ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    สังคมไม่ขมอย่างที่คิด Junko Sang.

    ลำดับตอนที่ #21 : แนวคิดจักวรรดินิยมที่นำไปสู่ สงครามโลกครั้งที่1

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 224
      3
      12 เม.ย. 61

    ►แนวคิดจักวรรดินิยม◄ 

    ตามลัทธิจักวรรดินิยมยุโรป

    นำไปสู่การเผชิญหน้าของ 2 มหาอำนาจในยุโรปคือ

    1.ไตรภาคี (Triple entente มาจากฝรั่งเศส ententeหมายถึง "ข้อตกลง")

    กลุ่มของ อังกฤษ ฝรั่งเศส และรัสเซีย

    เพื่อยับยั้งฝ่ายมหาอำนาจกลาง และยังเป็นแผนการของฝรั่งเศสซึ่งต้องการโอบล้อมจักรวรรดิเยอรมัน


    2.ไตรพันธมิตร  (Triple Alliance Alliance หมายถึง "พันธมิตร")

    *พันธมิตรทหารระหว่างเยอรมนี ออสเตรีย-ฮังการีและอิตาลี

    โดยให้สัญญาจะช่วยเหลือกันในกรณีที่ถูกโจมตีจากรัฐมหาอำนาจอื่นอีกสองรัฐ


    ►ความเป็นมาในอดีต◄

    จักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี เคยเป็น 1ใน มหาอำนาจโลก (รองจาก รัสเซีย และ เยอรมนี)

    แต่เพราะความ ทะเยอทะยานอยากขยายอิทธิพล กลับทำให้ล่มสลายไปพร้อมกับราชวงศ์ผู้กลุ่มอำนาจ

    เชื้อแห่งสงครามถูกบ่มเพาะขึ้นในคาบสมุทรบอลข่าน ที่เป็นพื้นที่กันชนของจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีกับจักรวรรดิออตโตมัน

    แต่เมื่อถึงศตวรรษที่ 19 จักรวรรดิออตโตมันที่กำลังเสื่อมถอยก็ค่อยๆเสียอิทธิพลในคาบสมุทรแห่งนี้ไป

    เมื่อถึงปลายศตวรรษเพื่อยับยั้งอิทธิพลของรัสเซียในภูมิภาคมหาอำนาจในยุโรปจึงเข้าแทรกแซงข้อพิพาท (Congress of Berlin, 1878) โดยตกลงกันให้จักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีเข้ามามีอำนาจในการบริหารจัดการดินแดนบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา (โดยยังถือว่าดินแดนดังกล่าวอยู่ใต้อธิปไตยของออตโตมัน)

    ทำให้ชาวเซิร์ป+ชาวสลาฟ ไม่พอใจอย่างแรง และเมื่อออสเตรีย-ฮังการีประกาศผนวกเอาดินแดนบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนาเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิพร้อมกันนั้น ก็สร้างความประหลาดใจให้กับชาติมหาอำนาจอื่นๆ และก่อให้เกิดวิกฤติการณ์ทางการทูตเป็นระยะเวลาหลายเดือน....



    ภาวะความตึงเครียดในบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนายิ่งขยายตัวมากขึ้นในช่วงสงครามบอลข่านครั้งที่ 1 ในช่วงปี 1912-13 (พ.ศ. 2455-2456)

    เมื่อเซอร์เบียได้แพร่อิทธิพลลงใต้ขับไล่กองกำลังชาวเติร์กออกจากโคโซโว, โนวีพาซาร์ (Novi Pazar, เมืองทางตะวันตกเฉียงใต้ของเซอร์เบีย) และมาซิโดเนีย ในเดือนพฤษภาคม 1913 ข้าหลวงผู้ดูแลด้านการทหารแห่งบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนาได้ประกาศภาวะฉุกเฉิน ยุบรัฐสภา สั่งปิดสมาคมทางวัฒนธรรมของชาวเซิร์บทั้งหมด พร้อมกับสั่งงดการใช้ศาลยุติธรรม

    หนึ่งปีให้หลัง ฟรานซ์ เฟอร์ดินานด์ อาร์ชดยุกแห่งออสเตรีย (Franz Ferdinand, Archduke of Austria) รัชทายาทโดยพฤตินัยของจักรพรรดิฟรานซ์ โจเซฟ (Emperor Franz Joseph) [เนื่องจากมกุฏราชกุมารรูดอล์ฟ (Rudolf, Crown Prince of Austria) พระโอรสของจักรพรรดิโจเซฟ ทรงกระทำอัตวินิบาตกรรม ทำให้อาร์ชดยุกคาร์ล ลุดวิก (Karl Ludwig, Archduke of Austria) พระบิดาของอาร์ชดยุกฟรานซ์ เฟอร์ดินานด์ และพระอนุชาของจักรพรรดิโจเซฟเป็นผู้สืบราชบัลลังก์โดยธรรม แต่พระองค์ได้สิ้นพระชนม์ไปก่อน]

    ได้เสด็จมายังบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนาเพื่อเยี่ยมชมการซ้อมรบในวันที่ 28 มิถุนายน 1914 (พ.ศ. 2457)

    ระหว่างเสด็จพระดำเนินด้วยรถเปิดประทุนในกรุงซาราเยโวของบอสเนีย อาร์ชดยุคฟรานซ์ เฟอร์ดินานด์พร้อมด้วยพระชายาถูกลอบยิงสิ้นพระชนม์ด้วยฝีมือของกาฟริโล พรินซิป (Gavrilo Princip) ชาวบอสเนียเชื้อสายเซิร์บ สมาชิกกลุ่ม Mlada Bosna (หรือ Young Bosnia ขบวนการปฏิวัติของคนรุ่นใหม่ในบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา สมาชิกส่วนใหญ่เป็นชาวเซิร์บ)

    แผนการดังกล่าวเชื่อกันว่า ดรากูติน ดิมิตริเยวิช (Dragutin Dimitrijevic, หรือ Apis) นายทหารหัวหน้าฝ่ายข่าวกรองของกองทัพเซอร์เบีย และผู้กองตั้งองค์กร "หัตถ์ทมิฬ" (Black Hand) น่าจะเป็นผู้ที่บทบาทสำคัญในการวางแผน ซึ่งนิโกลา ปาซิส (Nicola Pasic) นายกรัฐมนตรีเซอร์เบียในขณะนั้นและศัตรูทางการเมิองของดิมิตริเยวิช ได้เตือนถึงแผนการดังกล่าวไปยังรัฐบาลออสเตรียก่อนล่วงหน้าแล้ว แต่คำเตือนดังกล่าวกลับเลือกใช้คำอย่างระมัดระวังจนอีกฝ่ายไม่อาจเข้าใจสารที่ต้องการจะสื่อได้อย่างชัดเจน

    หลังเกิดเหตุออสเตรีย-ฮังการีได้ยื่นข้อเรียกร้องที่คาดว่าเซอร์เบียจะไม่ยอมรับแต่แรก แต่ปรากฏว่าในวันที่ 25 กรกฎาคม เซอร์เบียได้รับข้อเรียกร้องเกือบทั้งหมด นอกเสียจากข้อเรียกร้องให้ปลดเจ้าหน้าที่เซอร์เบียตามคำสั่งออสเตรีย-ฮังการี และข้อเรียกร้องให้เจ้าหน้าที่ออสเตรีย-ฮังการีมีอำนาจในดินแดนของเซอร์เบียเพื่อการสอบสวนคดีลอบปลงพระชนม์

    ด้านจักรพรรดิวิลเลียมที่ 2 แห่งเยอรมนีพันธมิตรของออสเตรีย-ฮังการีเมื่อได้ทรงทราบการตอบรับข้อเรียกร้องของเซอร์เบียก็ได้มอบนโยบายให้กับกระทรวงต่างประเทศให้แจ้งออสเตรีย-ฮังการีว่า เหตุในการประกาศสงครามนั้นได้สิ้นไปแล้วในวันที่ 28 กรกฎาคม แต่ลีโอโปลด์ กราฟ ฟอน เบิร์ชโทลด์ (Leopold Graf von Berchtold) เสนาบดีกระทรวงการต่างประเทศของออสเตรีย-ฮังการีได้ยุยงให้จักรพรรดิฟรานซ์ โจเซฟประกาศสงครามกับเซอร์เบียได้สำเร็จในวันเดียวกันนั่นเอง

    เหตุการณ์ที่น่าจะสามารถยุติได้ด้วยวิถีทางการทูตจึงลุกลามดึงให้หลายประเทศที่เป็นพันธมิตรของทั้งสองฝ่ายเข้าร่วมสงคราม จนกลายเป็นมหาสงคราม (The Great War) หรือสงครามโลกครั้งที่ 1 ตลอดการสู้รบกว่า 4 ปี

    หลังสิ้นสุดสงครามยังทำให้จักรวรรดิเยอรมนี ออสเตรีย-ฮังการี และออตโตมันล่มสลายไปพร้อมกับราชวงศ์ผู้ปกครอง รวมถึงราชวงศ์โรมานอฟของรัสเซียที่ถึงกาลสิ้นสุดหลังการปฏิวัติในปี 1917

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×