ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ข้อมูลหลักฐานทางประวัติศาสตร์

    ลำดับตอนที่ #5 : ' หลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่ใช้ศึกษาประวัติศาสตร์ไทย '

    • อัปเดตล่าสุด 14 ธ.ค. 54


     หลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่ใช้ศึกษาประวัติศาสตร์ไทยที่สำคัญได้แก่

     

       

    1. จารึก เป็นหลักฐานประเภทลายลักษณ์อักษรที่เก่าแก่ที่สุดของไทย เพราะวัสดุที่ใช้จารึกมีความคงทนถาวร เช่น แท่งหิน แผ่นเงิน แผ่นทองคำ หรือทองแดง และไม่ถูกดัดแปลงแก้ไขข้อความได้ง่ายๆ  ในดินแดนประเทศไทยได้พบจารึกเป็นจำนวนมาก เช่น ศิลาจารึก ฐานพระพุทธรูป ปูชนียสถานต่างๆ และจารึกด้วยอักษรและภาษาต่างๆ เช่น เขมร มอญ อินเดียใต้ และไทย บางจารึกเป็นของอาณาจักรที่มีอิทธิพลอยู่ในดินแดนไทย เช่น อาณาจักรทวารวดี ศรีวิชัย ลพบุรี สุโขทัย ล้านนา อยุธยา บางจารึกไม่มีหลักฐานแน่ชัดว่าอยู่ที่ใด เช่น จารึก ศรีจนาศะ เป็นต้น

                ข้อความในศิลาจารึกส่วนใหญ่เป็นเรื่องของความเชื่อทางศาสนา เช่นจารึก เย ธัมมา... ซึ่งเป็นหัวใจของพระพุทธศาสนาที่พบในภาคกลางของประเทศไทย จารึกที่ต้องการประกาศบุญของผู้ที่บูรณะพระพุทธศาสนา เช่น จารึกปราสาทหินพิมาย จังหวัดนครราชสีมา จารึกวัดเสมาเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นต้น   นอกจากนี้ก็มีจารึกที่จัดทำขึ้นเพื่อประโยชน์ทางการเมือง และการปกครอง เช่น

                 จารึกสุโขทัยหลักที่ 38 ซึ่งเป็นกฎหมายลักษณะลักพาที่อาณาจักรอยุธยาประกาศใช้ในดินแดนที่เป็นอาณาจักรสุโขทัย จารึกเจดีย์ศรีสองรักที่จังหวัดเลย ประกาศความเป็นพันธมิตรของกษัตริย์อยุธยากับล้านช้าง จารึกหลักที่ 45 (จารึกปู่ขุนจิตขุนจอด)  เป็นการประกาศการเป็นพันธมิตรระหว่างเมืองน่าน กับสุโขทัย ศิลาจารึกหลักที่ 1 จารึกพ่อขุนรามคำแหง เป็นจารึกที่สรรเสริญพระเกียรติคุณของพ่อขุนรามคำแหงมหาราชในด้านต่างๆ จารึกวัดศรีชุม เป็นจารึกที่เป็นเรื่องราวของมหาเถรศรีศรัทธาจุฬามุนีศรีรัตนลังกาทวีป ที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการสถาปนาอาณาจักรสุโขทัย เป็นต้น


        

    2. จดหมายเหตุชาวต่างชาติ เนื่องจากดินแดนไทยเป็นเส้นทางการค้ามาตั้งแต่สมัยโบราณทำให้มีเอกสารต่างชาติบันทึกเรื่องราวของดินแดนไทยไว้ เช่น วรรณคดีอินเดียที่เรียกว่า คัมภีร์นิเทสะ และมิลินท-ปัญหา ในราวพุทธศตวรรษที่ 6 นับเป็นเอกสารต่างชาติที่เก่าที่สุด

    ในพุทธศตวรรษที่ 8 มีนักภูมิศาสตร์ชาวกรีกเดินทางมาถึงดินแดนแถบประเทศไทย และบันทึกไว้ในหนังสือภูมิศาสตร์ของพโทเลมี (Ptolemy’s Geography) เอกสารจีนโบราณ เช่น จดหมายเหตุของหลวงจีนอี้จิง ในพุทธศตวรรษที่ 13  รายงานของคณะทูตจีน โจวตากวน ในพุทธศตวรรษที่ 19  พ่อค้าชาวอาหรับและ        เปอร์เซีย ที่กล่าวถึง เมืองท่า หรือรัฐโบราณในดินแดนไทย ส่วนเอกสารชาวตะวันตกมีมากในพุทธศตวรรษที่ 21 เช่น  

    ชาวโปรตุเกส ได้แก่ จดหมายเหตุของโทเม ปิเรส์ (Tome Pires) จดหมายเหตุของบรัซ อัลบูแคร์ก (Braz d’ Albuquerque) จดหมายเหตุการณ์เดินทางของเฟอร์นันด์ เมนเดส ปินโต (Fernand Mendes Pinto)

    ชาวฮอลันดา เช่น จดหมายเหตุของนายสเคาเตน (Joost Schouten) นายเยเรเมียส ฟาน ฟลีท (Jeremias Van Vliet) จดหมายเหตุของหมอแกมป์เฟอร์

                ชาวอังกฤษ เช่น จดหมายของนายยอร์ช ไวท์ เอกสารการติดต่อของพนักงานบริษัทกับพ่อค้าอังกฤษ เรื่อง เอกสารบันทึกความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทย และต่างประเทศในคริสต์ศตวรรษที่ 17 จดหมายเหตุของนายจอห์น ครอเฟิร์ด เอกสารของนายเฮนรี เบอร์นี และเซอร์จอห์น เบาว์ริง

                ชาวฝรั่งเศส เช่น จดหมายเหตุลาลูแบร์ จดหมายเหตุนิโคลาส แชร์แวส จดหมายเหตุเล่าเรื่องกรุงสยามของสังฆราชปัลเลกัวซ์ ชาวอเมริกัน เช่น บันทึกของหมอบรัดเลย์ เป็นต้น

     

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×