ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    สังคมไม่ขมอย่างที่คิด Junko Sang.

    ลำดับตอนที่ #20 : ลัทธิจักวรรดินิยม

    • เนื้อหานิยายตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 330
      6
      12 เม.ย. 61

    ►ลัทธิจักรวรรดินิยมในยุโรป◄

    ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ Imperialism

    อยู่ในช่วงเวลายุโรปสมัยใหม่ซึ่งเริ่มในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 15-19 นั้น 

    ยุโรปมีการ เปลี่ยนแปลงอย่างมาก

    ...แต่บรรดาชนชาติอื่นๆ ใน ทวีปเอเชียและแอฟริกา แม้ชาติที่เป็นเจ้าของอารยธรรมโบราณต่างๆ ยังคงมีวิถีชีวิตแบบดั้งเดิม ไม่มีการคิดค้นเทคนิคใหม่ๆ ในการผลิตแหล่งอารยธรรม เช่น จีน อินเดีย อียิปต์ดินแดนเมโสโปเตเมีย

    ต่างอยู่กับความคิดในอดีต ไม่กระตือรือร้นจะแสวงหาความรู้วิทยาการใหม่ๆ ทั้งจีนและอินเดียก็ตกอยู่ในการ ปกครองของต่างชาติ จึงอ่อนแอลง รวมทั้งการขาดระบบราชการที่มีประสิทธิภาพ จึงขาดความ แข็งแกร่งที่จะต่อต้านชาวยุโรปที่เดินทางเข้ามาในดินแดนเหล่านี้เพื่อแสวงหาผลประโยชน์ ทางการค้า ดินแดนเหล่านี้จึงไม่มีพลังเพียงพอที่จะต้านทานอำนาจอันแข็งแกร่งของชาติยุโรปได้

    สมัยจักรวรรดินิยม เป็นช่วงเวลาในตอนปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 ยุโรปได้ขยาย อำนาจและอิทธิพลครอบครองดินแดนในทวีปเอเชียและแอฟริกา

    สมัยจักรวรรดินิยมเริ่มเสื่อมลงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 แต่ผลกระทบของจักรวรรดินิยมยังคงหลงเหลือสืบต่อมาใน ดินแดนส่วนต่างๆ ของโลก

     

    ยุคของลัทธิจักรวรรดินิยม มี 2 ยุค

    ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ Imperialism

    1.    .ลัทธิจักรวรรดินิยมในแบบเก่า ก่อนปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19

    ใช้อำนาจทางการทหารเข้ายึดครองดินแดนที่อ่อนแอกว่า แล้วจึงขยายอำนาจทางการเมืองเข้าไป

    ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ New Imperialism

    2.   ยุคลัทธิจักรวรรดินิยมใหม่ (New Imperialism) หลังปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19

    เป็นการแสวงหาดินแดนโพ้นทะเล โดยบรรดาประเทศมหาอำนาจต่างพยายาม แข่งขันกันเข้าไปปกครองหรือมีอิทธิพลในดินแดนเอเชียใต้บางส่วนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และอเมริกา

    เพื่อสนองนโยบายพาณิชยนิยม (mercantilism) ที่เจ้าอาณานิคมพยายามเข้าควบคุมประเทศอาณานิคม เพื่อผลกำไรและผลประโยชน์ของตนเพียงผู้เดียว

    ลัทธิจักรวรรดินิยมใหม่ จึงหมายถึง การที่ประเทศมหาอำนาจพยายามครอบงำ ประเทศด้อยพัฒนาโดยการเข้าไปปกครองโดยตรง หรือได้รับสิทธิพิเศษต่างๆ เหนืออำนาจการ ควบคุมของประเทศเจ้าของดินแดนนั้นๆ

    ดังนั้น จึงเริ่มมีการจัดตั้งอาณานิคมในทวีปอเมริกา เอเชียและแอฟริกา การแข่งขันการแสวงหาอาณานิคมดังกล่าวเป็นไปอย่างต่อเนื่องในระหว่าง ค.ศ. 1879-

    จนบานปลายไปเป็นสาเหตุแห่งความขัดแย้งในภูมิภาคต่างๆ เช่น การแย่งชิงดินแดนในแอฟริกา การแย่งชิงผลประโยชน์จากจีน นอกจากนี้ยังเพิ่มจักรวรรดินิยมใหม่ คือ เยอรมนีอิตาลีและ สหรัฐอเมริกา เข้าร่วมแสวงหาดินแดนและผลประโยชน์ด้วย


    ►สาเหตุที่ทำให้เกิดลัทธิจักรวรรดินิยม◄ 

    1. ความสำเร็จของการปฏิวัติอุตสาหกรรมของประเทศยุโรป 

         ทำให้เกิดความต้องการยึดครองดินแดนที่มีวัตถุดิบอันเป็นประโยชน์ต่อการอุตสาหกรรม 

     - อังกฤษ เป็นชาติแรกที่ประสบความสำเร็จด้านการพัฒนาอุตสาหกรรมและมี กองทัพที่เข้มแข็ง สามารถขยายอิทธิพลปกป้องและควบคุมเส้นทางการเดินเรือ 

    ดังนั้น อังกฤษจึง ครอบครองอินเดียซึ่งเป็นดินแดนที่อังกฤษถือว่าเป็น “เพชรยอดมงกุฎของอังกฤษ” รวมทั้งทำ สงครามฝิ่น (Opium War ค.ศ. 1839-1842) กับจีน เพื่อปกป้องสถานีการค้าฝิ่นในจีนและ ครอบครองเกาะฮ่องกงเพื่อเป็นที่มั่นในเอเชียตะวันออก 

    การที่อังกฤษลงทุนในอินเดียและจีน เพราะเป็นตลาดใหญ่มีประชากรมาก ซึ่งเหมาะสำหรับการระบายสินค้าสำเร็จรูป นอกจากนี้อังกฤษยังได้วัตถุดิบสำหรับโรงงานอุตสาหกรรม เช่น ฝ้ายจากอียิปต์ยาง พาราและดีบุกจากมลายูน้ำมันจากตะวันออกกลาง มีการลงทุนทำเหมืองแร่ในจีน แอฟริกา ตะวันออกกลาง และอเมริกาใต้รวมทั้งกรณีนายทุนชาติมหาอำนาจนำเงินไปให้รัฐบาลในดินแดน ด้อยพัฒนากู้เมื่อประเทศเหล่านี้ไม่สามารถชำระเงินคืน นายทุนก็จะเรียกร้องให้รัฐบาลของตน เข้าแทรกแซง เช่น อังกฤษยึดครองอียิปต์ใน ค.ศ. 1882 เป็นต้น 

     - ฝรั่งเศส เข้ายึดครองแอลเจียร์(Algiers) ใน ค.ศ. 1830 และต่อมาก็เข้ายึดครอง อินโดจีน 

     - รัสเซีย ได้ขยายอิทธิพลดินแดนระหว่างแม่น้ำอามูร์(Amur) กับแม่น้ำอุสซูรี (Ussuri) และดินแดนในเขตแปซิฟิกใน ค.ศ. 1860 และขยายอำนาจเจ้าสู่เอเชียกลาง  

    - เนเธอร์แลนด์ สามารถครอบครองหมู่เกาะอินเดียตะวันออก (อินโดนีเซีย) 

    2. ความตื่นตัวในลัทธิชาตินิยม 

    ในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ดินแดนต่างๆ ในยุโรป เกิดความทะเยอทะยานที่จะเป็นชาติมหาอำนาจชาติมหาอำนาจ จึจึงเกิดการแข่งขันกันพัฒนาทางด้าน อุตสาหกรรมและการค้า แสวงหาความร่ำรวยให้แก่ประเทศตน 

    ดังนั้นจึงต้องหาอาณานิคม ซึ่ง นอกจากเป็นแหล่งวัตถุดิบและแหล่งระบายสินค้าแล้ว ยังหมายถึงศักดิ์ศรีและเกียรติยศของ มหาอำนาจในยุโรปด้วย รวมทั้งความพยายามมิให้ประเทศคู่แข่งเข้ามายึดครองดินแดนนั้นก่อน ด้วย 

    เช่น

    -ฝรั่งเศส พยายามแสวงหาอาณานิคมในที่ต่างๆ เพื่อกู้ศักดิ์ศรีของประเทศที่ พ่ายแพ้ในสงครามฝรั่งเศสปรัสเซีย (ค.ศ. 1870-1871) 

    - เยอรมนี เข้ายึดดินแดนแอฟริกา เพื่อแสดงความยิ่งใหญ่ 

    - อิตาลี แสวงหาอาณานิคมในแอฟริกา เพื่อแสดงว่าตนมีศักดิ์ศรีทัดเทียมประเทศ มหาอำนาจ 

    3. เพื่อเผยแผ่คริสต์ศาสนาและอารยธรรมตะวันตก ในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19

    ชาวตะวันตกหลายคนเชื่อถือในทฤษฎีสังคมของชาร์ลส์ดาร์วิน (Social Darwinism) ว่าคนขาวมี อารยธรรมเหนือกว่าคนสีผิวอื่นๆ ทำให้คนขาวมีสิทธิอันชอบธรรมและมีภาระหน้าที่ที่จะเข้า ปกครองพวกที่ด้อยกว่าตน เพื่อนำเอาอารยธรรมและคริสต์ศาสนาไปเผยแพร่ อันจะนำความ เจริญและความสันติสุขมาสู่ดินแดนเหล่านั้น ทฤษฎีนี้แพร่หลายมากในเยอรมนีและมีอิทธิพลต่อ บรรดาผู้นำของประเทศต่างๆ มีการอ้าง ภาระหน้าที่ของคนขาว (The Whiteman’s Burden) ที่จะนำอารยธรรมไปเผยแพร่ในดินแดนด้อยอารยธรรม ในช่วงเวลาดังกล่าวจึงมีนักสอนศาสนา (มิชชันนารี) จำนวนมากไปสอนศาสนาใน ดินแดนต่างๆ 

    ซึ่งเป็นการช่วยส่งเสริมการแสวงหาอาณานิคมด้วยเช่นกัน เพราะพวกมิชชันนารี เดินทางลึกเข้าไปในภาคพื้นทวีปซึ่งยังไม่เคยมีชาวตะวันตกสำรวจมาก่อนเลย ทำให้โลกภายนอก ได้ทราบข่าวความมั่งคั่งของประเทศภายในภาคพื้นทวีป ชักจูงให้ชาวยุโรปเดินทางเข้าไปสำรวจ ทรัพยากร และเข้ายึดครองในที่สุด

    4. ความต้องการหาแหล่งระบายพลเมือง 

    กลางคริสต์ศตวรรษที่ 18 ยุโรปมีประชากร เพิ่มมากขึ้น บรรดานักการเมืองในประเทศต่างๆ จึงหวังยึดครองอาณานิคมเพื่อระบายพลเมือง 

    จะเห็นว่าชาวยุโรปพอใจที่จะอพยพไปตั้งถิ่นฐานในสหรัฐอเมริกาและอเมริกาใต้เพราะมีที่ทำมา หากินสะดวกและสภาพแวดล้อมไม่แตกต่างจากถิ่นฐานเดิมนัก 


    5. ความจำเป็นในการรักษาและป้องกันอาณานิคม 

    ต้องพยายามรักษาอาณานิคมไว้ดังนั้น ประเทศมหาอำนาจจึงต่างพยายามหาฐานที่มั่น ทางการทหารทั้งทางบกและทางทะเลที่เป็นจุดยุทธศาสตร์เพื่อเป็นฐานทัพคอยคุ้มครองป้องกัน 


    ►ผลของยุคจักรวรรดินิยม◄

    1. ทำให้ โลกก้าวเข้าสู่ยุคสากล เพราะ เป็นสมัยที่ดินแดนส่วนต่างๆ ของโลกถูกเชื่อมโยงเข้าด้วยกัน      

    ประเทศต่างๆ ต่างก็มีการติดต่อกัน ไม่มีใครอยู่โดดเดี่ยวโดยไม่ ยุ่งเกี่ยวกับประเทศใดๆ ได้ 

    2. เป็นสมัยที่ชาติยุโรปมีอำนาจสูงสุด มีอิทธิพลครอบคลุมทั่วโลก เนื่องมาจากการปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์และการปฏิวัติทางอุตสาหกรรม ตลอดจนแสนยานุภาพ ทางการทหาร ชาวยุโรปจึงได้นำอารยธรรมของตนไปเผยแพร่ในทุกมุมโลก

     3. ดินแดนที่เป็นอาณานิคมมีความเจริญก้าวหน้าขึ้น เช่น ด้านสาธารณสุขและการแพทย์ ด้านการศึกษาซึ่งชาวยุโรปนำมาสู่ดินแดนอาณานิคม ซึ่งเป็นผลให้ชาวพื้นเมืองเกิดความตื่นตัวที่ จะพัฒนาประเทศชาติของตน 

    4. ดินแดนที่เป็นอาณานิคมต้องสูญเสียเอกราชและอธิปไตย 

    ต้องสูญเสียทรัพยากรให้ เมืองแม่ ต้องกลายเป็นตลาดระบายสินค้าของชาติมหาอำนาจ ต้องสูญเสียศักดิ์ศรีและความ ภาคภูมิใจ ต้องเคารพและเชื่อฟังชาติมหาอำนาจที่เข้ามาปกครองและมีอภิสิทธิ์เหนือชาว พื้นเมืองมากมาย

    5. ชาติมหาอำนาจได้รวมดินแดนอาณานิคมเข้าเป็นส่วนเดียวกัน 

    โดยไม่คำนึงถึงเชื้อชาติ ที่แตกต่างกัน ภายหลังที่อาณานิคมได้รับเอกราชก่อให้เกิดปัญหาความแตกแยกในหลายประเทศ เช่น ชาวมุสลิมในปากีสถานแยกออกมาจากอินเดีย เป็นต้น

    6. การแข่งขันกันแสวงหาอาณานิคมในสมัยจักรวรรดินิยม ทำให้เกิดความบาดหมาง นำไปสู่สงครามโลกครั้งที่ 1 


    7. โลกในยุคปัจจุบันแม้อาณานิคมส่วนใหญ่ได้รับเอกราชแล้วก็ตามแต่หลายประเทศต้อง กลับถูกครอบงำโดยลัทธิจักรวรรดินิยมทางเศรษฐกิจแทน เช่น ธนาคารโลก (World Bank) และ องค์การกองทุนระหว่างประเทศ (International Monetary Fund-IMF) ที่สหรัฐอเมริกาขยาย อิทธิพลทางการเงินมาสู่ประเทศต่างๆ 


    กล่าวได้ว่า ลัทธิจักรวรรดินิยมยังคงมีอยู่จนถึงปัจจุบัน และมีผลดีทางด้านการสร้างสรรค์ ความเจริญตามแบบโลกตะวันตก และผลไม่ดีคือการเสียทรัพยากรของชาติเสียผลประโยชน์ที่พึง ได้รวมทั้งวัฒนธรรมประเพณีของชาติถูกครอบงำ วิถีชีวิตกลายเป็นชาติตะวันตกไป

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×