ลำดับตอนที่ #1
คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #1 : โรคเนื้องอกในสมอง
เนื้องอกสมองพบได้ในทุกกลุ่มอายุค่ะ ขณะอยู่ในครรภ์ก็เป็นได้ แต่ไม่สามารถรักษาได้ค่ะ สาเหตุของการเกิดโรคยังไม่ทราบแน่ชัดว่าเกิดจากอะไร สาเหตุของเนื้องอกสมอง
ในปัจจุบันมีการศึกษาอย่างมากมาย พบว่าอาจจะมีสาเหตุได้หลายอย่างเช่น การเปลี่ยนแปลงในโครงสร้างสารพันธุกรรม ซึ่งอาจจะถ่ายทอดทางพันธุกรรม หรือเป็นผลจากสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป ในปัจจุบันนี้ยังไม่ได้ผลแน่ชัดแต่ก็มีความก้าวหน้าไปมาก ซึ่งการศึกษาต่อๆ ไปจะทำให้การรักษาเนื้องอกสมองในอนาคตได้ผลมากยิ่งขึ้น
อาการของเนื้องอกสมอง
ตำแหน่งต่างกันของเนื้องอกในสมองก็จะให้อาการแตกต่างกันไป เช่น ถ้าเกิดในตำแหน่งที่ควบคุมการทรงตัว เด็กก็จะมีอาการเดินเซ หกล้มบ่อย ในรายอื่น ๆ อาจจะมีอาการแขนขาอ่อนแรงหรือชาครึ่งซีก, อาการตาเข, ตากระตุก, ปากเบี้ยว หรือ อาการชักเกร็งหรือกระตุก อาการจะมากถ้าก้อนเนื้องอกโตมากหรือโตเร็ว ซึ่งเป็นเพราะความดันในสมองสูง เนื่องจากก้อนเนื้องอกโตอยู่ในสมอง ในเด็กเล็ก จะต้องอาศัยการสังเกต เนื่องจากเด็กไม่สามารถจะบอกเล่าอาการได้ เช่น การเซื่องซึม ไม่ดูดนม หรือมีอาเจียนพุ่ง ถ้าเป็นเด็กโตอาจจะบอกได้ว่าปวดศีรษะ ภาวะความดันในสมองสูงนี้จะส่งผลกระทบต่อประสาทตา ถ้าเป็นนานจะทำให้การมองเห็นเสียไป นอกจากนั้นความดันในสมองที่สูงจะทำให้ผู้ป่วยหมดสติ หรือโคม่าในที่สุด อาการผิดปกติที่อาจจะบอกว่าผู้ป่วยมีเนื้องอกในสมอง แสดงออกได้หลายอย่างด้วยกันค่ะ ขึ้นอยู่กับตำแหน่งของเนื้องอก ขนาดและชนิดของเนื้องอก เมื่อมีเนื้องอกเกิดขึ้นในกะโหลกศีรษะ จะทำให้มีอาการดังนี้คือค่ะ
ภาวะความดันในกะโหลกศีรษะสูง โดยจะมีอาการแสดง เช่น
ปวดศีรษะในระยะแรก มักปวดเวลาตื่นนอนตอนเช้า พอสาย ๆ อาการจะดีขึ้น ระยะต่อมาอาการปวดจะค่อย ๆ เพิ่มความรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ จนปวดตลอดเวลา ยาแก้ปวดก็ไม่สามารถลดอาการปวดได้ ตำแหน่งที่ปวด ส่วนมากจะปวดที่บริเวณท้ายทอย หน้าผาก หรือทั้งศีรษะ
อาการอาเจียนพุ่งในระยะแรกจะอาเจียนตอนเช้า แต่ไม่สัมพันธ์กับอาหาร ส่วนใหญ่มักจะไม่มีอาการคลื่นไส้มาก่อนมักพบบ่อยในผู้ป่วยเด็ก
ตำแหน่งของเนื้องอกจะทำให้อาการที่แสดงออกแตกต่างกัน เช่น ความผิดปกติของการทรงตัว ทรงตัวไม่ค่อยได้ แขนขาอ่อนแรง การมองเห็น การพูด พฤติกรรมการรับรู้ ระดับความรู้สึกเปลี่ยนแปลงไป หรืออาจมีตามัว การเคลื่อนไหวลูกตาผิดปกติ อาจจะมีตาเหล่ไปข้าง ๆ และม่านตาขยายใหญ่
อาการชัก หรือก้อนที่ศีรษะ เป็นต้น
สามารถหารายละเอียดเพิ่มเติมได้ทีhttp://www.bangkokhealth.com/
ในปัจจุบันมีการศึกษาอย่างมากมาย พบว่าอาจจะมีสาเหตุได้หลายอย่างเช่น การเปลี่ยนแปลงในโครงสร้างสารพันธุกรรม ซึ่งอาจจะถ่ายทอดทางพันธุกรรม หรือเป็นผลจากสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป ในปัจจุบันนี้ยังไม่ได้ผลแน่ชัดแต่ก็มีความก้าวหน้าไปมาก ซึ่งการศึกษาต่อๆ ไปจะทำให้การรักษาเนื้องอกสมองในอนาคตได้ผลมากยิ่งขึ้น
อาการของเนื้องอกสมอง
ตำแหน่งต่างกันของเนื้องอกในสมองก็จะให้อาการแตกต่างกันไป เช่น ถ้าเกิดในตำแหน่งที่ควบคุมการทรงตัว เด็กก็จะมีอาการเดินเซ หกล้มบ่อย ในรายอื่น ๆ อาจจะมีอาการแขนขาอ่อนแรงหรือชาครึ่งซีก, อาการตาเข, ตากระตุก, ปากเบี้ยว หรือ อาการชักเกร็งหรือกระตุก อาการจะมากถ้าก้อนเนื้องอกโตมากหรือโตเร็ว ซึ่งเป็นเพราะความดันในสมองสูง เนื่องจากก้อนเนื้องอกโตอยู่ในสมอง ในเด็กเล็ก จะต้องอาศัยการสังเกต เนื่องจากเด็กไม่สามารถจะบอกเล่าอาการได้ เช่น การเซื่องซึม ไม่ดูดนม หรือมีอาเจียนพุ่ง ถ้าเป็นเด็กโตอาจจะบอกได้ว่าปวดศีรษะ ภาวะความดันในสมองสูงนี้จะส่งผลกระทบต่อประสาทตา ถ้าเป็นนานจะทำให้การมองเห็นเสียไป นอกจากนั้นความดันในสมองที่สูงจะทำให้ผู้ป่วยหมดสติ หรือโคม่าในที่สุด อาการผิดปกติที่อาจจะบอกว่าผู้ป่วยมีเนื้องอกในสมอง แสดงออกได้หลายอย่างด้วยกันค่ะ ขึ้นอยู่กับตำแหน่งของเนื้องอก ขนาดและชนิดของเนื้องอก เมื่อมีเนื้องอกเกิดขึ้นในกะโหลกศีรษะ จะทำให้มีอาการดังนี้คือค่ะ
ภาวะความดันในกะโหลกศีรษะสูง โดยจะมีอาการแสดง เช่น
ปวดศีรษะในระยะแรก มักปวดเวลาตื่นนอนตอนเช้า พอสาย ๆ อาการจะดีขึ้น ระยะต่อมาอาการปวดจะค่อย ๆ เพิ่มความรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ จนปวดตลอดเวลา ยาแก้ปวดก็ไม่สามารถลดอาการปวดได้ ตำแหน่งที่ปวด ส่วนมากจะปวดที่บริเวณท้ายทอย หน้าผาก หรือทั้งศีรษะ
อาการอาเจียนพุ่งในระยะแรกจะอาเจียนตอนเช้า แต่ไม่สัมพันธ์กับอาหาร ส่วนใหญ่มักจะไม่มีอาการคลื่นไส้มาก่อนมักพบบ่อยในผู้ป่วยเด็ก
ตำแหน่งของเนื้องอกจะทำให้อาการที่แสดงออกแตกต่างกัน เช่น ความผิดปกติของการทรงตัว ทรงตัวไม่ค่อยได้ แขนขาอ่อนแรง การมองเห็น การพูด พฤติกรรมการรับรู้ ระดับความรู้สึกเปลี่ยนแปลงไป หรืออาจมีตามัว การเคลื่อนไหวลูกตาผิดปกติ อาจจะมีตาเหล่ไปข้าง ๆ และม่านตาขยายใหญ่
อาการชัก หรือก้อนที่ศีรษะ เป็นต้น
การรักษา ถ้าสงสัย ควรส่งไปตรวจที่โรงพยาบาล อาจต้องเอกซเรย์กะโหลกศรีษะ เอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมอง ตรวจคลื่นสมอง และตรวจพิเศษอื่น ๆ ถ้าพบว่าเป็นเนื้องอกในสมอง อาจต้องรักษาด้วยการผ่าตัดหรือฉายรังสี ผลการรักษาขึ้นกับชนิดและความรุนแรงของโรค ในบ้านเราเนื่องจากผู้ป่วยมักมาหาแพทย์ช้าไป การรักษาจึงไม่ค่อยได้ผลดี ข้อแนะนำ - ผู้ป่วยที่มีอาการสงสัยว่าจะเป็นเนื้องอกในสมอง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง มีอาการปวดศีรษะและอาเจียนตอนเช้ามืดนานเกินหนึ่งสัปดาห์ ควรรีบไปพบแพทย์ เพราะถ้าพบว่าเป็นเนื้องอกของสมองในระยะเริ่มแรก การรักษามักจะได้ผลดี - ถ้ามีอาการปวดศีรษะไม่ทราบสาเหตุ นานเกิน 2 สัปดาห์ ควรปรึกษาแพทย์ |
สามารถหารายละเอียดเพิ่มเติมได้ทีhttp://www.bangkokhealth.com/
เก็บเข้าคอลเล็กชัน
ความคิดเห็น