ลำดับตอนที่ #7
คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #7 : สำนวน สุภาษิต คำพังเพย หมวด ก
กรุงศรีอยุธยาไม่สิ้นคนดี
สำนวนคำพังเพยประโยคนี้เป็นสำนวนเก่า ซึ่งอาจจะมีมาจากครั้งสมัยกรุงศรีอยุธยาก็ได้เพราะปรากฏมีหลักฐานในเสภาขุนช้างขุนแผน ตอนเถรกวาดแก้แค้นพลายชุมพลตอนหนึ่งด้วยว่า ” คนดีไม่สิ้นอยุธยา ” สำนวนนี้เป็นความหมาียอธิบายอยู่ในตัวแล้ว ” คนดี ” ก็คือคนเก่งหรือผู้มีความสามารถในทางต่อสู้และความคิดอยู่พร้อม อย่าชะล่าใจนักจักเสียที.
สำนวนคำพังเพยประโยคนี้เป็นสำนวนเก่า ซึ่งอาจจะมีมาจากครั้งสมัยกรุงศรีอยุธยาก็ได้เพราะปรากฏมีหลักฐานในเสภาขุนช้างขุนแผน ตอนเถรกวาดแก้แค้นพลายชุมพลตอนหนึ่งด้วยว่า ” คนดีไม่สิ้นอยุธยา ” สำนวนนี้เป็นความหมาียอธิบายอยู่ในตัวแล้ว ” คนดี ” ก็คือคนเก่งหรือผู้มีความสามารถในทางต่อสู้และความคิดอยู่พร้อม อย่าชะล่าใจนักจักเสียที.
สำนวนนี้ มักจะพูดกันว่า ”เข็นครกขึ้นภูเขา ” กันส่วนมาก แต่แท้จริง ” ครก ” ต้องทำกริยา ” กลิ้ง ” ขึ้นไปจึงจะถูก กล่าวคำว่า ” เข็น ” แปลว่า เรื่องที่กำลังจะทำหรือจะทำให้สำเร็จบรรลุผลนั้น ยากลำบากแสนเข็ญมิใช่ของที่ทำได้ง่ายนักเปรียบได้กับ การกลิ้งครกขึ้นภูเขาไปสู่ยอดเขา
แปลว่าหมดหนทางที่จะทำหรือไม่รู้จะทำอย่างไรดีหรือ เป็นการทำให้ตัดสินใจไม่ถูก เพราะจะไม่ทำลงไปก็ไม่ดี ทำลงไปก็ไม่ดีเป็นการยากที่จะตัดสินใจทำลงไปได้ง่าย เหมือนก้างปลาหรือเศษอาหารอะไรอย่างหนึ่ง เข้าไปติดอยู่กลางลำคอกลืนก็ไม่เข้าคายก็ไม่ออก.
- กว่าถั่วจะสุก งาก็ไหม้
สำนวนพังเพยนี้ มาจากการคั่วถั่วกับงาในกระทะเดียวกัน ถั่วเป็นของสุกช้างาสุกเร็วมัวรอไห้ถั่วสุก งาก็ไหม้เสียก่อน สำนวนนี้หมายถึงการทำอะไรสองอย่างพร้อมกันหรือทำอะไรสักอย่างที่ไม่รอบคอบ มัวคิดแต่จะได้ทางหนึ่งต้องเสียทางหนึ่งในความหมายอีกแง่ก็แปลว่าการทำอะไรมัวรีรออยู่ ไม่รีบลงมือทำเสียแต่แรกครั้นพอลงมือจะทำ ก็ไม่ทันการเสียแล้วเพราะคนอื่นเขาเอาไปทำเสียก่อน. - กำขี้ดีกว่ากำตด
ความหมายว่า ได้ในสิ่งที่เห็นหรือเป็นของได้แน่ ดีกว่าคิดอยากได้ในสิ่งหรือของที่ไม่เห็นเหมือนไม่มีตัวตน การกินการอยู่ใครไม่สู้พ่อ การพายการถ่อพ่อไม่สู้ใคร : สำนวนนี้อธิบายความหมายอยู่ในตัวแล้วแสดงว่า เรื่องกินแล้วเก่งจนไม่มีใครสู้แต่ถ้าเรื่องงานแล้วยอมแพ้ ซึ่งแปลว่าขี้เกียจนั้นเอง. - กินที่ลับไข่ที่แจ้ง
สำนวนนี้ มีความหมายไปในทำนองที่ว่า ทำอะไรไว้ในที่ลับแล้วอดปากไว้ไม่ได้เอามาเปิดเผย ให้คนทั้งหลายรู้เพื่อจะอวดว่าตนกล้าหรือสามารถทำอย่างนั้นได้โดยไม่กลัวใครผิดกฎหมาย อะไรทำนองนั้นหรือไม่กลัว - กินน้ำใต้ศอก
หมายไปในทางที่ว่าถึงจะได้อะไรสักอย่างก็ไม่เทียมหน้าหรือไม่เสมอหน้าเขา เช่นหญิงที่ได้สามี แต่ต้องตกไปอยู่ในตำแหน่งเมียน้อย ก็เรียกว่า “กินน้ำใต้ศอกเขา” ที่มาของสำนวนนี้ คนในสมัยก่อนอธิบายว่า คนหนึ่งเอาสองมือกอบน้ำมากิน มากิน อีกคนหนึ่งรอหิวไม่ไหวเลยเอาปากเข้าไปรองน้ำที่ไหลลงมาข้อศอก ของคนกอบน้ำกินนั้นเพราะรอหิวไม่ทันใจ. - กินบนเรือน ขี้รดบนหลังคา
แปลว่าคนที่เนรคุณคนเปรียบได้กับคนที่อาศัยพักพิงบ้านเขาอยู่แล้ว คิดทำมิด ีมิชอบให้เกิดขึ้นภายในบ้านนั้น ทำให้เจ้าของบ้านที่ให้อาศัยต้องเดือดร้อนคนโบราณเอาลักษณะของแมวที่ไม่ดี คือกินแล้วไม่ขี้ให้เป็นที่กลับขึ้นไปขี้บนหลังคาให้เป็นที่สกปรกเลอะเทอะเพราะคนสมัยก่อนต้องการให้หลังคาสะอาดเพื่อรองน้ำฝนไว้กิน
จึงเอาแมวชั่วนี้ มาเปรียบเทียบกับคนชั่วที่ไม่รู้จักบุญคุณคน. - กินปูนร้อนท้อง
สำนวนนี้มาจากตุ๊กแก ว่ากันว่า ตุ๊กแกที่กินปูน (ปูนแดงที่กินกับหมากพลู )มักจะทำอาการกระวนกระวาย ส่งเสียงร้องแกร็กๆ เหมือนอาการร้อนท้องหรือปวดท้อง
จึงนำเอามาเปรียบกันคนที่ทำพิรุธหรือทำอะไรไว้ไม่อยากให้ใครรู้แต่เผอิญมีใครไปแคะได้ หรือเรียบเคียงเข้าหน่อยทั้ง ๆ ที่เขาไม่ได้เจตนาเจาะจงแต่ตัวเอง ก็แสดงอาการเป็นเชิงเดือดร้อนออกมาให้เขารู้ สำนวนนี้มักพูดกันว่า “ ตุ๊กแกกินปูนร้อนท้อง “. - กินน้ำเห็นปลิง
แปลว่า สิ่งใดที่ต้องการ ถ้าสิ่งนั้นมีสิ่งที่น่ารังเกียจ หรือไม่บริสุทธิ์ก็ทำให้รังเกียจหรือตะขิดตะขวงใจไม่อยากได้เปรียบดังที่ว่าปลิงเป็นสัตว์น่ารังเกียจอยู่ในน้ำ เวลากินน้ำมองเห็นปลิงเข้าก็รู้สึกรังเกียจขยะแขยงไม่อยากกินสำนวนนี้มีนักเขียนเอามาเขียนเอามาตั้งเป็นชื่อหนังสือเล่มหนึ่ง. - เกลียดขี้ขี้ตาม เกลียดความความถึง
สำนวนนี้ ไม่ทราบที่มาหรือมูลของสำนวนแน่ชัดแต่ก็เป็นที่รู้ ความหมายกันทั่วไปว่า หมายถึง การที่คนเราเกลียดสิ่งไหนแล้วมักจะได้สิ่งนั้นเปรียบได้กับชายที่เกลียด ผู้หญิงขี้บ่นจู้จี่แต่มักลงท้ายกลับไปได้ภรรยาขี้บ่นจู้จี่เข้าจนได้. - เกลียดตัวกินไข่ เกลียดปลาไหลกินน้ำแกง
สำนวนนี้มีความหมายแตกต่างกับประโยค ” เกลียดขี้ขี้ตาม ” เพราะแปลความหมายไปในทางที่ว่าเกลียดตัวเขาแต่อยากได้ผลประโยชน์จากเขา หรือของ ๆ เขา ตามความหมายเปรียบเทียบของสำนวนที่ว่าเช่นเกลียดปลาไหลในรูปร่างของมัน แต่เมื่อเอามาแกงมีรสหอมก็ทำให้อดอยากกินแกงไม่ได้ถึงแม้จะไม่กินเนื้อปลาไหลเลยก็ตาม. - แกว่งเท้าหาเสี้ยน
หมายถึงคนที่ชอบทำอะไรเป็นการสอดแทรกเข้าไปยุ่งกับเรื่องของผู้อื่นเข้า จนกระทั้งกลาย เป็นเรื่องกับตัวเองจนได้เสมอ เรียกว่าชอบสอดเข้าไปเกี่ยวสำนวนในปัจจุบันเปลี่ยนไปใช้เป็นว่า ” แกว่งปากหาเท้า ” เสียแล้ว เพื่อให้ความชัดเจนขึ้น. - ไก่กินข้าวเปลือ
สำนวนคำพังเพยประโยคนี้ ถ้าพูดให้เต็มความก็ต้องพูดว่า ” ตราบใดที่ไก่ยังกินข้าวเปลือกอยู่ ตราบนั้นคนเราก็ยังอดกินสินบนไม่ได ” เข้าใจว่าเป็นคำพังเพยของจีน ๆ เอามาใช้เป็นภาษาของเขาก่อน แล้วไทยเราเอามาแปลเป็นภาษาไทยใช้กันอยู่มากในสมัยก่อน ๆ. - ใกล้เกลือกินด่าง
หมายความว่า สิ่งที่หาได้ง่ายหรืออยู่ใกล้ไม่เอา กลับไปเอาสิ่งที่อยู่ไกลหรือหายากเปรียบได้ว่าเกลือหาง่ายกว่าด่าง ความหมายอีกทางหนึ่งหมายถึงว่าอยู่ใกล้กับของดีแท้ ๆ แต่ไม่ได้รับเพราะกลับไปคว้าเอาของที่ดี หรือมีราคาด้อยกว่าคือด่างซึ่งมีรสกร่อยหรืออ่อนเค็มกว่าเกลือ - กลเม็ดเด็ดทราย
ทีเด็ดหรือไม้เด็ด ที่มีความเหนือและแน่นอน ในชั้นเชิงหรือแต้มคูมากกว่า มีชั้นเชิงแพรวพรายหลายชั้น ที่ทำให้น่าตะลึงหรือน่าทึ่ง ข่มหรือสยบคู่ปรปักษ์ได้อย่างชะงัดกินลมกินแล้ง
สำนวนนี้ มีความหมายที่ใกล้เคียงกับอีกสองคำคือ “สร้างวิมานกลาง (ใน) อากาศ” “ฝันลมๆ แล้งๆ” อีกสำนวนหนึ่งที่พอจะอุปมาไปได้กับสำนวนนี้คือคำว่า “ทอดหุ่ย” หมายความรวมๆ ว่าเป็นเรื่องเลื่อนลอย ไม่มีอะไรเป็นชิ้นเป็นอัน พอๆ กับไอระเหยที่ไม่มีอะไรให้จับต้องได้ มีแต่ความเป็นอากาศธาตุ มีสำนวนอีกสำนวนหนึ่งที่ใกล้กันทั้งอักษรและความหมายคือ “ตามลมตามแล้ง” ไม่มีจุดมุ่งหมายอะไร ปล่อยให้ไปตามลม หรือสุดแต่จะเป็นไป อาการเดินทอดน่องปล่อยเวลาให้ผ่านไปโดยไม่คิดอะไร เรียกว่า “เดินทอดน่อง” หรือ “ฆ่าเวลา” คือปล่อยเวลาให้ผ่านเลยไปโดยไร้ประโยชน์ ไม่ได้ทำประโยชน์ใดๆ ขึ้นมาเลย - กรวดน้ำคว่ำขัน
สำนวนนี้ จะแลเห็นว่ามีกลิ่นอายของสำนวนตลาดติดอยู่มากบางทีก็ใช้คำว่า “กรวดน้ำคว่ำกะลา” เป็นคำที่ปรามาสไม่ให้เกียรติกันเลยทีเดียว (เรียกว่าเกียรติไม่พอที่จะใช้ขันนั่นแล) ความหมายของสำนวนนี้ คือการตัดขาด ไม่เกี่ยวข้องด้วย เลิกยุ่งเกี่ยวด้วยประการทั้งปวง หมายความอีกอย่างว่า “สาปส่งไปเลย” ถ้าให้ถึงใจก็ต้องขนาด “เผาพริก เผาเกลือ” เลยทีเดียวสำนวนนี้เป็นสำนวนใช้แดกดัน จึงใช้สำนวนที่มีความหมายถึงการแผ่ส่วนบุญส่วนกุศลไปให้ คือจะไปไหนก็ไปเลย จะทำบุญอุทิศส่วนกุศลไปให้ อย่ากลับมาเกี่ยวข้องกันอีก ไม่ว่าชาตินี้หรือชาติหน้า คำว่า “กรวดน้ำ” หมายถึงให้ไปให้ไกล ให้ไปให้ลับทำนองเดียวกับการกรวดน้ำให้คนตาย ให้อยู่กันคนละโลกนั่นเอง คำว่า “คว่ำขัน” หมายถึง เลิกคบกัน หรือ สิ้นสุดกัน มีคำที่อยากจะเพิ่มเติมให้ทราบอีกคำที่คล้ายกันคือ “คว่ำบาตร” อีกสำนวนหนึ่งคือ “ตัดหางปล่อยวัด” สำนวนนี้ใช้กับญาติ เช่น “ตัดญาติขาดมิตร” ซึ่งก็หมายถึงการตัดญาติหรือตัดลูกตัดหลานกระโถนท้องพระโรง
คงทราบกันว่า กระโถน เป็นภาชนะชนิดหนึ่งที่ใช้รองรับสิ่งไม่ดี เช่น น้ำลาย และเสมหะทั่วๆ ไป ยิ่งท้องพระโรง (หมายถึง สถานที่เปิดกว้างที่มีผู้คนไปมาเสมอๆ) ก็ยิ่งจะมีสิ่งสกปรกเลอะเทอะมากมาย จึงอุปมาว่า เป็นที่รองรับอารมณ์หรือระบายอารมณ์ทุกอย่างของทุกคน บางทีกลายเป็นที่รับความผิดทุกๆ อย่างของใครต่อใครด้วย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานอธิบายความหมายของสำนวนนี้ว่า “ผู้ที่ใครๆ ก็ใช้ได้ หรือผู้ที่ใครๆ ก็รุมอยู่คนเดียว เหมือนอย่างกระโถนท้องพระโรงที่ใครๆ ก็บ้วนน้ำลาย ขากเสลดลงที่นั่น”- กบในกะลาครอบ
หมายถึงผู้มีความรู้และประสบการณ์น้อย เหมือนกบที่ถูกกะลาครอบไว้ แต่สำคัญตนว่ามีความรู้มาก เพราะมองเห็นเพียงกะลาแคบๆ ใกล้ตัว ขาดโลกทัศน์ที่กว้างไกล พอโผล่ออกมาพ้นกะลาจึงรู้ว่า ยังมีสิ่งต่างๆ อีกมากมายเหลือคณานับ ที่จะต้องเรียนรู้และศึกษาเพิ่มเติม จนทำตนให้กลายเป็น “กบนอกกะลา” ให้จงได้ - กบเลือกนาย
สำนวนนี้มีต้นเค้ามาจากนิทานอีสปเรื่องหนึ่งที่มีชื่อว่า “กบเลือกนาย” นี่แหละ เรื่องมีอยู่ว่าในบึงใหญ่แห่งหนึ่ง มีกบฝูงหนึ่งอาศัยอยู่ วันดีคืนดี กบหัวหน้าก็ปรารภขึ้นว่า “เราเองถึงแม้ว่าจะมีประชากรเลือกเราเป็นผู้นำ แต่เราก็ทำอะไรไม่ได้ไม่มีฤทธิ์ไม่มีอำนาจที่จะปกป้องคุ้มครองพวกกบทั้งหลายได้สมควรที่เราจะต้องหาผู้ที่มีบุญญาธิการมาเป็นหัวหน้าเราจะดีกว่า” ว่าแล้วก็ชวนบรรดากบทั้งหลายช่วยกันสวดมนต์อ้อนวอนเทวดาขอให้ส่งหัวหน้ามาให้ เทวดาทนคำสวดอ้อนวอนไม่ไหวก็ส่งขอนไม้ใหญ่ท่อนหนึ่งลงมา บรรดากบทั้งหลายดีใจได้นายใจดีให้ปีนขึ้นไปนั่งเล่นกระโดดโลดเต้นก็ได้ แต่ไม่นานก็เบื่อ เพราะเห็นนายไม่ทำอะไรนอกจากลอยน้ำนิ่งๆ กบทั้งหลายก็เลยสวดอ้อนวอนเทวดาขอให้ส่งนายดีๆ มาให้ใหม่คราวนี้เทวดาขัดใจส่งนกกระสาตัวใหญ่ลงมาให้เป็นนาย นกกระสาก็ไม่ทำอะไรนอกจากจับกบกินเป็นอาหารวันละตัวสองตัวจนกบหมดบึง สำนวนนี้มีความหมายว่า ผู้ที่ต้องการเปลี่ยนใหม่อยู่เรื่อยๆ เป็นคนช่างเลือกไม่พอใจอะไรง่ายๆ ในที่สุดก็ไม่ได้อะไรที่ดีกว่าเดิม เข้าทำนอง เลือกนักมักได้แร่ - กวนน้ำให้ขุ่น
สำนวนนี้โบราณต้องการบอกถึงนิสัยของคนที่ชอบยุ่งเรื่องของคนอื่นเปรียบเหมือนคนที่ชอบยุแยงตะแคงแซะ ทำเรื่องสงบให้กลายเป็นวุ่นวาย มีคำหนึ่งที่ต้องอธิบายเพิ่มเติมให้เข้าใจคือคำว่า “กวน” คือการคนให้เข้ากัน เมื่อเรากวนน้ำ ตะกอนจะนอนก้นทำให้น้ำใส แต่เมื่อใดเรากวนน้ำนั้นอีก ตะกอนที่นอนก้นอยู่ก็จะขุ่นข้นขึ้นมา น้ำก็จะขุ่นดื่มไม่ได้ - กินบนเรือนขี้บนหลังคา
สำนวนนี้เกิดจากเรื่องราวระหว่างคนกับแมว ในสมัยโบราณนั้นผู้คนชอบเลี้ยงแมวไว้ในบ้านด้วยความประสงค์สองอย่างคือ เอาไว้เป็นเพื่อน และเอาไว้จับหนูที่ชอบเข้ามากินข้าวเปลือกที่ใส่กระพ้อม (ที่เก็บข้าวเปลือกไว้ใช้ทำพันธ์สานด้วยไม้ไผ่) เอาไว้ แมวนั้นมีนิสัยแปลก (บางตัว) คือชอบไปถ่ายบนหลังคาบ้าน เวลาฝนตกมาน้ำฝนก็สกปรกใช้ดื่มไม่ได้ จึงเกิดสำนวน “กินบนเรือนขี้บนหลังคา” ขึ้น ความหมายของสำนวนนี้กล่าวเปรียบเทียบกับคนที่เนรคุณ ให้ที่อาศัยพึ่งพิงแล้ว ยังมาสร้างความเดือดร้อนให้อีก - ไก่งามเพราะขน คนงามเพราะแต่ง
จะสังเกตเห็นว่าสำนวนเปรียบเทียบโบราณจะไม่พ้นเรื่องธรรมชาติและเรื่องสัตว์ อย่างสำนวนนี้ก็จะเปรียบเทียบว่า ไก่นั้นสวยงามเพราะมีขนสวย แต่คนจะสวยงามได้ ก็ต้องใช้วิธีแต่งเพิ่มเติม ทาแป้ง ทาปาก ทำผมให้มีลอนสลวยอย่างนี้ แต่อย่างไรก็ตามความสวยงามภายนอกนั้นไม่จีรัง ความสวยเมื่อสาวตอนแก่ตัวก็อาจจะทรุดโทรมได้ และก็ยากที่จะทำให้สวย แต่ความสวยตลอดกาลคือความสวยงามภายในจิตใจ ที่เรียกว่า สวยด้วยธรรมะ ซึ่งจะสดสวยติดกายอยู่ตลอดกาล - ไก่เห็นตีนงู งูเห็นนมไก่
สำนวนนี้อ้างอิงสัตว์อีกเช่นเคย คือไก่และงู ที่น่าแปลกก็คือไก่มีนม และงูมีตีน ซึ่งความจริงแล้ว ไก่ไม่มีนม และงูก็ไม่มีตีน (งูใช้วิธีเลื้อยด้วยการขยับเกล็ด) แต่ในสำนวนนี้เป็นการเปรียบเทียบถึงสิ่งที่คนอื่นอาจไม่รู้ไม่เห็นแต่สองฝ่ายต่างรู้เห็นซึ่งกันและกัน จะพูดอีกทีว่าทั้งสองฝ่ายต่างรู้ความลับของกันและกันก็ได้ - แกงจืดจึงรู้คุณเกลือ
โบราณนำเกลือมาเป็นอุปมาเช่นเดิม เพื่อเตือนใจให้รู้ว่า เกลือนั้นเป็นเครื่องปรุงรสอาหารดีมาก คนก็เลยไม่ค่อยเห็นคุณค่าของเกลือ (ข้อเท็จจริงก็คือเกลือราคาถุงละ 10 บาท แต่ข้าวที่มีขนาดถุงเท่ากันมีราคาถึง 50 บาท) เวลาอาหารไม่มีรสชาติต้องการเกลือแต่เกลือก็หมดเสียแล้ว ความหมายของพังเพยนี้ก็คือ จะรู้ค่าของสิ่งใด ก็ต่อเมื่อของสิ่งนั้นไม่มีเสียแล้ว - เกลือเป็นหนอน
เกลือเป็นสิ่งที่โบราณนำมาอุปมาในพังเพยนี้อีก เพื่อจะบอกผู้คนว่า เกลือนั้นมีรสเค็มป้องกันไม่ให้สิ่งของเน่าได้แต่ปรากฏว่ายังมีหนอนขึ้นได้ เปรียบเหมือนคนที่ผูกพันเป็นเพื่อนสนิทพวกเดียวกัน หรือคนที่อยู่ในบ้านเดียวกันทรยศไม่ซื่อต่อกัน
- เก็บเบี้ยใต้ถุนร้าน
โบราณสร้างคำพังเพยสำนวนนี้ขึ้นเพื่อเป็นการสั่งสอนให้คนรู้จักเก็บออมเงินรายได้ที่ตัวเองหาได้ และใช้เงินให้ถูกต้องต่อการดำเนินชีวิต เช่น ศาสนาพุทธสอนให้จ่ายเงินที่หาได้เป็นสี่ส่วน ส่วนหนึ่งเก็บ ส่วนหนึ่งใช้จ่ายส่วนตัว ส่วนหนึ่งใช้จ่ายเพื่อผู้อื่นที่อยู่ใกล้ชิด ส่วนหนึ่งใช้ทำบุญกุศล โบราณกล่าวถึงเบี้ยใต้ถุนร้าน ต้องอธิบายคำว่า “เบี้ย” คือเปลือกหอยชนิดหนึ่งที่ใช้แทนเงิน เบี้ยนั้นมักจะตกหล่นอยู่ใต้ถุนร้านค้า วันละเบี้ยสองเบี้ย คนที่รู้จักเก็บออมก็จะไปเก็บเบี้ยใต้ถุนร้านเหล่านี้มารวมๆ กันเข้าก็จะได้จำนวนมากมีสำนวนที่มีความหมายคล้ายกันอยู่สำนวนหนึ่งคือ “ออมไว้ไม่ขัดสน” - กินอยู่กับปากอยากอยู่กับท้อง
โบราณสร้างคำพังเพยสำนวนนี้ขึ้นมาเพื่อประชดคนที่รู้ตัวเองดีว่าทำอะไรไว้ (ที่เสียหาย) แต่กลับทำเสแสร้งแกล้งไม่รู้ไม่เห็น คำพังเพยนี้ดูเหมือนว่าจะเปรียบเปรยถึงสตรีเพศกับบุรุษที่แอบได้เสียกัน จนผู้ใหญ่จับได้ พอซักไซ้ไล่เลียง ก็เถียงข้างๆ คูๆ ว่าไม่รู้ไม่เห็นจนต้องบอกว่า “กินอยู่กับปากอยากอยู่กับท้อง ยังไม่ยอมรับ เลวแท้ๆ” - กินบุญเก่า
โบราณสร้างคำพังเพยนี้ขึ้นเป็นสำนวนใช้บอกเล่าว่า คนที่สร้างกรรมดีมาแต่ชาติปางก่อนเกิดมาก็อยู่ในตระกูลดี มีความประพฤติดี เพราะมีบารมีบุญเก่ามาตอบแทนให้ในชาตินี้สำนวนนี้จะใช้คำพูดถึงคนที่มีความสุขสบายนั่งอยู่บนกองเงินกองทอง - กินน้ำใต้ศอก
โบราณสร้างคำพังเพยสำนวนนี้ขึ้น เพื่อบอกกล่าวถึงคนที่ยอมมีชีวิตเป็นรองคนอื่น ในกรณีนี้มุ่งไปที่ชีวิตครอบครัวหมายถึงคนที่ยอมเป็นเมียน้อยอยู่ใต้อำนาจเมียหลวง เหมือนเวลารองน้ำ น้ำไหลมาล้นขันล้นลงไปใต้ศอก แล้วยังไปอ้าปากดื่มน้ำที่ใต้ศอกได้อย่างนี้ - กินน้ำตาต่างข้าว
คำพังเพยคำนี้โบราณสร้างให้แกคนผู้ที่มีชีวิตที่รันทดโศกเศร้าไม่เคยมีความสุข พบแต่ความทุกข์ระทม ไม่เป็นอันกินอันนอนเหมือนต้องกินน้ำตาแทนข้าว - กินข้าวร้อนนอนตื่นสาย
คำพังเพยสำนวนนี้โบราณกล่าวไว้ถึงคนที่มีบุญ มีความสุขสบาย ไม่ต้องลำบากทำมาหากิน ก็มีกิน คนที่กินข้าวร้อนๆ ได้ทุกวัน หรือคนที่นอนตื่นสายได้ทุกวัน ก็ถือว่าเป็นคนที่มีโชคแบบมหาโชคจริงๆ - กินแกลบกินรำ
โบราณคิดสร้างคำพังเพยสำนวนนี้ขึ้นมาเป็นเชิงประณามถากถางคนที่โง่เง่าเต่าตุ่นว่า เหมือนคนกินแกลบกินรำ (เหมือนหมู) เพราะแกลบคือเปลือกข้าว รำก็คือผงเยื่อของเมล็ดข้าวสาร (เวลาสี) ทั้งสองอย่างเป็นอาหารของสัตว์ ไม่ใช่คน ดังนั้นคนที่กินแกลบกินรำก็คือคนที่ไม่ใช่คน สำนวนนี้โบราณออกจะให้ถ้อยคำสำนวนที่ดุเดือดพอสมควร - กำแพงมีหูประตูมีตา
โบราณสร้างคำพังเพยคำนี้ไว้เพื่อเตือนใจคนว่า การจะพูดจาให้มีความระมัดระวัง กำแพงก็ดี ประตูก็ดี อาจจะมีช่องรอยแตกให้ความลับที่พูดจากันเล็ดลอดออกมาสู่คนภายนอกได้สำนวนนี้เขียนอีกอย่างว่า “กำแพงมีรูประตูมีช่อง” - กำปั้นทุบดิน
สำนวนคำนี้โบราณกล่าวลอยๆ เป็นเชิงกระทบกระเทือนว่ากล่าวแก่คนที่พูดจาตอบแบบเซ่อๆ ชนิดพูดเท่าไหร่ก็ถูก เพราะกำปั้นทุบดินนั้น ไม่ว่าทุบตรงไหนก็ตรงแผ่นดินทั้งสิ้นคนที่ตอบคำถามแบบกว้างๆ จึงถูกเรียกว่า “ตอบแบบกำปั้นทุบดิน” - กาหลงรัง
โบราณสร้างสำนวนคำนี้ขึ้นมาดูจะเป็นคำธรรมดา แต่ก็มีความหมาย เพราะปกติกาถึงเวลาก็จะบินกลับรวงรัง คนที่ทำตนแบบกาหลงรัง จึงมีสภาพเหมือนคนสัญจรร่อนเร่ หรือคนที่หลงใหลในแสงสี ท่องเที่ยวไปเรื่อยๆ ไม่ยอมกลับบ้าน ซึ่งมักจะใช้คำนี้ในความหมายในเชิงลบ - กาในฝูงหงส์
สำนวนนี้ก็เช่นกัน ดูๆ ก็เป็นคำธรรมดา แต่โบราณสร้างความหมายเอาไว้ว่า เหมือนคนต่ำต้อยไร้เกียรติยศ ต้องตกไปอยู่ในท่ามกลางของผู้สูงศักดิ์ ต้องถูกดูหมิ่นถิ่นแคลนโดยตลอดจนยากที่จะอดทนได้ (เฉกเช่น พจมานแห่งบ้านทรายทองกระนั้น) เพราะกานั้นเป็นสัตว์ตัวดำต่ำต้อยผิดกว่าหงส์ที่มีขนสวยสุดยามรำแพนหาง - กันดีกว่าแก้
โบราณสร้างสำนวนคำนี้ขึ้นมาเป็นความหมายตรงๆ เมื่อเห็นเพราะไม่ใช่คำลึกซึ้งอะไรกัน คือป้องกัน แก้ ก็คือ ตามแก้ โบราณจึงกล่าวว่าจะทำการใด ต้องหาทางป้องกันเอาไว้ก่อน อย่าให้เกิดเสียหายแล้วไปตามแก้ จนมีสำนวนยาวขึ้นมาประกอบว่า “กันไว้ดีกว่าแก้ ประเดี๋ยวแย่แล้วจะแก้ไม่ทัน” - ก่อแล้วต้องสาน
โบราณนำวิธีการ “สาน” ไม้ไผ่มาเปรียบเทียบว่า เมื่อเริ่มทำงานสิ่งใดแล้วก็อย่าละวางกลางคัน ต้องทำให้ถึงที่สุด เหมือนสานกระบุงสักใบ ก็ต้องสานจนกระบุงเสร็จเป็นรูปใช้งานได้ ถึงจะถือว่านั่นคือความสำเร็จในชีวิต มีสำนวนอีกสำนวนหนึ่งที่ความหมายตรงข้ามกันคือ “ตกกระไดพลอยโจน” - กลืนไม่เข้าคายไม่ออก
โบราณเอาสภาพของคนที่กินข้าวแล้วมีก้างติดคอมาสร้างเป็นคำพังเพยสอนคนว่า จะกลืนจะกินอะไรให้ระวัง กินปลาจะมีก้างมาติดคอหรือไม่ เพราะเมื่อก้างติดคอก็จะตกอยู่ในสภาพกลืนไม่เข้าคายไม่ออก คนที่ตกอยู่ในสภาพอย่างนี้ ก็เมื่อจะต้องตอบคำถามไม่รู้จะรับหรือว่าปฏิเสธดี มีสภาพอึกอัก ผะอืดผะอม - กล้านักมักบิ่น
โบราณนำคำพังเพยนี้มาเป็นเชิงเปรียบเทียบว่า เหล็กกล้านั้นแม้จะเหนียวแน่นเพียงใด แต่เมื่อใช้ไปฟันกับเหล็กที่แข็งกว่าก็อาจจะเกิดบิ่นได้ เหมือนคนที่ทำอะไรมากไป โดยไม่คิดให้ดีให้รอบคอบ ก็อาจเกิดอันตรายได้ - กลับหน้ามือเป็นหลังมือ
คำพังเพยสำนวนนี้โบราณสร้างขึ้นมาเพื่อให้คนทั่วไปได้รู้ว่า อันคนนั้นย่อมมีจิตใจไม่เหมือนกัน ระหว่างความจริงกับความเท็จ เป็นเรื่องที่คนทุกคนย่อมเคยกระทำ คำพูดที่พูดแบบขาวเป็นดำ พูดกลับกลอก พูดไม่อยู่กับร่องกับรอยเหล่านี้ล้วนมีความหมายถึงคำพูด การกระทำที่เรียกว่า “พลิกหน้ามือเป็นหลังมือ” หรือ “กลับหน้ามือเป็นหลังมือ” ทั้งสิ้น แม้คำว่า “กลับตาลปัตร” (สิ่งที่พรสงฆ์ใช้ในพิธีกรรม ให้ศีลหรือเทศน์) - กระเบื้องจะเฟื่องฟูลอยน้ำเต้าน้อยจะถอยจม
คำพังเพยนี้โบราณต้องการสอนให้รู้ถึงความไม่แน่นอนในชีวิตที่จะเกิดขึ้น หากเมื่อมีคนชั่วขึ้นมาเป็นใหญ่ ปกครองบ้านเมือง คนดีก็จะต้องตกอับ (พังเพยนี้เป็นพุทธทำนายข้อหนึ่งในจำนวน 12 ข้อ) กระเบื้อง เปรียบเหมือนคนชั่ว น้ำเต้าเปรียบเหมือนคนดี เมื่อกระเบื้องลอยน้ำได้ ก็เหมือนคนชั่วมีอำนาจ แล้วน้ำเต้าที่ลอยน้ำก็จมน้ำ มีคำพังเพยที่อุปมาใกล้เคียงกันก็คือ “ผู้ดีเดินตรอก ขี้ครอก (ขี้ข้า) เดินถนน”
- กระต่ายหมายจันทร์
โบราณนำเอากระต่ายกับดวงจันทร์มาใช้ในคำพังเพยสำนวนนี้ โดยอาศัยธรรมชาติของสัตว์เช่นกระต่าย ที่ชอบออกมาเล่นแสงจันทร์เวลาเดือนหงาย เดือนส่องสุกสว่างอยู่บนท้องฟ้าเปรียบเหมือนสตรีผู้สูงศักดิ์ กระต่ายก็คือชายฐานะต่ำต้อยที่มุ่งหมายปองดอกฟ้า ก็ได้แต่แลหา มิอาจเอื้อมมือถึงได้สำนวนทันสมัยในปัจจุบันก็คือ “หมาเห่าเครื่องบิน” กับ “หมาเห็นปลากระป๋อง” สำนวนนี้มีรากมาจากวรรณคดี หรือบทเพลง - กระดูกอ่อน
โบราณมีความสามารถในการที่จะนำเอาส่วนต่างๆ ของร่างกายมาสร้างอุปมาอุปไมยให้เห็นเด่นชัด ดังเช่น กระดูกอ่อน คำนี้เป็นคำพูดกลายๆ แต่มีความหมายมาก เพราะคนเรามีโครงกระดูก และมีทั้งกระดูกอ่อนและกระดูกแข็ง โบราณนำเอาคำว่ากระดูกอ่อนมาเทียบกับคนที่มีประสบการณ์น้อยไม่สันทัดจัดเจนในกิจการงานที่ทำเพียงพอ ก็จะประสบความล้มเหลวได้ง่าย สำนวนนี้มีรากมาจากเวทีมวย เรียกนักมวยที่มีชั้นเชิงอ่อนว่า “กระดูกยังอ่อนเพิ่งจะสอนขัน” ดังนี้ - กระดังงาลนไฟ
โบราณนำเอาพฤติกรรมของคนมาสร้างเป็นคำพังเพยอย่างชาญฉลาด สำนวนนี้ใช้ดอกไม้ที่มีกลิ่นหอมแรง (ใช้กลั่นทำน้ำอบน้ำหอมได้) ชื่อกระดังงามาอุปมาไว้ว่า เหมือนผู้หญิงที่เคยมีประสบการณ์ผ่านชีวิตคู่มาก่อนย่อมมีเสน่ห์ในการปรนนิบัติเอาอกเอาใจผู้ชายได้ดี เหมือนกระดังงา เอาไปลนไฟอ่อนๆ ยิ่งมีกลิ่นหอมแรงจัด (ใช้อบผ้าได้ดีมีกลิ่นผ้าหอม ใช้ทำอุบะ อบผ้าขนหนู ผ้าเช็ดหน้า ฯลฯ) - กระเช้อก้นรั่ว
โบราณนำภาชนะโบราณชนิดหนึ่งมาตั้งเป็นอุปมาให้คนเห็นกันชัดๆ ในที่นี้ต้องอธิบายคำสองคำที่อ่านเหมือนกัน แต่เขียนเหมือนกัน และมีความหมายที่แตกต่างกัน คือกระเฌอ คำนี้เขียนด้วย ฌ หมายถึงต้นไม้ชนิดหนึ่งลักษณะคล้ายต้นไทรแต่เล็กกว่าเรียกว่า “ต้นกระเฌอ” เม็ดกระเฌอนี้นกป่าชอบกิน (ปัจจุบันกระเฌอสูญพันธุ์ไปแล้ว) อีกคำหนึ่งเขียนว่า “กระเชอ” คำนี้ใช้ ช อ่านออกเสียงเหมือนกัน แต่กระเชอ หมายถึง ภาชนะชนิดหนึ่งลักษณะคล้ายกับ “กระจาด” ที่สำหรับใส่ของแต่กระเชอให้สำหรับใส่เงินเบี้ยหรือเสื้อผ้าของใช้ของประดับเล็กๆ ทั่วไป (เป็นกระจาดลักษณะทรงสูงก้นสอบ) ใช้วิธีการเดียด (เอาค้ำเข้ากับสะเอวข้างซ้าย เอามือซ้ายเกี่ยวไว้ ถ้าก้นกระเชอรั่วของในกระเชอก็จะหล่นหายหมด โบราณอุปมาว่าคือการใช้จ่ายสุรุ่ยสุร่าย ไม่รู้จักประหยัดเก็บหอมรอมริบ สตรีแม่บ้านที่มีนนิสัยอย่างนี้ โบราณขานว่าเป็น “กระเชอก้นรั่ว” - กระชังหน้าใหญ่
เช่นเดียวกับ “กระเชอ” โบราณนำชื่อภาชนะชนิดหนึ่งที่ใช้สำหรับขังปลามาเป็นอุปมาสอนคน คือ “กระชัง” เครื่องมือนี้ทำด้วยไม้ไผ่ เป็นรูปทรงกลมยาว หัวและท้ายเรียว ตรงกลางเจาะเป็นช่องสำหรับใส่ปลา มีฝาปิด ถ้ากระชังก้นรั่วก้ไม่มีทางที่จะขังปลาได้ แต่ในที่นี้ใช้คำว่ากระชังหน้าใหญ่ คือรับปลาได้มาก อุปมาเหมือนคนที่ชอบทำหน้าใหญ่ใจโตออกรับหน้าที่ทุกอย่างหมด หรือไม่ก็พูดจาจัดจ้าน จนคนอื่นไม่กล้าโต้แย้ง - กบเกิดใต้บัวบาน
โบราณนำเอาสัตว์น้ำ (หรือครึ่งบกครึ่งน้ำ) คือกบ ที่มักจะอาศัยอยู่ในสระน้ำที่จะมีดอกบัวสีสันสวยงามขึ้นอยู่เต็ม กบจะอยู่ในน้ำ อยู่ใต้ใบบัว เปรียบเสมือนคนที่อยู่ใกล้ของดีๆ คนดีๆ กลับไม่เห็นคุณค่าในสิ่งนั้นๆ สำนวนนี้มีความหมายคล้ายๆ กับสำนวน “ใกล้เกลือกินด่าง” หรือ “หญ้าปากคอก”
ขอบคุณที่มาข้อมูล
siamtower.com
9bkk.com
ขอบคุณที่มารูปภาพ
topicstock.pantip.com
siamtower.com
thaigoodview.com - กบในกะลาครอบ
เก็บเข้าคอลเล็กชัน
ความคิดเห็น