ลำดับตอนที่ #13
คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #13 : หมวด ช
ชาติเสือต้องไว้ลาย ชาติชายต้องไว้ชื่อ
สำนวนนี้ มักใช้เป็นสำนวนเปรียบกับผู้ชาย ซึ่งตามหลักที่ว่าผู้ชายจะทำอะไรก็ต้องให้เก่งกล้าหรือองอาจ ไม่อ่อนแอเหมือนผู้หญิง โดยเฉพาะหมายความว่า ขึ้นชื่อว่าผู้ชายแล้วจะต้องเก่งกล้าสามารถทุกคนเปรียบได้กับเสือ เพราะเสือเป็นสัตว์ดุร้ายแต่เก่งถือเอาลายของมันเป็นสัญลักษณ์ของความเก่งกาจซึ่งเรามักพูดอีกสำนวนหนึ่งว่า ” ชาติเสือไม่ทิ้งลาย “ อันมีความหมายอย่างเดียวกัน
-ชายสามโบสถ์ หญิงสามผัว
สำนวนนี้ ประโยคแรกหมายถึง ผู้ชายที่บวชเป็นพระ ๓ ครั้งคือบวชแล้วสึก สึกแล้วบวชอีกถึง ๓ หนด้วยกัน ส่วน “หญิงสามผัว” นั้นคือหญิงที่แต่งงานแล้วมีสามีมาแล้ว ๓ ครั้งหรือ ๓ คน โดยมีสามีคนแรกแล้วเลิกร้างกันไป มามีคนที่สองเลิกล้างกันไปอีกจนถึงคนที่สามก็ต้องเลิกล้างกันไปอีก สำนวนนี้หมายความว่าผู้ชายที่บวชมาแล้ว ๓ ครั้ง กับผู้หญิงที่ผ่านการมีสามีมาแล้ว ๓ คน โบราณมีข้อห้ามมิให้เพศตรงข้ามไปมีสัมพันธ์ทางรักใคร่หรือชู้สาวด้วย คือผู้หญิงก็ไม่ควรไปมีสามีชนิดนี้ หรือผู้ชายก็ไม่ควรไปมีภรรยาชนิดนี้เข้า ซึ่งตามความเข้าใจว่าบุคคลชนิดนี้ใจคอไม่มั่นคงหรือรวนเลได้โดยสังเกตเอาอาการกระทำเป็นเครื่องวัด แต่ตกมาถึงสมัยนี้ เข้าใจว่า คงจะไม่มีใครค่อยเชื่อว่าถือกันเท่าไรนัก
-ช้า ๆ ได้พร่าเล่มงาม
สำนวนพังเพยนี้ หมายถึง การทำอะไรสักอย่างหนึ่ง ถ้ามุ่งจะให้ได้ประโยชน์สมบูรณ์ก็ต้องทำด้วยความรอบคอบ หรือไม่รีบร้อนจนเกินไปนัก หรือไม่หมายความว่าจะทำให้งาน ” ล่าช้า “ จนเกินไป แต่มีความหมายว่า ให้ค่อย ๆ คิด ค่อย ๆ ทำ สำนวนนี้ คนในสมัยปัจจุบันยังข้องใจอยู่ว่าจะขัดกับสำนวนพังเพยที่ว่า ” น้ำขึ้นให้รีบตัก “ ซึ่งแปลว่าให้รีบฉกฉวยโอกาส ตรงกันข้ามกับสำนวนนี้ที่ว่า ” ได้พร้าเล่มงาม “ แต่แท้จริงแล้ว เป็นคำพังเพยที่เตือนให้เราเลือกปฏิบัติให้เหมาะสมต่างหาก จะช้าหรือรีบร้อนจึงต้องแล้วแต่โอกาส
-ชักใบให้เรือเสีย
หมายถึง การพูดหรือทำอะไรให้เป็นที่ขวาง ๆ หรือทำให้เรื่องในวงสนทนาต้องเขวออกนอหเรื่องไป โดยไม่คิดว่าเรื่องที่เขากำลังพูดหรือทำอยู่นั้นจะมีความสำคัญขนาดไหน
-ชาติคางคกยางหัวไม่ตกไม่รู้สำนึก
สำนวนนี้ หมายถึง คนที่อวดดีหรือชอบกระทำนอกลู่นอกทางเมื่อมีคนทักท้วงก็ไม่เชื่อฟัง ยังขืนกระทำ จนเขาหมั่นไส้ปล่อยให้ลองทำเพื่อจะให้รู้สึกตัวบ้าง เพราะเชื่อว่าการกระทำนั้น ๆ จะต้องได้รับอันตรายถึงเลือดตกหรือเจ็บปวดเข้าก็ได้ หรืออีกทางหนึ่งเปรียบเทียบได้กับเด็กที่ไม่เชื่อฟังผู้ใหญ่หรือผู้ปกครอง เมื่อห้ามด้วยปากไม่เชื่อก็ต้องใช้ไม้เรียวเฆี่ยนทำให้เจ็บตัวเสียก่อนจึงจะรู้สึก
-ชนักติดหลัง
ความชั่วหรือความผิดที่ยังติดตัวอยู่
-ชักซุงตามขวาง
ทำอะไรที่ไม่ถูกวธีย่อมได้รับความลำบาก,ขัดขวางผู้มีอำนาจย่อมได้รับความเดือดร้อน
-ชักน้ำเข้าลึก ชักศึกเข้าบ้าน
ชักนำศัตรูเข้าบ้าน
-ชักแม่น้ำทั้งห้า
พูดจาหว่านล้อมยกยอบุญคุณเพื่อขอสิ่งที่ประสงค์
-ชักใย
บงการอยู่เบื้องหลัง
-ชักหน้าไม่ถึงหลัง
มีรายได้ไม่พอกับรายจ่าย
-ชั่วช่างชี ดีช่างสงฆ์
ปล่อยไปตามเรื่องตามราว ไม่เอาเป็นธุระ
-ชั่วนาตาปี
ตลอดปี
-ช้างตายทั้งตัว เอาใบบัวมาปิด
ความชั่วหรือความผิดร้ายแรงที่คนรู้ทั่วกันแล้วจะปิดอย่างไรก็ไม่มิด
-ช้างสาร
ผู้มีอำนาจ ในความว่าช้างสารชนกัน หญ้าแพรกก็แหลกลาญ
-ชายหาบหญิงคอน
ช่วยกันทำมาหากินทั้งผัวทั้งเมีย
-ชิงสุกก่อนหาม
ทำสิ่งที่ยังไม่สมควรแก่วัยหรือยังไม่ถึงเวลา(มัก หมายถึง การลักลอบได้เสียก่อนแต่งงาน)
-ชี้ตาไม่กระพริบ
ดื้อมาก,สู้สายตาไม่ยอมแพ้
-ชี้นกบนปลายไม้
หวังในสิ่งที่อยู่ไกลตัว
-ชี้นกเป็นนก ชี้ไม้เป็นไม้
ไม่ว่าผู้มีอำนาจจะว่าอย่างใด ผู้น้อยก็ต้องคล้อยตามไปอย่างนั้น
-ชุบมือเปิบ
ฉวยประโยชน์จากคนอื่นโดยไม่ได้ลงทุนลงแรง
-เชื้อไม่ทิ้งแถว
ถอดแบบ
-แช่วชักหักกระดูก
แช่งด่ามุ่งร้ายให้ผู้อื่นได้รับอันตรายอย่างร้ายแรง
-ชั่วเจ็ดทีดีเจ็ดหน
ทุกข์สุข ย่อมเกิดขึ้นสลับกันไปตัวอย่าง”อย่าเสียใจไปเลย คราวนี้ขาดทุน คราวหน้าคงได้กำไรคนเรา ชั่วเจ็ดทีดีเจ็ดหน”
-ชาติเสือจับเนื้อกินเอง
ไม่เบียดเบียนใคร
-ช้างเท้าหลัง
ผู้ที่ต้องเดินตามผู้นำ อาจหมายถึงภรรยาต้องทำตามสามี
-ช้างเผือกเกิดในป่า
ผู้มีปัญหาหรือคนดีนั้นหายาก
สำนวนนี้ มักใช้เป็นสำนวนเปรียบกับผู้ชาย ซึ่งตามหลักที่ว่าผู้ชายจะทำอะไรก็ต้องให้เก่งกล้าหรือองอาจ ไม่อ่อนแอเหมือนผู้หญิง โดยเฉพาะหมายความว่า ขึ้นชื่อว่าผู้ชายแล้วจะต้องเก่งกล้าสามารถทุกคนเปรียบได้กับเสือ เพราะเสือเป็นสัตว์ดุร้ายแต่เก่งถือเอาลายของมันเป็นสัญลักษณ์ของความเก่งกาจซึ่งเรามักพูดอีกสำนวนหนึ่งว่า ” ชาติเสือไม่ทิ้งลาย “ อันมีความหมายอย่างเดียวกัน
-ชายสามโบสถ์ หญิงสามผัว
สำนวนนี้ ประโยคแรกหมายถึง ผู้ชายที่บวชเป็นพระ ๓ ครั้งคือบวชแล้วสึก สึกแล้วบวชอีกถึง ๓ หนด้วยกัน ส่วน “หญิงสามผัว” นั้นคือหญิงที่แต่งงานแล้วมีสามีมาแล้ว ๓ ครั้งหรือ ๓ คน โดยมีสามีคนแรกแล้วเลิกร้างกันไป มามีคนที่สองเลิกล้างกันไปอีกจนถึงคนที่สามก็ต้องเลิกล้างกันไปอีก สำนวนนี้หมายความว่าผู้ชายที่บวชมาแล้ว ๓ ครั้ง กับผู้หญิงที่ผ่านการมีสามีมาแล้ว ๓ คน โบราณมีข้อห้ามมิให้เพศตรงข้ามไปมีสัมพันธ์ทางรักใคร่หรือชู้สาวด้วย คือผู้หญิงก็ไม่ควรไปมีสามีชนิดนี้ หรือผู้ชายก็ไม่ควรไปมีภรรยาชนิดนี้เข้า ซึ่งตามความเข้าใจว่าบุคคลชนิดนี้ใจคอไม่มั่นคงหรือรวนเลได้โดยสังเกตเอาอาการกระทำเป็นเครื่องวัด แต่ตกมาถึงสมัยนี้ เข้าใจว่า คงจะไม่มีใครค่อยเชื่อว่าถือกันเท่าไรนัก
-ช้า ๆ ได้พร่าเล่มงาม
สำนวนพังเพยนี้ หมายถึง การทำอะไรสักอย่างหนึ่ง ถ้ามุ่งจะให้ได้ประโยชน์สมบูรณ์ก็ต้องทำด้วยความรอบคอบ หรือไม่รีบร้อนจนเกินไปนัก หรือไม่หมายความว่าจะทำให้งาน ” ล่าช้า “ จนเกินไป แต่มีความหมายว่า ให้ค่อย ๆ คิด ค่อย ๆ ทำ สำนวนนี้ คนในสมัยปัจจุบันยังข้องใจอยู่ว่าจะขัดกับสำนวนพังเพยที่ว่า ” น้ำขึ้นให้รีบตัก “ ซึ่งแปลว่าให้รีบฉกฉวยโอกาส ตรงกันข้ามกับสำนวนนี้ที่ว่า ” ได้พร้าเล่มงาม “ แต่แท้จริงแล้ว เป็นคำพังเพยที่เตือนให้เราเลือกปฏิบัติให้เหมาะสมต่างหาก จะช้าหรือรีบร้อนจึงต้องแล้วแต่โอกาส
-ชักใบให้เรือเสีย
หมายถึง การพูดหรือทำอะไรให้เป็นที่ขวาง ๆ หรือทำให้เรื่องในวงสนทนาต้องเขวออกนอหเรื่องไป โดยไม่คิดว่าเรื่องที่เขากำลังพูดหรือทำอยู่นั้นจะมีความสำคัญขนาดไหน
-ชาติคางคกยางหัวไม่ตกไม่รู้สำนึก
สำนวนนี้ หมายถึง คนที่อวดดีหรือชอบกระทำนอกลู่นอกทางเมื่อมีคนทักท้วงก็ไม่เชื่อฟัง ยังขืนกระทำ จนเขาหมั่นไส้ปล่อยให้ลองทำเพื่อจะให้รู้สึกตัวบ้าง เพราะเชื่อว่าการกระทำนั้น ๆ จะต้องได้รับอันตรายถึงเลือดตกหรือเจ็บปวดเข้าก็ได้ หรืออีกทางหนึ่งเปรียบเทียบได้กับเด็กที่ไม่เชื่อฟังผู้ใหญ่หรือผู้ปกครอง เมื่อห้ามด้วยปากไม่เชื่อก็ต้องใช้ไม้เรียวเฆี่ยนทำให้เจ็บตัวเสียก่อนจึงจะรู้สึก
-ชนักติดหลัง
ความชั่วหรือความผิดที่ยังติดตัวอยู่
-ชักซุงตามขวาง
ทำอะไรที่ไม่ถูกวธีย่อมได้รับความลำบาก,ขัดขวางผู้มีอำนาจย่อมได้รับความเดือดร้อน
-ชักน้ำเข้าลึก ชักศึกเข้าบ้าน
ชักนำศัตรูเข้าบ้าน
-ชักแม่น้ำทั้งห้า
พูดจาหว่านล้อมยกยอบุญคุณเพื่อขอสิ่งที่ประสงค์
-ชักใย
บงการอยู่เบื้องหลัง
-ชักหน้าไม่ถึงหลัง
มีรายได้ไม่พอกับรายจ่าย
-ชั่วช่างชี ดีช่างสงฆ์
ปล่อยไปตามเรื่องตามราว ไม่เอาเป็นธุระ
-ชั่วนาตาปี
ตลอดปี
-ช้างตายทั้งตัว เอาใบบัวมาปิด
ความชั่วหรือความผิดร้ายแรงที่คนรู้ทั่วกันแล้วจะปิดอย่างไรก็ไม่มิด
-ช้างสาร
ผู้มีอำนาจ ในความว่าช้างสารชนกัน หญ้าแพรกก็แหลกลาญ
-ชายหาบหญิงคอน
ช่วยกันทำมาหากินทั้งผัวทั้งเมีย
-ชิงสุกก่อนหาม
ทำสิ่งที่ยังไม่สมควรแก่วัยหรือยังไม่ถึงเวลา(มัก หมายถึง การลักลอบได้เสียก่อนแต่งงาน)
-ชี้ตาไม่กระพริบ
ดื้อมาก,สู้สายตาไม่ยอมแพ้
-ชี้นกบนปลายไม้
หวังในสิ่งที่อยู่ไกลตัว
-ชี้นกเป็นนก ชี้ไม้เป็นไม้
ไม่ว่าผู้มีอำนาจจะว่าอย่างใด ผู้น้อยก็ต้องคล้อยตามไปอย่างนั้น
-ชุบมือเปิบ
ฉวยประโยชน์จากคนอื่นโดยไม่ได้ลงทุนลงแรง
-เชื้อไม่ทิ้งแถว
ถอดแบบ
-แช่วชักหักกระดูก
แช่งด่ามุ่งร้ายให้ผู้อื่นได้รับอันตรายอย่างร้ายแรง
-ชั่วเจ็ดทีดีเจ็ดหน
ทุกข์สุข ย่อมเกิดขึ้นสลับกันไปตัวอย่าง”อย่าเสียใจไปเลย คราวนี้ขาดทุน คราวหน้าคงได้กำไรคนเรา ชั่วเจ็ดทีดีเจ็ดหน”
-ชาติเสือจับเนื้อกินเอง
ไม่เบียดเบียนใคร
-ช้างเท้าหลัง
ผู้ที่ต้องเดินตามผู้นำ อาจหมายถึงภรรยาต้องทำตามสามี
-ช้างเผือกเกิดในป่า
ผู้มีปัญหาหรือคนดีนั้นหายาก
ขอบคุณที่มาข้อมูล
siamtower.com
st.ac.th
pasathai01.exteen.com
เก็บเข้าคอลเล็กชัน
ความคิดเห็น