ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    รวมเรื่องมหัศจรรย์ ความ(ไม่)ลับ ของศัพท์สังคม

    ลำดับตอนที่ #1 : ประวัติศาสตร์เบื้องต้น

    • อัปเดตล่าสุด 9 มิ.ย. 56


    ประวัติศาสตร์ : การนับเวลา

                    การศึกษาเรื่องราวและพฤติกรรมของสังคมมนุษย์ในอดีต ที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาและยุคสมัยต่าง ๆ กัน ประวัติศาสตร์จึงให้ความสำคัญกับช่วงเวลา เนื่องจากประวัติศาสตร์มีแนวคิดที่ว่า เวลาเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้สังคมมีความเปลี่ยนแปลง เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาหนึ่งย่อมจะมีความแตกต่างกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอีกช่วงเวลาหนึ่ง เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นก่อนย่อมเป็นเหตุและจะมีผลต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นภายหลัง คุณค่าที่สำคัญต่างประวัติศาสตร์ คือการสร้างความตระหนักว่า อดีตเป็นบทเรียนที่สำคัญสำหรับปัจจุบันและอนาคต การที่ผู้ศึกษาประวัติศาสตร์มีความรู้พื้นฐานด้านการนับเวลาย่อมจะทำให้การศึกษาเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ได้ดีขึ้น

    -          การนับเวลาแบบไทย

    เป็นวิธีการนับที่มีมาตั้งแต่สมัยโบราณปรากฏในเอกสารประวัติศาสตร์ไทยเก่า ๆ จึงควรทำความเข้าใจวิธีการอ่าน เพื่อนำข้อมูลมาใช้ในการศึกษาประวัติศาสตร์

    1.       การนับเวลาในรอบวัน

    เวลา

    เรียกตามแบบไทย

    06.00 น.

    ย่ำรุ่ง

    07.00 น.

    โมงเช้า

    08.00 น.

    สองโมงเช้า

    09.00 น.

    สามโมงเช้า

    10.00 น.

    สี่โมงเช้า

    11.00 น.

    ห้าโมงเช้า

    12.00 น.

    เที่ยง

    13.00 น.

    บ่ายโมง

    14.00 น.

    บ่ายสองโมง

    15.00 น.

    บ่ายสามโมง

    16.00 น.

    บ่ายสี่โมง

    17.00 น.

    บ่ายห้าโมง

    18.00 น.

    ย่ำค่ำ หรือ หกโมงเย็น

    19.00 น.

    หนึ่งทุ่ม หรือ เจ็ดทุ่ม

    20.00 น.

    สองทุ่ม หรือ แปดทุ่ม

    21.00 น.

    สามทุ่ม หรือ เก้าทุ่ม

    22.00 น.

    สี่ทุ่ม หรือ สิบทุ่ม

    23.00 น.

    ห้าทุ่ม หรือ สิบเอ็ดทุ่ม

    24.00 น.

    สองยาม

    01.00 น.

    ตีหนึ่ง

    02.00 น.

    ตีสอง

    03.00 น.

    ตีสาม

    04.00 น.

    ตีสี่

    05.00 น.

    ตีห้า

     

     












































     

    2.  การนับและการเทียบศักราชในประวัติศาสตร์สากล

                ในการศึกษาประวัติศาสตร์และเรื่องราวในอดีตย่อมต้องเกี่ยวข้องกับเวลา ซึ่งแต่ละท้องถิ่นหรือภูมิภาคนั้นมีความแตกต่างกัน ผู้ศึกษาจึงจำเป็นต้องมีความรู้ในเรื่องของการนับเวลา เทียบเวลา จะช่วยลดความคลาดเคลื่อนของการศึกษาอดีตได้

                2.1  การนับและการเทียบศักราชของโลกตะวันตก

                ชาวตะวันตกในช่วงหนึ่งได้รับอิทธิพลของระบบปฏิทินโรมันโบราณ คือ ปฏิทินเกรกอเรียน ที่เริ่มใช้ครั้งแรกโดยการประกาศของสันตะปาปาเกรกอรีที่ 13 เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1582  ซึ่งถูกคิดค้นมาใช้แทนปฏิทินจูเลียน ( ตั้งชื่อตามนามของจูเลียส ซีซาร์ ) เพราะปฏิทินจูเลียนซึ่งมี 365.25 มีเวลานานกว่าวันจริงที่มี 365.2425 ทำให้วันคลาดเคลื่อนไป ปีหนึ่ง ๆ มีเวลานานเกินไปถึง 11 นาที 14 วินาที เท่ากับว่าทุก 400 ปี จะมีวันเพิ่มขึ้น 3 วัน จึงทำปฏิทินขึ้นใหม่ ในครั้งแรกของการปรับวัน จำนวนวันได้ถูกร่นหายไป 10 วัน โดยสันตะปาปาเกรกอรีที่ 13 ที่กำหนดให้วันรุ่งขึ้นจากวันที่ 4 ตุลาคม ค.ศ. 1582 ตามปฏิทินจูเลียน กลายเป็นวันที่ 15 ตุลาคม ค.ศ. 1583 ตามปฏิทินเกรกอเรียน เริ่มแรกมีแต่ประเทศเพื่อนบ้านที่นับถือคริสต์ศาสนานิกายโรมันคาทอลิกเท่านั้นที่ใช้ปฏิทินเกรกอเรียน ต่อมาอังกฤษเริ่มใช้เมื่อ ค.ศ. 1752 โดยประกาศให้หลังวันที่ 2 กันยายน เป็น 14 กันยายน ส่วนกรีซเริ่มใช้เมื่อ ค.ศ. 1923

     

                หลังจากนั้นก็เกิดการนับคริสต์ศักราชขึ้น ซึ่งต่อมานิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย เริ่มนับในปีที่พระเยซูถือกำเนิดเป็นปี่ที่ 1 หรือ  A.D. หรือ ค.ศ. ( Christian Era และ Anno Domini เรียกเป็นภาษาอังกฤษและภาษาละตินตามลำดับ แปลว่า ปีแห่งพระเจ้า) ส่วนปีก่อนพระเยซูกำเนิด จะเรียกว่า Before Christ ( B.C. )  ผู้เริ่มนับ  A.D. คนแรกคือ  ไดโอนิซิอุส  เอซิกุอุส บาทหลวงชาวโรมัน ช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 6 นับว่าพระเยซูเกิดวันที่ 25 ธันวาคม ปี 753 หลังการสถาปนากรุงโรม แต่ธรรมเนียมการเริ่มต้นปีใหม่จะเริ่มต้นในวันที่ 1 มกราคม จึงถือเอาวันที่ 1 มกราคม ปี 754 หลังสถาปนากรุงโรมเป็นการเริ่มต้นปีแรกแห่งคริสต์ศักราช หลังจากนั้นในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 10 คริสต์ศักราชนี้จึงเป็นที่ยอมรับของสันตะปาปาแห่งกรุงโรม  ส่วน B.C. ผู้เริ่มต้นนับคือ บีด นักประวัติศาสตร์และนักเทววิทยาชาวอังกฤษในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 8 ต่อจากนั้นมีการเผยแผ่ศาสนาไปยังดินแดนต่าง ๆ การนับศักราชนี้จึงถูกนำออกไปใช้ด้วย ในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 เป็นต้นมาจึงกลายเป็นมาตรฐานโดยทั่วไป

     

                2.2  การนับและการเทียบศักราชของโลกตะวันออก

     

                1 ) การนับศักราชแบบจีน

                ระบบปฏิทินของจีนมีอายุย้อนหลังไปเกือบ 4,000 ปีมาแล้ว เป็นระบบจันทรคติ ( การยึดดวงจันทร์เป็นหลัก ) คำว่า รอบเดือน และพระจันทร์ ในภาษาจีนจึงใช้อักษรและออกเสียงเหมือนกัน คือ เยว่  ใน 1 เดือน จะมี 29 หรือ 30 วัน และปีหนึ่งมี 354 วัน ต่อมาราว 2,500 ปีมาแล้ว จีนสามารถคำนวณได้ว่าหนึ่งปีมี 365.25 วัน จึงมีการเพิ่มเดือนเป็นเดือนที่ 13 ทุก ๆ 3 ปี ด้วยเหตุนี้ปีใหม่ของจีนจึงเลื่อนไปมาระหว่างเดือนมกราคมและเดือนกุมภาพันธ์

     

                การนับช่วงสมัยของจีนจะจึงตามปีที่ครองราชย์ของจักรพรรดิ ซึ่งถือเป็นโอรสสวรรค์ ( เป็นประมุขในทุกด้าน )  จะเรียกเป็นรัชศกตามปีที่ครองรางสมบัติ เช่น “ เมื่อวันที่ 15 เดือน 5 ปีที่ 16 แห่งรัชศกหย่งเล่อ จักรพรรดิพระราชทานเลี้ยงรับรองบรรดาราชทูตจากอาณาจักรเซียนหลัว หลิวฉิว ” ข้อความนี้ปรากฏในพงศาวดารจีน มีความหมายว่า จักรพรรดิหย่งเล่อแห่งราชวงศ์หมิงครองราชย์เป็นปีที่ 16 ในค.ศ. 1418 ( พ.ศ. 1961 ) ส่วนวันที่ 15 เดือน 5 ตามการนับแบบจีนตรงกับวันที่ 18 มิถุนายน เซียนหลัว คือ สยามหรือกรุงศรีอยุธยา หลิวฉิว คือ ริวกิวของญี่ปุ่น ปัจจุบันจีนเลิกใช้การนับแบบนี้แล้ว แต่ญี่ปุ่นยังนำไปใช้อยู่ โดยปีรัชศกของสมัยจักรพรรดิอะกิฮิโตะองค์ปัจจุบัน คือ เฮเซ

     

                2 ) การนับศักราชแบบอินเดีย

                อินเดียในสมัยโบราณมีแคว้นและรัฐต่าง ๆ มากมาย ซึ่งมีการนับคักราชเช่นเดียวกับจีน คือ “ ในปีที่.... แห่งรัชกาล... ” ต่อมาในสมัยพระเจ้ากนิษกะที่ทรงมีอำนาจสามารถปกครองอินเดียอย่างกว้างขวาง จึงนับปีที่พระองค์ขึ้นครองราชย์ เมื่อค.ศ. 78     ( ปัจจุบันเชื่อว่าพระองค์ครองราชย์สมบัติระหว่าง ค.ศ. 115 - 140 ) ถือเป็นการเริ่มต้นศักราชกนิษกะ หรือศก ( Soka Era ) ต่อมาเรียกว่า มหาศักราช ซึ่งแพร่หลายไปทั่วอินเดียและอาณาจักรรอบข้างแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แต่ปัจจุบันอินเดียใช้ศักราชตามสากล คือ คริสต์ศักราช

     

                3 ) การนับศักราชแบบอิสลาม

                ฮิจเราะห์ศักราช ( ฮ.ศ. ) เริ่มนับเมื่อท่านนบีมุฮัมมัดกระทำฮิจเราะห์ ( การอพยพ ) จากเมืองเมกกะไปยังเมืองเมดินะ ซึ่ง   ฮ.ศ. 1 ตรงกับ พ.ศ. 1165 แต่เพราะ ฮ.ศ. ใช้ระบบจันทรคติเป็นเกณฑ์ ดังนั้นการเทียบกับ พ.ศ. จึงมีความคลาดเคลื่อน ไม่ตรงกัน ทุก ๆ 32 ปีครึ่งของ ฮ.ศ. จะเพิ่มขึ้น 1 ปี เมื่อเทียบกับ พ.ศ. 2552 จะตรงกับปี ฮ.ศ. 1430 ดังนั้น ฮ.ศ. น้อยกว่า พ.ศ. 1122 ปี และน้อยกว่า ค.ศ. 579 ปี

     

    การเทียบศักราช

                                                    ม.ศ.  +   621     =    พ.ศ.                        พ.ศ.   -   621     =   ม.ศ.

                                                    จ.ศ.  +   1181   =    พ.ศ.                        พ.ศ.   -   1181   =   จ.ศ.

    ร.ศ.  +   2324   =    พ.ศ.                         พ.ศ.   -   2324   =   ร.ศ.

    ค.ศ.  +   543     =    พ.ศ.                        พ.ศ.   -    543    =   ค.ศ.

    ฮ.ศ.  +   1122   =    พ.ศ.                        พ.ศ.   -   1122   =   ฮ.ศ.

    การนับเวลาแบบไทย

    -          การบอกวัน เดือน ข้างขึ้น ข้างแรม

                                       ๓

    วันที่ ๒ ฯ ๗  ค่ำ

                หมายถึง วันจันทร์ ขึ้น 3 ค่ำ เดือน 7

     

    ® วันในหนึ่งสัปดาห์ ให้ ๑ นับตั้งแต่วันอาทิตย์

    ® หลังเครื่องหมาย ฯ คือ เดือนทางจันทรคติ

    ® เลขด้านบนหรือด้านล่าง ฯ  หมายถึง  ขึ้นแรมกี่ค่ำ

     

    สรุปการเทียบศักราช

    1.     พุทธศักราช ( พ.ศ. ) B.E. มีวิธีการนับ 2 แบบ คือ แบบลังกาจะเร็วกว่าไทย 1 ปี และแบบไทย มีการใช้อย่างเป็นทางการในสมัยสมเด็จพระนารายน์มหาราช

    ·        ในปี พ.ศ. 2484 จอมพล ป. พิบูลสงคราม เปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่ตามหลักสากล จากวันสงกรานต์ เป็นวันที่ 1 มกราคมของทุกปี

    2.    คริสต์ศักราช ( ค.ศ. ) A.D. ปกติจะไม่นิยมเขียนตัวย่อในปี เว้นแต่กรณีป้องกันการสับสน  ก่อนคริสต์ศักราช ใช้ B.C.

    3.    มหาศักราช ( ม.ศ. ) ผู้ก่อตั้งคือ พระเจ้ากนิษกะ  ประเทศไทยรับการใช้ศักราชนี้จากเขมร แต่ใช้ในการคำนวณทางโหราศาสตร์ และในจารึก

    4.    จุลศักราช ( จ.ศ. ) โดยพระเจ้าบุพพะโสระหัน  กษัตริย์พม่า ใช้ในการคำนวณทางโหราศาสตร์ เช่นกัน จนถึง รัชกาลที่ 5 จึงเลิกใช้  นิยมบอกเลขลงตัวท้าย

    ลงท้ายด้วย

    เรียกว่า

    ลงท้ายด้วย

    เรียกว่า

    1

    เอกศก

    6

    ฉศก

    2

    โทศก

    7

    สัปคศก

    3

    ตรีศก

    8

    อัฐศก

    4

    จัตวาศก

    9

    นพศก

    5

    เบญจศก

    10

    สัมฤทธิศก

    5.    รัตนโกสินทรศก ( ร.ศ. ) นับปีที่ รัชกาลที่ 1 ครองราชย์ แต่ใช้ครั้งแรก คือ 1 เมษายน ร.ศ. 108 ผู้ตั้งคือ รัชกาลที่ 5 แต่ยกเลิกไปใช้ พ.ศ. คือ รัชกาลที่ 6

    6.    ฮิจเราะห์ศักราช ( ฮ.ศ. )  นับเอาตั้งแต่มุสลิมอพยพจากนครเมกะร์ไปเมืองมะดีนะฮ์ ในค.ศ. 622 ( พ.ศ. 1165 )

    ·        เพราะ พ.ศ. ไม่ตรงกันมีความคลาดเคลื่อนกันมาก ให้ดูที่สำนักจุฬาราชมนตรี

     

    ทศวรรษ ( decade ) รอบ 10 ปี นับ 0 ถึง 9

    ศัตวรรษ ( century ) รอบ 100 ปี นับ 01 ถึง 00 เช่น 2011 = ศัตวรรษที่ 21

    สหัสวรรษ ( millennium) รอบ 1,000 ปี

     

    การแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์

    -          ก่อนประวัติศาสตร์ ( Prehistory )

    ยุคหินเก่า           500,000 – 10,000 ปี

    ยุคหิน ( Stone Age )                   ยุคหินกลาง        10,000 – 6,000 ปี

    ยุคหินใหม่          6,000 – 4,000 ปี

                                                    ยุคสำริด             4,000 – 2,500 ปี

    ยุคโลหะ ( Metal Age )                 ยุคเหล็ก             2,500 – 1,500 ปี

     

    หินเก่า     - ใช้เครื่องมือหินหยาบ ล่าสัตว์ รู้จักใช้ไฟ

    หินกลาง              - ใช้หินกะเทาะที่ประณีตขึ้น

    หินใหม่    - ใช้หินขัด มีการตั้งถิ่นฐาน เพาะปลูก เลี้ยงสัตว์ ( บ้านเก่า จ.กาญจนบุรี, อนุสาวรีย์หินสโตนเฮนจ์ ที่อังกฤษ )

         สำริด       - ใช้เครื่องมือสำริด ( Cu + Sn ) ภาชนะดินเผา ( บ้านเชียง จ.อุดรธานี )

         เหล็ก       - ใช้เทคโนโลยีที่ซับซ้อนขึ้น สังคมขนาดใหญ่ ใช้เครื่องมือที่ทำด้วยเหล็ก มีการติดต่อค้าขาย เก็บกักน้ำ

    -          สมัยประวัติศาสตร์  ( History )

    เริ่มตั้งแต่มีการใช้ตัวอักษรของมนุษย์ ซึ่งในแต่ละที่จะมีการเข้าสู่ช่วงประวัติศาสตร์ที่แตกต่างกัน ซึ่งแบ่งประวัติศาสตร์ของไทยแต่ละช่วงตามเกณฑ์ใหญ่ ๆ ได้ดังนี้

    ·        แบ่งตามราชธานี

    ·        แบ่งตามราชวงศ์ ( สมัยอยุธยาเท่านั้น )

    ·        แบ่งตามพระนามของพระมหากษัตริย์

    ·        แบ่งตามพัฒนาการและความเปลี่ยนแปลงของบ้านเมือง

    ·        แบ่งตามลักษณะการปกครอง

    ·        แบ่งตามสมัยของรัฐบาล

    ·        แบ่งตามแนวประวัติศาสตร์สากล

     

    สมัยประวัติศาสตร์ของไทย                                            

                สมัยสุโขทัย  พ.ศ. 1792 – 2006

                สมัยอยุธยา  พ.ศ.  1893 – 2310

                สมัยธนบุรี  พ.ศ.  2310 – 2325

                สมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์  พ.ศ.  2325 – 2475

                สมัยประชาธิปไตย พ.ศ.  2475 – ปัจจุบัน

     

                            สมัยประวัติศาสตร์สากล

                สมัยโบราณ 3,500 ปี ก่อน ค.ศ. – ค.ศ. 476

                สมัยกลาง ค.ศ. 476 – 1492

                สมัยใหม่  ค.ศ. 1492 – 1945

                สมัยปัจจุบัน  ค.ศ. 1945 – ปัจจุบัน

     

    วิธีการทางประวัติศาสตร์

     

    -          หลักฐานทางประวัติศาสตร์

    ประเภทหลักฐานทางประวัติศาสตร์

    ·        จำแนกตามยุคสมัย

    ·        จำแนกตามลักษณะ

    ·        จำแนกตามความสำคัญ

     

    หลักฐานทางประวัติศาสตร์ของไทย

    ·        หลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษร

    ตำนาน  หลักฐานเก่าแก่ที่สุด มาจากการบอกเล่า มีก่อนบันทึกเป็นอักษร มักเป็นเรื่องพุทธศาสนา บ้านเมือง บุคคลสำคัญ โบราณสถาน

    จารึก  หลักฐานเก่าแก่ที่สุด จารึกเรื่องราวของกษัตริย์ ศาสนา ประกาศของทางราชการ เช่น จารึกที่ปราสาทเขาน้อย             จ.กาญจนบุรี ใช้อักษรปัลลาวะ

    พระราชพงศาวดาร หลักฐานที่บันทึกเรื่องราวของกษัตริย์และอาณาจักรนั้น ๆ มีในสมัยอยุธยาถึงช่วงรัขกาลที่ 5 ซึ่งพงศาวดารที่เก่าแก่ที่สุด คือ ฉบับของหลงประเสริฐอักษรนิติ์

    จดหมายเหตุ คล้ายกับพงศาวดารแต่ระบุเวลาที่เกิดเหตุการณ์ อาจเป็นบันทึกรวมสมัยและมักจะบันทึกเพียงเหตุการณ์เดียว ซึ่งเป็นจดหมายเหตุของหลวง โหร ชาวต่างชาติ หรือเอกสารประกอบคำให้การ

    ·        จดหมายเหตุวันวลิต        พ.ศ. 2183 โดย เยเรเมียส  ฟาน  ฟลีต

    ·        จดหมายเหตุลาลูแบร์      โดย  ซิมงเดอ  ลา  ลูแบร์

    เอกสารบุคคล , บันทึกส่วนบุคคล ,ชีวประวัติ , วรรณกรรม , หนังสือพิมพ์ , หนังสือประวัติศาสตร์ ,เว็ปไซต์

    ·          หลักฐานที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร

    หลักฐานทางโบราณคดี     หลักฐานทางด้านศิลปกรรม     หลักฐานด้านนาฏศิลป์    ดนตรีและเพลงพื้นบ้าน            หลักฐานประเภทบอกเล่า       หลักฐานประเภทโสตทัศน์

     

    วิธีการทางประวัติศาสตร์

    -          กำหนดปัญหา

    -          การรวบรวมหลักฐาน

    -          การตรวจสอบและการประเมินหลักฐาน  * อายุ  ผู้สร้าง  จุดมุ่งหมาย

    -          การตีความหลักฐาน

    -          การเรียบเรียงและการนำเสนอ

     

    อ้างอิง
          หนังสือเรียนวิชา ประวัติศาสตร์ไทย ม. 4-6 
          หนังสือเรียนวิชา ประวัติศาสตร์สากล ม. 4-6  สัญชัย สุวังบุตร และคณะ อจท.
          หนังสือหัวใจสังคม O-net

     

     

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×