ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    รวมเรื่องมหัศจรรย์ ความ(ไม่)ลับ ของศัพท์สังคม

    ลำดับตอนที่ #3 : ประวัติศาสตร์ไทย : อาณาจักรอยุธยา 2

    • อัปเดตล่าสุด 8 มิ.ย. 56


    การปกครองสมัยอยุธยาตอนกลาง

                  การปกครองเริ่มตั้งแต่รัชกาลสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ เป็นต้นมา  หลังจากที่ได้ผนวกเอาอาณาจักรสุโขทัยมาเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรอยุธยา     โดยมีลักษณะสำคัญ 2 ประการคือ

              1. จัดการรวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลาง

              2. แยกกิจการฝ่ายพลเรือนกับฝ่ายทหารออกจากกัน

    การปกครองส่วนกลาง

              สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ โปรดฯให้มีตำแหน่งสมุหกลาโหมรับผิดชอบด้านการทหาร นอกจากนี้ยังได้ทรงตั้งหน่วยงานเพิ่มขึ้นมา อีก 2 กรม คือ

                กรมมหาดไทย มีพระยาจักรีศรีองครักษ์เป็นสมุหนายก มีฐานะเป็นอัครมหาเสนาบดี มีหน้าที่ควบคุมกิจการพลเรือนทั่วประเทศ

                กรมกลาโหม มีพระยามหาเสนาเป็นสมุหพระกลาโหม มีฐานะเป็นอัครมหาเสนาบดี มีหน้าที่ควบคุมกิจการทหารทั่วประเทศ

               นอกจากนี้ใน 4 กรมจตุสดมภ์ที่มีอยู่แล้ว ทรงให้มีการปรับปรุงเสียใหม่ โดยตั้งเสนาบดีขึ้นมาควบคุมและรับผิดชอบในแต่ละกรมคือ

      กรมเมือง (เวียง)     มีพระนครบาลเป็นเสนาบดี

      กรมวัง                   มีพระธรรมาธิกรณ์เป็นเสนาบดี

      กรมคลัง                 มีพระโกษาธิบดีเป็นเสนาบดี

      กรมนา                   มีพระเกษตราธิการเป็นเสนาบดี

      การปกครองส่วนภูมิภาค

               สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงยกเลิกการปกครองแบบเดิมทั้งหมด แล้วจัดระบบใหม่ดังนี้

     1 .) หัวเมืองชั้นใน ยกเลิกเมืองหน้าด่านแล้วเปลี่ยนเป็นเมืองชั้นใน มีฐานะเป็นเมืองจัตวา ผู้ปกครองเมืองเหล่านี้เรียกว่า ผู้รั้ง พระมหากษัตริย์จะเป็นผู้แต่งตั้งขุนนางในกรุงศรีอยุธยา ทำหน้าที่ผู้รั้งเมือง ต้องรับคำสั่งจากในราชธานีไปปฏิบัติเท่านั้นไม่มีอำนาจในการปกครองโดยตรง

      2) หัวเมืองชั้นนอก (เมืองพระยามหานคร) เป็นหัวเมืองที่อยู่ภายนอกราชธานีออกไป จัดเป็นหัวเมืองชั้นตรี โท เอก ตามขนาดและความสำคัญของหัวเมืองนั้น เมืองเหล่านี้มีฐานะเดียวกันกับหัวเมืองชั้นใน คือขึ้นอยู่ในการปกครองจากราชธานีเท่านั้น

      3) หัวเมืองประเทศราช ยังให้มีการปกครองเหมือนเดิม มีแบบแผนขนบธรรมเนียมเป็นของตนเอง มีเจ้าเมืองเป็นคนในท้องถิ่นนั้น ส่วนกลางจะไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวในด้านการปกครอง แต่ต้องส่งเครื่องราชบรรณาการมาถวาย

     

       การปกครองส่วนท้องถิ่น แบ่งการปกครองเป็นหน่วยย่อย โดยแบ่งเป็น

      1) บ้าน หรือหมู่บ้าน มีผู้ใหญ่บ้าน มีผู้ว่าราชการเมืองเป็นหัวหน้า         จากการเลือกตั้งจากหลายบ้าน

      2) ตำบล เกิดจากหลายๆ หมู่บ้านรวมกันมีกำนันเป็นหัวหน้ามีบรรดาศักดิ์เป็น พัน

      3) แขวง เกิดจากหลายๆ ตำบลรวมกัน มีหมื่นแขวงเป็นผู้ปกครอง

      4) เมือง เกิดจากหลายๆ แขวงรวมกัน มีผู้รั้งหรือพระยามหานครเป็นผู้ปกครอง

      ต่อมาในรัชกาลสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 ได้มีการปรับปรุงระเบียบการปกครองทางด้านการทหาร ได้แก่

      1. การจัดทำสารบัญชี (หรือสารบาญชี) เพื่อให้ทราบว่ามีกำลังไพร่พลมากน้อยเพียงใด

      2. สร้างตำราพิชัยสงคราม ซึ่งเป็นตำราที่ว่าด้วยการจัดทัพ      การเดินทัพ การตั้งค่าย การจู่โจมและการตั้งรับ ส่วนหนึ่งของตำราได้มาจากทหารอาสาชาวโปรตุเกส

      3. การทำพิธีทุกหัวเมือง ซักซ้อมความพร้อมเพรียงเพื่อสำรวจจำนวนไพร่พล (คล้ายกับพิธีถวายสัตย์ปฏิญาณต่อธงชัยเฉลิมพลในปัจจุบัน)

    การปกครองสมัยอยุธยาตอนปลาย

      สมัยอยุธยาตอนปลาย เริ่มในสมัยพระเพทราชา สมัยนี้ยึดการปกครองแบบที่สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ทรงปรับปรุงแต่ได้แบ่งแยกอำนาจสมุหกลาโหมและสมุหนายกเสียใหม่ คือ

      สมุหกลาโหม     - ดูแลหัวเมืองฝ่ายใต้ทั้งหมดทั้งที่เป็นฝ่ายทหารและพลเรือน  

      สมุหนายก          - ดูแลหัวเมืองฝ่ายเหนือทั้งหมดที่เป็นฝ่ายทหารและพลเรือนรูปแบบการปกครอง  

                                 ของอยุธยาใช้เรื่อยมาจนถึงรัชกาลที่ 5 จึงได้มีการปฏิรูปการปกครองเสียใหม่

             ได้แยกกิจการฝ่ายทหารและพลเรือนออกจากกัน แต่การกำหนดอำนาจบังคับบัญชาดูแลกิจการทั้งสองฝ่ายตามเขตพื้นที่ ซึ่งเป็นการถ่วงดุลอำนาจของขุนนางด้วยกัน เพื่อจะได้ไม่เป็นภัยต่อราชบัลลังก์และแบ่งเป็นหัวเมืองฝ่ายต่างๆ ดังนี้

        -       หัวเมืองฝ่ายเหนือ   ขึ้นตรงต่อสมุหนายก

        -       หัวเมืองฝ่ายใต้   ขึ้นตรงต่อสมุหพระกลาโหม

        -       หัวเมืองชายทะเลตะวันออก  ขึ้นตรงต่อเสนาบดีกรมคลัง

    4.  การแบ่งชนชั้นปกครอง

    สังคมอยุธยา เป็นสังคมที่เต็มไปด้วยชนชั้น นับตั้งแต่การแบ่งแยกชนชั้นอย่างเด็ดขาด ระหว่างกษัตริย์กับราษฎรแล้ว พระบรมวงศานุวงศ์ ก็มีอันดับสูงต่ำลดหลั่นกันเป็นชั้นๆ ในหมู่ราษฎร ก็มีการแบ่งชนชั้นกันเป็นชนชั้นผู้ดีกับชนชั้นไพร่ ในหมู่ข้าราชการก็มีศักดินาเป็นตัวกำหนดความสูงต่ำของข้าราชการในชนชั้นต่างๆ ซึ่งชนชั้นต่างๆ เหล่านี้ จะก่อให้เกิดมีสิทธิในสังคมอยุธยาขึ้นแตกต่างกันด้วย

                    ลักษณะทางสังคมของอยุธยาประกอบด้วยชนชั้นต่างๆตั้งแต่จุดสุดยอดถึงพื้นฐานของสังคม 6 ชนชั้น คือ 
          1. พระมหากษัตริย์ทรงมีอำนาจสูงสุดในการบริหารประเทศทุกด้านเช่นในทางการเมือง  ทรงเป็นเจ้าชีวิตและเป็นประมุขของอาณาจักรและมีอำนาจเหนือชีวิตของทุกคนในสังคม  ในทางสังคมทรงเป็นผู้นำสังคมและเป็นองค์อุปถัมภ์ของศาสนาพุทธในแง่สถาบันพระมหากษัตริย์จะอยู่ในฐานะแตกต่างจากสุโขทัย เพราะอยุธยาเป็นอาณาจักรที่กว้างขวาง จึงต้องเป็นสถาบันที่เข้มแข็ง  เป็นที่เกรงขามของประชาชน  ด้วยเหตุนี้อยุธยาจึงรับคติเทวราชาเข้ามา   ทำให้พระมหากษัตริย์อยู่ในฐานะเทพเจ้า
         2. เจ้านายประกอบด้วยพระราชโอรสพระราชธิดาและเชื้อพระวงศ์พวกเจ้านายที่จะช่วยเหลือราชการแผ่นดินตามที่พระมหามหากษัตริย์มีบัญชา ซึ่งยศของเจ้านายแบ่งได้เป็น 2ประเภทคือ  สกุลยศ เป็นยศที่เจ้านายแต่ละองค์ได้รับมาตั้งแต่กำเนิดอิสริยยศ เป็นยศที่ได้รับพระราชทานเรื่องจากได้รับราชการแผ่นดิน
         3. ขุนนางชนชั้นสูงที่รับราชการกับพระเจ้าแผ่นดินและเป็นชนส่วนน้อยในสังคมที่มีโอกาสเข้ารับราชการมักเป็นสังคมปิดเนื่องจากมีการสืบทอดตำแหน่งในวงศ์ตระกูลแลแหล่งที่มาของอำนาจ ขุนนางคือ กำลังคนที่อยู่ในความควบคุม ที่เรียกกันว่าไพร่หลวง
         4. พระสงฆ์ คือบุคคลที่บวชในพุทธศาสนาทุกคนเป็นกลุ่มที่ทำหน้าที่เป็นตัวกลางเชื่อมระหว่างชนชั้นปกครองกับพวกไพร่หรือสามัญชน พระสงฆ์ประกอบด้วย สมาชิก 2 พวก  คือพวกที่บวชตลอดชีวิตและพวกที่บวชชั่วคราวซึ่งชนชั้นไหนก็สามารถบวชเป็นพระสงฆ์ได้
         5. ไพร่ เป็นเสรีชนที่ต้องให้แรงงานแก่รัฐบาลและถูกควบคุมโดยรัฐบาลหรือเจ้านายซึ่งรวมเรียกว่ามูลนาย ไพร่เป็นประชาชนส่วนใหญ่ของสังคม มีประมาณ 80-90%ของคนในสังคมอยุธยา
         6. ทาสคือชนกลุ่มน้อยของสังคมที่ได้จากการกวาดต้อนผู้คนของเมืองที่แพ้สงครามหรือไพร่ที่ขายตัวเมื่อยากจนลง ทาส 

    สมัยอยุธยาแบ่งอย่างกว้าง ๆ ได้ 2 ประเภท คือ 
          - ทาสที่สามารถซื้ออิสรภาพของตนเองคืนได้ เรียกว่า ทาสสินไถ่ 
          - ทาสที่ซื้ออิสรภาพของตนเองไม่ได้ คือ ทาสเชลยศึกหรือลูกทาสเชลย

     

                    สังคมอยุธยานั้น กฎหมายกำหนดให้ทุกคนต้องมีนาย ตามกฎหมาย ลักษณะรับฟ้องมาตรา 10 กล่าวว่า " ราษฎรรับฟ้องร้องด้วยคดีประการใดๆ แลมิได้สังกัดมูลนายอย่าพึงรับไว้บังคับบัญชาเป็นอันขาดทีเดียว ให้ส่งตัวผู้นั้นแก่สัสดี เอาเป็นคนหลวง" จะเห็นว่า ไพร่ทุกคนของสังคมอยุธยาต้องมีสังกัดมูลนายของตน ผู้ไม่มีนายสังกัดกฎหมายไม่รับผิดชอบในการพิทักษ์รักษาชีวิตและทรัพย์สิน ไพร่จะต้องรับใช้ชาติในยามสงคราม จึงต้องมีสังกัดเพื่อจะเรียกใช้สะดวก เพราะในสมัยอยุธยานั้น ไม่มีทหารเกณฑ์หรือทหารประจำการในกองทัพเหมือนปัจจุบัน จะมีก็แต่กองทหารรักษาพระองค์เท่านั้น นอกจากนั้น เป็นเพราะสมัยแรกตั้งกรุงศรีอยุธยา ต้องใช้ชายฉกรรจ์จำนวนมากในการปกป้องข้าศึก ศัตรู ความจำเป็นของสังคมจึงบังคับให้ราษฎรต้องมีนาย เพราะนายจะเป็นผู้เกณฑ์กำลังไปให้เมืองหลวงป้องกันภัยจากข้าศึกศัตรู และนายซึ่งต่อมากลายเป็น " เจ้าขุนมูลนาย " ต้องมีความรับผิดชอบต่อลูกหมู่ของตน ถ้านายสมรู้ร่วมคิดกับลูกหมู่ทำความผิด ก็ถูกปรับไหมตามยศสูงต่ำ และหากลูกหมู่ของตนถูกกล่าวหาว่าเป็นโจรปล้นทรัพย์ มูลนายก็ต้องส่งตัวลูกหมู่ให้แก่ตระลากร สังคมอยุธยาจึงเป็นสังคมที่ต้องมีความรับผิดชอบมากอยู่ มีกฎเกณฑ์ต่างๆ มากมาย เพราะลักษณะและองค์ประกอบของสังคมซับซ้อนกว่าสังคมสุโขทัย

    การเลื่อนชนชั้นในสังคมอยุธยาแม้ไม่มีกฏข้อห้ามในทางทฤษฎีว่าเลื่อนชั้นไม่ได้แบบอินเดียแต่ในทางปฏิบัติมักจะทำได้ยากเพราะขุนนางย่อมไม่สนับสนุนไพร่ให้เข้ารับราชการซ้ำยังกีดกันเพราะอำนาจ อภิสิทธิ์ เกียรติยศที่ขุนนางได้รับได้มาเพราะตำแหน่งราชการ  เมื่อออกจากราชการก็จะหมดทั้งอำนาจ อภิสิทธิ์และเกียรติยศ จึงไม่สนับสนุนบุคคลอื่นให้เข้ารับราชการนอกจากลูกหลานของตนเองการเปลี่ยนแปลงทางสังคมหลังการปฏิรูปการปกครองมีการเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่สำคัญ 2 ประการคือการขึ้นมามีอำนาจของชนชั้นขุนนาง และการรับวิทยาการจากตะวันตก


                    ข้อหนึ่งที่อยุธยาประสบอยู่ตลอดเวลาคือการถ่วงดุลอำนาจชนชั้นเจ้านายและ

    ชนชั้นขุนนางให้อยู่ในดุลที่เหมาะสม  ให้เจ้านายและขนนางคานอำนาจกันเอง  เพื่อจะได้ไม่เป็นภัยต่อราชบัลลังก์ซึ่งเป็นสิ่งที่กระทำได้ยากยิ่งในสมัยอยุธยาตอนต้นก่อนการปฏิรูปการปกครองเจ้านายผู้ครองเมืองลูกหลวงเมืองหลานหลวงมีอำนาจทางการเมืองมากก่อให้เกิดปัญหาการแย่งชิงราชสมบัติทุกครั้งที่โอกาสอำนายให้เมื่อแก้ปัญหาด้วยการลดอำนาจของเจ้านายลงชนชั้นขุนนางก็มีอำนาจเพิ่มมากขึ้นแต่เมื่อไม่มีมาตรการควบคุมอำนาจที่ดีก็เปิดโอกาสให้ชนชั้นขุนนางเข้ามาแย่งชิงราชสมบัติได้เช่นกันการรับวิทยาการจากตะวันตกหลังการปฏิรูปการปกครอง ในสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2โปรตุเกสได้เข้ามาเจริญสัมพันธไมตรีทางด้านการค้ากับอยุธยาในปีพ.ศ.2054การเริ่มติดต่อกับชาติตะวันตกทำให้อยุธยาได้รับวิทยาการสมัยใหม่ในด้านการสงครามจากโปรตุเกส เช่น การทำปืนใหญ่การหล่อกระสุนดำและการสร้างป้อมแบบฝรั่ง นอกจากนั้นยังมีการจ้างทหารโปรตุเกสเข้ามาเป็นทหารอาสาในกองทัพอยุธยาด้วยอย่างไรก็ตามมีข้อน่าสังเกตว่า อยุธยาสนใจที่จะรับวิทยาการจากตะวันตกเฉพาะในด้านการสงครามเท่านั้นไม่สนใจวิทยาการทางด้านอื่นๆ เช่นความรู้เกี่ยวกับดาราศาสตร์เรื่องโลกกลม  และเรื่องระบบสุริยจักรวาลความรู้ทางภูมิศาสตร์ เป็นต้น

      4.1 ไพร่สมัยอยุธยา

    ระบบราชการของอยุธยานั้น ได้นำคนลงเป็นไพร่ สังคมอยุธยาจึงมีไพร่มีนาย ตามจดหมายเหตุลาลูแบร์กล่าวไว้ว่า "ประชาชนชาวสยามรวมกันเป็นกองทหารรักษาดินแดน" ซึ่งทุกคนต้องขึ้นทะเบียนหางว่าวกรมสุรัสวดีเข้าไว้ทั้งหมด ทุกคนเป็นพลรบต้องเกณฑ์เข้าเดือนรับราชการในพระองค์ปีละ 6 เดือน

    พลเมืองทั้งสิ้นต้องขึ้นทะเบียนเป็นหลักฐานไว้โดยแบ่งออกเป็นฝ่ายขวาฝ่ายซ้าย เพื่อทุกคนรู้ว่าตนต้องขึ้นสังกัดหน้าที่ฝ่ายใด นอกจากนั้น ยังแบ่งส่วนราชการออกเป็นกรมอีก แต่ละกรมมีหัวหน้าคนหนึ่งเรียกว่า นาย จนกระทั่งนายนี้เป็นคำแสดงความเคารพยกย่องที่ใช้กันทั่วไป

    แม้ระเบียบการปกครองสมัยอยุธยาจะแบ่งแยกอำนาจหน้าที่ออกเป็นฝ่ายทหารและพลเรือน แต่ก็ปรากฏว่าใช้ได้แค่ยามปรกติเท่านั้น พอเกิดสงครามขึ้น เจ้านายทั้งฝ่ายทหารและพลเรือนก็ต้องเข้าประจำกองตามทำเนียบตน ทั้งนี้เพราะกำลังพลมีน้อย ไม่อาจแยกหน้าป้องกันประเทศไว้กับทหารฝ่ายเดียวได้ จำเป็นต้องใช้หลักการรวม จึงทำให้ชายฉกรรจ์ทุกคนต้องเป็นทหาร สมัยอยุธยาและสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นเรียกว่า ไพร่ ไพร่เป็นคำที่กินความกว้างขวาง เพราะผูกพันอยู่กับราชการมากกว่าทหารปัจจุบัน ในสมัยอยุธยา ไพร่คือ ประชาชนที่สังกัดมูลนายต่างๆ มีหน้าที่และความรับผิดชอบแยกออกได้ดังนี้

      1. ไพร่หลวง หมายถึง ไพร่ที่สังกัดวังหลวงหรือพระเจ้าแผ่นดิน ไพร่หลวงจะต้องถูกเกณฑ์เข้ารับราชการปีละ 6 เดือน คือเข้าเดือนหนึ่งออกเดือนหนึ่งสลับกันไป ถ้าไม่อยากถูกเกณฑ์เข้ารับราชการก็จะต้องเสียเงินแทน ซึ่งอาจจะเป็นเดือนละ 4-6 บาท ไพร่หลวงจะต้องสังกัดอยู่ในกรมพระสัสดีซ้าย ขวา นอก ใน ไพร่หลวงที่เป็นชายเมื่อเกิดศึกสงครามก็จะต้องออกรบได้

      2. ไพร่สม หมายถึง ไพร่ที่สังกัดบรรดาเจ้านายหรือขุนนางใหญ่น้อยทั้งหลายในยามปรกติก็ถูกเกณฑ์แรงงานหรือรับราชการ ถ้าเกิดศึกสงครามผู้เป็นชายก็จะต้องออกรบ มีบางครั้งพวกไพร่หลวงหนีไปสมัครเป็นไพร่สมอยู่กับเจ้านาย กฎหมายอยุธยามีบทลงโทษถึงจำคุกและถูกเฆี่ยนถ้าหากจับได้ นอกจากนั้น กฎหมายอยุธยายังได้กำหนดอีกว่า ถ้าพ่อกับแม่สังกัดแตกต่างกันเช่นคนหนึ่งเป็นไพร่หลวง อีกคนหนึ่งเป็นไพร่สม ลูกที่เกิดออกาจะต้องแยกสังกัดตามที่กฎหมายกำหนด

      3. ไพร่ราบ หมายถึง ไพร่ที่สังกัดมูลนาย มีอายุระหว่าง 13-17 ปี มีศักดินาระหว่าง 15

      4. ไพร่ส่วย คือ พวกที่ยกเว้นไม่ต้องถูกเกณฑ์เข้ามารับราชการแต่จะต้องส่งสิ่งของมาให้หลวงแทน เช่น อาจจะเป็นดีบุก ฝาง หญ้าช้าง ถ้าไม่นำสิ่งของเหล่านี้มาจะต้องจ่ายเงินแทน

      5. เลกหรือเลข เป็นคำรวมที่ใช้เรียกไพร่หัวเมืองทั้งหลายตลอดจนข้าทาส พวกเลกหัวเมือง ยังขึ้นกับกระทรวงใหญ่ 2 กระทรวง คือ กระทรวงมหาดไทย และกลาโหม มีมาตั้งแต่สมัยอยุธยา

     

      4.2 ทาสสมัยอยุธยา

    http://2.bp.blogspot.com/_ERoRk1Dr9C4/TAngZDrCH9I/AAAAAAAAABo/PhKKdil6mm8/s1600/post-6409-1168583371.jpgเป็นที่ยอมรับกันว่า สังคมอยุธยามีทาสไว้ใช้ ทาสเป็นชนชั้นอีกชนชั้นหนึ่งของสังคมสมัยอยุธยาและกฎหมายอยุธยาก็ได้ยอมรับการมีทาส มีบทบัญญัติเกี่ยวกับทาสไว้มากมายและได้แบ่งประเภทของทาสไว้ 7 พวกด้วยกันคือ

    1. ทาสสินไถ่

    2. ทาสเกิดในเรือนเบี้ย

    3. ทาสได้มาแต่บิดามารดา

    4. ทาสท่านให้

    5. ทาสอันได้ช่วยเหลือในยามโทษทัณฑ์

    6. ทาสอันได้เลี้ยงมาเมื่อเกิดทุพภิกขภัย

    7. ทาสอันได้ด้วยเชลย

    จะเห็นว่า ทาสในสมัยอยุธยานั้น เป็นทาสที่ถูกกฎหมายคุ้มครอง เป็นทาสที่มีสภาพเป็นมนุษย์และเป็นพลเมืองของชาติอย่างสมบูรณ์ ฉะนั้นคนไทยในสมัยอยุธยาจึงสมัครใจจะเป็นทาสมากกว่าจะเป็นขอทาน เพราะอย่างน้อยก็มีข้าวกิน มีที่อยู่อาศัยโดยไม่เดือดร้อน

    5.  ราชวงศ์ที่ปกครอง

    ลำดับ

    พระนาม

    ปีที่ครองราชย์

    พระราชวงศ์

    1

    สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง)

    1893 - 1912 (19 ปี)

    อู่ทอง

    2

    สมเด็จพระราเมศวร (พระราชโอรสพระเจ้าอู่ทอง) ครองราชย์ครั้งที่ 1

    1912 - 1913 (1 ปี)

    อู่ทอง

    3

    สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 (ขุนหลวงพะงั่ว)

    1913 - 1931 (18 ปี)

    สุพรรณภูมิ

    4

    สมเด็จพระเจ้าทองลัน (พระราชโอรสขุนหลวงพะงั่ว)

    1931 (7 วัน)

    สุพรรณภูมิ

     

    สมเด็จพระราเมศวร ครองราชย์ครั้งที่ 2

    1931 - 1938 (7 ปี)

    อู่ทอง

    5

    สมเด็จพระรามราชาธิราช (พระราชโอรสพระราเมศวร)

    1938 - 1952 (14 ปี)

    อู่ทอง

    6

    สมเด็จพระอินทราชา (เจ้านครอินทร์) (พระราชนัดดาของขุนหลวงพระงั่ว)

    1952 - 1967 (16 ปี)

    สุพรรณภูมิ

    7

    สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 (เจ้าสามพระยา) (พระราชโอรสเจ้านครอินทร์ )

    1967 - 1991 (24 ปี)

    สุพรรณภูมิ

    8

    สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ (พระราชโอรสเจ้าสามพระยา)

    1991 - 2031 (40 ปี)

    สุพรรณภูมิ

    9

    สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 3 (พระราชโอรสพระบรมไตรโลกนาถ)

    2031 - 2034 (3 ปี)

    สุพรรณถูมิ

    10

    สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 (พระราชโอรสพระบรมไตรโลกนาถ)

    2034 - 2072 (38 ปี)

    สุพรรณภูมิ

    11

    สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 4 (พระราชโอรสพระรามาธิบดีที่ 2)

    2072 - 2076 (4 ปี)

    สุพรรณภูมิ

    12

    พระรัษฎาธิราช (พระราชโอรสพระบรมราชาธิราชที่ 4)

    2076 (5 เดือน)

    สุพรรณภูมิ

    13

    สมเด็จพระไชยราชาธิราช (พระราชโอรสพระรามาธิบดีที่ 2)

    2077 - 2089 (12 ปี)

    สุพรรณภูมิ

    14

    พระยอดฟ้า (พระแก้วฟ้า) (พระราชโอรสพระไชยราชาธิราช)

    2089 - 2091 (2 ปี)

    สุพรรณภูมิ

    15

    ขุนวรวงศาธิราช

    2091 (42 วัน)

    -

    16

    สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ (พระเทียรราชา)

    2091 - 2111 (20 ปี)

    สุพรรณภูมิ

    17

    สมเด็จพระมหินทราธิราช (พระราชโอรสพระมหาจักรพรรดิ)

    2111 - 2112 (1 ปี)

    สุพรรณภูมิ

    18

    สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช (พระราชบุตรเขยในพระมหาจักรพรรดิ)

    2112 - 2133 (21 ปี)

    สุโขทัย(พระร่วง)

    19

    สมเด็จพระนเรศวรมหาราช (พระราชโอรสพระมหาธรรมราชา)

    2133 - 2148 (15 ปี)

    สุโขทัย (พระร่วง)

    20

    สมเด็จพระเอกาทศรถ (พระราชโอรสพระมหาธรรมราชา)

    2148 - 2163 (15 ปี)

    สุโขทัย (พระร่วง)

    21

    พระศรีเสาวภาคย์ (พระราชโอรสพระเอกาทศรถ)

    2163 - 2164 (1 ปี)

    สุโขทัย (พระร่วง)

    22

    สมเด็จพระเจ้าทรงธรรม (พระราชโอรสพระเอกาทศรถ)

    2164 - 2171 (7 ปี)

    สุโขทัย (พระร่วง)

    23

    สมเด็จพระเชษฐาธิราช (พระราชโอรสพระเจ้าทรงธรรม)

    2171-2172 (2 ปี)

    สุโขทัย (พระร่วง)

    24

    พระอาทิตยวงศ์ (พระราชโอรสพระเจ้าทรงธรรม)

    2172 (36 วัน)

    สุโขทัย (พระร่วง)

    25

    สมเด็จพระเจ้าปราสาททอง (ออกญากลาโหมสุริยวงค์)

    2172 - 2198 (26 ปี)

    ปราสาททอง

    26

    สมเด็จเจ้าฟ้าไชย (พระราชโอรสพระเจ้าปราสาททอง)

    2198-2199 (1 ปี)

    ปราสาททอง

    27

    สมเด็จพระศรีสุธรรมราชา (พระราชอนุชาพระเจ้าปราสาททอง)

    2199 (3 เดือน)

    ปราสาททอง

    28

    สมเด็จพระนารายณ์มหาราช (พระราชโอรสพระเจ้าปราสาททอง)

    2199 - 2231 (32 ปี)

    ปราสาททอง

    29

    สมเด็จพระเพทราชา

    2231 - 2246 (15 ปี)

    บ้านพลูหลวง

    30

    สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8 (พระเจ้าเสือ)

    2246 - 2251 (6 ปี)

    บ้านพลูหลวง

    31

    สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 9 (พระราชโอรสพระเจ้าเสือ)

    2251 - 2275 (24 ปี)

    บ้านพลูหลวง

    32

    สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ (พระราชโอรสพระเจ้าเสือ)

    2275 - 2301 (26 ปี)

    บ้านพลูหลวง

    33

    สมเด็จพระเจ้าอุทุมพร (พระราชโอรสพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ)

    2301 (2 เดือน)

    บ้านพลูหลวง

    34

    สมเด็จพระที่นั่งสุริยาสน์อมรินทร์ (พระเจ้าเอกทัศ) (พระราชโอรสพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ)

    2301 - 2310 (9 ปี)

    บ้านพลูหลวง

    6.  ชีวิตความเป็นอยู่และประเพณีบางอย่างของคนสมัยอยุธยา

    การก่อรูปสังคมนั้น โดยทั่วไปย่อมเป็นหมู่บ้านตามที่อุดมสมบูรณ์พอจะเพาะปลูกเพื่อยังชีพได้ เช่น บริเวณลุ่มแม่น้ำ ลักษณะการก่อรูปของสังคมไทยโบราณก็เป็นไปลักษณะนี้

    1. บ้านเรือนสมัยอยุธยา สร้างเป็นหลังขนาดย่อมๆ 

    2. ผู้หญิงต้องรับผิดชอบต่อครอบครัวมากกว่าผู้ชาย 

    3. ชอบเล่นการพนันกันอย่างกว้างขวาง 

    4. ชอบสูบยาเส้น และสูบกันอย่างกว้างขวาง 

    5. นิยมให้ลูกชายได้ศึกษาเล่าเรียนโดยใช้วัดเป็นสถานศึกษา

    กรุงศรีอยุธยาตั้งอยู่บนเกาะเล็ก ๆ ล้อมรอบด้วยแม่น้ำ พื้นที่รอบนอกเป็นที่ราบแผ่ออกไปทั่วทุกทิศ กำแพงเมือง สร้างด้วยหิน วัดโดยรอบได้ 2 ไมล์ฮอลันดา นับว่าเป็น นครหลวงที่กว้างขวางใหญ่โตมาก ภายในพระนคร มีวัดวาอาราม สร้างอยู่ติด ๆ กัน มีประชาชนพลเมือง อาศัยอยู่หนาแน่น ในตัวเมืองมีถนนสร้างตัดตรง  และยาวมาก มีคลองที่ขุดเชื่อมต่อจากแม่น้ำเข้ามาในตัวเมือง ทำให้สะดวกแก่การสัญจรไปมาได้อย่างทั่วถึง

              นอกจากถนนหลัก และคลองหลักแล้ว ยังมีตรอกซอย แยกจากถนนใหญ่ และคูเล็กแยกจากคลองใหญ่ ทำให้ในฤดูน้ำ บรรดาเรือพายทั้งหลาย สามารถไปได้ถึงหัวกะไดบ้าน

    บ้านที่อยู่อาศัยสร้างตามแบบอินเดีย แต่หลังคา มุงด้วยกระเบื้อง บรรดาโบสถ์ วิหาร ซึ่งมีจำนวนมากกว่า 300 แห่ง ได้   ก่อสร้างขึ้น อย่างวิจิตรพิสดาร บรรดาพระปรางค์ เจดีย์ และรูปปั้น รูปหล่อ ซึ่งมีอยู่มากมายใช้ทองฉาบเหลืองอร่าม นับว่าเป็นมหานครที่โอ่อ่า มีผังเมืองที่ วางไว้อย่างเป็นระเบียบ ตั้งอยู่ในทำเลที่เหมาะสม อยู่ในภูมิฐานที่ดีและมั่นคง ยากที่ข้าศึกจะโจมตีได้โดยง่ายเพราะในทุกปีจะมีน้ำท่วมถึง 6 เดือน ทั่วพื้นที่นอกกำแพงเมือง ทำให้ข้าศึก ไม่สามารถตั้งทัพอยู่ได้  

      บรรดาถิ่นฐานที่อยู่ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา และยังดำรงคงอยู่จนถึงปัจจุบัน ได้แก่ตลาดขวัญ ปากเกร็ด บ้านกระแซง สามโคก บางไทร บางปะอิน หัวรอและหัวแหลม เป็นต้น สำหรับย่านชุมชนทั้งในและนอกพระนครมีหมู่บ้านของชาวต่างประเทศที่เข้ามาทำมาค้าขายกับกรุงศรีอยุธยา ร้านค้า และตลาดของ ชาวต่างประเทศเท่าที่ปรากฏหลักฐานก็มี ร้านไทยมอญ ตลาดมอญพม่า ตลาดจัน พวกนี้อยู่ในพระนคร ที่อยู่นอกพระนครก็มี ตลาดบ้านญี่ปุ่น และหมู่บ้านแขก แถบคลองตะเคียน เป็นต้น

    นอกจากนั้นยังมีพวกเลกที่เป็นข้าทูลละอองธุลีพระบาท ก็ได้รับโปรดเกล้า ฯ ให้อยู่อาศัยรวมกันเป็นย่าน เพื่อทำการผลิตสิ่งของต่าง ๆ ตามที่มีพระราชประสงค์ เท่าที่มีหลักฐานมีอยู่ดังนี้

    ย่านสัมพะนี ย่านนี้จะผลิตน้ำมันงา น้ำมันลูกกระเบา ทำฝาเรือนไม้ไผ่กรุ ทำมีดพร้า และหล่อครกเหล็ก เป็นสินค้าออกขาย

    ย่านเกาะทุ่งขวัญ แบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม คือ บ้านปั้นหม้อ บ้านทำกระเบื้อง บ้านศาลาปูน (เผาปูน) และบ้านเขาหลวงจีน ตั้งโรงต้มเหล้า เป็นสินค้าออกขาย

    ย่านเกาะทุ่งแก้ว แบ่งออกเป็น 7 กลุ่ม มีอาชีพหล่อเต้าปูนทองเหลือง ปั้นตุ่มนางเลิ้ง เลื่อยไม้กระดาน ทำตะปูเหล็ก ทำแป้งหอมน้ำมันหอม ธูปกระแจะ ปั้นกระโถนตะคันช้างม้าตุ๊กตา และบ้านโรงฆ้องนำกล้วยมาบ่มเป็นสินค้าออกขาย

    เศรษฐกิจในสมัยอยุธยา

                    ในสมัยอยุธยา ประชาชนทั่วราชอาณาจักรมีความเป็นอยู่พึ่งตนเองสูง โดยต่างผลิตสิ่งที่จำเป็นในการครองชี วิตขึ้นเองเกือบทุกชนิด จนกล่าวกันติดปากว่า หมดหน้านาผู้หญิงทอผ้า ผู้ชายตีเหล็ก ดังนั้น ผลิตผลในครัวเรือน นับตั้งแต่ข้าวปลาอาหาร เสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่ม สิ่งของเครื่องใช้ในครัวเรือน ตลอดจนเครื่องมือต่างๆ จึ งเป็นสิ่งที่ผลิตขึ้นเองเกือบทั้งสิ้น บรรดาอาหารและสิ่งต่างๆ ที่ผลิตขึ้นเพื่อบริโภคเองในครอบครัว เมื่อเหลือจากความต้องการแล้วก็นำไปแลกเปลี่ยนกับสินค้าอื่นที่ต้องการ หรือขาย ลักษณะของการแลกเปลี่ยนนี้ได้ส ะท้อนออกมาจากคำร้องในการละเล่นว่า “...มีมะกรูด มาแลกมะนาว มีลูกสาว มาแลกลูกเขย   เอาวะเหวย                                               ลูกเขยของเรา ตะลาลา... นี้ ทำให้ความต้องการใช้เงินตรามีน้อย และมีผลโดยตรงทำให้ปริมาณเงินตราที่ หมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจสมัยอยุธยามีน้อยตามไปด้วย

                    ในด้านการผลิตนั้น ด้วยสภาพของดินอันอุดมไปด้วยปุ๋ยธรรมชาติที่กระแสน้ำสำคัญ 3 สาย คือ  แม่น้ำเจ้า พระยา แม่น้ำป่าสัก และแม่น้ำลพบุรี พัดพามาเป็นประจำทุกปี เมื่อประกอบกับน้ำฝนที่มีปริมาณมากแล้ว การทำมาหาเลี้ยงชีพด้วยการเกษตร โดยเฉพาะการทำนาปลูกข้าว  จึงเป็นอาชีพสำคัญของผู้คนในสมัยนั้น การทำนาอาศัยแรงงานของสมาชิกในครอบครัวและสัตว์พาหนะที่เลี้ยงไว้ ทั้งมีวิธีทำนาตามแบบดั้งเดิม โดยทางการไม่ได้เข้ามามีบทบาทในการปรับปรุงให้ดีขึ้น แม้เช่นนั้น ด้วยความอุดมสมบูรณ์ของพื้นดินความ กว้างใหญ่ของพื้นที่ทำนา ทำให้อยุธยาสามารถผลิตข้าวเป็นจำนวนมากพอเลี้ยงประชากรได้ทั้งหมด แล้วยังมีเหลือมากพอที่ทางการส่งเป็นสินค้าออกไปขายต่างประเทศมาตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนต้นอีกด้วย
                    นอกจากข้าวแล้ว ยังมีการปลูกพืชผักผลไม้นานาชนิดไว้บริโภคเอง ซึ่งพืชบางชนิดก็ปลูกได้มากจนทางการสามารถส่งออกเป็นสินค้าได้เช่นกัน ได้แก่ หมาก มะพร้าว น้ำมันมะพร้าว ฝ้าย น้ำตาล พริกไทย เป็นต้น
                    สำหรับปัจจัยสำคัญในการผลิต ได้แก่ “ที่ดิน” นั้น โดยลักษณะของกฎหมายในสมัยอยุธยา ที่ดินทั้งหมดเป็นของพระเจ้าแผ่นดิน ประชาชนเป็นผู้อาศัยและทำกิน ดังปรากฏในพระไอยการเบดเสรจว่า...

                    “...ที่ในแว่นแคว้นกรุงเทพพระมหานครศรีอยุธยามหาดิลกภพนพรัตน์ราชธานีบุรีรมย์ เปนที่แห่งพระเจ้าอยู่หัว  หากให้ราษฎรทั้งหลายผู้เปน ข้าแผ่นดิน จะได้เปนที่ราษฎรหามิได้...” ดังนั้น โดยแท้จริงแล้ว ประชาชนจึงไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดิน และแม้ว่าจะขาย สืบมรดก จำนอง จำนำ ที่ดินที่ได้ก็ตาม แต่ก็เป็นเพียงโอนกรรมสิทธิ์การใช้ที่ดินแก่กันเท่านั้น ทางการยังคงมีสิทธิเรียกคืนได้ทุกเมื่อ แต่ตราบใดที่ประชาชนยังคงทำป ระโยชน์บนผืนดินเป็นประจำทุกปีแล้ว ก็ยังคงมีสิทธิในที่ดินผืนนั้นได้ต่อไปตราบเท่าที่ทางการยังไม่เรียกคืน โดยมีข้อผูกพันว่าจะต้องจ่ายภาษีหรือที่เรียกว่า อากรค่านา ให้แก่ทางการ ส่วนจำนวนที่ดินที่แต่ละครอบครัวจะใช้ทำประโยชน์ได้นั้น ต่างก็จะครองสิทธิทำกินบนผืนดินเท่าที่จะ อยู่ในวิสัยที่มีกำลังจะทำได้เท่านั้น เนื่องจากผืนดินที่เจ้าของทั้งร้างไปหลายปีแล้ว ผู้ที่ต้องการจะเข้าทำประโยชน์ย่อมถือสิทธิเข้าไปทำแทนได้ ดังนั้น ตามนัยของกฎหมายในสมัยอยุธยาแล้วที่ดินจึงมิใช่สินค้าที่แท้จริง

    http://haab.catholic.or.th/history/history04/ayuttya5/APac_.jpg

    การลงแขกเกี่ยวข้าว
     ยังมีให้เห็นที่อยุธยาปัจจุบัน

                    ประชาชนในสมัยอยุธยา นอกจากทำนาทำไร่ ผลิตเสื้อผ้าอาหารเพียงเพื่อการบริโภคในครัวเรือนแล้ว ยามว่างจากงานในไร่นายังหาผลิตผลจากป่าในฤดูแล้งอีกด้วย ผลิตผลจากป่านี้ เป็นส่วนเกินจากการผลิตเพื่อการยังชีพดังกล่าวแล้ว โดยอาจจะมีรายได้เพิ่มขึ้นบ้าง และการเก็บผลิตผลจากป่าเกือบทั้งหมดเป็นการแสวงหาเพื่อเป็น “ส่วย” ให้แก่ทางการ ส่วยจึงเป็นภาษีที่เก็บจากประชาชนที่อาศัยอยู่ห่างไกลไม่สะดวกแก่การเดินทางไปทำงาน เมื่อถูกเกณฑ์แรงงานตามระบบไพร่ ทางการจะเป็นผู้กำหนดชนิดของส่วยตามแต่ว่ าเมืองใดผลิตอะไรที่สำคัญ และทางการมีความต้องการผลิตผลนั้นด้วย ส่วยจึงมีอยู่หลายชนิด กระจายอยู่ทั่วราชอาณาจักรที่สำคัญได้แก่ ไม้หอม ไม้จันทน์ ไม้ฝาง รัก ผลเรว หนังสัตว์ แร่ธาตุ ทองคำ ดีบุก ตะกั่ว เป็นต้น ส่วยพวกนี้บางชนิดได้กลายเป็นสินค้าออกของอยุธยามาตั้งแต่ต้นเช่นกันและทวีความสำคัญมากขึ้นเมื่อการค้าต่างประเทศเฟื่องฟูขึ้นในสมัยอยุธยาตอนกลาง
                    นอกจากการเพาะปลูกแล้ว ประชาชนมีการผลิตและการค้าเช่นกัน โดยเฉพาะประชาชนที่อาศัยอยู่ตามเมืองใหญ่ๆ ซึ่งไม่ได้ผลิตอาหารและสิ่งต่างๆ ขึ้นเอง ตามคำให้การของขุนหลวงวัดประดู่ทรงธรรม ปรากฏว่า ในอยุธยามีการประกอบกิจกรรมขนาดเล็ก ได้แก่ โรงสกัดน้ำมัน โรงตีเหล็ก โรงต้มกลั่นสุรา โรงเครื่องปั้นดินเผา โรงสีข้าวด้วยมือ โรงเลื่อย เป็นต้น ส่วนสถานที่ค้าขายนั้น มีตลาดน้ำรอบตัวเกาะเมืองอยุธ ยาขนาดใหญ่ 4 แห่ง ตลาดนอกเมืองขนาดใหญ่ 30 แห่ง ย่านการค้านอกเมือง 52 แห่ง เป็นที่ค้าขาย ด้วยสภาพดังสรุปได้ว่า การค้าขายมีความคึกคักเฉพาะในบริเวณเมืองใหญ่เท่านั้น  ส่วนการค้าภายในอาณาจักรนั้น   เนื่องจากประชาชนในสมัย อยุธยายังอยู่ในระบบเศรษฐกิจแบบพอยังชีพ จึงทำให้การค้าภายในระหว่างหัวเมืองมีน้อย  เป็นลักษณะพ่อค้าจากต่างเมืองนำสินค้าเข้ามาขาย ในกรุง และเป็นการค้าขนาดเล็กเพียงพอแก่ความต้องการตามพื้นฐานการครองชีพเท่านั้น
                    แรงงานของประชาชนนอกจากจะใช้ไปในการผลิตเพื่อการครองชีพแล้ว ยังถูกเกณฑ์แรงงานไปใช้ในกิจการของทางการด้วย ไม่ว่าจะถูกเกณฑ์ เป็นไพร่พลกองทัพยามสงคราม หรืองานอื่นๆ ของเจ้าขุนมูลนาย รวมทั้งงานพิเศษ เช่น งานขุดคลอง ทำถนน สร้างป้อม สร้างวัง สร้างกำแพงอีกด้วย ระบบการเกณฑ์แรงงานนี้เรียกกันว่า “ระบบไพร่” กล่าวคือ สามัญชนชายหญิงที่มิได้เป็นเจ้านาย ขุนนาง พระสงฆ์  หรือเป็นทาสแล้ว จะต้องถูกเกณฑ์แรงงานตั้งแต่อายุประมาณ 18-20 ปี ไปจนถึงประมาณ 60-70 ปี  ผู้ที่สักเลกมีสังกัดจัดว่าเป็นไพร่หลวงจะต้องผลัดกันไป ทำงานเดือนเว้นเดือนให้แก่ทางการโดยไม่ได้รับค่าจ้าง เรียกว่า “เข้าเดือนออกเดือน” นอกจากนี้ยังอาจถูกเกณฑ์แรงงานไปทำงานโยธาอื่นๆ ได้อีก ซึ่งไพร่จะต้องนำอาหารและเครื่องมือของตนเองไปใช้ในงานที่ถูกเกณฑ์นั้น กรณีที่ไพร่อาศัยอยู่ห่างไกลหรือทางการไม่ต้องการแรงงานก็จัดเป็น “ไพร่ส่วย” มีหน้าที่ต้องจัดหาสิ่งของที่ทางการต้องการส่งมาเป็นส่วยแทนการถูกเกณฑ์แรงงานดังกล่าวแล้ว  ถ้าเป็นไพร่ที่จัดให้ไปทำงานที่บ้านมูลนายที่เรียกว่า ไพร่สม นั้น จะต้องไปทำงานในที่ดินของมูลนายซึ่งมีได้ตามสิทธิที่ได้รับพระราชทานในระบบศักดินา

     

    สมัยอยุธยาตอนปลาย ราชวงศ์ปราสาททองสิ้นสุดลงเมื่อพระเพทราชา ขุนนางผู้ใหญ่คุมกำลังเข้ายึดอำนาจสถาปนาราชวงศ์ใหม่ คือราชวงศ์บ้านพลูหลวง เมื่อ พ.ศ.2231 ซึ่งเป็นราชวงศ์สุดท้ายแห่งอาณาจักรอยุธยา ถึงแม้ว่าพระมหากษัตริย์ในสมัยอยุธยาจะทรงมีพระราชอำนาจสูงส่ง แต่มีข้อจำกัดอยู่หลายประการที่ทำให้การสืบราชสมบัติมิได้เป็นไปอย่างปกติ กล่าวคือ ถ้าพระมหากษัตริย์องค์ใดยังทรงพระเยาว์ไม่ทรงพระปรีชาสามารถหรือขาดกำลัง ผู้คนสนับสนุน ก็มักถูกเจ้านายหรือขุนนางเข้าช่วงชิงราชบัลลังก์ได้โดยง่าย จึงเกิดกบฎแย่งชิงตำแหน่งพระมหากษัตริย์บ่อยครั้ง และเป็นสาเหตุสำคัญข้อหนึ่งแห่งความเสื่อมอำนาจของอาณาจักรอยุธยา

                     การปกครองในสมัยอยุธยาเปลี่ยนรูปจากการปกครอง แบบพ่อปกครองลูกในสมัยสุโขทัย มาเป็นแบบ เจ้ากับข้า หรือ นายกับบ่าว ทั้งนี้เพราะอยุธยารับประเพณีการปกครองแบบขอม ซึ่งขอมได้รับคติการปกครองมาจากอินเดียอีกทอดหนึ่ง โดยถือว่าพระมหากษัตริย์ทรงเป็นแบบ สมมติเทพ หรือ เทวราชา ตามคติของศาสนาพราหมณ์

                    นอกจากนี้ไทยยังรับคัมภีร์พระธรรมศาสตร์มาจากมอญ ซึ่งมอญดัดแปลงมาจากคัมภีร์มนูธรรมศาสตร์ของอินเดียอีกทอดหนึ่ง ในคัมภีร์นี้ยกย่องพระมหากษัตริย์เป็นเทวราชาเช่นเดียวกัน ประชาชนจึงต้องถวายความเคารพต่อพระองค์ในฐานะนายกับบ่าว

    อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าพระมหากษัตริย์ในสมัยอยุธยาจะทรงมีพระราชอำนาจเด็ดขาด ทรงเป็น เจ้าชีวิต และ เจ้าแผ่นดิน แต่พระองค์ก็ทรงยึดมั่นในพระพุทธศาสนานิกายเถรวาท ลัทธิลังกาวงศ์ เช่นเดียวกับสมัยสุโขทัยทรงเป็นพุทธมามกะ ทรงปกครองบ้านเมืองแบบธรรมราชา

         หลักธรรมที่พระมหากษัตริย์ทรงยึดปฏิบัติ คือทศพิธราชธรรม มี 10 ประการ ได้แก่

    1. ทานํ - ให้ทรัพย์สิ่งของแก่ผู้ที่ควรได้รับ

    2. สีลํ - รักษากาย วาจา ใจ ให้ปราศจากโทษ

    3. ปริจฺจาคํ - การเสียสละเพื่อประโยชน์สุขของส่วนรวม

    4. อาชฺชวํ - ความเป็นผู้อัธยาศัย ประกอบด้วยความซื่อตรงตั้งมั่นอยู่ใน ความสุจริต

    5. มทฺทวํ - มีอัธยาศัยอ่อนโยน ไม่ดื้อดึง ดูถูกผู้อื่น

    6. ตปํ - พยายามกำจัดความเกียจคร้าน มุ่งทำกิจอันเป็นหน้าที่ให้ ครบครัน

    7. อกฺโกธํ - ไม่แสดงความโกรธให้ปรากฎ ไม่พยาบาทมุ่งร้ายผู้อื่น

    8. อวิหิสญฺจํ - ไม่เบียดเบียนประชาชนให้ได้รับความทุกข์ยาก

    9. ขนฺติญฺจ - อดทนต่อความโลภ โกรธ หลง และความยากลำบาก

    10. วิโรธนํ – ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความยุติธรรม

    กฎหมาย กฎหมายที่ประกาศใช้ในสมัยอยุธยามี 2 ลักษณะ คือ

         1) พระธรรมศาสตร์ เป็นกฎหมายแม่บท มีรากฐานมาจากคัมภีร์ธรรมสัตถัมของมอญ ซึ่งมอญได้รับอิทธิพลจากคัมภีร์มนูญศาสตร์ของอินเดียอีกทอดหนึ่ง โดยเลือกเอาเฉพาะหลักสำคัญอันเป็นตัวบทกฎหมายแท้ๆ ที่นำมาปรับเกี่ยวกับพุทธศาสนาได้

         2) พระราชศาสตร์ เป็นกฎหมายย่อย ตราขึ้นโดยใช้พระธรรมศาสตร์เป็นหลัก พระมหากษัตริย์ทรงมีพระราชอำนาจในการตราพระราชศาสตร์เพื่อให้เหมาะสมกับประเพณีปฏิบัติ และสถานการณ์ที่แตกต่างไปในแต่ละสมัย ด้วยเหตุนี้กฎหมายไทยจึงมีทั้งสองลักษณะ คือพระธรรมศาสตร์และพระราชศาสตร์ควบคู่กันไปด้วย

         การศาล วิธีการพิจารณาและพิพากษาคดีในสมัยอยุธยา คงถือประเพณีโบราณว่าพระมหากษัตริย์ทรงเป็นผู้พิพากษาสูงสุด แต่ใช้วิธีที่เอาแบบของอินเดียมาผสมกับแบบไทย เป็นลักษณะที่แตกต่างไปจากประเทศอื่น โดยแยกหน้าที่ออกเป็น 2 ฝ่าย และใช้บุคคล 2 จำพวกเป็นพนักงาน คือ

         1) ข้าราชการไทยมีหน้าที่รับฟ้อง พิจารณาคดีตลอดจนปรับสินไหมลงโทษผู้กระทำความผิด

         2) ลูกขุน ศาลหลวง คือ พราหมณ์ผู้เชี่ยวชาญพระธรรมศาสตร์หน้าที่ตรวจสำนวนชี้ตัวบทกฎหมาย แล้วตัดสินว่าฝ่ายใดผิดหรือชอบ แต่มิได้มีอำนาจในการบังคับบัญชาคดีในโรงศาล ซึ่งถือว่าเป็นหน้าที่ของฝ่ายข้าราชการไทย

        ในกรณีที่คู่ความคนใดไม่พอใจในคำพิพากษา อาจถวายฎีกาต่อพระมหากษัตริย์ได้ แต่การถวายฎีกาก็ทำไม่ได้ง่ายนัก ทั้งนี้เพื่อป้องกันมิให้ถวายฎีกาพร่ำเพรื่อจนเกินไปนัก ระเบียบการศาลดังกล่าวนี้ได้ใช้ปฏิบัติกันเรื่อยมาจนถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงได้มีการปฏิรูประบบกฎหมายและการศาลไทยตามแบบประเทศตะวันตก

    โทษประหาร

                     ในสมัยกรุงศรีอยุธยา อาณาจักรที่รุ่งเรืองที่สุดอีกยุคสมัยหนึ่งของไทยเรา พบว่า มีการตราบทลงโทษขั้นรุนแรงที่สุดคือ โทษประหารชีวิตเอาไว้ในพระไอยการกระบถศึก ซึ่งเป็นกฎหมายที่ตราขึ้นในสมัยสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 และมีการแก้ไขเพิ่มเติมในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ก่อนจะมีการแก้ไขเพิ่มเติมอีกครั้งในสมัยสมเด็จพระเอกาทศรถ แต่กฎหมายฉบับนี้มิได้มีการแก้ไขในบทลงโทษความผิดขั้นประหารชีวิตและวิธีการประหารชีวิตเลยแม้แต่น้อย คือยังคงลักษณะเดิมไว้แต่ครั้งการตราขึ้นในสมัยสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 ทุกประการ

         วิธีการประหารชีวิตตามพระไอยการกระบถศึก บันทึกและอธิบายเอาไว้อย่างละเอียดถึงวิธีการลงโทษประหาร 21 วิธีหรือ 21 สถาน ดังนี้

    - สถาน 1 คือ ให้ต่อยกระบานศีศะ (กบาลศีรษะ) เลิกออก (เปิดออก) เสียแล้ว เอาคีมคีบก้อนเหล็กแดงใหญ่ใส่ลงไปในมันสะหมอง (มันสมอง) ศีศะพลุ่งฟู่ขึ้นดั่งม่อ (หม้อ) เคี่ยวน้ำส้มพะอูม

    - สถาน2 คือ ให้ตัดแต่หนังจำระ (จาก) เบื้องหน้าถึงไพรปากเบื้องบนทั้งสองข้างเป็นกำหนด ถึงหมวกหู (ใบหู) ทั้งสองข้างเป็นกำหนด ถึงเกลียวคอชายผมเบื้องหลังเป็นกำหนด ( หนังบริเวณคอถึงท้ายทอย) แล้วให้มุ่นกระหมวดผมเข้าทั้งสิ้น (ม้วนเข้าหากัน) เอาท่อนไม้สอดเข้าข้างละคน โยกคลอนสั่นเพิกหนังทั้งผมนั้นออกเสียแล้วเอากรวดทรายหยาบขัดกระบานศีศะชำระให้ขาวเหมือนพรรณศรีสังข์

    - สถาน 3 คือ ให้เอาขอเกี่ยวปากให้อ้าไว้ แล้ให้ตามประทีบ (ดวงไฟ) ไว้ในปาก ไนยหนึ่ง (นัยหนึ่ง) เอาปากสิวอันคมนั้นแสะแหวะผ่าปากจนหมวกหู (ใบหู) ทั้งสองข้าง แล้วเอาขอเกี่ยวให้อ้าปากไว้ให้โลหิตไหลออกเต็มปาก

    - สถาน 4 คือ เอาผ้าชุบน้ำมันพันให้ทั่วร่างกายแล้วเอาเพลิงจุด

    - สถาน 5 คือ เอาผ้าชุบน้ำมันพันนิ้วทั้งสิบนิ้วแล้วเอาเพลิงจุด

    - สถาน 6 คือ เชือดเนื้อให้เป็นแรงเป็นริ้วอย่าให้ขาดจากกัน ตั้งแต่ใต้คอลงไปถึงข้อเท้าแล้วเอาเชือกผูกจำ ให้เดินเหยียบริ้วเนื้อริ้วหนังแห่งตน ให้ฉุดคร่าตีจำให้เดินไปกว่าจะตาย

    - สถาน 7 คือ เชือดเนื้อให้เนื่องด้วยหนังเป็นแร่งเป็นริ้ว ตั้งแต่ใต้คอลงมาถึงเอวและให้เชือดตั้งแต่เอวให้เนื่องด้วยหนังเป็นแร้งเป็นริ้วลงมาถึงข้อเท้ากระทำหนังเบื้องบนให้คลุมลงมาเหมือนนุ่งผ้า

    - สถาน 8 คือ ให้เอาห่วงเหล็กสวมข้อศอกทั้งสองข้าง ข้อเข่าทั้งสองข้างให้มั่นแล้วเอาหลักสอดในวงเหล็กแย่งขึงตรึงลงไว้กับแผ่นดินอย่าให้ไหวตัวได้ แล้วเอาเพลิงรน (ลน) ให้รอบตัวจนกว่าจะตาย

    - สถาน 9 คือ ให้เอาเบ็ดใหญ่ที่มีคมสองข้างเกี่ยวทั่วร่างเพิก (เปิด) หนังเนื้อและเอ็นน้อยใหญ่ให้หลุดขาดออกมาจนกว่าจะตาย

    - สถาน 10 คือ ให้เอามีดที่คมเชือดเนื้อให้ตกออกจากกายแต่ทีละตำลึง(นำเนื้อมาชั่งให้ได้น้ำหนักหนึ่งตำลึง:มาตราวัดสมัยโบราณ) จนกว่าจะสิ้นมังสา (เนื้อ)

    - สถาน 11 คือ ให้แล่สับทั่วร่างแล้ว เอาแปรงหวีชุบน้ำแสบกรีดครูดขูดเสาะหนังและเนื้อแลเอ็นน้อยใหญ่ให้ลอกออกให้สิ้นให้อยู่แต่ร่างกระดูก

    - สถาน 12 คือ ให้นอนลงโดยข้างๆ หนึ่งแล้วให้เอาหลาวเหล็กตอกลงไปโดยช่องหูให้แน่นกับแผ่นดินแล้วจับขาทั้งสองข้างหมุนเวียนไปดังบุคคลทำบังเวียน ( เวียนเทียน)

    - สถาน 13 คือ ทำมิให้หนังพังหนังขาด แล้วเอาลูกสีลา (ลูกหิน) บดทุกกระดูกให้แหลกย่อย แล้วรวบผมเข้าทั้งสิ้น ยกขึ้นหย่อนลงกระทำให้เนื้อเป็นกองเป็นลอม แล้วพับห่อเนื้อหนังกับทั้งกระดูกนั้นทอดวางไว้ดั่งตั่งอันทำด้วยฟางซึ่งเอาไว้เช็ดเท้า

    - สถาน 14 คือ ให้เคี่ยวน้ำมันให้เดือดพลุ่งพล่าน แล้วลาดสาดลงมาแต่ศีศะ ( ศีรษะ) จนกว่าจะตาย

    - สถาน 15 คือ ให้กักขังสุนัขร้ายทั้งหลายไว้ อดอาหารหลายวันให้เต็มอยากแล้วปล่อยให้กัดทึ้งเนื้อหนังกินให้เหลือแต่ร่างกระดูกเปล่า

    - สถาน 16 คือ ให้เอาขวานผ่าอกทั้งเป็นแหกออกดั่งโครงเนื้อ

    - สถาน 17 คือ ให้แทงด้วยหอกทีละน้อยๆ จนกว่าจะตาย

    - สถาน 18 คือ ให้ขุดหลุมฝังเพียงเอว แล้วเอาฟางปกลงคลุมร่างก่อนคลอกด้วยเพลิงพอหนังไหม้แล้วไถด้วยไถเหล็ก ให้เป็นท่อนน้อยท่อนใหญ่เป็นริ้วน้อยริ้วใหญ่

    - สถาน 19 คือ ให้เชือดเนื้อล่ำออกทอดด้วยน้ำมัน เหมือนทอดขนมให้กินเนื้อตัวเองจนกว่าจะตาย

    - สถาน 20 คือ ให้ตีด้วยตะบองสั้นตะบองยาวจนกว่าจะตาย

    - สถาน 21 คือ ตีด้วยหวายที่มีหนามจนกว่าจะตาย

    3.  การกระจายการปกครอง

    การปกครองสมัยอยุธยาตอนต้น

       1. การปกครองส่วนกลาง

               พระมหากษัตริย์ ปกครองแบบรวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลาง  คือจตุสดมภ์

    จตุสดมภ์   แบ่งเป็น

      กรมเวียง    -   มี   ขุนเวียง เป็นผู้ดูแล  มีหน้าที่  รักษาความสงบสุขของราษฏร

      กรมวัง       -   มี   ขุนวัง  เป็นผู้ดูแล    เป็นหัวหน้าฝ่าย ราชสำนักการพิจารณาพิพากษาคดี

     กรมคลัง      -   มี   ขุนคลัง เป็นผู้ดูแล  มีหน้าที่รักษาผลประโยชน์ของแผ่นดินที่ได้จากการเก็บส่วยอากร

      กรมนา       -   มี   ขุนนา  เป็นเจ้าหน้าที่ดูแลการทำไร่ นา และสะสมเสบียงอาหารของ พระนคร

      2. การปกครองหัวเมือง

               อยุธยาเป็นเมืองหลวง   เป็นจุดของศูนย์รวมอำนาจการปกครอง    ล้อมรอบด้วยเมืองลูกหลวง ประกอบด้วย ทิศเหนือ  เมืองลพบุรี    ทิศตะวันออก  เมือง นครนายก   ทิศใต้ เมือง นครเขื่อนขันธ์   และทิศตะวันตก เมือง สุพรรณบุรี

               ถัดออกมาคือ หัวเมืองชั้นใน  ได้แก่   สิงห์บุรี ปราจีนบุรี  ชลบุรี และเพชรบุรี   และเมืองประเทศราช เช่น เมือง นครศรีธรรมราชและเมืองพิษณุโลก

     

     


     


    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×