ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ข้อมูลหลักฐานทางประวัติศาสตร์

    ลำดับตอนที่ #8 : ' หลักฐานทางประวัติศาสตร์ในแถบลุ่มแม่น้ำโขง ชี มูล '

    • อัปเดตล่าสุด 14 ธ.ค. 54


     จารึกจิตรเสน หลักฐานทางประวัติศาสตร์ในแถบลุ่มแม่น้ำโขง ชี มูล

     

    หลักฐานการแพร่กระจายของวัฒนธรรม เจนละ หรือ วัฒนธรรมขอมสมัยก่อนเมืองพระนคร (ราวพุทธศตวรรษที่ 12-14) เข้ามาสู่ดินแดนประเทศไทยนั้น ส่วนใหญ่เป็นจารึก ซึ่งจารึกที่พบในประเทศไทยนี้ มักมีข้อความสอดรับกันดี กับจารึกที่พบในประเทศกัมพูชา และจดหมายเหตุจีน สะท้อนให้เห็นว่า เมื่อใดที่กษัตริย์ที่ทรงอานุภาพ ขึ้นครองราชย์ที่ราชธานีของอาณาจักรขอมแล้ว ก็มักจะแผ่พระเดชานุภาพ เข้าไปในดินแดนใกล้เคียง รวมถึงประเทศไทยด้วย

              ซึ่งหลักฐานจากจารึกเหล่านี้ ทำให้เชื่อกันว่า ในช่วงเวลานั้น อาณาจักรเจนละ ซึ่งอยู่ในลุ่มน้ำโขงตอนกลาง เขตเมืองจำปาสักประเทศลาวปัจจุบัน มีเศรษฐปุระเป็นศูนย์กลาง ศาสนสถานหลักของชุมชนแห่งนี้คือ วัดพู กับดินแดนประเทศไทย น่าจะมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน ตั้งแต่ราวต้นพุทธศตวรรษที่ 12

              พระเจ้าจิตรเสน หลักจากขึ้นครองราชย์แล้ว ทรงพระนามว่า พระเจ้ามเหนทรวรมัน เป็นกษัตริย์องค์สำคัญของเจนละ ที่เรืองอำนาจมากพระองค์หนึ่ง หลักฐานเกี่ยวกับอำนาจของพระองค์นั้น พบอยู่เป็นจำนวนมาก ในดินแดนภาคใต้ของประเทศลาว และบริเวณภาคเหนือ ชองประเทศกัมพูชาปัจจุบัน แต่ที่พบมากที่สุดนั้น น่าจะได้แก่ บริเวณลุ่มแม่น้ำมูล ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย

     

      พระเจ้าจิตรเสน ทรงเป็นเจ้าชายที่มีความเชี่ยวชาญการศึกสงคราม จดหมายเหตุจีนสมัยราขวงศ์ซุย เมื่อประมาณ พ.ศ. 1132-1161 ได้บันทึกไว้ว่า "พระเจ้าจิตรเสนพระองค์นี้น่าจะได้เผชิญศึกสงคราม ควบคู่ไปกับพระเชษฐาของพระองค์ คือ พระเจ้าภววรมันที่ 1 เจ้าชายทั้ง 2 พระองค์ ทรงเป็นนักรบ ได้ร่วมแรงร่วมใจกัน ก่อตั้งอาณาจักรเจนละขี้น โดยยกกองทัพต่อต้านอาณาจักรฟูนันจนประสบชัยชนะ" ทุกครั้งที่พระเจ้าจิตรเสนได้รับชัยชนะ ก็จะสร้างศาสนานุสาวรีย์ พร้อมทั้งจารึก ประกาศพระราชประสงค์ที่สร้างรูปเคาพขึ้น เป็นการอุทิศถวายแด่พระศิวะเทพเจ้า โดยมีพระประสงค์ จะให้เป็นที่สักการะบูชาของปวงชน ณ อาณาบริเวณนั้นๆ อีกทั้งเพื่อเป็นการเฉลิมฉลอง และเป็นที่ระลึกแห่งชัยชนะของพระองค์ด้วย

              หลักฐานเก่าที่สุดที่พบในประเทศไทย ได้แก่ ศิลาจารึกที่ระบุพระนามของพระเจ้าจิตรเสน หรือ พระเจ้ามเหนทรวรมัน ปัจจุบันนี้พบแล้ว จำนวน 10 หลัก มีทั้งจารีกอยู่บนแท่งหิน ที่ทำขื้นโดยเฉพาะ บนฐานประติมากรรม และบนผนังถ้ำ จารึกไว้ด้วยภาษาสันสกฤตเหมือนกันทุกหลัก ถึงแม้จะไม่ปรากฎศักราช แต่เมื่อศึกษาวิเคราะห์รูปอักษรในจารึกแล้ว ทราบว่าเป็นรูปอักษรปัลลวะ ในระหว่างพุทธศตวรรษที่ 12 จารึกเหล่านี้ พบอยู่ที่จังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 5 หลัก ได้แก่ จารึกปากแม่น้ำมูล 1 และ 2 จารึกปากโดมน้อย จารึกวัดสุปัฏนาราม และ จารึกถ้ำภูหมาไน จารึกถ้ำเป็ดทอง 3 หลัก ที่อำเภอปะคำ จังหวัดบุรีรัมย์ บริเวณลุ่มแม่น้ำชีตอนบน พบจารึกวัดศรีเมืองแอม ที่อำเภอเขาสวนกวาง จังหวัดขอนแก่น ในภาคตะวันออก พบจารึกช่องสระแจง ที่อำเภอตาพระยา จังหวัดสระแก้ว

     

     

    ข้อความในจารึกทั้งหมด แบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม คือ

     


    กล่าวถึง พระนามพระเจ้าจิตรเสน ไม่ได้กล่าวถึงพระนามพระเจ้ามเหนทรวรมัน ได้แก่ จารึกถ้ำเป็ดทอง แสดงว่ามีการจารึกในสมัยที่พระองค์ยังเป็นพระเจ้าจิตรเสน ทรงนับถือศาสนาพราหมณ์ ลัทธิไศวนิกาย ตามบรรพบุรุษ เมื่อทำสงครามชนะข้าศึกแล้วพระองค์ได้สร้างศิวลึงค์ ด้วยความภักดีตามคำสั่งของพระบิดาและพระมารดา

    กล่าวถึงพระประวัติพระเจ้ามเหนทรวรมัน และการสร้างศึวลึงค์ ไว้เป็นเครื่องหมายแห่งขัยชนะของพระองค์ ได้แก่จารึกปากแม่น้ำมูล 1 และ 2 จารึกวัดสุปัฎนาราม และ จารึกปากโดมน้อย

    กล่าวถึงพระประวัติ พระเจ้ามเหนทรวรมัน เหมือนกลุ่มที่ 2 แต่ตอนท้ายต่างกัน คือ ให้สร้างโคอุสภะ ไว้เป็นสวัสดิมงคลแก่ชัยชนะซองพระองค์ ได้แก่ จารึกถ้ำภูหมาไน และ จารึกวัดศรีเมืองแอม

    กล่าวถึงการสร้างบ่อน้ำไว้ให้แก่ประชาชน ในจารึกช่องสระแจง

    หากเชื่อว่าจารึกที่กล่าวถึงพระนามของกษัตริย์ขอม ปรากฏอยู่ ณ ที่ใด ก็อาจจะแสดงถึงความสัมพันธ์ ระหว่างราชอาณาจักรขอมกับดินแดนนั้นๆ แล้ว จากจารึกเท่าที่พบแล้วในปัจจุบัน ทำให้ทราบถึง ร่องรอยความยิ่งใหญ่ของอาณาจักรเจนละ ในรัชกาลพระเจ้ามเหนทรวรมันนี้ มีอาณาเขตครอบคลุม ลำน้ำโขง ตั้งแต่เมืองภวปุระ ซึ่งเป็นเมืองราชธานีในเขตประเทศกัมพูชา ผ่านเมืองจำปาสัก เขตประเทศลาว เข้าสู่ดินแดนทิศตะวันตกเขตประเทศไทย ที่ปากแม่น้ำมูล จังหวัดอุบลราชธานี ล่องตามลำน้ำเข้ามาถึงบริเวณจังหวัดบุรีรัมย์ และขึ้นมาตามลำน้ำ ที่จังหวัดขอนแก่น ส่วนดินแดนตอนใต้นั้นเข้าไปถึง บริเวณเทือกเขาดงรัก ที่จังหวัดสระแก้ว ซึ่งอยู่ในลุ่มแม่น้ำบางปะกง และบางทีอาจจะเลยเข้าไปถึงลุ่มแม่น้ำป่าสัก ที่จังหวัดเพชรบูรณอีกด้วย

              หลักฐานจากจารึกที่กล่าวมานี้ นับเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์รุ่นแรกสุดที่พบ แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ ระหว่างชุมชนโบราณในแถบอีสาน กับอาณาจักรเจนละทั้งด้านการปกครอง และศาสนาระยะแรกเริ่ม โดยเฉพาะศาสนาพราหมณ์ ลัทธิไศวนิกาย

     

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×