ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ๓ ๒ ๑... >> ที่มาของสุภาษิต สำนวน คำพังเพยไทย

    ลำดับตอนที่ #41 : สำนวนไทยที่เกิดจากธรรมชาติ

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 60.36K
      78
      10 เม.ย. 53

    สำนวนไทยที่เกิดจากธรรมชาติ


    1. กาฝาก
    ความหมาย กินอยู่กับผู้อื่นโดยไม่ได้ทำประโยชน์อะไรให้
    ความเป็นมา กาฝากเป็นต้นไม้เล็กๆ เกิดเกาะอยู่กับต้นไม้ใหญ่ และอาศัยอาหาร ในต้นไม้ใหญ่เลี้ยงตัวเอง
    ตัวอย่าง ต้นไม้ที่มีกาฝากอยู่ ก็ต้องลดอาหารที่ได้สำหรับเลี้ยงตนไปเลี้ยงกาฝาก ประเทศก็เหมือนกัน มีภาวะการหาประโยชน์ได้มาก ก็ต้องเสียกำลังและทรัพย์ไปในทางนั้นมาก
    มาจาก คนที่แอบแฝงเกาะกินผู้อื่นอยู่โดนไม่ได้ทำประโยชน์อะไรให้เขา จึงเรียกว่ากาฝาก
    เช่น ถึงเป็นอนุชาก็กาฝาก ไม่เหมือนฝากสิ่งที่ว่าอย่าเย้ยหยัน

    2. กินน้ำไม่เผื่อแล้ง
    ความหมาย มีอะไรเท่าไร่ใช้หมดในทันที
    ความเป็นมา 2“มาจากการอัตคัดน้ำ ตามธรรมดา หน้าเล้ง น้ำในคลองในบ่อบ่อลดน้อยลงหรือแห้งขอด ฝนก็ไม่ตกให้รองไว้กินได้ เมื่อมีน้ำอยู่เช่นมีในตุ่มในโอ่งก็ไม่ถนอมไว้ใช้ไว้กิน เอามาใช้เสียหมดก่อนจะถึงหน้าแล้ง ไม่เผื่อหน้าแล้งที่หาน้ำใช้ยาก ก็จะต้องได้รับความลำบาก อะไรที่ใช้เสียหมดสิ้นไม่เผื่อกาลข้างหน้าจึงพูดกันเป็นสำนวนว่า กินน้ำไม่เผื่อแล้ง”


    3. ไก่กินข้าวเปลือก
    ความหมาย กินสินบน
    สำนวนนี้พูดเต็มว่า ไก่ยังกินข้าวเปลือกอยู่ตราบใจ คนก็ยังกินสินบนอยู่ตราบสิ้น

    4. ไก่ขัน
    ความหมาย เวลารุ่งสาง
    ความเป็นมา ธรรมชาติไก่พอเริ่มสางก็ขัน เสียงไก่ขัน จึงเป็นสัญญาณว่าเริ่มสางแสงเงิน แสงทองกำลังจะขึ้น

    5. ไก่โห่
    ความหมาย เวลารุ่งสาง
    ความเป็นมา ธรรมชาติไก่พอเริ่มสางก็ขัน เสียงไก่ขัน จึงเป็นสัญญาณว่าเริ่มสางแสงเงิน แสงทองกำลังจะขึ้น
    ตัวอย่าง 3“ตื่นแต่ไก่โห่มีในหนังสือสักจิตยา แก้วแกลบ เขียนว่า จนประมาณโมงเช้า ข้าพเจ้ายังรู้สึกว่าวันนี้เป็นวันแข่งม้า เป็นแต่รู้สึกว่าไม่ใช้วันอาทิตย์ เพราะถ้าไม่เช่นนั้น ก็ที่ไหน ข้าพเจ้าตื่นขึ้นแต่หัวไก่โห่เช่นนั้นไม่”

    6. ขาวเป็นสำสีเม็ดใน
    ความหมาย คนที่มีผิวสีดำ
    ความเป็นมา สำสีขาว แต่เม็ดในดำ ขาวเป็นสำลีเม็ดใน เป็นสำนวนที่ล้อคนผิดดำ คือ คนที่มีผิวขาวนั้นเปรียบได้กับสำลี ส่วนคนที่ผิดดำก็เป็นสำสีเหมือนกันแต่เป็นเม็ดใน
    ตัวอย่าง สมศักดิ์คุณเป็นคนที่มีผิวขาวกว่าสมศรีอีก แต่ขาวเป็นสำลีเม็ดใน

    7.ใจเป็นปลาซิว
    ความหมาย ใช้เปรียบเทียบกับคนที่ขี้ขลาด ขี้กลัว
    ความเป็นมา ปลาซิวเป็นปลาชนิดหนึ่งตัวเล็กๆ ตายง่าย คือ พอเอาขึ้นจากน้ำก็ตาย
    ตัวอย่าง “พระสังข์สรวลสันต์กลั้นหัวร่อ ยิ้มพลาง ทางตรัสตัดพ้อเอออะไรใจคอเหมือนปลาซิว”

    8. ตีปลาหน้าไซ
    ความหมาย มีความหมายไปในทางว่า วางไซดักปลาไว้ปลากินมาอยู่หน้าไซ แล้วมาชิงช้อนเอาไปเสียก่อน เท่ากับว่าฉวยโอกาส เอาแต่ประโยชน์ของตนเป็นหลัก ทำอะไรเสียหายไม่คำนึงถึง เปรียบเหมือนอย่างจะจับปลา ก็ต้องลงทุนลงแรงทำไซ แต่ตนไม่ทำแล้วยังไปชิงช้อนปลาหน้าไซของคนอื่นที่เขาทำไซ

    ความเป็นมา “มีปรากฏอยู่ในหนังสือมหาชาติ หรือ เวสสันดรชาดก ที่มีมาตั้งแต่ แผ่นดิน พระพรมไตรโลกนาถ แต่น่าแปลกที่ในตัวบาลี ที่ตรงกับตีปลาหน้าไซซึ่งไม่ทราบแน่ว่าจะเป็นสำนวนของชาติไทย หรือชาติอินเดีย สำนวนนี้มีในกัณฑ์ กุมารตอนพระเวสสันดร ให้ทานสองกุมาร แต่ชูชก แล้วชูชกตีสองกุมาร” เช่นกาพย์กุมารมรรพครั้งกระศรีอยุธยาว่า โอ้แสนสงสารพระลูกเอย กระไรเลยอนาถา ทั้งพราหมณ์เฒ่าก็ไม่เมตตา ตีกระหน่ำ นี่เนื้อแกล้งไห้เราชอกซ้ำแตกฉานในมกุฎทานบารมี เหมือนรายชาติเสื่อมศรีฤษยา มาตีกั้นสกัดปลาที่หน้าไซ บรรดาจะได้พระโพธิญาณ

    ตัวอย่าง
    “ ข้านอนกับขุนช้างก็คืออยู่ แต่ได้สู่รบกันเป็นหนา
    เสียตัวใช่ชั่วจะตื่นตา เพราะพรายเขาเข้ามาสกดไว้
    ถ้าผัวเมตตามาปกป้อง วันทองฤาใครจะทำได้
    เจ้าลอยช้อนเอาปลาที่หน้าไซ เพราะใจของเจ้าไม่เมตตา
    ขึ้นช้างไปกับนางสาวทองน้อย ข้านี้ตั้งตาคอยละห้อยหา
    หม่อมเมียเหนี่ยวไว้มิให้มา แค่นจะมีหน้าว่าไม่สมคำ”
    เสภาขุนช้างขุนแผน

    9. ตีปีก
    ความหมาย ดีใจ
    ความเป็นมา มาจากไก่ที่ตีปีกเมื่อแสดงอาการกิริยาร่าเริงคนเมื่อแสดงกิริยาร่าเริงก็งอแขนสองข้างขยับเข้าออกระทบกับลำตัว
    ตัวอย่าง
    “บุญโรจน์ตีปีก ฉวยกล้องวิ่งไปทางขวา”
    น้อยอินทเสน พระราชนิพนธ์รัชกาลที่ 6

    10. ตืดเป็นตังเม
    ความหมาย ขี้เหนียว คือเอาแต่แม้ซึ่งมีลักษณะเหนียวมาเปรียบกับคนที่ขี้เหนียว ไม่ยอมเสียอะไรให้ใครได้ง่ายๆ

    11. เต่าใหญ่ไข่กลบ
    ความหมาย ทำอะไรที่เป็นพิรุธแล้วพยายามกลบเคลื่อนไม่ให้คนอื่นรู้
    ความเป็นมา สำนวนนี้เอาแต่มาเปรียบ คือเต่าใหญ่ เช่น เต่าตัวที่อยู่ในทะเลเวลาจะไข่ก็คลานขึ้นมาที่หาดทราย คุ้ยทรายให้เป็นหลุมแล้วไข่ ไข่สุดแล้วมักเขี่ยทรายกลบไข่ แล้วเอาอกของมันถูไถทราย ปราบให้เรียบเหมือนทรายเดิมเป็นการป้องกัน ไม่ให้ใครไปทำอันตรายไข่ของมัน

    ตัวอย่าง
    “ถ้าใจดีจริงไม่ชิงผัว ก็จะทูลบิดผันไม่พันพัว
    นี่ออกสั่นรัวรีบรับเอา เต่าใหญ่ไข่กลบแม่เจ้าเอ๋ย
    ใครเลยเขาจะไม่รู้เท่า เขาว่าถูกใจดำทำหน้าเง้า”
    บทละครรามเกียรติ์ของกรมพระราชวังบวร

    12. เตี้ยอุ้มค่อม
    ความหมาย ทำงานหรือประกอบกิจการหรือทำอะไรที่ต้องมีภาระมากมายใหญ่โตเกินกำลังหรือความสามารถของตนเองที่จะปฏิบัติ หรือประคองให้ตลอดรอดฝั่งไม่ได้
    ความเป็นมา เปรียบได้กับคนที่เตี้ยอยู่แล้ว ยังไม่อุ้มคนค่อมคือคนเตี้ยเข้าอีก ก็ย่อมจะพากันไม่ไหว เตี้ยหมายถึงฐานะการเงิน ฯลฯ อะไรก็ได้ เช่นคงมีรายได้น้อยแล้วมีเมียหลายคนที่ต้องเลี้ยงดู อย่างนี้เรียกว่า เตี้ยอุ้มค่อม
    ตัวอย่าง
    “เตี้ย ควรปราบห้ามจิตร เจียมตน
    อย่างกอบกิจเกินตน ติดกับ
    อุ้ม แต่จุแรงงาน ขึ้นบ่า เดินแฮ
    ค่อม นักลักห่วงส้ม บอกแล้วอย่าลืม”
    โครงกระทู้สุภาษิต

    13. แต่งร่มใบ
    ความหมาย ผิวเนื้อนวลงาม มักใช้กับหญิงสาวที่มีผิวพรรณงามผ่อง เช่น พูดว่าผิวยังกะแตงร่มใบ
    ความเป็นมา สำนวนนี้เอาแตงมาเปรียบ คือ แตงที่ผลโตมีใบปิดบังร่ม ไม่ถูกแดดเผา ผิวแตงขึ้นนวลงามเรามักพูดกันว่า นวลแตง
    ตัวอย่าง ในเสภาขุนช้างขุนแผน กล่าวถึงนางพิมทาแป้ง แต่ไรใส่น้ำมัน ผัดหน้าเฉิดฉัน ดังนวลแตง
    “นวลแตงก็คือนวลเหมือนแตงร่มใบ”

    14. โตฟักโตแฟง
    ความหมาย โตแต่กาย ส่วนสติปัญญาความคิดยังน้อย ใช้กับเด็กโตมีอายุมาแล้ว แต่ยังทำอะไรเหมือนกะเด็กเล่น
    ความเป็นมา สำนวนนี้เอาฟักและแฟงมาเปรียบคือ ฟักแฟงมักจะใหญ่เกินวัน

    15. ถ่านไฟเก่า
    ความเป็นมา ถ่านที่เคยติดไฟแล้วมอดอยู่ หรือถ่านดับ ถ่านอย่างนี้ ติดไฟลุกง่ายเร็วกว่าถ่านใหม่ที่ไม่เคยติดไฟเลย ได้เชื้อเข้านิดหน่อยก็ติดลุกทันที เราเปรียบกับหญิงที่เคยเป็นภรรยา หรือเคยได้เสียกับชายมาแล้ว แล้วมาพรากจากกันไป พอมีโอกาสมาพบกันใหม่ก็คืนดีกัน

    16. ถึงพริกถึงขิง
    ความหมาย รุนแรงเต็มที่
    ความเป็นมา มาจากการปรุงอาหารแล้วใส่ขิง หรือมีรสเผ็ด ขิงมีรสร้อน เมื่อใส่มากก็จะมีรสทั้งเผ็ดทั้งร้อน การทำอะไรที่รุนแรงเต็มที่ หรือการกล่าวถ้อยคำที่รุนแรง เช่น การเล่นหรือการถกเถียง จึงพูดเป็นสำนวนว่า ถึงพริกถึงขิง

    17. น้ำขึ้นปลากินมด น้ำลดมดกินปลา
    ความหมาย ยามชะตาขึ้นทำอะไรไม่ดีกับใครไว้ ยามชะตาตกเขาทำกับเราไม่ดีเหมือนกัน
    ความเป็นมา เปรียบได้กับเวลาน้ำขึ้นปลาก็ว่ายร่าเริง แต่พอน้ำลดแห้งปลาขาดน้ำก็ต้องตาย มดก็กลับมาตอมกินปลา

    18. น้ำขึ้นให้รีบตัก
    ความหมาย กำลังชะตาขึ้นจะต้องการอะไรหรือทำอะไรที่เป็นประโยชน์แก่ตนก็ให้รีบทำเสีย
    ความเป็นมา สำนวนนี้เอาน้ำในแม่น้ำในแม่น้ำลำคลองมาเปรียบเวลาน้ำขึ้นให้รีบตักใส่ตุ่มไว้ ถ้าเพิกเฉยน้ำลดแห้งไป ก็ตักไม่ได้
    ตัวอย่าง
    “ผมเห็นว่าไม่ควรจะขัดใจแม่วิไลนะขอรับ โบราณท่านย่อมว่าปลูกเรือนตามใจผู้อยู่ ปลูกอู่ตามใจผู้นอน ถูกไหมขอรับ ผมจะรีบไปเดี่ยวนี้ น้ำขึ้นต้องขอรีบจ้วง”

    19. น้ำเชี่ยวขวางเรือ
    ความหมาย ขัดขวางเรื่องหรือเหตุการณ์ ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นและกำลังเป็นไปอย่างรุ่นแรง ซึ่งเมื่อทำแล้วก็เป็นอันตรายต่อตนเอง
    ความเป็นมา สำนวนนี้เอากระแสน้ำที่กำลังไหลเชี่ยวมาเปรียบ คือเมื่อน้ำกำลังไหลเชี่ยว กระแสน้ำจะพุ่งแรง ถ้านำเรือไปขวางเรือก็จะล่ม
    ตัวอย่าง
    “น้ำ ใดฤาเท่าด้วย น้ำมโน
    เชี่ยวกระแสอาโป ปิดได้
    ขวาง ขัดหฤทโย ท่านยาก อย่าพ่อ
    เรือ แห่งเราเล็กใช้ จักร้าวรอยสลาย”
    โครงสุภาษิตเก่า

    20.น้ำตาลใกล้มด
    ความเป็นมา ผู้หญิงอยู่ใกล้ผู้ชาย น้ำตาลอยู่ใกล้มด มดย่อมตอมน้ำตาลฉันใด ผู้หญิงอยู่ใกล้ผู้ชาย ผู้ชายก็มักจะเข้ามาเกี่ยวข้องกับผู้หญิงฉันนั้น
    ตัวอย่าง
    “อันบุรุษสตรีนี้เหมือนมด มันเหลืออดที่จะไม่ชิมลิ้มหวาดได้”
    เงาะป่า พระราชนิพนธ์รัชกาลที่ 5

    21.บ่นออดเป็นมอดกัดไม้
    ความหมาย คนบ่นเสียงเบา ดังออดแอด ๆ
    ความเป็นมา มอดเป็นสัตว์ตัวเล็ก ๆ ที่เกิดในเนื้อไม้ และกัดกินเนื้อไม้ เช่น เสาเรือน ฝาเรือน ขณะกัดกินเนื้อไม้ได้ยินเสียงออด ๆ จึงเอาเสียงที่เกิดจากมอดกัดไม้มาเปรียบ พูดว่าบ่นเป็นมอดกัดไม้

    22.ปล่อยเสือเข้าป่า ปล่อยปลาลงน้ำ
    ความหมาย ปล่อยคนสำคัญที่ตกอยู่ในอำนาจให้พ้นไป คนนั้นย่อมจะมีกำลังขึ้นอีก เพราะว่า ธรรมชาติของเสือจะอยู่ในป่า ปลาจะอยู่ในน้ำ เมื่อปล่อยกลับคืนที่ของมัน มันก็จะมีกำลังขึ้นอย่างเดิม
    ตัวอย่าง
    “ประเพณีตีงูให้หลังหัก มันก็มักทำร้ายเมื่อภายหลัง
    จระเข้ใหญ่ไปถึงน้ำมีกำลัง เหมือนเสือขังเข้าถึงดงก็คงร้าย”
    พระอภัยมณี

    23. เป็นนกอับ
    ความหมาย ไม่ค่อยพูดจาขณะที่คนอื่นๆเขาพูดเขาคุยกัน
    ความเป็นมา สำนวนนี้มาจากนกเขา นกเขาบางตัวอยู่ตามปกติขันแต่พอไปเข้าหมู่นกเขาตัวอื่นที่ขันเก่ง มันก็นิ่งเงียบไปไม่ขัน อย่างนี้เรียกว่า อับ คนที่ปกติพูดเก่ง แต่พอไปเข้าหมู่ทีเขาสนทนากัน ตนนิ่งไม่พูด จะเป็นเพราะไม่อยากพูดหรือพูดไม่ทันเขาก็ตามเราเรียกเป็นสำนวนว่า เป็นนกอับ
    ตัวอย่าง
    “แน่ะ สมบัติ เธอยังไรไม่ค่อยพูดไม่ค่อยเจรจากับเขาบ้าง ดูยังกับนกอับไปทีเดียว”
    รัตนทวารา

    24. พูดเป็นต่อยหอย
    ความหมาย พูดจาฉอด ๆไม่ได้หยุดปาก
    ความเป็นมา 5“มูลของสำนวนเข้าใจว่ามาจากหอยนางรม คือ หอยนางรมเป็นหอยจับอยู่ตามก้อนหิน เวลาจะเอาตัวหอยต้องต่อยออกจากก้อนหิน การต่อยต้องต่อยเรื่อย ๆไปไม่หยุดมือ เสียงดังอยู่เรื่อยๆตลอดเวลา”
    ตัวอย่าง
    “ครั้นจะโดดหนีไปก็ไม่ใช่ที่ คอยจับโอกาสที่จะหนีก็ไม่ได้ มีแต้มจะทรุดลงทุกที เพราะว่าแม่มดคนนั้นช่างพูดคล่องราวต่อยหอย” (ลักวิทยา)

    25.มือเป็นฝักถั่ว
    ความหมาย แสดงความอ่อนน้อมถ่อมตนด้วยการไหว้
    ความเป็นมา ฝักถั่วมีลักษณะอ่อนช้อยโน้มน้อมลงมา ดังนั้นโบราณเอาฝักถั่วมาเปรียบกับการไหว้ โดยใช้มือยกขึ้นไหว้เป็นการแสดงความอ่อนน้อม

    ตัวอย่าง ในตำนานเมืองเพชรบุรีของพระยาปริยัติธรรมธาดา (แพ) กล่าวถึงสามเณรแตงโม (คือ สมเด็จพระเจ้าแตงโม) ตอนหนึ่งว่า
    “ พอสามเณรขึ้นเทศน์ตั้งนโมแล้ว เดินบทจุสนีย์เริ่มทำนองธรรมวัตรสำแดงไปพวกทายก ทั้งข้างหน้าข้างในฟังเพราะจับใจ กระแสแจ่มใสเมื่อเอ่ยถึงพระพุทธคุณมีภควา หรือพระอะระหัง เป็นอาทิครั้งใด เสียงสาธุการพนมมือแลเป็นฝักถั่วไปทั้งโรงธรรม”
    “โบราณเอาฝักถั่วมาเปรียบกับมือที่ยกขึ้นไหว้เมื่อพูดว่า มือเป็นฝักถั่วก็หมายถึงมือที่อ่อนน้อม”

    อ้างอิง http://www.spiceday.com/picpost/viewthread.php?tid=50462&extra=&page=2

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×