ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ข้อมูลแนวแฟนตาซี ( เหมาะกับนักเขียนที่ต้องการหาข้อมูล )

    ลำดับตอนที่ #2 : ตอนสอง เวทย์มนตร์

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 3.21K
      14
      27 เม.ย. 51


       

        เวทมนต์ เป็นศิลปะที่พยายามจะควบคุมเหตุการณ์ต่างๆโดยสร้างคาถาอาคม การกระทำดังกล่าวนี้อาจดูเป็นเรื่องไร้สาระ หรือเชื่อถือไม่ได้ในความคิดของชาวตะวันตก เรื่องราวเกี่ยวกับเวทมนต์คาถาเป็นเรื่องที่มีรากฐานมาจากกลุ่มนักบวชชาวเปอร์เซีย ในภาษากรีกคำว่า magic มาจากคำว่า magi หมายถึงความแปลกพิศดาร และการอวดอ้าง ในสมัยเรเนซองส์ของอิตาลี ราวศตวรรษที่ 15 ผู้คนเริ่มสนใจศิลปะการทำเวทมนต์ ในตำราโบราณที่มาร์ซิลิโอ ฟิซิโน(Marsilio Ficino) แปลมาจากภาษากรีกชื่อว่า Corpus Hermeticum (เขียนโดยเฮอร์เมส ไทรเมสติกัส Hermes Trimestigus) เป็นตำราที่อธิบายถึงการใช้เวทมนต์คาถาของชาวตะวันออกกลางในช่วง 500 ปีก่อนคริสตกาล เรื่องราวที่สำคัญมากในตำราเล่มนี้คือ สุภาษิตที่ว่า “As Above, So Below” (หรือยิ่งสูงก็ยิ่งต่ำ) สุภาษิตนี้ชี้ให้เห็นว่า โลกวิญญาณเป็นหนึ่งเดียวกับโลกทางวัตถุ

    ฟิซิโน และผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับเรื่องเวทมนต์คาถาคนอื่นๆ พยายามอธิบายถึงสิ่งเหล่านี้โดยหลีกเลี่ยงที่จะไม่ท้าทายศริสต์ศาสนา และป้องกันตัวเองจากการถูกกล่าวหาว่าเป็นพวกนอกศาสนา หรือพวกที่เป็นตัวแทนของปีศาจร้าย การกระทำของฟิซิโนได้รับความสนใจจากนักเทววิทยาที่ชื่อโทมัส อาคีนาส(Thomas Aquinas) เนื่องจากฟิซิโนยอมรับอำนาจของศาสนา แต่ในกรณีของพิโค เดลล่า มิรันโดล่า (Pico della Mirandola) เขาพยายามสร้างเวทมนต์คาถาให้กับตัวเองตามคติของชาวยิว ซึ่งทำให้เขาถูกประณามจากพระสันตะปาปา และศาสนจักร เขาถูกกล่าวหาว่าเป็นปีศาจชั่วร้าย

    หลังจากนั้นในสมัยสันตะปาปาอเล็กซานเดอร์ บอร์เกีย(Alexander Borgia) ได้นำตำราของพิโคมาตีความใหม่ และอธิบายว่าคาถาและเวทมนต์ของชาวยิวมีคุณค่าต่อการปฏิบัติทางศาสนาของชาวคริสต์ อย่างไรก็ตามความคิดของศาสนาคริสต์ที่เชื่อว่าเวทมนต์เป็นสื่อของอันตรายได้ปรากฏเด่นชัดกับนักบวชที่ชื่อจิออร์ดาโน บรูโน (Giordano Bruno) ผู้ซึ่งเลื่อมใสศรัทธาตำราของเฮอร์เมส แต่เขาถูกเผาในปี ค.ศ.1600 หลังจากการตายของจิออร์ดาโน ผู้ที่นิยมเวทมนต์คาถาก็เริ่มแพร่หลายและได้รับการยอมรับมากขึ้นเนื่องจากมีอาชีพการงานที่ทำประโยชน์ให้สังคม นักเวทมนต์ที่มีชื่อได้แก่ พาราเซลซัส(Paracelsus) เขาคือผู้ที่มีความรู้ทางการแพทย์ จอห์น ดี(John Dee) ผู้ที่สร้างทฤษฎีทางภูมิศาสตร์ให้กับอังกฤษในสมัยราชินีอลิซาเบ็ธ

    ในศตวรรษที่ 18 คือช่วงเวลาแห่งความรุ่งโรจน์ของวิทยาศาสตร์ และระบบเหตุผล นักวิทยาศาสตร์ต่างเชื่อว่าโลกประกอบขึ้นด้วยวัตุสสารที่สามารถพิสูจน์ได้ และกล่าวโจมตีเรื่องราวของเวทมนต์คาถาว่าเป็นเรื่องที่น่าหัวเราะเยาะ เรื่องเวทมนต์จึงถูกทำให้กลายเป็นเรื่องลับๆ (เรื่องใต้ดิน) และพัฒนาต่อมาในช่วงศตวรรษที่ 19 ซึ่งยุโรปกำลังนิยมความคิดแบบโรแมนติก และวิทยาศาสตร์กำลังสนใจเรื่องทางวัตถุ ตัวอย่างในประเทศฝรั่งเศสและอังกฤษ กลุ่มศิลปิน นักเขียน และสมาคมลับที่ชื่อรุ่งอรุณสีทอง (Order of Golden Dawn) รวมตัวกันเพื่อที่จะปกปิดการฟื้นคืนชีพของอำนาจเวทมนต์ การศึกษาเรื่องราวทางเวทมนต์ในช่วงเวลานี้ได้แก่การศึกษาของนักมานุษยวิทยาชาวอังกฤษชื่อเอ็ดเวิร์ด ไทเลอร์(Edward Tylor) เขาเขียนหนังสือเรื่อง Primitive Culture(1871) โดยอธิบายว่าเวทมนต์คือความเข้าใจผิดที่มีโทษอย่างรุนแรง แต่ทำไมชาวพื้นเมืองจึงมีความเชื่อเรื่องเวทมนต์อย่างแพร่หลาย

    ไทเลอร์อธิบายว่า สาเหตุที่มนุษย์มีความเชื่อเรื่องเวทมนต์เนื่องจาก สิ่งเหล่านี้เกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิต การสร้างกฎข้อบังคับ อำนาจการปกครอง และการทหาร แนวความคิดของไทเลอร์ถูกพัฒนาต่อมาโดยเจมส์ เฟรเซอร์ ( James Frazer) ซึ่งเขียนหนังสือเรื่อง The Golden Bough(1890) เฟรเซอร์เชื่อว่าเวทมนต์เป็นวิทยาศาสตร์ประเภทหนึ่ง ซึ่งเกิดขึ้นในระดับวิวัฒนาการระยะแรกๆของมนุษย์ ซึ่งจะพัฒนาไปสู่ระบบศาสนาที่ยึดถืออำนาจของสิ่งเหนือธรรมชาติ และเทพเจ้า และขั้นสุดท้ายก็คือวิทยาศาสตร์ซึ่งจะพิสูจน์ความจริงต่างๆในทางโลก เฟรเซอร์เชื่อว่าเวทมนต์มีระบบเหตุผล 2 แบบประกอบกัน แบบที่หนึ่งคือการรักษาเยียวยา หรือ Homeopathic magic เช่นชาวนาบอลค่านเชื่อว่าการกินทองคำจะทำให้ลดความอิจฉาริษยาลงไปได้ แบบที่สองคือการทำให้ผู้อื่นได้รับผลจากการกระทำ หรือ contagious magic เช่น การนำเส้นผม หรือเล็บของคนๆหนึ่งมาลงคาถาเพื่อเปลี่ยนพฤติกรรมของคนๆนั้น ( จะว่าไปอันนี้น่าสนแฮะ )

    การศึกษาของเดอร์ไคม์ ชี้ให้เห็นว่าเวทมนต์มีความลับ และเป็นเรื่องส่วนตัว แตกต่างจากเรื่องทางศาสนาที่เปิดเผย ในหนังสือเรื่อง A General Theory of Magic (1902)ของมาร์เซล มอสส์(Marcel Mauss) กล่าวว่า ในอดีตการเล่นทางเวทมนต์มักจะถูกประณามว่าเป็นการกระทำของปีศาจ มอสส์ได้นำความคิดของไทเลอร์และเฟรเซอร์มาพัฒนาต่อ โดยทำให้เรื่องเวทมนต์เป็นทฤษฎีมากขึ้น เขาตั้งข้อสังเกตว่าเวทมนต์มักจะเนเรื่องทางวัตถุที่ถูกทำให้เป็นสื่อสำหรับเวทมนต์คาถา เป็นการแสดงความเอ็นดูรักใคร่ และความจงเกลียดจงชังของคนในสังคม

    ในสหรัฐอเมริกา โรเบิร์ต โลวี่(Robert Lowie) แสดงความคิดที่โต้แย้งกับเฟรเซอร์ และเทเลอร์ ซึ่งใช้แนวคิดเรื่องวิวัฒนาการ และการแบ่งแยกว่าอะไรคือธรรมชาติ กับเหนือธรรมชาติ แต่โครเบอร์(Kroeber) พยายามยืนยันแนวคิดวิวัฒนาการว่าเวทมนต์เป็นเรื่องของสังคมที่ล้าหลัง ในขณะที่สังคมที่เจริญแล้ว การเชื่อเวทมนต์มักจะพบได้ในกลุ่มของผู้คนที่มีปัญหาทางจิต ผิดปกติ หรือ มีปัญหาทางสังคม ความคิดความเข้าใจเกี่ยวกับเวทมนต์ถูกอธิบายโดยทฤษฎีจิตวิทยาของฟรอยด์ ในหนังสือเรื่อง Totem and Taboo(1918) ได้อธิบายว่าความคิดของชาวพื้นเมืองต่อเรื่องเวทมนต์เป็นความคิดทางจิต และเป็นความเข้าใจผิดในวัยเยาว์ที่ทำให้สร้างภาพหลอนขึ้นมา

    ความคิดของตะวันตกต่อคนพื้นเมืองเป็นเรื่องอคติทางเชื้อชาติ ซึ่งถูกวิพากษ์วิจารณ์มากในหมู่นักมานุษยวิทยารุ่นหลัง การศึกษาภาคสนามในพื้นที่หลายแห่งของนักมานุษยวิทยาพบว่า ความเชื่อและการปฏิบัติทางเวทมนต์คาถาในสังคมชนเผ่าเป็นเรื่องปกติ การศึกษาชนเผ่าเมลานีเซียนของมาลีนอฟสกี้ในหมู่เกาะทรอเบรียนด์ พบว่าชาวบ้านมีการใช้เวทมนต์ในการเพาะปลูก และการเดินทางในทะเลเพื่อนำของกำนัลไปแลกกับเพื่อนบ้าน มาลีนอฟสกี้สังเกตว่าการใช้เวทมนต์นั้นจะเกิดขึ้นเมื่อมนุษย์ต้องทำภาระกิจที่คาดเดาไม่ได้ว่าจะเป็นอย่างไร เช่นการออกไปหาปลาในทะเลที่มีคลื่นแรงจัด ชาวบ้านจะใช้เวทมนต์เพื่อช่วยคุ้มครอง การใช้เวทมนต์จึงมี 3 ลักษณะคือ 1) การท่องคาถา 2) การทำพิธีกรรมเชิงสัญลักษณ์ และ 3) การทำพิธีส่วนบุคคล พิธีการร่ายเวทมนต์มักจะเป็นเรื่องทางสังคม และการรวมกลุ่ม เช่นการสร้างเรือที่ต้องอาศัยแรงงานจำนวนมาก

    อีแวนส์ พริทชาร์ด(Evans-Pritchard) ลูกศิษย์ของมาลีนอฟสกี้ เขียนหนังสือเรื่อง Witchcraft ,Oracles and Magic among the Azande(1937) อธิบายให้เห็นความเชื่อและการปฏิบัติเกี่ยวกับเวทมนต์ และการพยากรณ์ของเทพเจ้าในสังคมแอฟริกา ความเชื่อดังกล่าวมีผลต่อการจัดระเบียบทางสังคมของชาว Azande โดยเฉพาะเรื่องการเจ็บป่วยและความตาย พริทชาร์ดชี้ให้เห็นว่าความคิดเรื่องเวทมนต์ของชาว Azande นั้นมีระเบียบแบบแผนที่ชัดเจน การศึกษาดังกล่าวนี้ทำให้คนพื้นเมืองไม่ถูกกล่าวหาว่าเป็นพวกงมงาย ไร้เหตุผล หากแต่มีความคิดในเชิงสัญลักษณ์ กำกับในการกระทำต่างๆ

    จอห์น บีทตี้(John Beattie) อธิบายว่าเวทมนต์คือการจินตนาการในเชิงสัญลักษณ์ การอธิบายในทำนองนี้เป็นกรอบความคิดในยุคของเหตุผล ซึ่งถูกตั้งคำถามในระยะเวลาต่อมา โดยเฉพาะจากกลุ่มโพสต์โมเดิร์นในช่วงทศวรรษที่ 70-80 การศึกษาของ คาร์ลอส คาสตาเนด้า (Carlos Castaneda )ในชนเผ่า Yaqui บริเวณที่ราบสูงเม็กซิโก พบว่า ความจริงเป็นสิ่งที่ถูกไว้ต่างหาก เขากล่าวว่านักมานุษยวิทยามักจะอธิบายว่าเวทมนต์เป็นเรื่องของวัตถุที่มีตัวตนจริง เช่นการศึกษาของไมเคิล ฮาร์เนอร์ อีดิธ เทอร์เนอร์ เป็นต้น

    การศึกษาของเจนนี ฟาว์เรท์ ซาดา (Jeanne Favret-Saada) ในปี ค.ศ.1977 อธิบายว่าเวทมนต์ในชนบทของประเทศฝรั่งเศสมีพลังมาก การศึกษาของลูห์แมนน์(Luhrmann) อธิบายว่าความเชื่อเรื่องเวทมนต์ของชาวบ้านในอังกฤษถูกทำให้เป็นเรื่องเล่าที่มีเหตุผล เพื่อทำให้ผู้อื่นเชื่อว่าตนไม่งมงาย การอธิบายดังกล่าวเชื่อว่าความจริงเป็นเรื่องแต่ง แต่นักมานุษยวิทยาบางคนเชื่อว่า การค้นหาความจริงนั้นทำได้หลายวิธี และความรู้สึกต่อเหตุการณ์มีความสำคัญมากกว่าเรื่องทางวัตถุที่เห็น แนวคิดและการศึกษาทางมานุษยวิทยาเริ่มเปลี่ยนไป เช่นการศึกษาของวิงเคิลแมน(Winkelman) กล่าวว่าข้อสมมุติฐานในอดีตเกี่ยวกับความเชื่อเรื่องเวทมนต์เป็นสิ่งที่ไม่อาจเชื่อได้ เพราะเวทมนต์มิใช่เรื่องของการหาเหตุและผลเพื่อจะอธิบายว่า ความเชื่อแบบนี้ไม่งมงาย

    การศึกษาเรื่องเกี่ยวกับเวทมนต์โดยหาข้อพิสูจน์เชิงรูปธรรมนั้นเป็นวิธีการแบบนักวิทยาศาสตร์ที่พยายามพิสูจน์สิ่งต่างๆในห้องทดลอง การวิเคราะห์ทางจิตเป็นเพียงวิธีการที่ทำให้มนุษย์รู้ว่าจิตใจมีรูปร่างหน้าตาอย่างไรโดยผ่านเครื่องมือคอมพิวเตอร์ และเส้นกราฟ รอดนีย์ ดูกัล(Rodney -Dougal) กล่าวว่าการอธิบายเรื่องเวทมนต์มีความสอดคล้องกัน ไม่ว่าจะอยู่ในยุคโบราณ หรือยุควิทยาศาสตร์ โดยพวกที่เชื่อว่าเวทมนต์เป็นเรื่องของวัตถุที่มนุษย์จะนำมาใช้ประโยชน์ กับพวกที่เชื่อว่าเวทมนต์พิสูจน์ได้ด้วยวิทยาศาสตร์ ต่างค้นหาคำตอบในแบบเดียวกัน


    ...............................................................

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×