมอย่างที่คิด Junko Sang.

    ลำดับตอนที่ #5 : อารยธรรมอียิปต์ ง่ายๆ

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 577
      3
      5 เม.ย. 61

    อารยธรรม อียิปต์ 

    อารยธรรมที่มีความยิ่งใหญ่อีกแห่งหนึ่งของโลก

    ที่มีถิ่นกําเนิดในดินแดนใกล้เคียง กับอารยธรรมเมโสโปเตเมีย

    ปัจจุบันก็คือ ประเทศ อียิปต์ นั่นเอง

    เป็นดินแดนที่อุดมสมบูรณ์ เนื่องจากมีพื้นที่ตั้งอยู่บนสองฟาก

    "ฝั่งแม่นำ้ ไนล์"


    เฮโรโดตัส (นักประวัติศาสตร์ชาวกรีก)

    ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ เฮโรโดตัส

    กล่าวว่า

    "อียิปต์เป็นของขวัญจากแม่น้ําไนล์"

    ........................................

    ก่อนสมัย ของฟาโรห์นาเมอร์ ( Namer )

    ชาวอียิปต์ได้เริ่มก่อตั้งอาณาจักรขึ้นในบริเวณ

    ที่ราบลุ่มสองฝากฝั่งแม่น้ําไนล์

    ขยายอาณาเขตออกไปกว้างใหญ่ไพศาล

    ซึ่งในขณะนั้น ยากแก่การปกครองได้ทั่วถึง

    ต่อมาจึงได้แบ่งแยกการปกครองออกเป็น 2 อาณาจักร

    ประวัติศาสตร์ของอียิปต์

    จึงแบ่งออกได้เป็น 4 ยุค

    โดยเริ่มที่...

    1.สมัยต้นราชวงศ์ (ราชวงศ์ที่ 1-2)

    เริ่มจากการแบ่งแยกดินแดน ราชาแมงป่อง (Scorpion king)

    ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ scorpion king egyptผลการค้นหารูปภาพสำหรับ scorpion king egypt

    ผู้ครองนครชีส (This) อันตั้งอยู่บริเวณตอนกลางแห่งลุ่มแม่น้ำไนล์

    เข้ายึดครองนครรัฐต่างๆในอียิปต์บน และตั้งตนเป็นฟาโรห์แห่งอาณาจักรบน

    เขาปรารถนาจะรวมอียิปต์เข้าด้วยกัน

    แต่พระองค์สิ้นพระชนม์เสียก่อน


    โอรสของพระองค์นามว่านาเมอร์"Narmer

    ผลการค้นหารูปภาพ

    (ข้อนี้นักประวัติศาสตร์ยังไม่แน่ใจนักแต่จาก หลักฐานที่มีแสดงว่าทั้งสองพระองค์น่าจะเกี่ยวดองกัน)

    ได้สานต่อนโยบาย

    เข้าโจมตีอียิปต์ล่าง

    ด้วยความสามารถของพระองค์

    สามารถผนวกทั้งสองอาณาจักรเข้าด้วยกันได้สําเร็จ

    และ สถาปนาพระองค์ขึ้นเป็น

    ฟาโรห์(Pharaoh)”

    และตั้งเมมฟิส (Memphis)” เป็นเมืองหลวง

    ตั้งอยู่ในอียิปต์ล่าง ตอนกลางของลุ่มน้ําไนล์

    รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

    "ฟาโรห์นาเมอร์" 

    เป็นฟาโรห์องค์แรกแห่งราชวงศ์ที่ 1

    ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ "ฟาโรห์นาเมอร์"

    **มีหลายพระนามแบบกรีก (Greek) คือ 

    มิน (Min) มีนาออส(Mina ios) เมนาส (Menas)นาเมอร์ (Narmer)

    ***แม้จะรวมดินแดนเข้าเป็น

    ผืนเดียวกันเป็นชาติ แต่ชาวอียิปต์โบราณก็ยังนิยมเรียกชาติตนครั้งนั้นว่า

    "Land of Two Lands" และหลักฐานประวัติศาสตร์ในสมัยนี้มีน้อยมาก

    2.สมัยอาณาจักรเก่า (ราชวงศ์ที่ 3-6)

    สมัยนี้บางครั้งถูกเรียกว่า สมัยปิรามิด (The Pyramid Age) เพราะเกิดการสร้างปิรามิดขึ้นเป็นครั้งแรกและมีพีระมิดเกิดขึ้นมากกว่า 20 แห่ง

    -สมัยราชวงศ์ที่ 3 “ฟาโรห์ โจเซอร” (ojoser)

    ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ Djoser

    มีการสร้างพีระมิดครั้งแรก

    เรียกว่า

    "Pyramid of Djoser" 

    ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ djoser pyramid


    -สมัยราชวงศ์ที่ 4 “ฟาโรห์คูฟู (Khufu)”

    ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ khufu egypt

    มีวิทยาการใหม่ ศิลปกรรม และสถาปัตยธรรมเจริญมาก

    ประจวบกับกษัตริย์มีอํานาจในการปกครอง


    เป็นผลให้เกิด 

    "พีระมิดที่ใหญ่ที่สุด

    ที่เมือง กีซา (Giza)

    เรียก 

    "Great pyramid of Khufu"

    ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ khufu pyramid


    ................

    และแล้วสมัยอาณาจักรเก่าสิ้นสุดลง

    ในราชวงศ์ที่ 6

    เพราะ

    กษัตริย์ไร้ความสามารถในการปกครองและการรบ

    + ความทะเยอทะยานแย่งชิงอํานาจของขุนนาง

    โดยเฉพาะอย่างยิ่งพวกขุนนางที่เรียกว่า

    โนมาร์ซ (Nomarch)”

    ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ Nomarch

    เป็นผลให้อียิปต์โบราณต้องวุ่นวายเกิดสงครามกลางเมือง ขึ้นบ่อยครั้งและต้องตกอยู่ภายใต้การปกครองของพวกขุนนางนานกว่าสองศตวรรษ

    เรียกช่วงนี้ว่า 

    ช่วงขุนนางปกครองครั้งที่1”(The First Federal)


    ช่วงนี้ขุนนางมีอํานาจตั้งราชวงศ์(ราชวงศ์ที่ 7-11)

    มาปกครองอียิปต์โบราณ

    ที่เมืองธีปส์ (Thebes) ใน อียิปต์บน เป็นศูนย์กลางของ ราชวงศ์ที่ 7-8

    ต่อมา...

    ขุนนางที่เมืองเฮราเคบโอโปลิส (Herclepopolis) ในอียิปต์ล่าง

    ได้ตั้งราชวงศ์ที่ 9-10 ขึ้น

    ขณะที่อยู่ในราชวงศ์ที่ 10 ปรากฏว่าได้มีการจัดตั้งราชวงศ์ที่ 11

    ขึ้นที่เมืองธีปส์ควบคู่กันขึ้นมา

    ทําให้เกิดสงครามกลางเมืองเพื่อแย่งชิงอํานาจและดินแดนกัน


    3.สมัยอาณาจักรกลาง (The Middle Kingdom)

    (ราชวงศ์ที่ 11ตอนปลาย กับ ราชวงศ์ที่ 12)

    เริ่มด้วย 

    ฟาโรห์เมนตโฮเต็ปที่ 2 (Mentuhotep 2)

    กษัตริย์องค์สุดท้ายในราชวงศ์ที่ 11 แห่งธีปส์

    ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ Mentuhotep 2


    ปรามขุนนางได้และรวบรวมดินแดนอียิปต์โบราณเข้าด้วยกัน

    ทรงฟื้นฟูการค้าและสภาพแวดล้อม




    เวลาส่วนใหญ่ของสมัยอาณาจักรกลาง

    จะอยู่ในช่วงราชวงค์ที่ 12

    คือ

    ฟาโรห์อเมเนมฮัสที่ 1 (Amenemhat)” 

    ทรงเก่งในการรบและทรงฟื้นฟูการค้ากับฟินิเชียน

    ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ Amenemhat



    4.สมัยอาณาจักรใหม่หรือสมัยจักรวรรดิ (The New Kingdom or the Empire Age) (ราชวงศ์ที่ 18-20 )

    ธีปส์” เป็นเมืองหลวง

    จักรวรรดิ์อียิปต์โบราณเกิดขึ้นเป็นครั้งแรก เพราะกษัตริย์เก่งการรบและปกครอง

    หลักฐานทางประวัติศาสตร์ในสมัยนี้มีมาก และแน่นอนกว่าสมัยใดๆ ที่ผ่านมา


    สรุป

    การปกครอง 

    ปกครองแบบเทวราชา

    มีกษัตริย์เรียกฟาโรห์ 

    สังคม 

    เชื่อเรื่องเทพเจ้าหลายองค์

    เทพสูงสุดคือ สุริยเทพ(ราห์)

    ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ สุริยเทพ(ราห์)

    ศาสนา

    เชื่อเรื่องภพหน้า ชีวิตหลังความตาย ความอมตะของวิญญาณ


    ภูมิปัญญา

    ด้านสถาปัตยกรรม

    - พีระมิด Pyramid

    สร้างจากหิน เป็นสุสานเก็บศพ

    รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

    ด้านอักษรศาสตร์

    -สร้างอักษรภาพเฮียโรกลิฟฟลิค Hieroglyph

    เขียนบนกระดาษปาปิรุส

    ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ เฮียโรกลิฟฟลิค Hieroglyph

    ด้านวรรณกรรม

    - คัมภีร์มรณะ (Book of dead) หรือ คัมภีร์ของผู้มรณะ

    ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ Book of deadผลการค้นหารูปภาพสำหรับ Book of dead real


    **คัมภีร์มรณะนี้มิใช่เรื่องราวที่นักเขียนทั่วไปจะแต่งกันได้

    แต่ผู้จัดทําจะต้องเป็นพระหรือนักบวช ที่หากินกับญาติคนตายโดยเฉพาะ

    ซึ่งเป็นจะมีเนื้อหา

    คาถาอาคม คําสวด บทร้อง บทภาวนาและคําแนะนําเช่น 

    -ปฏิบัติตน อย่างไรในขณะที่วิญญาณถูกเหล่าเทพเจ้าซักฟอก

    -หากมีความผิดจริงจะหลีกเลี่ยงได้อย่างไร 

    -หากเป็นที่ยอมรับของเหล่าคณะเทพแล้วจะได้พบกับอะไรบ้าง

    -ตลอดจนพิธีกรรมต่าง ๆ เกี่ยวกับตัวมัมมี่ เพื่อว่าหลังฟื้นคืนชีพอีกครั้งจะได้ไม่เป็นคนพิการ

    <<<ปกติผู้เขียนคัมภีร์มรณะมักจะจัดทําขึ้นล่วงหน้า

    โดยเว้นชื่อลูกค้าไว้ - -

    ทํากันเป็นอุตสาหกรรม มีคุณภาพหลายระดับ หลายอยู่กับราคา>>


    ผลการค้นหารูปภาพ

    จริงๆแล้วคัมภีร์มีชื่อดั้งเดิมว่า

    "คัมภีร์แห่งการล่วงเข้ามาในเวลากลางวัน"

    (Book of Coming Forth by Day) หรือคัมภีร์แห่งการปรากฎเข้าสู่แสงสว่าง" (Book of Emerging Forth into the Light)

    **การที่ตั้งชื่อให้สอดคล้องกับเนื้อหา 

    เพราะมีธรรมเนียมที่จะไม่กล่าวถึงความตาย และคนตายกันตรง ๆ

    นิยมใช้คําเปรียบเปรยต่าง ๆ นานาที่พบบ่อย ๆ 

    มี2สํานวน ได้แก่ "เขาไปทิศตะวันตกแล้ว" กับ "ผู้ตายมีเสียงอื่นแม้จริง"


    คัมภีร์มรณะมีด้วยกันหลายสํานวนขึ้นอยู่กับแหล่งผลิต

    นักโบราณคดีลงความเห็นว่า

    'สํานวนที่สําคัญที่สุดมาจากธีบส์ 

    โดยมักจะกล่าวสรรเสริญเทพเจ้า โดยเฉพาะเทพโอซิริส'



    ด้านวิทยาศาสตร์

    -ทําปฏิทิน สุริยคติและจันทรคติ

    โดยกําหนด 1ปี มี 365 วัน

    ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ calendar egypt

    ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ calendar egypt


    -ทํามัมมี่ (Mummification)

    โดยอาศัยความรู้ทางการแพทย์และสรีรวิทยา

    เป็นการรักษาศพไม่ให้เน่าเปื่อย

    รูปภาพที่เกี่ยวข้องรูปภาพที่เกี่ยวข้อง



    ****************(แถม)******************

    มงกุฎของแต่ละอาณาจักร มีความแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด

    1.Hediet(มงกุฎขาว) --- Upper Egypt

    2.Hedjet(มงกุฎแดง) --- Upper Egypt

    3.Pschent(มงกุฎแดง+ขาว) -Unitate Egypt


    ....



    "นาร์เมอร์พาเลต" 

    Narmer palette หนึ่งในวัตถุโบราณที่มีชื่อเสียงที่สุดแห่งอียิปต์

    แสดงให้เห็นถึงชัยชนะของฟาโรห์นาเมอร์ในการรวมชาติอียิปต์

    และฉลองความสําเร็จยิ่งใหญ่ครั้งนี้




    คลีโอพัตรา สตรีที่มีบทบาทมากในการเมืองอียิปต์

    ต้นตระกูล คือราชวงศ์ทอเลมี หรือ ลากิด

    Ptolemaic dynasty หรือ Lagids

     ทอเลมีที่ 1 โซเตอร์ เป็น ใน7 แม่ทัพชาวกรีกที่ 

    พระเจ้าอเลกซานเด้อร์ส่งมาครองเมืองอียิปต์

    หลังจากที่อเล็กซานเดอร์เสด็จสวรรคต

     ทอเลมีก็ประกาศตนเป็น

    "พระเจ้าทอเลมี"

    ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ พระเจ้าทอเลมี

    และต่อมาเป็นที่รู้จักกันในชื่อ โซเตอร์”  แปลว่า ผู้มาช่วย 


    ต่อมาชาวอียิปต์ก็ยอมรับราชวงศ์ทอเลมี

    ว่าเป็นราชวงศ์ที่สืบการเป็นฟาโรห์ของอียิปต์

     ราชวงศ์ทอเลมีปกครองอียิปต์

    จนมาถูกพิชิตโดยโรมัน 

    ในปี 30 ก่อนคริสต์ศักราช

     

     


     



     



    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×