ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ๓ ๒ ๑... >> ที่มาของสุภาษิต สำนวน คำพังเพยไทย

    ลำดับตอนที่ #1 : ความหมายของสำนวน สุภาษิต พังเพย

    • อัปเดตล่าสุด 21 พ.ย. 52


    ความหมายของสำนวน สุภาษิต พังเพย

    e0b980e0b894e0b987e0b881e0b888e0b8b8e0b881

    สำนวน

    เป็นคำนาม มีหลายความหมาย คือ

     
    ๑.ถ้อยคำที่เรียบเรียงหรือโวหาร และมีเสียงสัมผัสกัน  บางทีก็ใช้ว่าสำนวนโวหาร เช่น สารคดีเรื่องนี้สำนวนโวหารดี ความเรียงเรื่องนี้สำนวนโวหารลุ่มๆดอนๆ เช่น ก่อร่าง สร้างตัว ขับไล่ไสส่งมีสัมผัสสระ

      ๒.ถ้อยคำหรือข้อความ ที่กล่าวสืบต่อกันมาช้านานแล้ว มีความหมายไม่ตรงตัว มีลักษณะเป็นความเปรียบหรืออุปมาอุปไมยถึงสิ่งต่างๆ ดังนี้ อุปมา คือสิ่งหรือข้อความที่ยกมาเปรียบสิ่งหนึ่งว่าเหมือนอีกสิ่งหนึ่ง มักจะมีคำว่า เหมือน เปรียบเหมือนดุจดัง ส่วนอุปไมย คือ สิ่งหรือข้อความที่เปรียบเทียบกับสิ่งอื่นเพื่อให้เข้าใจแจ่มแจ้งใช้คู่กับอุปมา เช่น ขาวเหมือนสำลี เป็นการกล่าวเปรียบเทียบลักษณะของความขาวของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง

      ๓.ถ้อยคำที่แสดงออกมา มีลักษณะเป็นคำคม คือ ถ้อยคำที่เป็นคารม หรือโวหารอันคมคายเป็นคำพูดที่ให้แง่คิด มีความหมายลึกซึ้งกินใจ เช่น มีวิชาเหมือนมีทรัพย์อยู่นับแสน (สุนทรภู่) หรือเป็นถ้อยคำพิเศษเฉพาะภาษาหนึ่งๆ เช่นสำนวนฝรั่ง สำนวนบาลี

      ๔.มีลักษณะเป็นบุคลาธิษฐาน คือ สำนวนที่นำคำกริยาที่ใช้สำหรับมนุษย์ไปใช้กับสัตว์หรือสิ่งไม่มีชีวิต ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีอารมณ์กิริยา ความรู้สึกนึกคิดเหมือนคน เช่น น้ำพึ่งเรือเสือพึ่งป่า กระต่ายตื่นตูม วัวลืมตีน

      ๕.ชั้นเชิงหรือท่วงทำนองในการแต่งหนังสือหรือคำ พูด เช่นสำนวนเจ้าพระยาพระคลัง(หล)สำนวนยาขอบและลักษณนามใช้เรียกข้อความหรือบทประพันธ์รายหนึ่งๆ  เช่น  อิเหนามีหลายสำนวน บทความ ๒ สำนวน



    สุภาษิต

          
    เป็นคำนาม หมายถึง ถ้อยคำหรือข้อความ ที่กล่าวสืบต่อกันมาช้านาน แต่มีเนื้อความหรือความหมายที่ดี เป็นคำตักเตือนสั่งสอน  และสะกิดใจให้ระลึกถึงอยู่เสมอ มีอยู่ 2 ประเภท คือ 

      ๑.คำสุภาษิตประเภทที่ พูด อ่าน เข้าใจเนื้อความได้ทันที คือเป็นข้อความสั้นๆ กินความลึกซึ้ง มีความหมายเป็นคติคำสอนหรือหลักความจริง โดยไม่ต้องแปลความหมาย ตีความหมาย เช่น ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว 

      ๒.คำสุภาษิตประเภทที่ พูด อ่าน หรือฟังแล้วยังไม่เข้าใจเนื้อความนั้นในทันที ต้องนึกตรึกตรอง ต้องแปลความ ตีความหมายเสียก่อนจึงจะทราบเนื้อแท้ของคำเหล่านั้น เช่น ผีบ้านไม่ดีผีป่าก็พลอย

         ดังนั้นคำว่า “สำนวน” ที่ใช้ในที่นี้จึงหมายถึงเฉพาะถ้อยคำที่มีความหมายไม่ตรงตัวอักษร มีความหมายเป็นเชิงเปรียบเทียบ มีท่านผู้รู้ท่านหนึ่งกล่าวว่า สำนวนเป็นคำพูดชนิดหนึ่งซึ่งไม่ได้วางหลักวิชาหรือให้คติอย่าไร เช่น หนังหน้าไฟ ,เกลือจิ้มเกลือ,บอดได้แว่น,เรื่อล่มเมื่อจอด,อาภัพเหมือนปูน


    พังเพย
     


         เป็นคำนาน หมายถึง  ถ้อยคำที่เรียบเรียงขึ้นมาเป็นความหมายกลาง ๆ คือ ไม่เน้นการสั่งสอน แต่ก็แฝงคติเตือนใจหรือ ข้อคิดสะกิดใจให้นำไปปฏิบัติได้ และ เนื้อหาของใจความนั้นก็ไม่จำเป็นว่าจะต้องเป็นความดี หรือ ความจริงแท้แน่นอน  เพื่อให้ตีความเข้ากับเรื่อง มีความหมายลึกซึ้งกว่าสำนวน มีลักษณติชมหรือแสดงความเห็นในตัว แต่ยังไม่ได้วางหลักความจริงอันเที่ยงแท้ และยังไม่เป็นคำสอน เช่น กระต่ายตื่นตูม,ทำนาบนหลังคน ,ถี่ลอดตาช้าง ห่างลอดตาเล็น,เสียน้อยเสียยากเสียมากเสียง่าย,น้ำถึงไหน ปลาถึงนั้น เป็นต้น


    ที่มาข้อมูล   : thaigoodview.com
                       : sema.go.th
                      : dek-d.com
    ที่มารูปภาพ : thaigoodview.com

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×