คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #4 : ประวัติศาสตร์ไทย : อาณาจักรอยุธยา 3
การเป็นไพร่มีสังกัด พวกไพร่จะได้รับสิทธิบางอย่างในการจดทะเบียนที่ทำกัน สิทธิในการฟ้องร้องคดีเพื่อให้ได้มา ซึ่งความคุ้มครองในชีวิตและทรัพย์ตามกฎหมายที่กำหนดศักดินา ไว้พิจารณาเปรียบเทียบปรับในศาล ผู้ที่ไม่มีสังกัดจะไม่สามารถฟ้องร้องคดีใดๆ ได้ และจะต้องถูกจับไปเป็นไพร่หลวงอีกด้วย ดังนั้น สามัญชนทุกคนจึงต้องอยู่ในระบบไพร่ แต่การที่ บรรดาไพร่ที่เป็นประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ ถูกเกณฑ์แรงงานโดยไม่มีค่าตอบแทน เป็นช่วงๆ ไม่ติดต่อกันเป็นระยะเวลาถึงหกเดือนในแต่ละปี ทั้งยาวนานติดต่อกันเป็นเวลา หลายปี จึงทำให้บรรดาไพร่ยากที่จะทำการงานและธุรกิจใดๆ ให้เจริญเติบโต หรือสามารถสะสมทุน ตลอดจนไม่สามารถไปมาค้าขายในที่ไกลๆ ได้ นับว่าระบบไพร่ได้ตัดโอกาสใน การที่ประชาชนจะสามารถประกอบอาชีพ ให้เป็นล่ำเป็นสันลงทั้งมีส่วนทำให้ประชาชนทำการผลิตเพียงเพื่อการบริโภคในครัวเรือน มิได้ผลิตเพื่อเป็นสินค้าและนอกจากประชาชนใน สมัยอยุธยาต้องเสียภาษีให้แก่ทางการในรูปของแรงงานและสิ่งของที่เป็นส่วยแล้ว ผู้ที่ประกอบการค้าจะต้องเสียภาษีจากการประกอบกิจการด้วย โดยทางการจะเก็บ “จังกอบ” เมื่อขนสินค้าผ่านด่านเรียกว่า “ขนอน” ในอัตราสิบชักหนึ่งเก็บอาการจากการทำนาทำไร่ ทำสวนหรือกิจการที่ได้รับสัมปทาน เช่น เก็บของป่า จับ ปลา ต้มเหล้า ตั้งบ่อน ต่างต้องเสียอากรทั้งสิ้น อากรบางชนิดจ่ายเป็นสิ่งที่ผลิตขึ้น เช่น อากร ค่านาที่จ่ายเป็นข้าวให้ทางการที่เรียกว่า “หางข้าว” ซึ่งผู้จ่ายมีหน้าที่ที่จะต้องขนข้าวไปยังยุ้งฉางของทางการ
|
ด้วยลักษณะการผลิตของประชาชนที่ทำเพียงพอแก่การยังชีพ เศรษฐกิจของอยุธยาจึงเป็นเศรษฐกิจแบบพอยังชีพไปด้วย แต่ด้วยระบบของการ จัดเก็บภาษีการเกณฑ์แรงงานหรือการการมีไพร่ส่วยนี้ ได้ทำให้เกิดมีสินค้าขึ้น มีการขนถ่ายผลิตผลที่ได้จากภาษีอากรและผลิตผลจากป่าไปยังเ มืองหลวง ซึ่งเมื่อทางการนำสิ่งเหล่านั้นไปใช้จนเพียงพอแล้วก็รวบรวมผลิตผลที่เหลือเหล่านี้ไว้ในคลัง เพื่อขายให้แก่พ่อค้าต่างประเทศที่เดินทา งเข้ามาขอซื้อ หรือบรรทุกเรือสำเภาของพระเจ้าแผ่นดิน เจ้านายบางพระองค์ส่งไปขายยังต่างประเทศ ซึ่งในสมัยอยุธยาตอนต้น ได้แก่ จีน ญี่ปุ่ น ริวกิว ฟิลิปปินส์ทางตะวันออก อินเดีย ลังกา อาหรับ ชวา มลายูทางตะวันตกและทางใต้ เป็นต้น สินค้าที่นำไปขายยังประเทศจีนจะอยู่ในระบ บสินค้าบรรณาการที่มีการส่งสินค้าไปพร้อมกับเครื่องบรรณาการที่ส่งไปถวายพระเจ้าแผ่นดินจีน สินค้าพวกนี้จะได้รับอนุญาตให้ขายได้โดยส ะดวกและไม่มีการเก็บภาษีอีกด้วย สินค้าในระบบบรรณาการกับจีนซึ่งเป็นมหาอำนาจใหญ่และขณะนั้น มีความสำคัญมาก เนื่องจากมีกำไรสูง และเมื่อขายสินค้าแล้วก็จะซื้อสินค้าของจีน ซึ่งเป็นที่ต้องการมากในอยุธยาเองและในหมู่พ่อค้าตะวันตกกลับมา การค้าในลักษณะนี้มีอยู่เกือบตลอดสมัยอยุธยา กล่าวได้ว่า ภาษีที่เก็บในรูปของพืชผล และส่วยผลิตผลจากป่าได้ทำให้เกิด การค้าต่างประเทศขึ้น โดยที่ผลิตผลเหล่านี้ได้มาจากส่วยสาอากรที่ไม่มีค่าใช้จ่าย ดังนั้น การค้าต่างประเทศจึงก่อให้เกิดรายได้แก่พระมหากษัตริย์สมัยอยุธยาเป็นจำนวนมากมาย นอกจากนี้ ผู้ที่ สามารถประกอบการค้าต่างประเทศได้ก็มีแต่ เจ้านาย ข้าราชการชั้นสูง ข้าราชการพระคลังสินค้า และชาวต่างประเทศอีกจำนวนหนึ่งเท่านั้น เพราะการค้าต่างประเทศเป็นกิจการที่ต้องใช้ทุนเป็นจำนวนมาก
การที่กรุงศรีอยุธยามีอาณาเขตกว้างใหญ่ออกไปจากเดิมมาก เนื่องจากการขยายอาณาเขตในรัชกาลสมเด็จพระรามาธิบดี ที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) ไปจนถึงรัชกาลสมเด็จพระบรมราชาธิราช ที่ 2 หรือเจ้าสามพระยา (พ.ศ. 1967-1991) ทำให้สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ (พ.ศ. 1991- 2031) ทรงปฏิรูปการปกครองใหม่ใน พ.ศ. 1998 โดยรวมอำนาจการปกครองเข้าสู่ศูนย์กลางของอาณาจักร เพื่อให้สามารถควบคุมหัวเมืองและประเทศราชได้ดียิ่งขึ้น ทรงปรับปรุงระบบการคลัง การจัดเก็บภาษีอากร การจัดซื้อสิ่งของที่ทางการต้องการ การขายสิ่งของเป็นสินค้าหลวงและการค้าต่างประเทศในคราวเดียวกันด้วย โดยกำหนดให้เป็นหน้าที่ของพระยาโกษาธิบดี เสนาบดีฝ่ายพลเรือนแต่ฝ่ายเดียว การปรับปรุงดัง กล่าวทำให้สามารถจัดเก็บส่วยอากรจากพระราชอาณาจักรอันกว้างใหญ่ได้มากยิ่งขึ้น และทำให้มีเหลือเป็นสินค้าออกในปริมาณที่มากขึ้นด้วย ประกอบกับกรุงศรีอยุธยามีอำนาจควบคุมหัวเมืองตามท่าชายทะเลฝั่งตะวันออก ได้แก่ กลันตัน ตรังกานู สงขลา สายบุรี ปัตตานี นครศรีธรรมร าช เป็นต้น และหัวเมืองท่าชายทะเลฝั่งตะวันตก ได้แก่ ตะนาวศรี ตรัง ตะกั่วป่า มะละกา เป็นต้น จึงทำให้เกิดเครือข่ายการค้าและขนถ่ายส่งสิน ค้าระหว่างทะเลทั้ง ๒ ฝั่งได้สะดวก อยุธยาซึ่งมีการค้าขายกับจีนในระบบบรรณาการ การค้ากับริวกิวและญี่ปุ่นทางตะวันออก ทั้งยังค้าขายกับ อิ นเดีย เปอร์เซีย อาหรับ ทางตะวันตก และมีสินค้าเครื่องเทศจากชวา มลายู จากทางใต้ จึงทำให้อยุธยากลายเป็นแหล่งกลางของสินค้าในย่านนี้ ทั้งยังสามารถติดต่อค้าขายขนถ่ายสินค้าตามเส้นทางน้ำขึ้นไปยังบ้านเมืองและอาณาจักรขนาดใหญ่ที่ลึกเข้าไปเช่น ลพบุรี ชัยนาท นครสวรรค์ สุโขทัย ล้านนา และล้านช้าง อยุธยาจึงกลายเป็นตลาดกลางที่สำคัญในย่านนี้ไปโดยสมบูรณ์
|
เมื่อชาวโปรตุเกสเดินทางมาถึง ใน พ.ศ. 2057 จนได้ทำสนธิสัญญาทางการค้ากับอยุธยาใน พ.ศ. 2059 แล้ว การค้าต่างประเทศของอยุธยา ก็ยิ่งทวีความสำคัญมากขึ้น หลังจากที่มีชาวต่างประเทศอื่นๆ เช่น สเปน ฮอลันดา อังกฤษ และฝรั่งเศส เดินทางเข้ามาติดต่อค้าขายมากขึ้นตามลำ ดับ ความต้องการสินค้าต่างๆ เพื่อตอบสนองความต้องการทางการค้าต่างประเทศที่ทวีขึ้น ทำให้อยุธยาต้องมีการกำหนดระเบียบทางการค้าและ การจัดเก็บภาษีอากรขึ้นใหม่หลายครั้ง โดยให้เอกสิทธิ์แก่พระคลังสินค้าให้สามารถซื้อสินค้าที่ต้องการทั้งในทางราชการ และต้องการนำไปขาย ต่อจากพ่อค้าที่นำเข้ามาได้ทั้งหมดก่อน พร้อมทั้งกำหนดรายการสินค้าประเภทอาวุธ เช่น ปืนและกำมะถัน ที่ทางการจะซื้อไว้ทั้งหมดหรือบางส่วน โดยห้ามขายให้แก่ประชาชนเพื่อป้องกันมิให้อาวุธตกไปอยู่ในมือของศัตรูเอาไว้ด้วย พระคลังสินค้าจึงมีอำนาจหน้าที่กว้างขวางมากขึ้น ตั้งแต่เก็บรวบรวมภาษีอากรสินค้าจากส่วย ส่งเรือไปค้าขายต่างประเทศ ซื้อสินค้าที่นำเข้ามาจากต่างประเทศได้ก่อนบางส่วนหรือทั้งหมดได้ตาม ต้องการ ขายสินค้าจากส่วยสินค้าจากฝั่งตะวันออก และสินค้าจากฝั่งตะวันตกให้แก่พ่อค้าอีกด้วย พระคลังสินค้าจึงเป็นเหมือนเครื่องมือในการควบคุมการค้าและราคาสินค้าไปในตัว ในสมัยต่อมา เมื่อปรากฏว่ามีสินค้าที่ทีราคาแพง หายาก เป็นที่ต้องการจำนวนมากเกิดขึ้น ได้แก่ ไม้หอม กฤษณา ฝาง ดีบุก งาช้าง เขากวางอ่อน ทางการจึงได้ออกกฎหมายกำหนดให้สินค้าเหล้านี้ เป็นสินค้าที่ประชาชนต้องขายให้แก่พระคลังสินค้า เท่านั้น พระคลังสินค้าจึงกลายเป็น องค์การค้าที่ผูกขาดการค้าและผลประโยชน์จากการค้าต่างประเทศไว้เกือบทั้งหมด ต่อมารายการสินค้าต้อง ห้ามนี้มีมากขึ้นอีกหลายรายการในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง (พ.ศ. 2172-2199) และรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (พ.ศ. 2199-2231) ซึ่งมีการค้าต่างประเทศเฟื่องฟูมากที่สุด รายการสินค้าที่อยุธยาขายและส่งออก ได้แก่ ข้าว พริกไทย เครื่องเทศ กระวาน การพ ลู ลูกจันทน์เทศ หนังสัตว์ หนังปลากระเลน งาช้าง ไม้ฝาง ไม้จันทน์ กฤษณา นอแรด ครั่ง ยางรัก ยางสน ชัน รง กำยาน ดีบุก ตะกั่ว เป็นต้น ส่วนสินค้าเข้า ได้แก่ ผ้าแพร ผ้าชนิดต่างๆ ผ้าม้วน ผ้าลายทอง ถ้วยชาม เครื่องเคลือบ กำมะถัน ทองแดง เหล็ก เครื่องเทศ สินค้าหัตถกรรม อาวุธ เป็นต้น
|
การค้าต่างประเทศซึ่งนำรายได้สำคัญมาสู่ราชสำนักอยุธยาได้ลดความรุ่งเรืองลงนับตั้งแต่รัชกาลสมเด็จพระเพทราชา (พ.ศ. 2231-2246) เนื่องจากไม่ทรงมีนโยบายติดต่อกับชาวตะวันตก สินค้าจากป่าที่เคยทำรายได้ให้จำนวนมากจึงลดลงไปด้วย แม้ว่าพระคลังสินค้าจะยังคงติดต่อค้าขายกับประเทศต่างๆ ทางตะวันออก ได้แก่ จีน ญี่ปุ่น เกาหลี ชวา สุมาตรา ลังกาและอินเดียตามเดิม แต่ชนิดของสินค้าที่ส่งไปขายได้เปลี่ยนจาก ผลิตผลจากป่ามาเป็นสินค้าที่เป็นที่ต้องการในย่านนี้ โดยมี ข้าว ที่ส่งไปขายประเทศจีนเป็นสำคัญ ส่วนประเทศญี่ปุ่นซึ่งมีการปิดประกาศเมื่อ พ.ศ. 2258 แล้ว ก็ไม่มีการค้าขายกันโดยตรง อยุธยาจึงค้าขายกับชาติต่างๆ ที่อยู่ทางตะวันออกเท่านั้น จนเสียกรุงครั้งสุดท้าย
กล่าวได้ว่า การค้าต่างประเทศเป็นพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่สำคัญตลอดสมัยอยุธยานานถึง 471 ปี นำมาซึ่งความมั่งคั่งไม่เพียงแต่ราชสำนักเท่า นั้น แต่ได้ขยายไปถึงบรรดาเจ้านาย ขุนนางระดับสูงที่ทำการค้าเอง หรือมีส่วนเกี่ยวกับการค้าต่างประเทศ ในปลายสมัยอยุธยาปรากฏว่าบรรดา ขุนนางมีการเบียดบังเอาไพร่หลวงมาเป็นไพร่สมมากขึ้น จึงเกิดความขัดแย้งระหว่างไพร่กับมูลนาย เพราะไพร่ถูกกดขี่มากขึ้นจึงต้องการเป็น อิสระมากขึ้น จำนวนไพร่ที่พากันหลบหนีมีมาก การจัดเก็บส่วยสาอากรจึงทำได้ไม่เต็มเม็ดเต็มหน่วย เมื่อการค้าต่างประเทศลดลงอย่างมาก จึง นำมาซึ่งความเสื่อมและตกต่ำทางเศรษฐกิจของอยุธยาไปด้วย เมื่อประกอบเข้ากับการแตกความสามัคคีในหมู่เจ้านายและขุนนางด้วยแล้วความอ่อนแอของอยุธยาจึงเกิดมากขึ้นและสะสมไป จนถึงจุดสิ้นสุดลงใน พ.ศ. 2310
เศรษฐกิจสมัยอยุธยานั้น เป็นเศรษฐกิจแบบพึ่งตนเอง แม้ว่าความต้องการในการใช้เงินตรามีน้อย ทั้งเงินตราที่ประชาชนทั่วไปใช้จ่ายก็เป็น เงินย่อยเสียส่วนใหญ่ แต่ตามเมืองใหญ่ที่ประชาชนมิได้เป็นผู้ผลิตเสื้อผ้า อาหาร เครื่องมือเครื่องใช้ขึ้นเองก็ยังมีความจำเป็นต้องใช้เงินตรามากกว่าประชาชนในชนบท เงินตราในสมัยอยุธยาประกอบด้วยเบี้ย และเงินพดด้วง
เบี้ย เงินปลีกที่มีค่าน้อยที่สุดในระบบเงินตรา เป็นเปลือกหอยน้ำเค็มชนิดหอยเบี้ยที่มีอยู่หลายชนิด แต่ที่นำมาใช้เป็นเงินตราเป็นหอยเบี้ยชนิด จั่นและเบี้ยนาง มีมากบริเวณหมู่เกาะปะการังมัลดีฟ ทางใต้ของเกาะซีลอน พ่อค้าชาวต่างประเทศเป็นผู้นำมาขายในอัตรา 600 ถึง 1,000 เบี้ยต่อเงินเฟื้องหนึ่ง ขึ้นอยู่กับความต้องการและปริมาณเบี้ยที่มีอยู่
|
เมื่อเบี้ยเป็นเงินตราที่มีค่าต่ำที่สุด เบี้ยจึงเป็นเงินตราในระบบเศรษฐกิจที่ทุกคนสามารถมีและ เป็นเจ้าของได้ คำว่า “เบี้ย” จึงปรากฏเป็นสำนวนในภาษาไทยจำนวนมาก และต่างมีความหมายว่าเป็นเงินตราทั้งสิ้น เมื่อเบี้ยเป็นเงินสามัญที่ทุกคนรู้จักและมีได้ กฎหมายจึงกำหนดการ ปรับเบี้ยจากผู้ที่ทำผิด เบี้ยจึงเป็นชนิดของเงินตราที่สำคัญ จำเป็นต้องใช้มากโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในระบบเศรษฐกิจแบบพึ่งตนเองที่พึ่งเงินตราชนิดราคาสูงๆ น้อยมาก แต่เบี้ยที่เป็นเปลือกหอย เป็นสิ่งที่ไม่ทนทานมักแตกหักกะเทาะเสียหายได้ง่ายความต้องการหอยเบี้ยจึงมีอยู่เสมอ ดังนั้น ในบางครั้งที่ไม่มีพ่อค้านำหอยเบี้ยเข้ามาขายจนเกิดขาดแคลนเบี้ยขึ้น ทางการจึงต้องจัดทำเงิน ตราชั้วคราวขึ้นใช้แทน โดยทำด้วยดินเผามีขนาดเล็ก ตีตรารูปกินรี ราชสีห์ ไก่ และกระต่ายขึ้น ในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าบรมโกศ (พ.ศ. 2276-2301) เรียกว่า “ประกับ”
พดด้วง เป็นเงินตราที่มีค่าสูง ทำจากโลหะเงิน ซึ่งได้มาจากการค้าต่างประเทศ บางตามมาตราน้ำหนักของไทยที่มีมูลค่าเหมาะสมแก่มาตรฐานการครองชีพในแต่ละรัชกาล ได้แก่ ตำลึง บาท กึ่งบาท สลึง เฟื้อง และไพ สำหรับชนิดหนักตำลึงนั้นเนื่องจากมีมูลค่าสูงเกินไป ส่วนชนิดราคากึ่งบาทนั้นมีมูลค่าไม่เหมาะสมแก่ค่าครองชีพ ไม่สะดวกกับการใช้ จึงผลิตขึ้นน้อยมาก และมีเฉพาะในสมัยอยุธยาตอนต้นเท่านั้น
การผลิตเงินพดด้วงเป็นการดำเนินของทางการทั้งหมดนับตั้งแต่ชั่งน้ำหนักเศษเงิน ตัดแบ่ง นำไปหลอม เป็นรูปทรงกลมยาวเหมือนลูกสมอจีนแล้ว จึงทุบปลายทั้งสองข้างเข้าหากัน ใช้สิ่วบาก ที่ขาทั้งสองข้างให้เห็นเนื้อเงินภายใน ซึ่งต่อมารอยบากนี้จึงค่อยๆ เล็กลงจนหายไป แต่เกิดรอยที่เรียกว่า รอยเม็ดข้าวสารขึ้นมาแทน และเพื่อเป็นการสร้างความเชื่อให้เกิดขึ้นโดยยอมรับเงินพดด้วงว่าเป็น“เงินตรา” ในหมู่ประชาชน ทั้งเป็นการแสดงถึงความถูกต้องของน้ำหนักและอำนาจหน้าที่ในการผลิตเงินตรา จึงมีการประทับตราของทางการลงบนพดด้วงทุกเม็ดมาตั้งแต่ต้น
พดด้วงชนิดหนักหนึ่งบาทสมัยอยุธยาประทับตราสองดวง ด้านบนเป็นตราจักรสัญลักษณ์ของพระนารายณ์ ใช้แทนองค์พระเจ้าแผ่นดินที่ทรง เป็นสมมุติเทพของพระนารายณ์ ส่วนด้านหน้าประทับตรารัชกาลที่ผลิตเงินพดด้วงขึ้น เท่าที่พบนั้นปรากฏว่ามีตราทั้ง 2 ประมาณ 20 แบบ น้อยกว่าพระมหากษัตริย์ที่ครองกรุงศรีอยุธยาซึ่งมีถึง 33 พระองค์มากเนื่องจากหลายรัชกาลที่ครองราชย์สมบัติในระยะสั้นๆ หรือมีพระชันษาน้อย ยังไม่ทันโปรดให้ผลิตเงินตราประจำรัชกาลขึ้นก็สิ้นรัชกาลเสียก่อน นอกจากนี้ยังมีเพียงตราพุ่มข้าวบิณฑ์เพียงตราเดียวที่ทราบจากบันทึกของ เดอ ลา ลูแบร์ ผู้เข้ามากับคณะทูตจากพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศส ว่าเป็นตราในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช พ.ศ. 2199-2231
|
พดด้วงชนิดอื่นๆ นิยมตีตราเพียงตราเดียว ได้แก่ ตราสังข์ ช้าง สังข์กระหนก ที่ออกแบบให้ต่างกัน ออกไปในแต่ละรัชกาล นอกจากนี้ยังมีการผลิตพดด้วงทองคำขึ้นใช้บ้าง ในรัชกาลที่มีการค้าเฟื่องฟูมากแต่ก็เป็นพดด้วงขนาดเฟื้องเท่านั้น และโดยเหตุที่การค้าต่างประเทศผูกผันกับปริมาณเงินพดด้วง โดยตรงอย่างใกล้ชิด เมื่อการค้ารุ่งเรืองมีเงินแท่งเข้ามามาก ทางการก็ผลิตเงินพดด้วงจำนวนมากขึ้น เพื่อใช้ซื้อสินค้าส่งไปขายต่างประเทศ ปริมาณเงินพดด้วงที่หมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจจึงมีมากขึ้น ด้วย ในทางกลับกัน เมื่อการค้าต่างประเทศซบเซาลง ปริมาณเงินพดด้วงในท้องตลาดก็ลดลง ด้วยความ เกี่ยวพันกันนี้เองปริมาณเงินพดด้วงที่มีตราประจำรัชกาลเดียวกันจะมีจำนวนมากหรือจำนวนน้อยนอก จากจะเป็นการบอกให้ทราบถึงความสั้นหรือยาวนานในการครองราชย์สมบัติของแต่ละรัชกาลแล้ว ยัง เป็นเครื่องชี้ให้ทราบถึงความเจริญรุ่งเรืองหรือความเสื่อมในระบบเศรษฐกิจและการค้าของรัชกาลนั้นๆ ในสมัยอยุธยาได้เป็นอย่างดีอีกด้วย นอกจากนี้การที่ในสมัยอยุธยามีพดด้วงขนาดตั้งแต่น้ำหนักสลึงลงไปเป็นจำนวนมากที่สุด ในขณะที่พดด้วงขนาดกึ่งบาทและขนาดตำลึงมีการผลิตขึ้นใช้เฉพาะสมัยอยุธยาตอนต้นเท่านั้น และหลังจากนั้นแล้วไม่มีการผลิตขึ้นอีก ก็ย่อมแสดงให้ทราบถึงระดับค่าครองชีพ ตลอดจนฐานะของผู้คนที่อยู่ในระบบไพร่ตลอดสมัยอยุธยาได้เป็นอย่างดี
ศาสนาของชาวอยุธยา
กรุงศรีอยุธยามีเมืองเก่าแก่ชื่อว่า อโยธยา มาก่อน มีการขุดพบซากเมืองโบราณสถูปเจดีย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีพระพุทธรูปปรากฏเป็นหลักฐานสำคัญคือ พระพุทธรูปองค์ใหญ่วัดพนัญเชิง ได้สร้างมาก่อนสมัยจะสร้างพระนครศรีอยุธยา และผู้ที่จะสร้างพระพุทธรูปองค์ใหญ่โตอย่างนั้นได้ก็ต้องบุคคลผู้มีบุญบารมีต้องเป็นชั้นเจ้าฟ้ามหากษัตริย์จึงจะมีกำลังสร้างปูชนียวัตถุขนาดมหึมาขึ้นได้ และลักษณะพุทธศิลป์ก็เป็นศิลปะแบบอู่ทอง เพราะฉะนั้นจึงสรุปได้ว่าเมืองอโยธยาเก่าคงจะตั้งขึ้นในสมัยขอมเป็นใหญ่ ต่อมาในสมัยอู่ทอง ไทยเข้ามาครอบครอง ไทยในสมัยอู่ทองนั่นเองคงจะเป็นผู้สร้างวัดพนัญเชิงขึ้น
พระพุทธศาสนาในสมัยพระรามาธิบดีที่ 1
ในรัชสมัยพระรามาธิบดีที่ 1 พระองค์ทรงสถาปนาวัดที่สำคัญมี 2 วัดคือ วัดพุทไธศวรรย์ วัดนี้สร้างอยู่ในบริเวณตำบลเวียงเหล็ก ในที่ตั้งพลับพลาก่อนสร้างพระนคร วัตถุที่สำคัญในวัดนี้ที่ยังเหลืออยู่คือพระปรางค์องค์ใหญ่ พระวิหารพระพุทธรูปตามระเบียงคดซึ่งทำด้วยศิลา วัดพุทไธศวรรย์นี้เรียกได้ว่าเป็นปฐมอารามในสมัยอยุธยา เป็นวัดที่มีความสำคัญมากเป็นที่ประสิทธิ์ประสาทพิชัยสงครามตลอดสมัยอยุธยา แม่ทัพนายกองส่วนมากต้องมารับการอบรมจากสำนักวัดพุทไธศวรรย์แห่งนี้ ในปลายแผ่นดินพระองค์ได้สร้างวัดเจ้าพระยาไทขึ้น (วัดใหญ่ชัยมงคล)
ข้อสังเกตอย่างหนึ่งก็คือ ความเปลี่ยนแปลงในสมัยอยุธยา ไทยได้รับอิทธิพลมาจากขอมมากอยู่เหมือนกัน เหตุผลก็คืออยุธยามีอาณาเขตตั้งอยู่ใกล้อิทธิพลขอมมากกว่าทางสุโขทัย ระบบกษัตริย์ไม่เป็นเหมือนพ่อปกครองลูก แต่กลับเป็นระบบเทวสิทธิที่ราษฎรจะใกล้ชิดไม่ได้ ในสมัยสุโขทัยไม่มีระบบทาส การปกครองในสมัยอยุธยาเริ่มมีระบบทาสขึ้นมา
พระพุทธศาสนาในสมัยพระบรมไตรโลกนาถ
พระพุทธศาสนาในรัชสมัยของพระบรมไตรโลกนาถนั้นนิยมการสร้างสถูปแบบลอมฟางหรือแบบลังกากันมาก ในยุคต้นของอยุธยาพุทธศิลป์ได้รับอิทธิพลของลพบุรีและอู่ทองอยู่มาก ในยุคของพระบรมไตรโลกนาถอิทธิพลของสุโขทัยเริ่มเข้ามาแทนที่ เหตุผลที่เป็นเช่นนั้นก็คือพระองค์มีพระราชมารดาเป็นเจ้าหญิงผู้มีศักดิ์ของสุโขทัย ได้เสด็จไปประทับที่หัวเมืองเหนือตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ ทรงคุ้นเคยกับศิลปะแบบสุโขทัยมาก จึงทำให้พระองค์ได้รับเอาศิลปะของสุโขทัยไปโดยปริยาย
พระเจ้าบรมไตรโลกนาถได้ทรงอุทิศพระราชวังเดิมซึ่งสร้างมาแต่ครั้งพระเจ้าอู่ทองให้เป็นวัด แล้วย้ายพระราชวังไปติดอยู่ทางริมน้ำ วัดที่ทรงอุทิศถวายนั้นเป็นวัดในเขตกำแพงวัง ไม่มีพระสงฆ์อยู่ มีแต่เขตพุทธาวาสอย่างวัดพระแก้วในกรุงเทพมหานนคร เรียกว่าวัดพระศรีสรรเพ็ชญ์ ทรงหล่อรูปพระโพธิสัตว์ 500 ชาติไว้ในวัดนี้ด้วย รูปเหล่านี้ในปัจจุบันยังเหลืออยู่เพียง 2-3 รูป แล้วทรงนิพนธ์คำหลวงสำหรับใช้เทศนาตามวัด เพราะฉะนั้นร่ายมหาชาติจึงเกิดขึ้นเป็นครั้งแรก แต่ประเพณีการฟังเทศน์มหาชาติมีมาแต่ครั้งสุโขทัยแล้ว แต่ว่าไม่มีเทศน์ฉบับหลวงเพิ่งจะมีในสมัยอยุธยานี้เอง สาเหตุที่คนไทยนิยมฟังเทศน์มหาชาตินั้น ก็เพราะอิทธิพลของหนังสือ "มาลัยสูตร" ซึ่งกล่าวว่า พระศรีอริยเมตไตรย์ตรัสบอกผ่านพระมาลัยว่า "ผู้ใดปรารถนาไปเกิดทันศาสนาของพระองค์ ต้องฟังเทศน์มหาชาติให้จบ 13 กัณฑ์ในวันเดียวกัน และบูชาด้วยธูปเทียนดอกบัวอย่างละพัน"
พระเจ้าบรมไตรโลกนาถ ทรงมีพระราชศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาเป็นอย่างมาก ถึงกับเสด็จทรงผนวช ณ วัดจุฬามณี พร้อมด้วยพระราชโอรส พระราชนัดดา และข้าราชบริพารรวมทั้งหมดถึงพันเศษ เป็นพิธีกรรมมโหฬาร พระองค์ยังได้ทรงสร้างพระสถูปแบบลังกาสูงเส้นเศษ 2 องค์ ในวัดพระศรีสรรเพ็ชญ์ อุทิศให้พระชนกและพระเชษฐา และยังได้ทรงหล่อพระพุทธรูปยืน หนักด้วยโลหะต่าง ๆ 5 หมื่นกว่าชั่ง สูง 8 วา ใช้เวลาหล่อและตกแต่ง 3 ปีจึงแล้วเสร็จ แล้วถวายพระนามว่าพระศรีสรรเพ็ชญ์ และประดิษฐานไว้ ณ วัดพระศรีสรรเพ็ชญ์รัชสมัยของพระเจ้าบรมไตรโลกนาถ นับว่ายาวนานที่สุดกว่ากษัตริย์ในสมัยอยุธยาทุก ๆ พระองค์ เสวยราชย์อยู่ 4 กว่าปี บ้านเมืองสงบสุขร่มเย็นเศรษฐกิจเจริญรุ่งเรืองจนสามารถหล่อพระพุทธรูปขนาดใหญ่ได้ ทรงอุปถัมภ์ทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาให้เจริญตลอดมาด้วยดี
พระพุทธศาสนาในสมัยพระเจ้าทรงธรรม
ในรัชสมัยของพระเจ้าทรงธรรม พระองค์เป็นผู้มีความแตกฉานในพระไตรปิฎกตั้งแต่ยังทรงผนวชแล้ว ภายหลังได้มาเสวยราชย์แต่พระองค์ก็ยังเสด็จลงพระที่นั่งจอมทอง 3 หลังบอกบาลีแก่พระสงฆ์สามเณรทุกวัน มีพระเณรในวัดต่าง ๆ ผลัดกันเข้ามาเรียนเป็นประจำ ในรัชกาลนี้มีพระสงฆ์ไทยพวกหนึ่งกลับมาจากลังกามาทูลว่า พระสงฆ์ลังกายืนยันว่ามีรอยพระพุทธบาทในประเทศไทย คือพระพุทธเจ้าได้ทรงประทับรอยพระบาทไว้ ณ สถาน 5 แห่ง คือ
1. เขาสุวรรณมาลิก
2. เขาสุวรรณบรรพต
3. สุมนกูฏ
4. โยนกปุระ
5. ริมหาดแม่น้ำนัมมทา
พระสงฆ์ลังกายืนยันว่า สุวรรณบรรพตนั้นอยู่ในเมืองไทย เมื่อได้ทราบความดังนั้น พระองค์จึงมีพระราชโองการให้พยายามหาเขาสุวรรณบรรพตว่าอยู่ ณ สถานที่แห่งใด ก็บังเอิญในสมัยนั้น เจ้าเมืองสระบุรีมีหนังสือมากราบทูลว่า พรานป่าในเมืองนี้ออกไปล่าเนื้อ ยิงเนื้อตัวหนึ่งบาดเจ็บ เนื้อนั้นวิ่งไปในซอกหินแห่งหนึ่ง ครั้นกลับออกมาบาดแผลหายเป็นอัศจรรย์ พรานบุญจึงตามเข้าไปดู เห็นเป็นรอยเท้ามนุษย์บนแผ่นหิน ในรอยเท้ามีน้ำขังอยู่ พรานบุญจึงวักน้ำในรอยเท้านั้นมาลูบตามผิวหนังของตนซึ่งเป็นกลากเกลื้อน ปรากฏว่าโรคทางผิวหนังได้หายไปอย่างปลิดทิ้ง และนำเรื่องราวมาแจ้งให้เจ้าเมืองสระบุรีทราบ พระเจ้าทรงธรรมเมื่อทรงทราบเรื่องเช่นนี้ จึงเสด็จออกไปทอดพระเนตรสอบสวนรายละเอียดบนฝ่าเท้านั้น เห็นต้องตามคำมหาปุริสลักษณะ จึงมีพระราชศรัทธาอุทิศ ที่ดินโดยรอบภูเขานั้นให้เป็นพุทธบูชา แล้วทรงสถาปนามณฑปครอบรอยพระพุทธบาท จึงเกิดเป็นประเพณีเทศกาลไหว้พระพุทธบาทขึ้นในกลางเดือน ๓ และเดือน ๔ ทุกปีมา
เมื่อพระเจ้าทรงธรรมสวรรคตแล้ว พระโอรสได้ขึ้นเสวยราชย์ ต่อก็มีอำมาตย์ผู้ท่านหนึ่งชื่อว่าเจ้าพระยากลาโหมสุริยวงศ์ เป็นอำมาตย์ในสมัยพระเจ้าทรงธรรม เจ้าพระยากลาโหมประกาศตนเป็นกบฏออกหน้าจับพระเจ้าแผ่นดินสำเร็จโทษแล้วขึ้นเสวยราชย์เป็นพระเจ้าปราสาททอง ในรัชกาลนี้ไทยได้ไปตีกัมพูชาได้ พระเจ้าปราสาททองได้ทรงอุทิศบ้านเดิมของมารดาสร้างเป็นวัดให้ชื่อว่า "วัดชัยวัฒนาราม" และให้จำลองแบบปรางค์ขอมมาสร้าที่วัดนี้ วัดนี้ทรงโปรดเป็นพิเศษ เสด็จออกบำเพ็ญกุศลเนือง ๆ เมื่อพระเจ้าปราสาททองสวรรคตแล้ว ราชโอรสก็ได้ขึ้นเสวยราชย์ แต่เกิดเรื่องแย่งราชสมบัติกันขึ้นกับพระโอรสอีกองค์หนึ่งคือ พระนารายณ์ ซึ่งมีกำลังร่วมกับพระศรีสุธรรมราชา ซึ่งเป็นพระเจ้าอา
พระพุทธศาสนาในสมัยพระนารายณ์
พระนารายณ์นั้นเป็นโอรสเกิดจากเจ้าจอมมารดา และได้ร่วมมือกับพระศรีสุธรรมราชาสำเร็จโทษพระเชษฐา แล้วก็สถาปนาพระเจ้าอาขึ้นเป็นกษัตริย์ ต่อมาหลานกับอาขัดกันในเรื่องที่พระเจ้าอามีพฤติกรรมที่จะลวนลามพระราชกัลยาณีซึ่งเป็นพระกนิฏฐาของพระนารายณ์ อากับหลานจึงทำสงครามกันขึ้น ในที่สุดอาถูกจับไปสำเร็จโทษ พระนารายณ์จึงเสด็จขึ้นครองราชย์แทน ในรัชสมัยของพระนารายณ์มีเหตุการณ์ที่สำคัญต่อพระพุทธศาสนาก็คือ
ในรัชสมัยของพระองค์ ศาสนาคริสต์ต้องการอย่างยิ่งที่จะให้พระองค์เข้ารีตนับถือศาสนาคริสต์ ในสมัยนั้น ทั้งโปรตุเกสทั้งฝรั่งเศสจ้องที่จะเอาประเทศไทยเป็นศูนย์กลางในการเผยแผ่ศาสนาคริสต์ และอีกอย่างหนึ่งประเทศไทยเรานั้นก็ต้องถือว่าเป็นชาติแรกในเอเซียที่มีนโยบายให้เสรีภาพในการนับถือศาสนา ในเวลานั้นประเทศจีน ญี่ปุ่น ญวน ตั้งข้อรังเกียจศาสนาคริสต์ว่าเป็นศาสนาที่บ่อนทำลายความสงบสุขของประเทศชาติ ประเทศไทยไม่ได้ตั้งข้อรังเกียจศาสนาคริสต์อย่างนั้น สมเด็จพระนารายณ์ทรงให้การอุปถัมภ์ทุกศาสนาที่เข้ามาเผยแผ่ในเวลานั้นด้วยดีทุกศาสนา ทั้งพุทธ คริสต์ อิสลาม และทรงมีพระราชโองการให้ประชาชนในปกครองของพระองค์มีสิทธิเสรีภาพอย่างเต็มที่ในการนับถือศาสนาต่าง ๆ ได้ตามความสมัครใจ นับได้ว่าพระองค์ทรงมีพระทัยกว้างขวางอย่างหาที่สุดมิได้
พวกบาทหลวงเห็นพระองค์ทรงให้การอุปถัมภ์ด้วยดีแก่ศาสนาคริสต์ ความยังทราบไปถึงพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ พระองค์ได้ส่งพระราชสาสน์และทูตพิเศษชื่อว่า เชวาเลียร์ เดอ โชมองต์ พร้อมกับคณะบาทหลวงพิเศษสำหรับทำหน้าที่โปรดศีลให้แก่สมเด็จพระนารายณ์เมื่อเข้ารีตแล้ว เข้ามากรุงศรีอยุธยาในปี พ.ศ. 2229 เพื่อทำหน้าที่เกลี้ยกล่อมเพื่อให้สมเด็จพระนารายณ์เข้ารีตโดยเฉพาะ ใจความของพระราชสาสน์ว่า "พระเจ้าฝรั่งเศสขอชักชวนพระเจ้ากรุงศรีอยุธยาให้มาร่วมแผ่นดินเดียวกัน โดยขอให้พระองค์เปลี่ยนศาสนามาถือศาสนาเดียวกับฝรั่งเศส เพราะศาสนาที่เที่ยงแท้มีศาสนาเดียวในโลก คือศาสนาของพระผู้เป็นเจ้าองค์เดียว ถ้าฝ่ายกรุงศรีอยุธยาหันมานับถือในพระผู้เป็นเจ้าองค์เดียวนี้ พระองค์เป็นผู้มีฤทธิ์อำนาจก็จะบันดาลให้กรุงศรีอยุธยารุ่งเรืองเหมือนฝรั่งเศส"
สมเด็จพระนารายณ์ทรงขอบพระทัยพระเจ้าหลุยส์แห่งฝรั่งเศสที่มีความหวังดีต่อพระองค์ แต่การที่จะเปลี่ยนศาสนาที่เคยนับถือมาเป็นเวลา 2229 ปีแล้ว ไม่ใช่เป็นของง่าย พระองค์ตรัสแก่พวกทูตพิเศษและบาทหลวงแบบบัวไม่ให้ช้ำน้ำไม่ให้ขุ่นว่า ก่อนอื่นนั้นขอให้บาทหลวงทำให้ราษฎรของพระองค์เข้ารีตให้หมดก่อน แล้วพระองค์จะเข้ารีตตามในภายหลัง
อีกประการหนึ่ง ทรงแปลกฉงนพระทัยเป็นหนักหนาว่า "เหตุใด พระเจ้ากรุงฝรั่งเศสจึงมาก้าวก่ายกับฤทธิ์อำนาจของพระผู้เป็นเจ้า เพราะการที่มีศาสนาต่าง ๆ ในโลกนี้ ไม่ใช่เป็นความประสงค์ของพระผู้เป็นเจ้าหรอกหรือ พระองค์จึงปล่อยให้มีไปดังนั้น มิได้ทรงบันดาลให้มีเพียงศาสนาเดียว เมื่อพระผู้เป็นเจ้ามีฤทธิ์มากในเวลานี้ พระองค์คงปรารถนาให้ตัวเรานับถือพระพุทธศาสนาไปก่อน เพราะฉะนั้น เราจึงจะรอคอยพระกรุณาของพระองค์ บันดาลให้เราเลื่อมใสคริสตศาสนาในวันใด เราก็จะเข้ารีตนับถือในวันนั้น เราจึงขอฝากชะตากรรมของเราและกรุงศรีอยุธยา สุดแต่พระเจ้าจะทรงบันดาลเถิด ขอพระเจ้ากรุงฝรั่งเศสสหายเราอย่าทรงเสียพระทัยเลย"
ตรงนี้เราจะเห็นได้ว่า การดำเนินทางด้านวิเทโสบายของสมเด็จพระนารายณ์เป็นที่ชาญฉลาดเป็นอย่างมาก ไม่หักด้ามพร้าด้วยเข่า เพราะถ้าจะพูดไปแล้วตอนนั้นถ้าต้องรบกันต่อสู้ด้วยอาวุธประเทศเราก็สู้ประเทศฝรั่งเศสไม่ได้อย่างแน่นอน ด้วยประเทศตะวันตกมีอาวุธที่ทันสมัยกว่า ในปลายแผ่นดิน สมเด็จพระนารายณ์ทรงชอบประทับอยู่ที่พระที่นั่งสุทธาสวรรค์ และพระที่นั่งธัญญมหาปราสาทในพระราชวังเมืองลพบุรี เมื่อถึงฤดูฝนจึงจะเสด็จลงมาประทับที่พระนคร เมื่อประชวรหนักลงที่ลพบุรี ก่อนจะสวรรคต พระองค์ได้อุทิศพระราชวังลพบุรีให้เป็นวิสุงคามสีมาอีกด้วย
พระพุทธศาสนาในสมัยพระเจ้าบรมโกษฐ์
พระพุทธศาสนาในสมัยของพระเจ้าบรมโกษฐ์ ต้องนับว่าเป็นสมัยที่พระพุทธศาสนาได้รับการทำนุบำรุงให้เจริญรุ่งเรืองเป็นอย่างมาก พระองค์ได้บูรณะวัดวาอารามใหญ่น้อยทั้งในพระนครและหัวเมืองเป็นจำนวนมาก เช่น ในพระนคร ก็มีวัดพระศรีสรรเพ็ชญ์ วัดพระราม สำหรับวัดภูเขาทองนั้น พระเจ้าบรมโกษฐ์ให้สร้างพระเจดีย์ใหญ่แบบไทยแท้ คือพระเจดีย์ที่เรียกว่าแบบย่อไม้ สิบสอง พระเจดีย์แบบนี้นิยมสร้างกันมากในสมัยนี้ และที่วัดภูเขาทองนับเป็นแบบย่อไม้สิบสองที่ใหญ่ที่สุด นอกจากนี้ยังทรงบูรณะวัดบรมพุทธาราม วัดหน้าพระเมรุ วัดตะไกร เป็นต้น ในหัวเมืองทรงบูรณะวัดพระแท่นศิลาอาสน์ เมืองอุตรดิตถ์ วัดมหาธาตุ เมืองลพบุรี เป็นต้น พระเจ้าบรมโกษฐ์ ทรงโปรดเรื่องการบรรพชาอุปสมบทเป็นสิ่งสำคัญยิ่งนัก ราษฎรก็ดี ข้าราชบริพารก็ดี ถ้าไม่ได้ผ่านการบรรพชาอุปสมบทมาแล้วจะไม่โปรดชุบเลี้ยงหรือเลื่อนยศให้
ส่งพระสงฆ์ไปลังกา
ในราวศตวรรษที่ 22 ประเทศลังกาต้องผจญภัยกับสงครามกลางเมืองอยู่เนือง ๆ และยังถูกกดขี่จากพวกโปรตุเกสห้ามมิให้นับถือพระพุทธศาสนา ปรากฏว่าพระสงฆ์ในลังกาได้สูญวงศ์ลง เพราะไม่ได้อุปสมบทกันช้านาน แต่ก็มีสามเณรอยู่รูปหนึ่งชื่อว่าสรณังกร ได้พยายามขวนขวายที่จะให้ฟื้นสมณวงศ์ขึ้นใหม่ สามเณรสรณังกรจึงทูลให้พระเจ้ากิตติราชสิงหะซึ่งปกครองลังกาอยู่ในเวลานั้นให้ส่งราชทูตมากรุงศรีอยุธยา ทางฝ่ายไทยได้มอบหน้าที่ให้สมเด็จพระสังฆราชวัดมหาธาตุเป็นผู้คัดเลือกพระสงฆ์ที่จะไปลังกา และได้พระอุบาลีแห่วัดธรรมารามเป็นหัวหน้าคณะออกไปอุปสมบทชาวลังกา พระเจ้ากิตติราชสิงหะได้นิมนต์ให้ไปจำพรรษาอยู่ที่วัดบุบผาราม แล้วได้ทำพิธีผูกพัทธสีมาขึ้นที่วัดบุบผารามนั่นเอง และให้การอุปสมบทสามเณรสรณังกรเป็นรูปแรก ต่อมาก็ได้เป็นสมเด็จพระสังฆราชแห่งลังกา พระอุบาลีได้บรรพชาอุปสมบทกุลบุตรชาวลังกาทั้งหมดหลายพันรูป คณะสงฆ์ที่เกิดขึ้นใหม่นี้จึงเรียกชื่อว่า "สยามวงศ์" หรือ "อุบาลีวงศ์" และพระอุบาลีนั้น ต่อมาได้อาพาธถึงมรณะภาพในลังกานั่นเอง ปัจจุบันอัฐิของท่านยังปรากฏอยู่ อาสนะที่ท่านนั่งบวชกุลบุตร ตลอดจนพัดรองที่ท่านใช้ประจำ ยังคงรักษาไว้ในรูปเดิม จัดเป็นปูชนียวัตถุอนุสรณ์ของพระสงฆ์ในนิกายสยามวงศ์ในลังกามาตราบเท่าทุกวันนี้
ลักษณะของศาสนา
พระพุทธศาสนาในสมัยอยุธยานั้นมีความเป็นฮินดูปนอยู่ค่อนข้างมาก พิธีกรรมต่าง ๆ ได้ปะปนพิธีของพราหมณ์มากกว่าที่ใดๆ ราษฎรอยุธยามุ่งในเรื่องการบุญการกุศล สร้างวัดวาอาราม สร้างปูชนียวัตถุ บำรุงศาสนาเป็นส่วนมาก ในสมัยอยุธยาต้องประสบกับภาวะสงครามกับพม่า จนเกิดภาวะวิกฤตทางศาสนาหลายครั้ง ประวัติศาสตร์อยุธยาแบ่งเป็น 4 ช่วง ได้แก่
สมัยอยุธยาช่วงแรก (พ.ศ. 1991 - 2031)
ในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ทรงปกครองบ้านเมืองด้วยความสงบร่มเย็น ทรงทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา ทรงผนวชเป็นเวลา 8 เดือน เมื่อ พ.ศ. 1998 และทรงให้พระราชโอรสกับพระราชนัดดาผนวชเป็นสามเณรด้วย สันนิษฐานว่าเป็นการเริ่มต้นของประเพณีการบวชเรียนของเจ้านายและข้าราชการ ในรัชสมัยของพระองค์ ได้มีการรจนาหนังสือมหาชาติคำหลวง ใน พ.ศ. 2025
สมัยอยุธยาช่วงที่สอง ( พ.ศ. 2034 - 2173)
สมัยนี้ได้มีความนิยมในการสร้างวัดขึ้น ทั้งกษัตริย์และประชาชนทั่วไป นิยมสร้างวัดประจำตระกูล ในสมัยพระเจ้าทรงธรรมได้พบพระพุทธบาท สระบุรี ทรงให้สร้างมณฑปครอบพระพุทธบาทไว้ และโปรดให้ชุมชนราชบัณฑิตแต่งกาพย์มหาชาติ เมื่อ พ.ศ. 2170 และโปรดให้สร้างพระไตรปิฎกด้วย
สมัยอยุธยาช่วงที่สาม (พ.ศ. 2173 - 2310)
พระมหากษัตริย์ที่มีพระนามยิ่งใหญ่ที่สุดในศตวรรษนี้ ได้แก่สมเด็จพระนารายณ์มหาราช พระองค์ทรงมีบทบาทอย่างมากทั้งต่อฝ่ายอาณาจักรและศาสนจักร ทรงส่งเสริมพระพุทธศาสนาอย่างแรงกล้า สมัยนี้ฝรั่งเศสได้เข้ามาติดต่อกับไทย และได้พยายามเผยแผ่คริสต์ศาสนา และอาจทูลขอให้พระนารายณ์เข้ารีต แต่พระองค์ทรงมั่นคงในพระพุทธศาสนา มิชชันนารี่ฝรั่งเศสจึงต้องผิดหวังไป
สมัยอยุธยาช่วงที่สี่ (พ.ศ. 2275 - 2310)
พระมหากษัตริย์ที่ทรงมีบทบาทมากในยุคนี้ ได้แก่ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ทรงเสวยราช เมื่อ พ.ศ. 2275 การบวชเรียนกลายเป็นประเพณีที่ปฏิบัติสืบต่อกันมาถึงยุคหลัง ถึงกับกำหนดให้ผู้ที่จะเป็นขุนนาง มียศถาบรรดาศักดิ์ต้องเป็นผู้ที่ผ่านการบวชเรียนมาเท่านั้น จึงจะทรงแต่งตั้งตำแหน่งหน้าที่ให้ ในสมัยนี้ได้ส่งพระภิกษุเถระชาวไทยไปฟื้นฟูพุทธศาสนาในประเทศลังกาตามคำทูลขอของกษัตริย์ลังกา เมื่อ พ.ศ. 2296 จนทำให้พุทธศาสนากลับเจริญรุ่งเรืองในลังกาอีกครั้ง จนถึงปัจจุบัน และเกิดนิกายของคณะสงฆ์ไทยขึ้นในลังกา ชื่อว่านิกายสยามวงศ์ นิกายนี้ยังคงมีอยู่ถึงปัจจุบัน
ความสัมพันธ์กับต่างประเทศ
ในสมัยอยุธยาตอนต้น มีชาวต่างชาติเดินทางเข้ามาค้าขายและอาศัยอยู่ในอาณาจักร ที่สำคัญได้แก่ ชาวจีน อินเดีย อาหรับ มลายู จนกระทั่งในรัชสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 พ.ศ. 2054 ได้มีชาวโปรตุเกสซึ่งเป็นชาวตะวันตกชาติแรกเดินทางเข้ามาติดต่ออยุธยา และได้ทำสนธิสัญญาระหว่างกันในปี พ.ศ. 2059 โดยทางอยุธยาอนุญาตให้ชาวโปรตุเกสเข้ามาค้าขายกับอยุธยาและเมืองท่าอื่น ๆ ได้ ภายหลังต่อมา มีชาวตะวันตกชาติอื่นเดินทางเข้ามายังกรุงศรีอยุธยา ได้แก่ ฮอลันดา อังกฤษ สเปนและฝรั่งเศส โดยเป็นพ่อค้าเข้ามาค้าขาย บ้างก็เป็นบาทหลวงเข้ามาเผยแพร่คริสต์ศาสนา หรือนักท่องเที่ยวผจญภัย ชาวต่างชาติที่ได้เข้ามารับราชการในราชสำนักกรุงศรีอยุธยา เช่น เจ้าพระยา วิชาเยนทร์ ชาวกรีซ ซึ่งเป็นข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ความสัมพันธ์กับชาติตะวันตกเจริญรุ่งเรืองสูงสุดในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช โดยเฉพาะ ความสัมพันธ์ระหว่างอยุธยากับฝรั่งเศสสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ซึ่งมีการแลกเปลี่ยนทางการฑูต ระหว่างกัน ราชสำนักฝรั่งเศสให้การสนับสนุนด้านการทหารและอาวุธที่ทันสมัยแก่อยุธยา
ความคิดเห็น