ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ๓ ๒ ๑... >> ที่มาของสุภาษิต สำนวน คำพังเพยไทย

    ลำดับตอนที่ #45 : สำนวนไทยเกิดจากความประพฤติ

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 23.72K
      21
      10 เม.ย. 53

    สำนวนไทยเกิดจากความประพฤติ



    1. กินข้าวร้อนนอนสาย

    กินข้าวร้อน หมายถึง กินข้าวหรืออาหารที่ปรุงแล้วเสร็จกำลังร้อน นึกจะกินร้อน ๆ เมื่อใดก็ได้ นอนสายหมายถึง ตื่นนอนเมื่อใดก็ได้ ทั้งสองคำนี้รวมกัน หมายถึงบุคคลชั้นขุนมูลนายที่ทำงาน อย่างอิสระแก่ตน ผิดกับคนชั้นที่ต้องอยู่ในบังคับ ซึ่งนอนสายไม่ได้ และกินก็ไม่สะดวก ถึงเวลาจะกินไม่ได้กินทันที กว่าจะได้กินอาหารเย็นจืดไม่มีรส ส่วนคนที่มีอิสระ นึกจะกินก็ได้กินทันที จะตื่นเมื่อใดก็ได้

    2. ข้านอกเจ้า ข้าวนอกหม้อ
    การกระทำหรือประพฤติอะไรนอกออกไปจากคำสั่งหรือแบบอย่างธรรมเนียม สำนวนนี้ใช้หมายความถึงการแอบอ้างตนว่าเกี่ยวข้องกับผู้สู้ศักดิ์ หรืออะไรอย่างใดอย่างหนึ่งให้คนหลงเชื่อ
    “กาลแต่ก่อนเจ้านายน้อยตัวก็ไม่รั่วไม่ร้ำข้างไหนหนักครั้นภายหลัง เจ้านายมากขึ้นก็เกิดการรั่วร้ำไปต่าง ๆ เป็นการข้านอกเจ้า เข้านอกหม้อ ลูกนอกพ่อ หลานนอกปู่ เป็นขึ้น”
    พระราชหัตถเลขารัชกาลที่ 4

    3. ข้าวแดงแกงร้อน
    ข้าวแดงเป็นข้าวที่สีด้วยมือ ไม่ขัดจนเป็นสีขาว เพราะในสมัยโบราณยังไม่มีดรงสี คนทั่วไปจึงกินข้าวแดงกัน ถ้าจะกินข้าวขาว คือข้าวที่ขัดจนขาว แต่เฉพาะคนชั้นสูงที่อยู่ในวัง และบ้านที่ใหญ่ ๆ โต ๆ ข้าวแดงแกงร้อนหมายถึง บุญคุณ คือเมื่อกินข้าวของผู้ใดก็ต้องคิดถึงบุญคุณของผู้นั้น
    ตัวอย่าง
    “อนึ่งนายมีคุณอันสุนทร เพราะข้าวแดงแกงร้อนได้กินมา”
    ทุคคตะสอนบุตร

    4. คดในข้องอในกระดูก
    คือ คนที่มีสันดานคดโกง

    5. คบพาลพาลพาไปหาผิด
    สำนวนนี้มีความหมายอยู่ในตัวของสำนวนอยู่แล้ว และมักจะมีคำต่อท้ายว่า คบบัณฑิตพาไปหาผล

    6. ความรู้ท่วมหัวเอาตัวไม่รอด
    มีวิชา มีความรู้ทุกสิ่งทุกอย่างแต่ตั้งตัวให้เป็นหลักฐานไม่ได้ หรือเมื่อคราวที่มีเรื่องเกิดขึ้นกับตัวเอง กลับไม่มีปัญญาที่จะแก้ไขให้ตัวเองรอดพ้นมาได้

    7. คางคกขึ้นวอ
    คนชั้นต่ำที่ไม่เคยมี ไม่เคยได้สิ่งที่ตัวเองคาดหมายไว้ แล้วกลับมามีมาได้ขึ้นมา ก็แสดงกิริยาให้เห็นว่าเห่อต่าง ๆ

    8. ได้แกง เทน้ำพริก
    ได้ของใหม่อะไรแปลก ๆ มาก็ทิ้งของเก่าที่มีอยู่เป็นประจำ น้ำพริก นั้นเป็นของประจำสำหรับการทำข้าวของคนไทยมาแต่สมัยโบราณ กับข้าวอื่นอาจจะเปลี่ยนไปต่าง ๆ อย่างนั้นอย่างนี้บ้าง แต่น้ำพริกก็ยังคงอยู่ไม่มีการเปลี่ยนแปลง

    9. ถลุง
    ใช้จ่ายเงินหรือทรัพย์สมบัติหรือสิ่งของอย่างหนึ่งอย่างใดหมดสิ้นไปอย่างเหลวแหลกในเวลาอันรวดเร็ว สำนวนนี้เอาการหลอมเหล็กให้ละลายมาเปรียบ
    ตัวอย่าง
    “ข้าคงไม่ได้เงินคืนอีกแล้ว อะไรถลุงเสียได้ถึงแปดสิบเหรียญในพักเดียว แปดสิบเหรียญ”
    วานิสวานิช พระราชนิพนธ์รัชกาลที่ 2

    10. เถนตรง
    ซื่อหรือตรงจนเกินไป ไม่คิดถึงอะไรควรจะเป็นอย่างไรจึงจะเหมาะสมหรือดี ลักษณะของเถนตรงอาจเกินจากความเขลา ความคิดไม่ถึง หรือความไม่เฉลี่ยวอย่างไรก็ได้ แปลว่าไม่มีไหวพริบ

    11. นกสองหัว
    คนกลับกลอกโลเล ทำตนเข้าด้วยทั้งสองฝ่าย ไม่มีอุดมคติมั่นคง เหตุที่เอานกมาเปรียบก็เพราะว่า สมัยก่อนเคยเรียกหญิงงามเมือง (นครโสเภณี) หรือหญิงที่หากินอย่างนี้ว่า นก เมื่อพูดว่า นก ก็เป็นอันว่ารู้กัน
    ตัวอย่าง
    “เหม่อ้ายเชียงทองจองหองเอา ลงไปเข้ากับไทยช่างไม่กลัว
    แต่ก่อนนั้นมันขึ้นแก่เรานี้ ถือดีหยิ่งยกนกสองหัว”
    เสภาขุนช้างขุนแผน

    12. นอนกินบ้านกินเมือง
    นอนหลับจนสายแล้วยังไม่ตื่น สำนวนนี้เอาขุนนางที่เป็นเจ้าเมืองมาเปรียบ นอนอย่างเจ้าเมือง ซึ่งหมายถึงว่าถ้าเป็นขุนนางที่ใหญ่โตแล้วมักจุนอนตื่นสาย

    13. บทบาทมาก
    มีกิริยาท่าทางมาก จะทำอะไรสักอย่างก็ช้ายืดยาด ไม่เสร็จสักที มูลของสำนวนมาจากละครรำมีกระบวนลีลาท่าทางมากตามศิลปะของการรำ เรียกว่ามีบทบาทมาก เราเอามาใช้กับคนธรรมดาที่ทำอะไรช้ายืดยาด

    14. บอกยี่ห้อ
    แสดงท่าทีหรือคำพูดให้รู้ว่ามีลักษณะหรือนิสัยสันดานอย่างไร เช่น แต่งตัวบอกยี่ห้อนักเลง หมายความว่าแต่งตัวแสดงว่าเป็นนักเลง

    15. บ้าบิ่น
    บ้าบิ่นเป็นชื่อขนมชนิดหนึ่ง คนที่มุทะลุบ้าระห่ำ พูดหรือทำอะไรอวดดีไม่เข้าเรื่องเรียกกันว่า บ้าบิ่น

    16. ปากปลาร้า
    ชอบพูดติฉินนินทาว่าคนหยาบ ๆ ไม่น่าฟัง สำนวนนี้เอาปลาร้ามาเปรียบ

    17. ผักชีโรยหน้า
    ทำอะไรแต่เพียงเล็กน้อยเป็นการฉาบหน้าเพื่อจะลวงให้เห็นว่า ทุกสิ่งทุกอย่าง เรียบร้อยสมบูรณ์ หรือทำเพียงผิวเผินฉาบหน้าชั่วคราวให้เห็นว่าดี สำนวนนี้มักพูดในทางที่ไม่ดี แต่ลางทีใช้ในทางดีก็ได้
    ตัวอย่างเช่น ในนิราศภูเขา ทองรำพัน ของสุนทรภู่
    “ใช่จะมีที่รักสมัคมาด แรมนิราศสร้างมิตรพิศมัย
    ซึ่งครวญคร่ำทำทิพิรี้พิไร ตามนิสัยกาพย์กลอนแต่ก่อนมา
    เหมือนแม่ครัวคั่วแกงพะแนงผัด สารพัดพยัญชนังเครื่องมังสา
    อันพริกไทยใบผักชีเหมือนสีกา ต้องโรยหน้าเสียสักหน่อยอร่อยใจ”

    18. ผ่าเหล่า
    มีนิสัย สันดานหรือความประพฤติ ผิดแผกแตกต่างไปจากเชื้อสายวงศ์ตระกูล เหล่าคือ เทือกเถาเหล่ากอ สำนวนนี้บางทีก็พูดว่า ผ่าเหล่าผ่ากอ
    ตัวอย่าง
    “เงินดำพิรุธ ปลอมซื้อปลอมขาย ให้ท่านฉิบหาย กินสบายแต่เองใช่ลูกพระเจ้า ผ่าพวกผ่าเหล่า เขานี้เป็นลูกนักเลง”
    ประดนธรรมความเก่า

    19. ผ้าผับไว้
    กิริยามารยาทเรียบร้อย สำนวนนี้เอาผ้าที่พับเรียบร้อยมาเปรียบ มักใช้กับผู้หญิง

    20. แม่แหพาน
    มีนิสัยพาลเกะกะระราน แห คือ ตาข่ายสำหรับทอดจับปลา แหพานคือทอดหรือเหวี่ยงแหไปโดนปลา
    ตัวอย่าง
    “ฟังเหน็บ แสนเจ็บใจขุ่นให้หุนหัน
    ค้อนควักชักหน้าจึงว่าพลัน ก็กระนั้น แหละแม่แหพาน”
    บทละครรามเกียรติ์ของกรมพระราชวังบวร ฯ

    21.ไม้อ่อนดัดง่าย ไม้แก่ดัดยาก
    ถ้าจะอบรมสั่งสอนหรือดัดสันดานนิสัยสันดานคนให้ประพฤติดี ให้ทำตั้งแต่เด็กจึงจะได้ผล ถ้าโตเต็มที่อายุมากแล้วจากที่จะได้ผล เปรียบเหมือนดัดไม้ เช่น ดัดไม้ ต้องการดัดให้เป็นรูปต่าง ๆ ต้องดัดตั้งแต่ลำต้นกิ่งก้านยังอ่อนก็จะเป็นรูปได้ตามต้องการ ถ้าไม้โตแก่เสียแล้ว ดัดให้ให้เป็นรูปร่างยาก ดัดไม่ดีอาจจะหัก

    22. ร้อนวิชา
    ทำอะไร ปฏิบัติอะไรหรือประพฤติอะไรผิดอะไรผิดปกติวิสัยที่คนธรรมดาเขาทำกัน มูลของสำนวนมาจากคติที่ว่ากันว่า คนมีวิชาแก่กล้านั้นจะทำอะไรแปลก ๆ ผิดคนทั้งปวง เช่นคนทั้งหมดเขานั่งในร่ม แต่ตัวเองไปนั่งตากแดดอยู่คนเดียว สำนวนนี้ใช้กับคนที่มีวิชาจริง ๆ หรือใช้กับคนไม่มีวิชาความรู้อะไรเลยก็ได้

    23. รักดีหามจั่ว รักชั่วหามเสา
    ทำตัวดี ประพฤติดี มีวิชาความรู้ก็ย่อมจะได้งานเบางานสูง ทำตัวไม่ดี ประพฤติไม่ดี ไม่มีวิชาความรู้ก็ย่อมจะต้องทำงานหนัก งานต่ำ จั่วเป็นของเบาต่างกับเสาที่เป็นของหนัก
    ตัวอย่าง
    “รัก ความเจริญเร่งรู้ ระวังตน
    ดี ชั่วตัวต้องตน เที่ยวจ้าง
    หามหาบแบกของขน เอาค่า แรงเฮย
    จั่ว ย่อมเบาบ่าบ้าง แบ่งได้เดินสบาย
    รัก การหยาบยุ่งแล้ว เลยระยำ
    ชั่ว บ่มีใครทำ โทษให้
    แบก แต่โง่งึมงำ งงง่วงนอนแฮ
    เสา หนักหามเหนื่อยได้ ยากแท้ทำการ”
    โครงกระทู้สุภาษิต

    24. สันหลังยาว
    ขี้เกียจ เกียจคร้าน สำนวนนี้พูดเต็มว่า ขี้เกียจสันหลังยาว

    25. เอาจมูกเขามาหายใจ
    อาศัยผู้อื่นให้ทำงานให้ พึ่งผู้อื่นวานผู้อื่นให้เขาทำอะไร ๆให้ มุ่งถึงว่าย่อมจะไม่สะดวก ไม่ได้รับผลดี สำนวนนี้บางทีพูดว่า เอาจมูกคนอื่นมาหายใจ หรือว่ายืมจมูกเขามาหายใจ


    อ้างอิง : http://www.spiceday.com/picpost/viewthread.php?tid=50462&extra=&page=6
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×