ไทยทรงดำ - ไทยทรงดำ นิยาย ไทยทรงดำ : Dek-D.com - Writer

    ไทยทรงดำ

    ไทยทรงดำ "ประเพณีที่เหลือเชื่อ" ที่คนหลายคนไม่รู้จักว่าคืออะไร อะไรคือไทยทรงดำ หรือเรียกอีกอย่างว่า "ลาวโซ่ง" นั่นเอง....

    ผู้เข้าชมรวม

    1,006

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    2

    ผู้เข้าชมรวม


    1K

    ความคิดเห็น


    1

    คนติดตาม


    0
    เรื่องสั้น
    อัปเดตล่าสุด :  27 ส.ค. 51 / 23:45 น.


    ข้อมูลเบื้องต้น
    ความเชื่อของลาวโซ่ง ส่วนใหญ่มีความเชื่อในเรื่องผี และขวัญอยู่มาก เชื่อว่าผีนั้นเป็นเทพยดาที่ให้ความคุ้มครอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งผีเรือน หากทำสิ่งไม่ดีจะเป็นการผิดผี ซึ่งผีเรือนอาจจะลงโทษได้
    ผีแถนหรือผีฟ้า เชื่อว่าเป็นเทวดาอยู่บนฟ้า สามารถบันดาลความเป็นไปแก่มนุษย์ทั้งด้านดีและด้านร้าย ต้องปฎิบัติตนให้ถูกต้องตามความประสงค์ของแถน เพื่อจะได้รับความเมตตาได้รับความสุข
    ผีบ้านผีเรือน เป็นผีที่คุ้มครองป้องกันบ้านเรือนให้ร่มเย็นเป็นสุขและอุดมสมบูรณ์ อาจสิงสถิตอยู่ตามป่า ภูเขาหรือต้นไม้บางแห่ง ก็สร้างศาลให้ อยู่บริเวณที่มีหลักเมือง ถือว่าเป็นเขตหวงห้ามใช้เฉพาะการประกอบพิธีเซ่นไหว้ หรือที่เรียกว่า เสน เท่านั้น ส่วนผีประจำหมู่บ้านให้อยู่ต่างหากเรียกว่สา ศาลเจ้าปู่ หรือศาลตาปู่ และต้องทำพิธีเซ่นไหว้ทุกปี
    ผีบรรพบุรุษ เป็นผีของปู่ย่า ตายาย หรือพ่อแม่ที่ถึงแก่กรรมไปแล้ว จะถูกเชิญขึ้นไว้บนเรือน ณ ห้องผีเรือน หรือห้องของบรรพบุรุษที่เรียกว่า กะล่อท่อง และต้องจัดพิธีเซ่นไหว้ทุกปี เรียกว่า พิธีเสนเรือน
    ผีป่าขวงและผีอื่น ๆ ที่สถิตอยู่ตามป่า ภูเขา แม่น้ำ หรือสถานที่ต่าง ๆ ซึ่งหากคนทำให้ไม่พอใจก็อาจลงโทษให้เจ็บป่วยได้เช่นกัน
    ความเชื่อในเรื่องขวัญ

                  เชื่อว่าแถนเป็นผู้สร้างให้มนุษย์มาเกิด และมีขวัญแต่ละคนติดตัวมาอยู่ในร่างกายรวม ๓๒ ขวัญ ซึ่งมองไม่เห็นด้วยตาเปล่า แต่ทำให้ร่างกายเคลื่อนไหวทำงานได้ ขวัญอาจตกหล่นหรือสูญหายได้ง่าย ถ้าตกใจหรือเจ็บป่วยขวัญจะไม่อยู่กับตัว จึงต้องทำพิธีเรียกขวัญ หรือสู่ขวัญ เพื่อให้ขวัญกลับมาอยู่ในร่างกายอย่างปกติสุขตามเดิม

    นิยายแฟร์ 2024
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ

      ประเพณีการเกิด


      นับตั้งแต่เริ่มปฏิสนธิจนถึงวันคลอด ผู้เป็นแม่คงทำงานตามปกติไม่มีการพักผ่อน โดยเชื่อว่าการออกใช้แรงงานนั้นจะทำให้คลอดลูกง่าย เมื่อมีอาการเจ็บท้องก่อนคลอดจะทำพิธีเซ่นผีเรือนเรียกว่า "วานขวัญผีเรือน" การประกอบพิธีกรรมให้หมอขวัญเป็นผู้ทำพิธีฆ่าไก่ ๑ ตัว เซ่นให้ผีญาติพี่น้องที่ตายทั้งกลมหรือตายในขณะคลอดลูกกินก่อน เพื่อไม่ให้มารังควาญรบกวนในขณะคลอด เมื่อเด็กคลอดพ้นจากครรภ์มารดาแล้ว ก็จะตัดสายรกซึ่งเรียกว่าสายแห่ยาวประมาณ ๒ ข้อมือ อาบน้ำเด็กน้อยด้วยน้ำอุ่น แล้วนำไปวางไว้ในกระด้ง รอจนกระทั่งสายรกหลุดออกมา เมื่อสายรกหลุดพ้นออกจากครรภ์แล้วนำไปล้างบรรจุใส่กระบอกไม้ไผ่ที่เตรียมไว้แล้วนำไปแขวนที่คบไม้ใหญ่ในป่าบั้งแห่ซึ่งเป็นป่าสำหรับทิ้งรกเด็กแรกเกิด โดยแขวนสูงจากพื้นดินระดับเสมอศีรษะคนเดินผ่าน ส่วนแม่ก็ให้ล้างชำระทำความสะอาดร่างกายเล็กน้อยแล้วนั่งอยู่ไฟเรียกว่า "อยู่กำเดือน" เมื่อถึงเตาไฟให้หันหน้าเข้าหาเตาไฟ เอามือควักเขม่าควันไฟมากิน หลังจากนั้นดื่มน้ำร้อนอยู่ไฟและอาบน้ำร้อนที่ต้มผสมใบไม้ซึ่งเป็นสมุนไพรพื้นบ้านจนครบเดือน

      การอยู่กำหรืออยู่ไฟ ภายหลังคลอดเริ่มอยู่ไฟตั้งแต่วันแรกเป็นเวลา ๓๐ วัน ในระยะแรก การอยู่ไฟจะนั่งอยู่ที่เตาไฟตลอดเวลา ๓ วัน เรียกว่า "อยู่กำไฟ" แม่กำเดือนหรือหญิงที่อยู่ไฟจะต้องระมัดระวังเรื่องอาหาร รับประทานได้แต่ข้าวเหนียวนึ่งกับเกลือคั่วหรือเกลือเผาจนครบ ๓ วัน จึงจะ"ออกกำไฟ" ในระยะนี้จะมีญาติพี่น้องและผู้ใกล้ชิดมาเยี่ยมเยือนและอยู่เป็นเพื่อนตลอดเวลา เมื่อออกกำไฟแล้ว ให้ไปสระผมที่ท่าน้ำแต่จะไม่อาบน้ำ ใช้ผ้ารัดเอวไว้ผืนหนึ่งพร้อมกับคาด"ผ้าฮ้ายฝั้นใต้ไฟ"(ชุดติดไฟ) ทับไว้อยู่ข้างนอกเพื่อให้เกิดความอบอุ่นแก่ร่างกาย เมื่อกลับมาถึงเรือนแล้วทำพิธีเซ่นผีย่าไฟโดยใช้ไข่ไก่ ๑ ฟอง ไปวางไว้ตรงที่ทารกคลอด ทำพิธีสู่ขวัญให้แก่เด็กน้อย สู่ขวัญนมและสู่ขวัญที่นอนเพื่อขอให้ช่วยดูแลกรักษาและเลี้ยงดูเด็กน้อยที่เกิดใหม่ ส่วนแม่ใช้ไก่ต้ม ข้าวต้ม ขนม จัดใส่สำรับทำพิธีสู่ขวัญ หลังจากนั้นเมื่อถึงเวลากลางคืนก็ให้แม่และเด็กน้อยย้ายไปนอนบริเวณที่นอนตามปกติ แต่ผู้เป็นแม่จะต้องอยู่ไฟ ต่อไปจนกระทั่งครบ ๓๐ วัน จึงออกจาก"อยู่กำเดือน"
      อาหารการกินในเวลาอยู่ไฟจะไม่รับประทานเนื้อสัตว์ทั่วไป มีแต่ผักและปลาบางชนิด เช่น ปลาคิง ปลาแก้ม โดยนำมาปิ้งเมื่อครบ ๒๐ วัน ฆ่าเป็ด ๑ ตัว ทำพิธีเซ่นผีเต่ท่า จากนั้นจึงเริ่มรับประทานเนื้อสัตว์ได้ โดยเริ่มจากเป็ดก่อนต่อมาเป็นไก่ หมู ปลาย่าง ปลาไหลย่าง ห้ามรับประทานเนื้อสัตว์ใหญ่ เช่น เนื้อวัว เนื้อควาย จนกว่าจะออกจากกำเดือน โดยเฉพาะเนื้อควายเผือกห้ามรับประทานเด็ดขาด เพราะจะทำให้มีอาการแสลงอาจถึงตายได้
      ประเพณีวัยหนุ่ม
      การศึกษาอบรม พ่อจะสอนลูกชายให้รู้จักการทำไร่ไถนา จักสาน เช่น สานกะเหล็บ กระบุง ข้อง ไซ และภาชนะต่าง ๆ ส่วนแม่จะสอนลูกสาวให้รู้จักเวียกเหย้าการเรือน ปั่นฝ้าย เลี้ยงไหม สาวไหม ทอผ้า และการประดิษฐ์ลวดลายต่าง ๆ บนผืนผ้า
                                                                       เลือกคู่ครอง 


      เมื่ออายุย่างเข้าสู่วัยหนุ่มวัยสาว ผู้สาวจะชวนเพื่อน ๆ ไปลงข่วงปั่นฝ้ายเป็นกลุ่ม ๆ ในยามค่ำคืนของฤดูหนาว ส่วนผู้บ่าวก็จะชวนกันไปเกี้ยวสาวปั่นฝ้าย โดยเป่าปี่แล้วขับไทดำวนเวียนไปมาตามข่วงโน้นบ้างข่วงนี้บ้าง มีการขับโต้ตอบกันไปมาระหว่างหนุ่มสาวจนดึกดื่นจึงกลับขึ้นเรือนโดยมีผู้บ่าวที่ชอบพอกันติดตามไปส่ง กระทำเช่นนี้เป็นกิจวัตรประจำจนเกิดความรักซึ่งกันและกัน ฝ่ายชายจะเล่าให้พ่อแม่ฟังเกี่ยวกับเรื่องที่ตนไปรักมักผู้สาวแล้วอยากได้เป็นภรรยา หลังจากนั้นพ่อแม่ก็จะไปหารือบรรดาลุงป้าน้าอาที่นับถือ แล้วแต่ง"พ่อใช้"ไปถามผู้ใหญ่ฝ่ายหญิง ๒-๓ ครั้ง โดยปกติการไปถามครั้งแรกหรือครั้งที่สองพ่อแม่ฝ่ายหญิงจะยังไม่ตอบตกลงหรืออาจบอกปัดก็ได้ ดังนั้นจึงไปถามอีกเป็นครั้งที่สามเรียกว่า ถามขาด เมื่อพ่อแม่ฝ่ายหญิงตอบรับก็เป็นอันว่าตกลงให้แต่งงานกันได้ หลังจากนั้นจะ


       ภาพการเสนเรือน

      เตรียมพิธีกินดองน้อย  
      จวบสองร้อยปีที่อาศัยบนไทยถิ่น
      ไม่เคยสิ้นประเพณีที่ยิ่งใหญ่
      ฝังรากลึกตรึกตรึงถึงเนื้อใน
      ลาวโซ่งไซร้ไม่สิ้นกลิ่นประเพณี

      ด้วยมีวัฒนธรรมชี้นำจิต
      ลาวโซ่งติดชิดความเชื่อในภูตผี
      จึงได้มีงานเสนเรือนเหมือนทุกปี
      เรื่องเหล่านี้มีมาแต่ช้านาน

      ส่วนความหมายของพิธีนี้มีกล่าว
      เป็นเรื่องราวเซ่นสังเวยที่เอ่ยขาน
      ลาวเสนเรือนเพื่อสังเวยดวงวิญญาณ
      เพื่อลูกหลานได้อยู่เย็นเป็นสุขใจ

      ผู้ที่ขาดไม่ได้ในพิธี
      ท่านผู้นี้คือ “หมอเสน”ในสมัย
      ท่านติดต่อกับภูตผีในภพไกล
      ติดต่อให้ส่งสารเข้าบ้านตน

      ห้องพิธีมีชื่อ “กะล่อห่อง”
      เป็นชื่อห้องร่ายคาถาอย่าสับสน
      ให้หมอเสนเข้าใช้ไม่ปะปน
      กับผู้คนในพิธีนี้แยกกัน

      หลังจากเสร็จพิธีมี “ส่องไก่”
      จับจ้องใจในคำข้อหมอพลิกผัน
      ชะตาชีวิตเป็นอย่างไรในคืนวัน
      ภายภาคนั้นอาศัยตีนไก่ให้คำทาย


      #___________________________________________________#

      การแต่งกาย


       
      ไทยทรงดำ ลาวโซ่ง ไทยดำ ไทยโซ่ง
      ไทยทรงดำ ลาวโซ่ง ไทยดำ ไทยโซ่งไทยทรงดำ ลาวโซ่ง ไทยดำ ไทยโซ่งไทยทรงดำ ลาวโซ่ง ไทยดำ ไทยโซ่ง

      ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

      loading
      กำลังโหลด...

      ความคิดเห็น

      ×