คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #14 : เหตุการณ์สมัยกลาง : การฏิรูปศาสนา
การปฏิรูปศาสนา
(Religious
Reformation)
►สาเหตุ◄
1.
ประชาชนไม่พอใจสันตะปาปาที่กรุงโรม
พระและบาทหลวงที่มีใช้ชีวิต ฟุ่มเฟือย หรูหรา ทั้งยังเก็บภาษีบำรุงศาสนาสูงขึ้น
เพื่อนำเงินไปใช้จ่ายในคริสตจักรใน
กรุงโรม
รวมทั้งการซื้อขายตำแหน่งของพวกบาทหลวงและความเสื่อมในจริยวัตรของ สันตะปาปาที่ครองอำนาจในคริสต์ศตวรรษที่ 15-16
2.
เจ้าผู้ครองแคว้นต่างๆ
ในยุโรปต้องการเป็นอิสระ
จากคริสตจักรที่มีสันตะปาปาเป็น ผู้ปกครอง
และจากจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ เนื่องจากสันตะปาปาเข้าไปยุ่งเกี่ยว และใช้อำนาจทางการเมือง
3.
การศึกษาในสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาการ
ทำให้ชาวยุโรปเห็นว่ามนุษย์สามารถทำความ เข้าใจคัมภีร์ไบเบิลได้ด้วยตนเอง มากกว่าที่จะผ่านพิธีกรรมของศาสนจักร
4. การขายใบไถ่บาป
ของสันตะปาปาจูเลียสที่ 2
(Julius II) และสันตะปาปาลีโอที่ 1 ที่ต้องการหาเงินในการ
ก่อสร้างมหาวิหารเซนต์ปีเตอร์ที่กรุงโรม
เนื่องจากเป็นแนวคิดของชาวคริสต์ว่า
พระเป็นเจ้าส่งพระเยซูคริสต์มาช่วยมนุษย์ให้พ้น จากบาป เรียกว่า การไถ่บาป (redemption)
ด้วยการเสียสละพระชนม์ชีพ
ผู้นำการปฏิรูปคือ
► “มาร์ติน ลูเทอร์
Martin Luther”◄
*เป็นคนเริ่มต้นการ แตกเป็นนิกายต่างๆ
เริ่มต้นในดินแดนเยอรมนี ค.ศ. 1517
เมื่อมาร์ติน ลูเธอร์
นักบวชชาวเยอรมันและเป็นผู้สอนเทววิทยาสายคัมภีร์ (Biblical Theology) แห่งมหาวิทยาลัยวิทเทนบูร์ก (Wittenburg) ใน เยอรมนี
ที่ในระยะแรก:
ได้เขียน “ข้อโต้แย้ง95
ข้อ (95 Theses)”
ที่คัดค้านการขายใบไถ่บาปติดไว้หน้ามหาวิหารแห่งเมืองวิทเทนบูร์ก
ข้อโต้แย้งของเขาได้รับการสนับสนุนอย่างกว้างขวางในเยอรมนี
ทำให้กลุ่มผู้เห็นด้วยหันไปตามทางเขาจนได้ชื่อว่า “ผู้ประท้วง Protestant”
แต่!! ผู้นำของคริสตจักรไม่ยอมรับ+ลงโทษเขา โดย ‘ประกาศให้เขาเป็นบุคคลนอก ศาสนา (การบัพพาชนียกรรม/การตัดขาดออกจากศาสนา :excommunication)’
แต่กระนั้นเจ้าชาย
เฟรเดอริก (Friederick the Wise) ผู้ครองแคว้นแซกโซนีได้อุปถัมภ์เขาไว้
และให้เขาแปลคัมภีร์ไบเบิลเป็นภาษา เยอรมัน ทำให้ความรู้ด้านศาสนาแพร่หลายเร็วมาก!! (เพรามีเครื่องพิมพ์)
นอกจากนี้เขา ได้ก่อตั้งนิกายลูเธอร์(Lutheranism)
ซึ่งได้แพร่ขยายไปทั่วเยอรมนีและสแกนดิเนเวีย
ในระยะแรกนี้ไม่ได้อยากทำลายเอกภาพของศาสนา
แต่เพียงแค่อยากแก้ข้อปฏิบัติให้ตรงกับคัมภีร์
แต่เมื่อถึงระยะหลังเขาเพิ่มความรุนแรงในการต่อต้านคาทอลิก
ทำให้พวกที่แค่อยากปฏิรูปเฉยๆ กลับนับถือคาทอลิกเหมือนเดิม ทำให้ผู้สนับสนุนลดลง
ส่วนสวิตเซอร์แลนด์ได้เกิดการปฏิรูปศาสนาเช่นกัน
โดย
☼จอห์น คาลวิน หรือกัลแวง (John Calvin)
ชาวฝรั่งเศส
ซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งลัทธิคาลวินส์ (นิกายกัลแวงCalvinism)
ในอังกฤษ ☼พระเจ้าเฮนรีที่
8 ทรงขัดแย้งกับสันตะปาปา
เรื่องการหย่าขาดกับพระมเหสี องค์เดิมของพระองค์ คือ พระนางแคเธอรีนแห่งอารากอน (Catherine
of Aragon) เพื่อสมรสใหม่
พระองค์จึงให้อังกฤษแยกตัวศาสนาออกจากศาสนจักรที่กรุงโรม
โดยแต่งตั้ง สังฆราชแห่งแคนเทอร์บิวรี(Archbishop of
Canterbury) ขึ้นใหม่
ต่อมาใน ค.ศ. 1563
กษัตริย์อังกฤษ (สมเด็จพระราชินีนาถ เอลิซาเบทที่ 1) ทรงประกาศตั้ง...
“นิกายอังกฤษหรือนิกายแองกลิคัน
(Anglican Church)” นิกายนี้มีลักษณะเด่น คือ
การยอมรับและรักษาพิธีกรรมต่างๆ ของนิกายโรมันคาทอลิก
แต่ไม่ยอมรับนับถือสันตะปาปาที่กรุงโรม
ในฝรั่งเศส ลัทธิคาลวินได้แพร่หลายในฝรั่งเศสในกลุ่มที่เรียกว่า
พวกอูเกอโนต์ (Huguenot)
ซึ่งถูกรัฐบาลปราบปรามอย่างหนักในคริสต์ศตวรรษที่ 16
การปฏิรูปได้แพร่ขยายจากเยอรมนีสวิตเซอร์แลนด์อังกฤษ
ฮอลแลนด์และกลุ่มสแกน- ดิเนเวีย ไปยังประเทศอื่นๆ ในยุโรป และมีการต่อต้านทุกแห่ง
►ผลของการปฏิรูปการศาสนา◄
1. คริสตศาสนาแบ่งออกเป็น 2 นิกายใหญ่
คือ โรมันคาทอลิก
กับ นิกายโปรเตสแตนต์ ซึ่งแยกเป็นนิกายต่างๆ ได้แก่ นิกายลูเธอร์แรน นิกายคาลวิน
นิกายแองกลิคัน เป็นต้น (ส่วนนิกายออร์ทอดอกซ์
แยกตัวไม่ขึ้นกับสันตะปาปา ใน ค.ศ. 1045 โดยมีสังฆราช
ที่เรียกว่า patriarch เป็นประมุข ซึ่งแพร่หลายในกรีซ
รัสเซีย เซอร์เบีย โรมาเนีย บัลแกเรีย)
ทำให้ความเป็นเอกภาพทางศาสนาสิ้นสุดลง
2. เกิดการกระตุ้นให้ศึกษาหลักธรรมทางคริสต์ศาสนามากขึ้น
ในหมู่สามัญชน
มีการ เผยแผ่คริสต์ศาสนาไปยังดินแดนต่างๆ
3. เกิดกระแสชาตินิยมในประเทศต่างๆ
เนื่องจากนิกายโปรเตสแตนต์ส่งเสริมวัฒนธรรม
ท้องถิ่น และส่งเสริมให้อำนาจแก่ผู้ปกครองในท้องถิ่นเป็นตัวแทนของพระเจ้าในการปกครอง
4. เกิดสงครามศาสนาในยุโรปหลายครั้ง ส่งผลให้สถาบันกษัตริย์มีอำนาจเหนือคริสตจักร
ในที่สุด
ความคิดเห็น