ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    Fighting Add 55*

    ลำดับตอนที่ #11 : เทคนิคการอ่านหนังสือให้เร็ว และจับใจความได้

    • อัปเดตล่าสุด 3 ก.ค. 54


    เทคนิคการอ่านหนังสือให้เร็ว และจับใจความได้

    การอ่านหนังสือไม่จำเป็นต้องออกเสียงในใจ ใครที่อ่านหนังสือโดยมีคำก้องอยู่ในหัว แสดงว่ายังอ่านไม่เป็น ขณะนั้นสมองส่วนความเข้าใจ วิเคราะห์และจินตนาการจะไม่สามารถทำงานได้ เพราะถูกขัดขวางจากคำก้องที่เกิดขึ้น

    ขณะอ่านในใจไม่จำเป็นต้องอ่านคำทุกคำเหมือนกับการอ่านออกเสียง เช่น คำว่า ประ- ชา – ธิป – ปะ – ไตย สามารถอ่านรวมเป็นคำเดียว แล้วเข้าใจความหมายได้โดยที่ไม่ต้องสะกดทีละคำ

    สมองของคนเรา พร้อมที่จะตีความหมายของคำออกมาโดยที่ไม่ต้องอ่านทั้งหมดอยู่แล้ว ลองดูจากประโยคนี้ " ผลการศกึาษวจิยัจาก มวหายิทาลย เชยงีหใม่" เราจะอ่านได้ทันทีเลยว่า "ผลการศึกษาวิจัยจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่" ทั้งที่คำอ่านผิด นั่นก็เพราะสมองสามารถมองแบบองค์รวมได้โดยอัตโนมัติ

    ในบทความต่าง ๆ หนังสือทุกเล่ม ประโยคทุกประโยค จะมีทั้งส่วนที่สำคัญและไม่สำคัญ พยายามหาส่วนสำคัญให้เจอและเน้นไปที่จุดนั้น ลองดูประโยคด้านล่างนี้

    “การเลือกตั้งตามกระบวนการ ประชาธิปไตยในสหรัฐอเมริกา จบลงด้วย โอบามา ผู้ชิงตำแหน่งผิวสี ได้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี แมคเคน พ่ายแพ้อย่างหมดรูป”

    คนที่อ่านเป็น จะรู้ทันทีว่าเนื้อของประโยคนี้อยู่ที่คำว่า โอบามาได้เป็นประธานาธิบดี และในประโยคนี้ คุณขีดเส้นแดงตรงเฉพาะคำว่า
    โอบามา ไว้สำหรับอ่านในรอบที่สอง เพราะพอสะดุดกับคำว่า โอบามา ก็จะเข้าใจทันทีว่า มันคือการชิงตำแหน่งประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกา

    ในการอ่านบทความ คำวิเศษณ์ คำขยายนาม คำพรรณนา ไม่จำเป็นต้องใส่ใจ เช่นประโยคข้างบน ข้อความแรก ๆ ทั้งหมดเป็นคำพรรณนา ประเด็นสำคัญอยู่ที่ โอบามาได้เป็นประธานาธิบดีเท่านั้น ส่วนประโยคก่อนหน้าคำว่าโอบามา และประโยค “ผู้ชิงตำแหน่งผิวสี” “พ่ายแพ้อย่างหมดรูป” ก็ไม่จำเป็นต้องอ่าน บทความหนึ่ง ๆ จะมีคำพรรณนาอยู่มากกว่าครึ่ง เมื่อชำนาญในการอ่าน สายตาจะข้ามคำเหล่านี้ไปเอง...

    ตอนที่ 2 การอ่านกับวิธีจำ

    ผู้ประสบความสำเร็จทางการศึกษา ในทุกสาขาวิชา จะมีคุณสมบัติที่เหมือนกันข้อหนึ่งคือ รักการอ่าน และ สามารถจับใจความได้เร็ว เพราะการอ่าน เป็นวิธีหาความรู้ใส่ตัวที่ง่ายที่สุด สะดวกที่สุด ประหยัดที่สุด

    ทุกครั้งที่จะอ่าน ควรจินตนาการล่วงหน้าถึงเรื่องที่จะอ่านก่อนว่าเกี่ยวข้องกับอะไร การอ่านด้วยวิธีนี้จะทำให้จำแม่น จำเฉพาะเนื้อหาสำคัญ และมองภาพองค์รวมแบบแผนผังได้ (mind mapping) โดยมีศูนย์กลางเริ่มต้นจากส่วนที่สำคัญที่สุด แล้วแตกแขนงไปที่ส่วนประกอบอื่น ๆ

    การอ่านเป็นภาพ จะช่วยให้จำแม่น เช่น ในเด็กเล็กที่อ่าน ก.เอ๋ยกอไก่ หรือ A แอ๊นท์ มด ก็คือ การแปลงอักษรให้เป็นภาพ ทุกครั้งที่นักเรียนท่อง ภาพไก่ กับ ภาพมดจะผุดขึ้นมา ทำให้จำได้ง่ายขึ้น

    การจำเป็นภาพ เมื่อเวลาเรียกข้อมูลย้อนกลับขึ้นมา ก็จะออกมาเป็นภาพ เปรียบเสมือนการเปิดคลิปวิดีโอ ที่เก็บสะสมไว้ในสมอง แต่ถ้าจำเป็นคำ ก็เหมือนกับการเปิดไฟล์ตัวอักษรที่เก็บไว้ ซึ่งรายละเอียดน้อยกว่ากันมาก

    ขณะอ่านทุกครั้ง ควรพักเป็นระยะ ๆ เพื่อหลับตา และจินตนาการถึงภาพที่ได้จากการอ่าน เป็นการเห็นเรื่องที่อ่านโดยใช้ตาใน ซึ่งในทางการแพทย์พบว่า ภาพที่เห็นขณะหลับตา สมองจะเก็บไว้เป็นความทรงจำระยะยาว

    ข้อมูลบางอย่าง การนำมาเขียนในรูปของแผนผัง แผนภาพ จะเข้าใจง่ายขึ้น เช่นเดียวกับการจับสลากแบ่งสายในการแข่งขันฟุตบอลโลก จะมีการเขียนเป็นแผนภาพ โยงไปมาเพื่อให้ผู้ชมสามารถจำได้ภายในครั้งเดียว

    ในการอ่าน ถ้าสามารถนำข้อมูลที่อ่านมาเขียนเป็น แผนภูมิ แผนผัง กราฟ หรือใช้ตารางทางสถิติ จะช่วยให้จดจำได้ง่ายขึ้น การนำข้อมูลในหนังสือเรียน มาทำเป็นภาพ ตารางหรือกราฟ ด้วยตนเอง จะมีประโยชน์มาก

    ส่วนการอ่านวิชาที่ต้องท่องจำมาก ๆ อาจจะใช้เทคนิคช่วยจำได้ เช่น ถ้าต้องการจำตัวอักษร ค ต ล ข ร ม โดยห้ามสลับตำแหน่ง การจำโดยตรงจะยากมาก ให้จำเป็นประโยค “คนตัวเล็กขับรถเมล์ ” แล้วจินตนาการภาพรถเมล์ที่มีคนตัวเล็กกำลังขับอยู่ เทคนิคนี้จะทำให้จำได้แม่น ในกรณีที่เป็นภาษาอังกฤษก็เช่นกัน สมมติว่าต้องการจำ ตัวอักษรตัวแรกของหัวข้อที่อ่าน 5 หัวข้อ คือ t, a, m, s, o, f, h ให้นำมาแต่งเป็นประโยค “There are many sand o­n father’s head” แล้วก็นึกถึงภาพพ่อที่มีทรายอยู่เต็มศีรษะ

    อีกเคล็ดลับ สำหรับการจำตัวเลข ก็คือ ให้แปลงจำนวนตัวเลขเป็นจำนวนพยัญชนะ เช่น ต้องการจำตัวเลขชุดหนึ่ง ได้แก่ 52146233 จะแต่งเป็นประโยคได้ว่า “There is a bird flying in the sky” จำนวนตัวอักษรของแต่ละคำ คือตัวเลขที่จะจำ แล้วจินตนาการให้เห็นภาพนกกำลังบินบนท้องฟ้า การจำเป็นภาพ แม้จะได้ดูตัวเลขนี้เพียงครั้งเดียว รอบเดียว ก็สามารถจำไปได้หลายปีหรืออาจจะตลอดไป

    ถ้าต้องการจำชื่อจังหวัดในภาคกลาง ได้แก่ ปทุมธานี ( P ) ลพบุรี ( L ) นนทบุรี ( N ) ราชบุรี ( R ) สุพรรณบุรี ( S ) กาญจนบุรี ( K ) สมุทรสงคราม ( S ) สมุทรสาคร ( S ) อ่างทอง ( A ) สระบุรี ( S ) ชัยนาท ( C ) สิงห์บุรี ( S ) อยุธยา ( A ) เราสามารถนำตัวย่อมาเรียงเป็นประโยค “L RAK P NAC 5 ส” (อ่านว่า แอล รักพี่แน็ค 5 ส.) ซึ่งการเรียงประโยคหรือตัวย่อไม่จำเป็นต้องถูกหลักไวยากรณ์ เพียงแต่ขอให้จำได้ก็พอ และลักษณะประโยคของแต่ละคนก็แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับ ภูมิหลัง ประสบการณ์ ความทรงจำเก่าๆ ระดับการศึกษา ฯลฯ เมื่อจำประโยคได้ ก็ให้นำมาจินตนาการยามว่าง เช่น บนรถเมล์ ตอนพักกลางวัน ฯลฯ ว่า “แอลรักพี่แน็ค” หมายถึงจังหวัดอะไรบ้าง และ “ 5ส ” คือจังหวัดอะไร

    ตอนที่ 3 อ่านย้อนกลับ

    ตามปกติคนเราจะอ่านหนังสือจากหน้าไปหลัง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าเป็นเรื่องสั้น หรือนวนิยาย การอ่านบทสรุปหรือตอนจบก่อน เป็นเรื่องที่ต้องห้ามอย่างเด็ดขาด แต่การอ่านเพื่อการเรียนรู้ จะตรงกันข้าม ยิ่งรู้รายละเอียดล่วงหน้ามากเท่าไหร่ จะทำให้ประสิทธิภาพของการอ่านเพิ่มขึ้นเท่านั้น ดังนั้น เมื่อต้องการจะเริ่มต้นอ่าน ให้มองไปที่ส่วนท้ายของบทความหรือหนังสือก่อน บทสรุปส่วนใหญ่จะอยู่ที่ส่วนท้ายของแต่ละบท แต่ละตอน รวมไปถึง บทคัดย่อ สารบาญ และคำนำของผู้เขียน การเข้าใจเนื้อหาอย่างคร่าว ๆ จะทำให้สามารถจับจุดสำคัญของสิ่งที่กำลังจะอ่านได้ บทสรุปที่บันทึกไว้ในสมองล่วงหน้า จะช่วยให้รู้ว่า ส่วนไหนของเนื้อหาที่สำคัญ และควรเน้นอ่านเป็นพิเศษ ผู้บริหารบางคนจะให้เลขา ช่วยสรุปให้ เลขาที่สรุปเก่ง ๆ เงินเดือนสูงมาก เพราะสามารถแบ่งเบาภาระของผู้บริหารได้

    ในการอ่านนวนิยายหรือเรื่องสั้น ถ้าอ่านตอนจบก่อน ความสนุกจะหายไปทันที ซึ่งตรงกันข้ามกับการอ่านหนังสือเพื่อการเรียนรู้ ถ้าอ่านตอนจบก่อน กลับจะทำให้ความสนุกในการเรียนเพิ่มขึ้น เพราะเมื่อรู้ผล สมองจะพยายามวิเคราะห์หาสาเหตุโดยอัตโนมัติ เช่นในการอ่านนวนิยาย ถ้ารู้ก่อนแล้วว่าพระเอกจะถูกลอบสังหารจนเสียชีวิตในตอนจบ เมื่อย้อนกลับมาอ่านอย่างวิเคราะห์จากต้นเรื่อง สมองจะพยายามมองหาเงื่อน วิเคราะห์ถึงบุคลิก นิสัยใจคอ บุคคลใกล้ชิด สิ่งแวดล้อม หาเหตุและปัจจัย ที่จะทำให้พระเอกต้องมาเสียชีวิตในบั้นปลาย อย่างละเอียด ทำให้จับส่วนสำคัญได้ สามารถปะติดปะต่อเรื่องราว ได้อย่างชัดเจน และขณะอ่าน สายตาจะสะดุดที่บทของพระเอกเป็นหลัก ส่วนตัวประกอบอื่น ๆ จะแยกย่อยออกไป เช่นเดียวกับการอ่านหนังสืออื่น ๆ พยายามหาส่วนสำคัญที่สุดหรือพระเอกของเนื้อหานั้นให้ได้ก่อนจากบทสรุป

    การอ่านนวนิยาย เรื่องสั้นหรือนิทาน เราต้องการรู้ว่า ถ้าเหตุและปัจจัยเป็นแบบนี้แล้ว ผลสรุปตอนจบ จะเป็นอย่างไร แต่การอ่านเพื่อการเรียนรู้จะตรงกันข้าม คือ ต้องการรู้ว่าถ้าผลสรุปเป็นแบบนี้ มันมีเหตุและปัจจัย มาจากอะไร

    สาเหตุหนึ่งที่ทำให้การอ่านข่าวจากหนังสือพิมพ์ง่ายกว่าการอ่านหนังสืออื่น เนื่องจากมีบทสรุปจากส่วนพาดหัวที่ใช้ภาษาอย่างเร้าใจ ช่วยกระตุ้นให้เกิดความรู้สึกสนใจ เมื่อรู้ว่าตัวเองกำลังจะอ่านข่าวเรื่องอะไร ความสนใจบวกกับการรู้บทสรุปล่วงหน้า ทำให้การอ่านง่ายขึ้น เช่น ข่าวกีฬาที่พาดผลการแข่งขันว่า “กังหันเชือดคอไก่ 3-2” หมายความว่า ในการแข่งขันฟุตบอลฮอลแลนด์ชนะฝรั่งเศส 3-2 เมื่อรู้ผลสรุปก่อนแล้วค่อยอ่านจะทำให้การอ่านข่าวหนังสือพิมพ์เพียงรอบเดียวก็จำรายละเอียดได้ทั้งหมด เพราะเรารู้ผลสรุปก่อน แล้วจึงค่อยอ่านเพื่อหาเหตุปัจจัย ว่าทำไมกังหันเชือดคอไก่

    cradit : http://blog.spufriends.com/spufcontent5/1545


    talk*
    ลองเอาวิธีการอ่านหนังสือมาโพสลงดู
    ไม่รู้ว่าใช่ได้มากหน่อยแค่ไหน TT
    เพื่อนๆมีเทคนิคในการอ่านหนังสือยังไง
    ก็มาแชร์กันหน่อยน้า  ><"


    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×