ตำนานมหัศจรรย์นักคณิตศาสตร์
ชีวิตจริงหรือแค่นิยาย ลองอ่านดู
ผู้เข้าชมรวม
1,642
ผู้เข้าชมเดือนนี้
7
ผู้เข้าชมรวม
เนื้อเรื่อง
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ตำนานนักคณิตศาสตร์
ณ โรงเรียนปีทาโกรัส โรงเรียนที่บุคคลมีความสามารถเท่านั้นที่จะเข้าได้ มีผู้ให้ความสนใจส่งบุตรหลานเข้ามาเรียนจำนวนมาก เพราะเป็นโรงเรียนที่ขึ้นชื่อได้ว่าได้สร้างบุคลากรทางคณิตศาสตร์มาเป็นล้าน ๆ คนทั้งยังมีอาจารย์สอนที่ยอดเยี่ยมอย่าง ปีทาโกรัสหรือที่รู้จักกันในนาม นักคณิตศาสตร์ผู้คิดค้นสูตรคูณหรือตารางปีทาโกเรียนและทฤษฎีบทในเลขาคณิตที่ว่า “ ในรูปสามเหลี่ยมมุมฉากใด ๆ กำลังสองของความยาวของด้านตรงข้ามมุมฉาก เท่ากับผลบวกกำลังสองของความยาวของด้านประกอบมุมฉาก ซึ่งทฤษฎีทั้งสองนี้มีคนยอมรับกันทั่วโลก ” แต่ในเมืองที่โรงเรียนปีทาโกรัสตั้งอยู่ ผู้นำส่วนมากเป็นผู้ชายทำให้ผู้หญิงในเมืองนั้นมักไม่กล้าออกความเห็นเรื่องใดเลย เพราะถือว่าหน้าที่และอำนาจส่วนใหญ่ไม่ได้ขึ้นอยู่กับพวกเขา แต่ก็เป็นที่หน้าแปลกเพราะมีหญิงสาวนามว่า ไฮพาเทีย สตรีหญิงคนแรกที่สามารถสนับสนุนการพัฒนาทั้งทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ เธอไม่ได้มีพรสวรรค์ทางด้านผู้นำหรือทางคณิตศาสตร์เท่านั้น เธอยังได้อุทิศตัวในการศึกษาทางด้านดาราศาสตร์และปรัชญา เธอกล่าวว่า การที่คนเราเก่งคณิตศาสตร์ไม่ใช่เพราะพรสวรรค์ที่มีแต่กำเนิดเท่านั้นแต่เราต้องฝึกคิดฝึกทำบ่อยๆ “ ทั้งนี้
ไฮพาเทียยังได้เขียนบทความเกี่ยวกับการศึกษาระบบจำนวนเชิงซ้อนของไดโอพาทัส ทฤษฎีตัดกรวยของอะพอลไลซ์ ” เธอเป็นผู้หญิงคนแรกที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางในสังคม ทั้งที่เมื่อก่อนไม่มีผู้หญิงคนใดได้รับการยอมรับมากมายขนาดนี้ และนี้ก็เป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้เธอเป็นผู้ดูแลโรงเรียนพลาโต และทำให้ใครหลายคนรู้ว่าเธอไม่ได้เป็นนักคณิตศาสตร์ที่เก่งเพียงอย่างเดียวเท่านั้น เธอยังเป็นครูที่มีเสน่ห์ในการสอนอีกด้วย แต่เป็นเรื่องที่น่าเศร้าเมื่อไฮพาเทียถูกจับตัวไปทำร้ายและถูกฆาตกรรมเพราะมีผู้อิจฉาในความฉลาดของเธอ การตายของ
ไฮพาเทียจึงเป็นจุดเปลี่ยนประวัติเพราะหลังจากนั้นไม่มีผู้หญิงคนใดที่กล้าจะศึกษาและสนใจเรื่องนี้อีกเลย และต่างพากันหวาดกลัวและพากันออกจากเมืองทำให้ทฤษฎีของไฮพาเทียไม่มีผู้ใดสานต่อและต้องปิดฉากลงไปโดยอัตโนมัติ แต่ภายใต้การสูญเสียก็มีสิ่งดีๆ เกิดขึ้น มีนักปรัชญาชาวกรีกย้ายเข้ามาอยู่ ซึ่งนามว่า เธลิส งานแรกที่เธลิสออกนำเสนอต่อสังคมคือการทำนายการเกิดสุริยุปราคาได้ถูกต้องภายในปี 585 BC และต่อมา เธลิสได้นำเอาวิชาการทางด้านคณิตศาสตร์ มาใช้เพื่อสร้างผลงานของเขาว่า เธลิสได้แสดงออกถึงความเป็นครูและได้นำวิชาการ มาถ่ายทอด บางคนในเมืองบอกว่า เธลิสมีแรงบัลดาลใจมาจากไฮพาเทีย หญิงสาวที่เป็นหนึ่งเดียวในนักคณิตศาสตร์ แต่เธลิส
บอกว่าความคิดของเธลิสเน้นในปฏิบัติมากกว่าทฤษฎีของไฮพาเทีย แต่ผลงานที่ออกมาหลายคนในสังคมกลับบอกว่ามันเป็นทฤษฎีมากกว่าปฏิบัติอย่างที่เธลิสบอก สิ่งที่เป็นผลงานและเป็นที่เธลิสกล่าวอ้างอิงคือทฤษฎีบทเกี่ยวกับเลขาคณิต 5 ทฤษฎีคือ 1.วงกลมใดๆ ถูกแบ่งออกเป็นสองส่วนเท่าๆ กันโดยเส้นผ่านศูนย์กลาง 2. มุมที่ฐานสามเหลี่ยมหน้าจั่วมีค่าเท่ากัน 3. เส้นตรงสองเส้นตัดกันมุมตรงข้ามที่เกิดขึ้นย่อมเท่ากัน 4. สามเลี่ยมสองรูป ถ้ามีมุมเท่ากันสองมุมและด้านเท่ากันหนึงด้าน สามเหลี่มทั้งสองคล้ายกัน 5. มุมภายในครึ่งวงกลมเป็นมุมฉาก และเมื่อคนในสังคมพูดถึงเธลิสพวกเขาจะนำเอาปรัชญาของเธลิสมาพูดทุกที เพราะเธลิสเชื่อว่าโลกลอยอยู่บนน้ำและทุกสิ่งทุกอย่างจากน้ำ เขาเชื่อว่าโลกแบนเหมือนจานที่ลอยอยู่บนมหาสมุทรที่ไม่มีขอบเขตจำกัด แต่ต่อมาความเชื่อของเธลิส ได้รับการโต้แย้งอย่างมาก ในเรื่องความถูกต้องของหลักปรัชญาและทฤษฎี แต่ต่อมานักคณิตศาสตร์ได้นำเรื่องของเธลิสและพีธากอรัสมาเขียนผลงานที่เชื่อกันว่าเป็นบทพิสูจน์ของข้อเสนอแนะแนวของยูคลิด เกี่ยวกับการสร้างผลงานของนักคณิตศาสตร์คนนั้นๆ โดยผู้เขียนคือ ยูคลิดนักคณิตศาสตร์คนสำคัญ และเป็นที่รู้จักแต่เรื่องราวเกี่ยวกับตัวยูคลิด ยังมีหลักฐานไม่เพียงพอและสับสน หลายคนจึงบอกว่ายูคลิด เปิดเผยเรื่องราวของนักคณิตศาสตร์คนอื่นแต่ไม่เคยเปิดเผยเรื่องราวความเป็นมาของตน แต่ถึงอย่างไงผลงานของยูคลิด ก็เป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางมาก แต่ถึงอย่างไร ยุคลิดก็ยังมีผลงานเกี่ยวกับตนเองอยู่บ้าง คือ หลักการ ห.ร.ม. ที่ง่ายที่สุดและรู้จักกันดี คือ ให้นำตัวเลขจำนวนน้อยหารตัวเลขจำนวนมาก เศษที่เหลือมาเทียบกับจำนวนน้อย จับหารไปเรื่อยๆ ทำเช่นนี้จนลงตัว ได้ ห.ร.ม. เป็นเลขที่ลงตัวสุดท้าย แต่ผลงานเกี่ยวกับการหา ห.ร.ม. ของยูคลิด ถือได้ว่ามีคนยอมรับทฤษฎีนี้มากที่สุด แต่อย่างไงความชอบของยูคลิดก็คือการเขียนหนังสืออยู่ดีเขาพูดถึงและได้ยกย่องปรามจารย์ทางคณิตศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ ในความคิดของยูคลิดที่สุด 3 ท่าน โดยที่ยูคลิดบอกว่าไม่อาจจัดได้ว่าท่านใดยิ่งใหญ่กว่ากัน และได้ตั้งชื่อรวมทั้งสามท่านว่า ฟริดริก เกาส์ เพราะชื่อนี้แสดงถึงนักคณิตศาสตร์ทั้ง 3 ท่าน คือ อาร์คีมีดีส ไอแซก นิวตัน และ เกาส์ ผู้ที่ใครหลายคนยกย่องว่าเกาส์อัฉริยะทางคณิตศาสตร์ตั้งแต่เกิด แต่เมื่อ เกาส์เข้ามาเรียนในโรงเรียน ไม่มีครูท่านใดให้ความรู้แก่เกาส์ได้เพราะพวกท่านต่างพูดกันว่า “ เขามีความสามารถเกินกว่าคน ตนไม่มีความสามารถที่จะสอนอะไรเขาได้อีก ” แต่ถึงแม้ เกาส์ จะมีความสามารถแต่ทางด้านทุนการเงินศึกษา ทำให้เกาส์ต้องพบปะกับบุคคลต่างๆ เพื่อขอความช่วยเหลือทางทุนการศึกษา จนได้เข้าเรียนต่อในมหาวิทยาลัยในด้านคณิตศาสตร์ และ เกาส์ได้สร้างทฤษฎี คือ จำนวนเชิงซ้อนและดีกรีที่มีรากอย่างน้อย 1 ราก เกาส์ได้รับการศึกษาระดับปริญญาเอกต่อและเมื่อเรียนจบ ได้รับการแต่งตั้งเป็นศาสตราจารย์ และทำงานที่นี้จนถึงแก่กรรม เนื่องจากเกาส์เป็นนักคณิตศาสตร์ที่รอบรู้ในสาขาต่างๆ ของคณิตศาสตร์ จึงมีผลงานที่น่าสนใจและครอบคลุมในวิชาคณิตศาสตร์ และมีผลงานที่
สำคัญมากจนอาจจะศึกษาไม่หมดด้วยซ้ำ แต่ถึงอย่างไงนักคณิตศาสตร์ ที่กล่าวมาทั้งหมดคือ ผู้ที่สำคัญในด้านคณิตศาสตร์เป็นอย่างยิ่งเราจึงควรยกย่องและเชิดชูพวกเขาและจากที่เราได้กล่าวถึงนักคณิตศาสตร์มาทั้งหมดเราสามารถสรุปทฤษฏีที่พวกท่านคิดได้ 4 ทฤษฏี
1. ทฤษฏีบทปีทาโกรัส
2. ระบบสมการเชิงเส้น
3. กรวย
4. สมการกำลังสอง
ผลงานอื่นๆ ของ เจ้าหญิงปลากระป๋อง ดูทั้งหมด
ผลงานอื่นๆ ของ เจ้าหญิงปลากระป๋อง
ความคิดเห็น