ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ข้อมูลหลักฐานทางประวัติศาสตร์

    ลำดับตอนที่ #6 : ' หลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่ใช้ศึกษาประวัติศาสตร์ไทย ๑ '

    • อัปเดตล่าสุด 14 ธ.ค. 54






    3.
      จดหมายเหตุ เป็นการรวบรวมความรงจำเกี่ยวกับประเพณีและพระราชพิธีเก่าๆ เช่น จดหมายเหตุขุนโขลน จดหมายเหตุพระราชพิธีโสกันต์เจ้านาย จดหมายเหตุสมโภชช้างเผือก เป็นต้น   

        

    4.  พระราชพงศาวดาร เป็นการรวบรวมพระราชกรณียกิจของพระมหากษัตริย์ ที่เก่าแก่ที่สุดคือ พระราชพงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐ ในสมัยพระนารายณ์มหาราช นอกจากนี้มีพระราชพงศาวดารฉบับพระจักรพรรดิพงศ์(จาด) ฉบับพันจันทรุมาศ(เจิม) ฉบับพระพนรัตน์ พระราชพงศาวดารกรุงสยามฉบับบริติชมิวเซียม พระราชพงศาวดารสังเขปฉบับกรมสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรส พระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา พระราชพงศาวดารเหล่านี้ ส่วนใหญ่เป็นฉบับที่ผ่านกระบวนการชำระพระราชพงศาวดารแล้ว


       

    5.  เอกสารการปกครอง ส่วนใหญ่เป็นเอกสารที่มีในสมัยรัตนโกสินทร์ หลังจากที่ได้มีการจัดตั้งกรมหรือกระทรวงขึ้นแล้ว เอกสารเหล่านี้จะมีการจัดเก็บเป็นระบบขึ้น เช่น  ใบบอก ซึ่งเป็นรายงานจากข้าราชการส่วนภูมิภาคส่งมาให้รัฐบาลที่กรุงเทพฯ เกี่ยวกับเรื่องต่างๆ เช่น การส่งส่วย การส่งสิ่งของที่ถูกเกณฑ์ รายงานเรื่องการเกษตร การรบทัพ เป็นต้น ตราสารศุภอักษร คือหนังสือจากเสนาบดีที่กรุงเทพฯ มีถึงเจ้าเมือง หรือเจ้าประเทศราช บัญชีทูลเกล้า เป็นรายงานจากเจ้าหน้าที่ส่วนกลางสรุปบัญชีเพื่อทูลเกล้าฯ ถวายให้พระเจ้าแผ่นดินทอดพระเนตร เช่นเรื่องการค้ากับเมืองจีน บัญชีไพร่กรมกองต่างๆ บันทึก เป็นเรื่องราชการต่างๆ เช่นบันทึกที่เรียกว่า จดหมายหลวงอุดมสมบัติและบันทึกพระบรมราชโองการของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว คำให้การ เช่นคำให้การของคดีอุทธรณ์ คำให้การของข้าศึก เป็นต้น

               

               6 . บันทึกเหตุการณ์ของบุคคลต่างๆ เช่น ความทรงจำ ของสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ           จดหมายเหตุความทรงจำ ของกรมหลวงนรินทร์เทวี ไทยกับสงครามโลกครั้งที่สอง ของนายดิเรก ชัยนาม เป็นต้น


     
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×